Apple

แมกกาซีนออนไลน์ชื่อดัง Slate.com ได้วิจารณ์การแถลงข่าวของสตีฟ จ็อบส์เรื่อง iPhone 4 ดังนี้

  • คาดหวังว่าจะได้เห็นการยอมรับว่ามีปัญหาจริงและคำขอโทษ แต่ผลคือไม่ใกล้เคียงเลย
  • ตัวเลขต่างๆ ที่แอปเปิลเอามาโชว์นั้นเป็นการ "ชี้นำที่ผิด" (misleading) เพราะไม่ทุกคนที่ซื้อ iPhone 4 ไปรับรู้ว่ามีปัญหานี้อยู่ การที่คนบ่นไปยังแอปเปิลมีน้อยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ส่วนคนที่รู้ว่ามีปัญหา ติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ทำอะไรเพราะรู้ว่าร้องเรียนไป ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น (เพราะแอปเปิลไม่ยอมรับว่ามีปัญหานี้อยู่)
  • ตัวเลขคนคืนเครื่องน้อยไม่ได้แปลว่าไม่มีปัญหา และลูกค้าจำนวนมากยังไม่คืน เพราะรอดูว่าแอปเปิลจะแถลงอะไรต่างหาก
  • การบอกว่าโทรศัพท์ทุกเครื่องมีปัญหานี้หมด ก็ไม่สามารถอธิบายว่าทำไมกรณีของ iPhone 4 ถึงชัดเจนกว่ามือถือตัวอื่น แม้แต่ตัวจ็อบส์เองก็ยังไม่สามารถตอบคำถามนักข่าวว่า "ขอให้โชว์ BlackBerry สัญญาณหดให้ดูหน่อย" ได้ โดยเขาตอบเลี่ยงว่า "คุณต้องไปอยู่ในบริเวณที่สัญญาณน้อยจึงจะเห็น" แทน
  • แน่นอนว่าแอปเปิลไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไม iPhone 3GS ไม่มีปัญหานี้
  • จ็อบส์บอกว่า "iPhone 4 สายหลุดมากกว่า iPhone 3GS อยู่ 1 จุดเท่านั้น" ตัวเลขฟังดูน้อย แต่ Slate ขุดคำสัมภาษณ์เก่าของ AT&T มาโชว์ว่า iPhone 3GS หลุด 1% แปลว่า iPhone 4 หลุดมากกว่าเดิมถึงเท่าตัว
  • เรื่องตัวเลขสายหลุดน้อย เป็นเพราะจ็อบส์ลืมไปว่าเคยบอกให้ลูกค้า "avoid holding it in that way" หรือเปล่า? คนเลยเลี่ยงถือท่าที่ทำให้สัญญาณหลุด โดยนักเขียนของ Slate ยกกรณีของตัวเขาเองว่าเขาพยายามถือ iPhone 4 แบบหลบๆ แต่มันไม่ใช่วิธีที่ดีนัก

ทฤษฎีว่าอะไรทำให้เกิดสายหลุดของจ็อบส์ก็คือ คนใช้ iPhone 80% ใส่กรอบหรือซอง แต่การเปิดตัว iPhone 4 ทำให้อุปกรณ์ผลิตตามไม่ทัน ทำให้คนใส่ซองมีน้อยลง สัญญาณหลุดจึงมากขึ้น

นักเขียนของ Slate กล่าวว่าเขาชอบ iPhone 4 ของเขา แต่ก็หวังว่าแอปเปิลและจ็อบส์จะทำได้ดีกว่านี้ การแจก bumper case ฟรีเป็นเรื่องดี แต่เขาก็ไม่อยากได้บริษัทที่มาฉี่รดใส่ขาของเขาแล้วพูดว่า "most revolutionary rain storm ever!"

ที่มา - Slate

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

การคิดแบบนี้ ไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบจริงไหมครับ

เขาว่าไม่ได้แปลว่าเขาไม่ชอบ แต่แปลว่าเขาชอบแต่ต้องการให้ปรับปรุงบางอย่างครับ

ไม่ถูกคับ เพราะสินค้า Electronic ออกแบบผิดพลาด คิดว่าไม่ดีก็อย่าไปซื้อ งั้นคิดว่าออกแบบไม่ดี ก็อย่ามาขายสิ ผู้ผลิตควรคิดแบบนี้ก่อนผู้บริโภคหรือป่าว?

ใช่ครับ ผมเห็นด้วย และผมจะไม่ซื้อ iPhone แน่ๆ หนึ่งคน

ไม่ใช่เรื่องปัญหาสัญญาณหด แต่ผมคิดว่าใช้แล้วมันขาดเสรีภาพในชีวิต

ล็อคตลอด ลองคิดดูนะ หาก OS คุณดัน crash ขณะอยู่ต่างจังหวัดที่เน็ตไปไม่ถึง แล้วคุณทำการ Restore ....?

  • multitasking ดูห่วยที่สุดที่เคยเห็นระบบปฏิบัติการไหนทำมาเลย ทุกโปรแกรมที่เคยเปิดจะไปอยู่ใน Task ต้อง manual ปิด

-software ที่เป็น media player ที่เล่นเพลงได้หลายนามสกุล อย่าหวังจะได้ขึ้น appstore

-Adobe Flash player จะพัฒนาให้ แต่กับไม่รับ อ้างว่ามันกินทรัพยากรเครื่อง ..แต่ ...

-ผมว่า Apple ไำม่แฟร์นะ เขาทำการทดลอง iPhone4 แต่ทำการแถไปเรื่อย แล้วก็หาแนวร่วมเอาเครื่องคนอื่นมาทดลองหมด คือไม่ยอมรับผิดแต่เพียงคนเดียว แต่กับหาแนวร่วมอีก

สารพัดนะ อีกหน่อย Android ก็นำตลาดมือถือ เชื่อผมสิ

ปล.ผมเป็น iPhone user นะแต่ไม่ค่อยจะพอใจกับสิ่งที่คิดว่ามันน่าจะทำอะไรได้ทุกอย่าง

ไม่แน่ใจแต่ผมเดาว่ามันจะคล้ายๆ กับ Android คือพอเวลา App ถูกปิด (ด้วยการกด Home Button ไม่ก็ switch ไป app อื่น) แล้วตัว App จะถูก sleep ไว้ (ยังกิน RAM แต่ไม่กิน CPU) แต่ทีนี้มันจะไล่คิวไปเรื่อยๆ คือถ้าเราเปิด App เรื่อยๆ แล้ว App ไหนเกิด RAM ไม่พอ มันจะไปปิด App ตัวที่ sleep อยู่ไว้นานที่สุด (เป็น queue) จนกว่า RAM จะพอสำหรับ App ที่เปิดอยู่ (ถ้าไม่เหมือน Android ยังไงก็อาจจะต้องให้ผู้รู้มาช่วยแก้ด้วยครับ) สรุปคือมันเก็บไว้ใน RAM แค่เพื่อให้เปิด App มาใหม่ได้เร็ว และคงสถานะที่ทำงานค้างไว้ได้ แต่ไม่ได้สามารถทำงานอะไรได้เบื้องหลัง (เว้นแต่จะใช้ background API)

ข้อเสียอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกเวลาใช้ก็คือ มันไม่มีอะไรที่บอก user ให้รู้ได้ว่าจริงๆ แล้ว App ไหนที่ยังอยู่ใน RAM หรือ App ไหนโดนระบบ kill ไปแล้วเพราะว่าเวลาเราดูในลิสท์ตอนจะ switch app มันจะเอา App ที่มัน kill ไปแล้วมาใส่อยู่ใน list ด้วย แต่เรียงทุกอย่างตามเวลาล่าสุดที่เราเปิดไปแทน (เข้าใจว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นอะไรที่ต้นกระทู้บ่นถึงตอนแรก) ถ้ามองในมุมของ user ทั่วไปก็อาจจะง่ายดี แต่ในมุมของ power user ก็อาจจะขัดใจสักนิดเพราะอาจจะมีบาง App ที่ยังไงก็อยากให้มัน sleep ไว้ตลอดเพราะเปิดบ่อย เช่น Echofon ไรงี้ แถมมาอยู่ใน list เดียวกันหมด เราก็ไม่รู้อีกว่าจริงๆ แล้วอันไหนที่เลือกไปแล้วจะได้ใช้เลย หรือจริงๆ ต้องรอโหลดอีก

แต่ถ้าจะ manual kill ก็ได้ ก็คือกด Home Button สองครั้งแบบ switch app แล้วจิ้มนิ้วค้างไว้ที่ App มันจะขึ้นเครื่องหมายมาให้เรากดปิด วิธีนี้จะถือว่ายุ่งยากหรือง่ายกว่าถ้าเทียบกับ Android ก็ตอบไม่ถูกเหมือนกันไม่เคยใช้เปรียบเทียบไม่ถูก รอคนที่เคยใช้ทั้งสองอย่างมาบอกอีกที

แต่อันนี้ก็ไม่รวมกรณีที่ App ไปเรียก Background Service API อย่างเล่นเสียง หรือ task completion อื่นๆ อีก อันนี้ผมมีความรู้ไม่ถึงแล้วครับไม่รู้มันจัดการยังไงบ้างเหมือนกัน

ต่างตรง iOS จำกัด process ที่ run ใน background ได้เฉพาะ 6-7 อย่าง (music, voip, navigation, upload, etc) ส่วนของ Android ไม่จำกัด ถ้านอก 6-7 อย่างนั่นต้องใช้ push server เอา รันบน server แทนแล้ว push มาให้ iPhone เช่นโปรแกรม chat ทั้งหลาย

เท่าที่ผมเข้าใจ เหมือนในโครงสร้างของ Android มันแบ่งระหว่าง App กับ Service ไว้ชัดเจนด้วยหรือเปล่านะครับ เหมือนกับ App จะรัน background ไม่ได้ แต่ Service จะรันได้ แต่ถ้าใครจะทำอะไร background ก็อาจจะแยกส่วนระหว่าง App กับ Service ออกจากกัน ตัว service ที่รัน background จะได้เบาลงด้วย?

ไม่แน่ใจจริงๆ นะครับว่าระบบเป็นไง อันนี้ได้ยินมาผ่านๆ ใครมีข้อมูลมาแจงที?

ตามที่ผมเข้าใจก็เป็นงั้นครับ คือมีแบ่ง app/service แต่ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่า app นี่รันเป็น background ได้เหมือนกันรึเปล่า

ทุกคนมีความคิดของตัวเองครับ ถ้ารู้ว่าตัวเองต้องการอะไรอย่างนี้ ก็ดีแล้วหล่ะครับ ส่วนตัวผมถ้าไม่ jailbreak นี้อึดอัดตายเหมือนกัน jailbreak ก็ทำให้หลุดจากการควบคุม ดึงความสามารถที่มีออกมาได้หมด

แต่เพราะส่วนตัวผมใช้ Mac ใช้ iPhone iPad คิดว่าไม่จำเป็น สองชิ้นนี้ทำให้การทำงานราบรื่นขึ้นมาก มี itunes ilife คอย support ผมเลยเลือกใช้มัน แต่ก็ชอบ Android ถ้ามีโอกาสอาจจะซื้อมาลองใช้

เพราะ iTune นี่แหล่ะครับ ที่ทำให้ปวดหัว ซิงค์รูปกับคอมอีกเครื่อง หายหมด

iOs4 ขอบอกว่าห่วยแตกมากเช่นกันครับ

ผมใช้ 3gs ตั้งหน้าตั้งตารอ iPhone4 แล้วสิ่งที่ผมรอตั้งนาน
มันเป็นอย่างนี้ บริษัทก็ไม่แสดงความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
แถมยังแถชาวบ้านเค้าไปทั่ว สมควรไหมที่จะโดนคนเค้าก่นด่า

งั้นถ้า องกรณ์ผู้บริโภคของเมกัน คิดว่า iPhone4 มีปัญหา ก็ควรสั่งหยุดขายหยุดผลิตสิ วิศวกร ก็ชี้อยู่ว่าเป็นงั้น

อย่าโชว์ โx่

เพราไม่ทุกคนที่ซื้อ น่าจะเป็น "เพราะ" หรือเปล่าครับ?

โดยรวมแล้วถือได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่คาดหวังกับการแถลงการณ์ครั้งนี้มากอยู่เหมือนกัน แต่ผลการแถลงนั้นกลับยังไม่เป็นที่น่าพอใจซักเท่าไร เพราะการแจก bumper case นั้น น่าจะเป็นการตอกย้ำว่า iPhone 4 มีปัญหาจริงๆ

ใครๆเขาก็แค่อยากให้พี่ Jobs เขาหยุด drift (แถ) น่ะครับ...
เรื่อง Bumper นี่ไม่เท่าไหร่... แต่การ drift ไปเรื่อยๆ (จนเหมือนการทำ donut) แถมดึงเจ้าอื่นๆมาพัวพัน...
เสียดายภาพลักษณ์ที่อุตส่าห์สั่งสมมาน่ะครับ

มันคือ logical fallacies ครับ

เหมือนกับคุณฝ่าไฟแดงแล้วอ้างว่าคันหน้าฝ่าได้ทำไมจ่าไม่จับ (เพราะจ่าไม่เห็น) ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ผิด

(แถมในกรณีนี้ไม่รู้ว่าคันหน้าฝ่าจริงรึเปล่า เพราะทั้ง blackberry ทั้ง htc ก็ออกมาถล่มว่าตูไม่เป็นแบบมึง)

ผมเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่มี iPhone เป็นของตัวเองแต่ก็ใช้ BB ไม่ว่าจะท่าไหนในการใช้ผมไม่เคยจับท่าแบบที่เป็นท่าไม้ตายเลย ส่วนใหญ่เวลาโทรก็นิ้วโป้งกะนิ้วกลางคีบแน้วนิ้วชี้ดันลำโพงจ่อหูเท่านั้น ส่วนการพิมพ์ก็ใช้ท่าสองมือเอานิ้วทั้งสี่ของทั้งสองมือรองข้างหลังแล้วใช้นิ้วโป้งกด(รวมถึงเล่นเกมในiPod Touch) เพราะผมคนไม่จับท่าไม้ตายแล้วใช้นิ้วชี้ของทืออีกข้างจิ้มมันดูเหมือนกดเครื่องคิดเลข(ในงานเปิดตัวลุงแกใช้ท่านี้) บางครั้งลองทบทวนการถือของเราดูดีๆว่ามันเป็นปัญหาจริงไหม บางคนบอกสัมผัสโดนส่วนเส้นดีดำๆทำให้ Wi-Fi กับ GSM เชื่อมต่อปุ๊บสายหลุดปั๊บ คนๆนั้นคงเป็นอะไรที่นำไฟฟ้ามากๆจับเครื่องอื่นสัญญาณก็คงลดฮวบฮาบไม่ต่างกันมาก พูดถึงท่าจับเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการแถ-ลงของลุงเขานะ จริงๆผมชอบอ่านมากกว่าเม้นเพราะมันสนุกกว่ากันเยอะไม่โดนกล่าวหาว่าเป็นสาวกด้วย แต่มันอดไม่ได้จริงๆ ขอโทษด้วยถ้าคิดไม่เหมือนใคร จึงอยากถามหลายๆท่านที่ใช้หลายๆยี่ห้อว่าส่วนใหญ่ใช้ท่าไหนจับกันบ้างแบบจริงจัง

(Bold 9700 ผมจะจับท่าไหนสัญญาณก็ไม่ลดนะลุง ยกเว้นลงลิฟ SOS แดงหลาเลย ^^)

ComSci-MFU Mon, 19/07/2010 - 00:15

ผมคิดว่า สิ่งที่ทุกคนอยากได้ยินจากจ๊อบคือ
"ผมยอมรับว่าปัญหานี้เกินขึ้นจริง ซึ่งเกิดจากการออกแบบเสาศัญญาณใหม่ของ iPhone4"
ถ้าเขาพูดแบบนี้ตั้งแต่เริ่มมีคนพบปัญหา
อะไรหลายๆอย่างน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่

ปล. หรือนี้เป็นการตลาดของเขากันนะ

ผมกลับคิดว่าการแถลงนั้นโอเคอยู่เหมือนกันนะครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมได้รู้ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า Smartphone ยี่ห้ออื่นนั้นหากอยู่ในพื้นที่สัญญาณอ่อนแล้วผู้ใช้ไม่ควรไปแตะบริเวณที่เป็นเสาสัญญาณของโทรศัพท์มือถือเพราะอาจจะทำให้ความสามารถในการรับสัญญาณลดลงจนถึงขั้นสายหลุดได้ ส่วนข้อมูลที่ว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายไหนมีจุดสัญญาณอ่อนมากกว่ากันนั้นก็ต้องนำไปแยกพิจารณาเป็นอีกประเด็น AT&T ขึ้นชื่อเรื่องความแรงของสัญญาณที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกา จึงอาจตีความได้ว่าความถี่ของการเกิดปัญหาสัญญาณ Drop แบบนี้มาจากปัจจัยนี้ด้วยเช่นกันและมันอยู่นอกเหนือความควบคุมของ Apple

ผมเองยังไม่มีโอกาสได้ทดลองจับ iPhone 4 ที่มีปัญหานี้ด้วยมือตัวเองเลยไม่อาจฟันธงได้ว่าระหว่าง iPhone 4 กับ Smartphone ยี่ห้ออื่น ๆ นั้นอันไหนสัญญาณ Drop ได้ง่ายกว่า คำว่าง่ายกว่าในทีนี้หมายถึงลักษณะของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานจริง เช่น iPhone 4 แค่เอานิ้วไปแตะตรงรอยต่อก็ดับแล้วในขณะที่ยี่ห้ออื่น ๆ ต้องใช้อุ้งมือปิดทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เปรียบเทียบได้ชัดเจนเลยว่าความสามารถในการรับสัญญาณบนพื้นที่อับสัญญาณของ iPhone 4 นั้นห่วยกว่า Smartphone ยี่ห้ออื่นจริง แต่ถ้าไม่ใช่ก็ยากที่จะสรุปแบบนั้น (ถ้าใครมีข้อมูลตรงนี้รบกวนช่วยเผยแพร่ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ ขอแบบทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณนะครับ ถ้าเป็นแค่ Clip เดียวคงไม่พอเพราะ Samsung Galaxy S ก็มี Clip ท่าไม้ตายจับแล้วสัญญาณหายหมดอย่างรวดเร็วเหมือนกัน)

ส่วนตัวผมยังมองว่า Slate ยังใช้เหตุผลแบบแปลก ๆ อยู่บ้าง

ตัวเลขต่างๆ ที่แอปเปิลเอามาโชว์นั้นเป็นการ "ชี้นำที่ผิด" (misleading) เพราไม่ทุกคนที่ซื้อ iPhone 4 ไปรับรู้ว่ามีปัญหานี้อยู่ การที่คนบ่นไปยังแอปเปิลมีน้อยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ส่วนคนที่รู้ว่ามีปัญหา ติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ทำอะไรเพราะรู้ว่าร้องเรียนไป ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น (เพราะแอปเปิลไม่ยอมรับว่ามีปัญหานี้อยู่)

ถ้าเปลี่ยน Apple เป็นบริษัทผู้ผลิตมือถือยี่ห้ออื่นและเปลี่ยนคำว่า iPhone 4 เป็นชื่อมือถือรุ่นอื่นแล้วจะพบว่าหลักการข้างต้นนี้เป็นจริงกับมือถือแทบทุกยี่ห้อ ยกตัวอย่างเช่นตัวเลขที่ Droid Eris ออกมาอ้างว่า 0.016% ก็สามารถจัดเป็น Misleading ได้เช่นกันเพราะทุกคนที่ซื้อ Droid Eris ไปไม่รู้ว่ามีปัญหานี้อยู่ บางคนที่รู้ก็ไม่ร้องเรียน

คือการกล่าวอ้างว่าตัวเลขผู้ร้องเรียนน้อยโดยอ้างอิงจากเหตุผลว่าคนรับรู้ปัญหายังมีน้อยอยู่นั้นดูไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าที่ควร Slate เอาข้อมูลหลักฐานจากที่ไหนมายืนยันว่าคนที่ใช้ iPhone 4 ไม่รับรู้ถึงปัญหาข้อนี้ แน่นอนล่ะว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ที่ "ทุกคน" จะรับรู้ถึงปัญหา (ถ้ามีแค่คนเดียวที่ไม่รับรู้ก็ไม่อาจนับว่าเป็น "ทุกคน" ได้แล้ว) แต่ Slate กำลังจะสื่อว่าจำนวนคนที่รู้นั้นมีน้อยเกินไปและ Slate ไม่มีหลักฐาน

การบอกว่าโทรศัพท์ทุกเครื่องมีปัญหานี้หมด ก็ไม่สามารถอธิบายว่าทำไมกรณีของ iPhone 4 ถึงชัดเจนกว่ามือถือตัวอื่น แม้แต่ตัวจ็อบส์เองก็ยังไม่สามารถตอบคำถามนักข่าวว่า "ขอให้โชว์ BlackBerry สัญญาณหดให้ดูหน่อย" ได้ โดยเขาตอบเลี่ยงว่า "คุณต้องไปอยู่ในบริเวณที่สัญญาณน้อยจึงจะเห็น" แทน

ผมว่า Steve Jobs ก็เคยพูดไว้แล้วว่า Scope ของปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัญญาณอ่อน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเขาถึงไม่สามารถทำให้ปัญหาสัญญาณ Drop เกิดขึ้นในสถานที่แถลงข่าวนั้นได้เพราะบริเวณนั้นมันอาจจะเป็นพื้นที่สัญญาณแรงอยู่แล้วก็ได้ ผมว่า Jobs ไม่ได้เลี่ยงแต่มันเป็น Scope ที่เขาระบุเอาไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้วต่างหาก

ผมว่าเขาพลาดตั้งแต่ Design แล้วครับ

เรื่องอื่นๆที่ยกมาทั้งหมดเป็นเพียงแค่การ "แถ" ครับ

และที่สำคัญคือไม่ออกมายอมรับแบบแมนๆด้วยนี่สิครับ หุหุ

นานาจิตตังครับ

ใช่เลยครับ... มันคือการ drift โดยสิ้นเชิง...

จริงๆแล้ว ควรที่จะมีการทดสอบกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เพื่อทำให้เพิ่มความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ใหม่

แต่แล้วได้มีการพาดพิงกับผลิตภัณฑ์ในของบริษัทอื่นๆ...

มันผิดหลักจรรยาบรรณในการนำเสนอสินค้าเลยน่ะครับ...

เหมือนที่เคยมีในไทยที่โฆษณาพาดพิงกันไปมาๆ จนมีฟ้องร้องอ่ะครับ...

อาจารย์สอนโฆษณาผมท่านบอกว่าการตลาดเมืองนอกนี่จิกกัดคู่แข่งแบบนี้จนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมากๆครับ มีแต่เมืองไทยที่ห้ามการพาดพิงสินค้ายี่ห้ออื่นในโฆษณาตัวเอง(ซึ่งก็ดูจะถูกจริตคนไทยดี)

เมืองนอกเค้าพาดพิงกันได้ไม่มีปัญหาครับ เป็นเรื่องปกติ

โฆษณากัดกันระหว่างบริษัทก็มีเยอะครับ ยกตัวอย่างที่ดังๆ ก็อย่างเล่นโฆษณาระหว่างโค้กกับเปบซี่ ที่เอาเท้าเด็กมาเหยียบกันเห็นๆ เลย

ที่เมืองนอกเค้าเน้นคุ้มครองผู้บริโภคครับไม่ได้เน้นปกป้องผู้ประกอบการมากแบบบ้านเรา

อ๋อออ ผมจำำได้ละ... เหมือนเพื่อนเคยเปิดให้ดู ที่เด็กกดน้ำอัดลมที่ตู้อัตโนมัติยี่ห้อนึง แล้วเอามาย่ำเพื่อต่อความสูงเพื่อไปกดอีกยี่ห้อนึงมากินใช่มั้ยอ่ะ (จำไม่ไ้ด้ว่ายี่ห้อไหนถูกเอาไปย่ำเพื่อต่อความสูงเพื่อไปกดอีกยี่ห้อหนึ่ง)

Ps. เมืองไทยน่าเอามั่ง... อย่างที่ทั่นว่า "เน้นคุ้มครองผู้บริโภค" น่าจะดีกว่า "ปกป้องผู้ประกอบการ"

^^"

การออกมาตอบแบบนี้ก็คือ การปัดความรับผิดชอบดีๆนี่เอง เหมือนทำผู้หญิงท้องแล้วก็ออกมาบอกว่ายี่ฮ้ออื่นก็นอนกับผู้หญิงเด็กไม่ใช่ลูกผมหรอก (แต่ปํญหาคือยังไงผู้หญิงก็ท้องอยู่ดี เหมือนกับ ยังไงสัญญานก็ตกอยู่ดี) และตอนนี้ Consumer Union (สมมุติให้เป็นพ่อของผู้หญิง) ได้ออกมายืนยันว่ามีปัญหาสัญญาณหดจริง และ "ไม่แนะนำ" ให้ผู้บริโภคซื้อ (เหมือนพ่อออกมาบอกว่า Apple นะทำผู้หญิงท้องไม่ใช่ยี่ฮ้ออื่น) แต่ Apple กลับออกมาแสดงความรับผิดชอบได้แค่เพียงบอกว่ายี่ฮ้ออื่นก็นอนก็ผู้หญิง ขำว่ะ (ขนาด Consumer Union ออกมานี่ถ้าเป็นบริษัทอื่นเค้าเรียกคืนกันหมดแล้วเช่น Toyota, Honda [พอๆกับตรวจ DNA แล้วนะ])

สร้างภาพดีไว้เยอะ เสียทีก็โดนจับจ้องเยอะเป็นธรรมดา :D
เหมือนสำนวนใน AirGear ที่ว่า..
"ยิ่งบินสูงขึ้นไปเท่าไร เวลาตกลงมาก็จะเจ็บมากขึ้นเท่านั้น"
(แป๊กกก เกี่ยวกันไหมเนี่ย 555)

ผมว่า ผู้บริโภคอยากให้แก้ไขจริงจังกว่านี้ เพราะไม่อยากซื้อของที่เกือบจะดีมากๆ แต่มีปัญหาระดับพื้นฐาน แล้วพูดปลอบใจกันเองว่า มีคนอื่นๆ(นอกจากเรา) ใช้แล้วไม่เป็นอะไร ฮ่วย! หรือ บอกว่า คลื่นที่ความถี่ที่คุณใช้ตอนนี้จะไม่เจอปัญหา อ้าว แล้วเกิดย้ายไปใช้คลื่นอื่นล่ะ

เจ้าอื่นพลาด สื่อ และผู้บริโภคก็ซ้ำครับ เช่น Vista ทุกวันนี้ยังด่าอยู่เลย สอนลูกสอนหลาน ว่า เจอปั๊ปจับลง Win7 แทน ขี้เกียจแก้ปัญหาพื้นฐาน - -"

ผมเห็น

  • Intel ต้องเรียก Pentium กลับคืนหมด
  • Nokia 5800 ฝาอ้า ก็โดนยำเละ
  • Vista กลายเป็นตราบาปของไมโครซอฟท์
  • AIS ขาย Galaxy S มีปัญหา ก็โดนด่ากระจายพันทิพ
  • HP นี่ คงมีคนแถวนี้แบนไปหลายราย

+1 อย่างละข้อเลย ! (ตอนแรกจะซื้อ SSGS , เพื่อนก็บ่นเรื่องการดูแลของ AIS, ถามเรื่องกรอบรูปก็งูๆปลาๆ)

ก็เลยซื้อ Legend ไป... (เพราะตังตอนนั้นมีอยู่ 18,000...)

Ps. อ้าว เราชักนำออกทะเลซะงั้น ???

ปัญหาเป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมาย แต่วิธีแก้ปัญหาคาดหมายได้

  • แก้ปัญหาได้ดี ถูกใจคนทั้งบาง เล่าขานเป็นตำนาน ยกย่องเชิดชู
  • แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ถูกสับเละ เป็นตราบาปตลอดกาลนานเทอญ

+1
ข้อ 1 กับ ข้อ 5 ครับ
ข้อ 1 ตอนนั้นช่วยเขาขายประกอบคอมฯ อยู่พันทิพย์ พอดี (ร้าน Techlink ชั้น 4 ตอนนี้ปิดไปแล้วครับ)
HP no more เข็ดไม่เอาอีกแล้ว เพราะเรื่อง driver

จุดสำคัญคือการออกมารับผิดนั้นเอง แต่ศาสดากลับไม่ทำ มันง่ายมากนะ ถ้าทำแล้วทุกคนก็ยอมรับแล้วรอเวลาแก้ไข ผมว่ามันคงไม่บานปลายไปมากกว่านี้แล้ว ศรัทธาที่ส่วนใหญ่ให้ก็ยังคงเหมือนเดิม แถมจะแรงกล้าขึ้นอีกด้วย แต่ตอนนี้ทำให้แสงแห่งศรัทธามันเบาบางลง

+1 แต่คนที่หยิ่งมากๆ มักต้องเจอกับอะไรแบบนี้ หลังจากนี้คงอีกยาวก็จะได้รู้ๆ กันไปว่า ใจความที่แท้จริงของ Apple คือ อิสระ หรือ คอมมิวนิส

คิดตามหลักการทำธุรกิจครับ

ใครมันจะไปบอกว่าตัวเองทำพลาดครับ ต่อให้พลาดใครจะยอมรับครับ ในช่วงจังหวะที่คู่แข่งกำลังทำแต้มไล่จี้ขึ้นมา

เคยลองจับกับมือแล้วหรอคับที่เหนสัญญานมันหดหายไป

ผมไปลองมาแล้วคับ จับมาทุกท่าแล้ว โทรเข้าโทรออกแล้ว ยังไม่เหนมันลดกับตา เลยคับ

นั้นมันคนทำธุรกิจครับ แต่สำหรับผมหรือหลายๆคนแล้วคือผู้บริโภค ก็ต้องเลือกสิ่งที่ซื้อมาแล้วไม่มีปัญหา เพราะต้องจ่ายเงินเพื่อเอามันมาใช้ มันย่อมมีสิทธิ์พิจารณา แต่ที่ผ่านมา ถ้ามีปัญหาจริงก็ควรยอมรับครับ ยกตัวอย่าง Sony พบปัญหา แบตโน็ตบุ๊ค ยังเรียกคืน, หลายๆ แบรนด์สินค้า ก็ทำกันนะครับ เพราะเค้าใส่ใจและจริงใจต่อลูกค้า และสิ่งที่ผมคิดและเขียนออกไป คือการยอมรับว่ามันผิดพลาดและก็ไม่ซื้อมัน ก็เท่านั้นครับ!!

ใครจะศรัทธาอย่างไร ใช้มันอยู่ก็ขอให้ศรัทธาต่อไปนะครับ ผมคนนึงที่เคยศรัทธาต่อ Apple ที่เดิมที่มีอยู่มาก ก็คงเบาบางลง เพราะความไม่จริงใจนั้นเองครับ แต่ถ้าข้อผิดพลาดถูกแก้ไขด้วยความจริงใจ มันก็จะกลับมาตัวเลือกอีกครั้งนึงสำหรับผม เพราะ Apple ไม่ได้เอามาให้เราใช้ฟรีๆ ครับ มันแลกด้วยเงินเดือนที่เหนื่อยทำมา

ผมใช้ sony vaio sr ซึ่งคนจำนวนมากก็เรียกร้อง sony เรื่อง แบตเตอรี่หลวมครับ ผ่านไป 6 เดือนก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยครับผม

แต่เหนด้วยกับย่อหน้าข้างล่างนะครับ

เรื่องแบต Sony ประเทศไทยเรียกร้องยาก(โครตๆ)หรือไม่มีการตอบรับครับ (ผมเคยใช้ Z มีปัญหา ถามแต่ประกันภัยลูกเดียว กว่าจะเคลมได้ อย่างกับรถยนต์เคลมประกัน) แต่ต่างประเทศทำกันครับ โดยเฉพาะ us ครับ ข่าวนี้ผมไม่ได้พูดลอยๆ เป็นข่าวที่ทาง manager ได้เคยลงเอาไว้ครับ หรือไม่แน่ใจว่า bn ได้ลงไว้หรือเปล่านะครับ

ผมใช้เครื่องของ us ครับ ตอนนี้อยู่ที่ us ครับผม ประกันก็ยังมีอยู่ครับ

แต่ทางบริษัทเค้าบอกว่าไม่เหนเปนปัญหาครับผม (ทั้ง ๆ ที่คนกลุ่มหนึ่งก็บ่นเรื่องแบตหลวม)

ผมว่าถ้าเป็นของ sony โปรดักต์ทางโซนเอเชียค่อนข้างจะดีกว่าพอสมควรเลยคับ

แต่ผมไปจับเครื่องเพื่อนอ่ะ... มันตกนะ...

มันซื้อมาตั้ง 51,000 ที่ MBK... (เพื่อนหน้าซีดเลย)

ของผม HTC (ตำนาน) จับก็ตกนะ ขีดนึง...

ส่วนของ iPhone 4 นั้นตก... (ไม่ขอกล่าวถึง เพราะมีใน youtube)

ไปจับมาวันนี้ผมเล่นมันยังกับเกมส์
iPhone 4 ชอบที่เล็ก เหลี่ยม จับง่ายไม่ลื่นมือ
5 ขีดไป ยั้น 1 ขีด
สนุกมาก เดี๋ยวขึ้น เด๊๋ยวลง ฮ่าๆๆ

ผมมี 3GS อยู่กับมือ จับให้ตายก็ไม่ลด
ก็ให้ลด ให้ตายก็ ลดไปได้แค่ ขีดเดียว
พนักงานมันก็พูดยอมรับว่า มันลดจริง มันไม่รู้จะพูดยังไง แต่ก็นะ ขอบยางช่วยได้
ฮ่าๆๆๆ Apple Store US
...

, Love Andriod but own iPhone(3GS)

ผมว่าเขาก็รับผิดเต็มๆนะครับ และพยายามหาทางแก้ไขให้ดีที่สุด เขาแค่บอกว่าปัญหาที่มีบน iPhone4 นั้น Smartphone ตัวอื่นๆก็มีเหมือนกัน เพียงแต่ iPhone4 พลาดที่ทำให้ปัญหานั้นเห็นเด่นชัดเกินไป และตอนนี้ทีมงานพยายามแก้ไขให้ได้เร็วที่สุด

คุณสามารถอ่านคำแถลงการได้เต็มๆที่ http://www.engadget.com/2010/07/16/live-from-apples-iphone-4-press-conference/

จริงที่ job ไม่ได้ออกมาขอโทษตรงๆ แต่ก็ออกมายอมรับผิดเต็มๆเช่นกัน ลองเขาไปอ่านดูดีๆนะครับ

ผมไม่เห็นประโยชน์ว่ามาช่วยจ็อบส์เถียงแทน แล้วสถานการณ์มันจะดีขึ้นนะครับ กลับกันภาพลักณษ์ของแอปเปิลยิ่งแย่ลงเพราะคอมเมนต์ลักษณะนี้

Slate ชี้แจงก็มีเหตุผลประกอบ ในเชิงสามัญสำนึกที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย
ถึงแม้ไม่มีหลักฐานว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับรู้ว่ามีปัญหาอยู่
และมีคนอีกจำนวนมากที่รู้ปัญหาแต่ก็ไม่ได้โทรไปบ่นหรือเอาของไปขอคืน
แต่ Jobs เอา เปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมดที่ขายเอามาเป็นเหตุผล
ซึ่งก็ผิดตั้งแต่แรกแล้ว
ส่วนเรื่องการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบนั้น เราก็เคยเห็นกันอยู่บ่อยๆ
ตัวอย่างเช่น Nokia เคยเรียกคืนมือถือเป็นล้านยูนิตที่พบว่าแบตเตอรรี่ที่มีปัญหาจากการผลิต
และ "อาจจะ" ทำให้เครื่องร้อนจนเกิดไหม้ได้ โดยเปลี่ยนให้ฟรีถึงแม้ยังไม่เกิดปัญหากับผู้ใช้ก็ตาม
http://www.allaboutsymbian.com/news/item/5737_Nokia_Battery_Recall-Click_her.php

http://www.betanews.com/article/Nokia-Issues-Massive-Phone-Battery-Recall/1187100296

ผมว่าปัญหาเปรียบเทียบกันคนละ Domain นะครับ กรณี Nokia นี่เกิดปัญหากับ Battery ทุกก้อนที่อยู่ใน Lot การผลิตนั้นแต่กรณี Apple เป็นปัญหา Call Drop ที่ไม่ได้เกิดกับทุกคนเสมอไปดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาจึงไม่ควรจะเหมือนกัน ปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์แทบทั้งหมด (Battery Lot ที่มีปัญหา) คิดเป็นเกือบ 100% ส่วนอีกปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นจริงกับผลิตภัณฑ์บางส่วนที่ไม่ถึง 5% (ปัดขึ้น 10 เท่าจากตัวเลขที่ Steve Jobs อ้างมา) จะเรียกคืนโทรศัพท์ทั้งหมดกลับมานั้นคงจะไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนัก

อยากถามว่าเชื่อกันจริง ๆ หรือครับว่าที่ Nokia เรียกคืน Battery ชุดที่มีปัญหาทั้งหมดกลับมานั้นเพราะ Nokia มีความรับผิดชอบสูง ผมกลับไม่คิดแบบนั้น ผมคิดว่าในบริษัทใหญ่ระดับ Nokia แล้วนี่ผู้บริหารไม่ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินธุรกิจจากอะไรที่ฟังดูสวยหรูแบบนั้นหรอกครับ สิ่งที่เขาพิจารณาคือโอกาสที่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นลุกลามเป็นวงกว้าง ชื่อเสียงของบริษัทที่อาจจะต้องเสื่อมเสียในกรณีที่ Battery ทำให้เครื่องร้อนจนไหม้ ความเสี่ยงที่ลูกค้าอาจจะหวันวิตกกับข่าวนี้จนอาจถึงขั้นสร้างกระแสต่อต้าน Nokia ขึ้นมา รวมไปถึงคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเสียให้กับการฟ้องร้องจากผู้ใช้โทรศัพท์ที่เกิดปัญหานี้จริง ผมว่า Nokia คิดหักลบกันแล้วพบว่าการเรียกคืน Battery ทั้งหมดนั้นดูจะเป็นหนทางที่เหมาะสมที่จะทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์น้อยที่สุดแล้ว Nokia จึงได้เลือกวิธีนี้

อีกอย่างผมยังสงสัยว่าถ้าการเอาจำนวนยอดขายทั้งหมดมาเป็นตัวหารเปรียบเทียบหาเปอร์เซ็นต์ของปัญหานั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีลูกค้าบางคนที่มีปัญหาแต่ไม่ได้ร้องเรียนเข้ามา แล้วต้องทำอย่างไรให้ตัวเลขวิเคราะห์นี้ถูกต้องหรือครับ แบบนี้โทรศัพท์ยี่ห้ออื่น ๆ ก็ไม่สามารถนำตัวเลขในแนวเดียวกันมาอ้างอิงปัญหาได้เช่นกันหรือเปล่าครับ ไม่ว่าจะเป็น BlackBerry, Nokia, Samsung, LG, Motorolla เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ยี่ห้อไหน มันก็ต้องมีลูกค้าบางคนที่มีปัญหาแล้วไม่ได้โทรเข้าไปแจ้งร้องเรียนเหมือนกัน ในเมื่อนี่มันเป็นตัวเลขเดียวที่มีเป็นหลักฐานชัดเจนการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ผมว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วครับ

ปล. ผมไม่ใช่สาวก Apple นะครับ ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยมีเครื่อง Mac ไม่เคยมี iPhone iPod iPad เป็นของตัวเองเลยแม้แต่อย่างเดียว ผมแค่ลองนำเสนอวิธีคิดของผมเองเท่านั้นครับ
ปล2. โทรศัพท์มือถือที่ผมใช้อยู่ตอนนี้คือ Palm Pre โทรศัพท์มือถือเครื่องหน้าที่เล็งไว้คือ BlackBerry Storm 3 ต้องขอออกตัวไว้ก่อนไม่งั้นเดี๋ยวจะโดนเขม่นได้ ;D

ผมว่าไม่เกี่ยวกับ scale นะ แต่แบตมันเสี่ยงถึงความเสียหาย และชีวิตได้ อย่างกรณี Nvidia ใน notebook ยังเป็นแค่ขยายเวลาประกันเลย การเรียกคืนมือถือหรือ notebook ที่มีปัญหาเรื่องแบตนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต แน่นอนว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นผู้ผลิตโดนฟ้องแน่ๆ

ผมว่า มองในมุมง่ายๆ Apple มีสาวกมากมายขนาดนี้ แล้วสาวกเขาก็ยังรัก Apple มาก Apple ก็น่าจะทำอะไรเพื่อสาวกบ้างสิครับ เขาได้เงินตั้งมากมายไปจากผู้บริโภค ทั้งที่เป็นสาวกจริงๆ แล้วก็คนทั่วไปที่อยากซื้อ ยอมขาดทุนหน่อยหรือแค่ขอโทดเฉยๆ มันไม่น่ายาก ยิ่งจะทำให้คนรัก Apple มากขึ้นอีก

เท่าที่ทราบ เค้ายินยอมให้ลูกค้า คืนสินค้าได้ โดยคืนเงินให้ 100% ด้วยนะครับ

เป็นการตัดสินใจเชิงธุรกิจ ที่ทำให้กิจการสูญเสียน้อยกว่ามาก โดยประเมินว่า ลูกค้าที่ไม่พอใจจริง ๆ มีจำนวนหนึ่ง แทนที่จะ เรียกคืนสินค้า 100% ก็เสนอทางออกนี้ให้ ร่วมกับการแจกฟรี bumper

แต่ก็ไม่ยอมรับว่าออกแบบผิิดพลาด และพยายามเบื่ยงประเด็น โดยหลอกลูกค้าว่าเครื่องยี่ห้ออื่นก็เป็นเช่นกัน

หลอกลูกค้าว่าเครื่องยี่ห้ออื่นมีปัญหาเช่นกัน แสดงว่าตาม YouTube ที่เห็นเกือบทุกยี่ห้อสัญญาณลดนั้นไม่เป็นปัญหา มีแต่ไอโฟนเท่านั้นเป็น? ยี่ห้ออื่นไม่ต้องแก้ไข?

ผู้ใช้ Droid Eris ร้องเรียนปัญหาน้อยกว่า iPhone 4 ประมาณ 34 เท่า

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ...

เหตุผลคือ apple เอาเสาอากาศออกภายนอกเครื่อง แล้วยังจัดให้เสา wifi bt gsm อยู่ใกล้ 3g เมื่อจับที่จุดดังกล่าว ทำให้สัญญานของทั้งสองระบบกวนกัน

ชึ่งแตกต่างจากการที่สัญญานตกเพราะโดนบัง ชึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบไร้สายอย่างสิ้นเชิง

ไม่มีใครด่ามาตรการช่วยเหลือลูกค้าของแอปเปิลนะครับ แจก bumper ให้ลูกค้าฟรี ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรได้

แต่คนด่าเรื่องเหตุผลประกอบคำอธิบาย ที่พยายามบอกว่า "มันไม่ใช่ปัญหา" กันทั้งนั้น แยกประเด็นดีๆ

ไม่เห็นแปลกครับ ที่อเมริกา (ประเทศอื่นผมไม่ทราบ) ซื้ออะไรก็คืนได้ หากไม่พอใจในคุณภาพและบริการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคครับ บางแห่งคืนได้ภายใน 3 เดือนด้วยซ้ำไป

ไม่ต้องเรียกคืนแต่รับตรงๆ ว่าพลาดจะขาดทุนตรงไหน? ไอ้การเอาเจ้าอื่นมาเทียบแต่กลับไม่เทียบกับของเดิมของตนมันทำให้กำไรหดตรงไหน?

ว่าจะมาอ่าน Comment ดริฟท์คร่อมรางเพลินๆ หลังจากไม่ได้มาอ่านหลายวัน
(ข่าว Apple ช่วงนี้มีให้อ่านเพลินๆได้เรื่อยๆ)

อ่านไม่ไหวแล้ว ยาวเกิน T T

เหมือนกับว่า

สรรหาคำพูดให้ตัวเองดูแย่น้อยที่สุด
ในระหว่างที่เผชิญความผิดพลาดอย่างแจ่มแจ้ง

ไม่ไหวเลย จะห่วงภาพลักษณ์ไปถึงไหนกัน = ="

ปล.เพิ่งซื้อ 3gs มือสองเมื่อวานคับ :)
เอามือป้องเท่าไหร่สัญญาณก็ไม่ลด อย่างมากสุดๆ ก็ลดไป ขีด 1 (เล่นแทบตาย)

เล่น Iphone 4 - เอามือป้องลดสัญญาณยังกะเล่นเกมส์ 5 -> 1 ขีด
(แต่ชอบตรงที่เล็ก เหลี่ยม ไม่โค้ง จับถนัดมือ ไม่กลัวหลุดมือ !!)
ถ้า Iphone 4 ไม่มีปัญหาพวกนี้ ผมจะยอมรับว่า Design ได้ดีจริงๆ

ถ้าถามผมว่า apple ทำแบบนี้ถูกไหม
ผมตอบได้เลยว่าผิดแน่ๆ เพราะ apple ออกแบบผลิตภัณฑ์มาแล้วมีปัญหา
มันเป็นเรื่องของการ design เต็มๆ ต้องยอมรับผิด
ถ้าแค่ขีดสัญญาณหายจากความผิดพลาดของการคำนวณคงไม่มีใครว่าอะไร
แต่สัญญาณหายไปจริงๆด้วยนี่สิ คือ ปัญหาใหญ่
เพราะโทรศัพท์มีไว้โทร ถ้าโทรไม่ได้มันจะเป็นโทรศัพท์ได้อย่างไร มันผิดที่จรรยาบรรณ

และถ้าถามต่อว่า apple แจกขอบยางแบบนี้ละโอเคไหม
ผมตอบได้แบบมั่นใจว่ามันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
มันก็จริงที่คนส่วนใหญ่จะใส่ soft case ให้ iPhone สุดที่รักอยู่แล้ว
แต่คุณจะทนสบายใจอยู่ได้ไหมกับความรู้สึกที่ว่า ของที่คุณกำลังใช้อยู่นั้นมันมีปัญหาจริงๆ

(ดูอย่าง toyota รถมันขับแล้วมีปัญหาเค้ายังเรียกคืนได้
ผมคิดว่า iPhone เครื่องเล็กๆคงเรียกคืนได้ไม่ยาก)

จริงๆผมอยากจะ no comment เพราะผมไม่เคยใช้ iPhone4 จริงๆ
แต่ในฐานะที่ยังไงผมก็ชอบ iPhone4 ต้องซื้อแน่ๆ
ผมก็อยากได้ของที่ไม่มีปัญหา ไม่งั้นใช้ไปแล้วมันคาใจ

เรื่อง safety เทียบกับกรณีทั่วไปไม่ได้หรอกครับ ความสำคัญเรื่อง safety คืออันดับ 1 และต่างจากเรื่องอื่นมาก ถ้าจะเทียบหากรณี defect อย่างอื่นดีกว่าครับ อยากถามว่าปัญหาของ iPhone เรื่องสัญญาณเรียกคืนมีผลดีต่อผู้ที่ซื้อไปแล้วอย่างไร มีผลดีต่อผู้ที่กำลังจะซื้ออย่างไร

คำตอบของคนที่อยากได้ iphone4 จริงๆคือ รอไปอีกครับ รอรุ่น release candidate 2 ที่น่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ ผมว่าไม่น่าเกิน 6 เดือนมั้ง

แจมกระทู้ดราม่า

ท่าทาง หลายคห.ในนี้จะเข้าใจความจำเป็นในการเรียกคืนสินค้าแบบผิดๆนะ

Nokia รุ่นอ้านี้เขารับคืนไหม ?

รถ T เบรกห่วยเขาเรียกรับคืนทั่วประเทศไทยไหม ?

รถ H มีดีลเลอร์ย้อมแมวขาย จำเป็นต้องเรียกคืนทุกรุ่นทั่วประเทศไหม ?

รถยนต์ยี่ห้อ รุ่น (ขอสงวนนาม)ผลิตในปี 200X-200X มีปัญหาระบบไฟฟ้า เขาใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเรียกคืนรถลูกค้า

ทำไม Xbox360 ไฟแดงในอัตราสูงมาก ถึงไม่นำสินค้ากลับมาแก้แต่ยังขายต่อไป

ทำไม Ps3 ไฟเหลือง (ตามข้างบน)

ตอบเท่าที่รู้

  • XBox 360 ไฟแดง ส่งเครื่องคืนได้เครื่องรุ่นใหม่ เข้าใจว่าตัวเครื่องยังทำงานเป็นปรกติได้ตั้งแต่วันแรกจนวันที่มันเจ๊ง (ซึ่งต่างกับ iPhone 4 ตรงที่มันเจ๊งตั้งแต่วันแรกที่เปิดใช้) ดังนั้นใช้วิธีทยอย ๆ เอาก็ได้
  • PS3 ไฟเหลือง ส่งซ่อมฟรี (ภายในประกัน)เหตุผลเหมือนข้างบน

ไมโครซอฟท์ก็ออกมาแอ่นอกรับอัตราการส่งคืนสูงถึง 60% หน้าตาเฉย (ทำนองว่าลูกผู้ชายทำแล้วก็ต้องรับ) ส่วนทาง Sony เองอัตราก็ต่ำมากจนแทบเป็นเรื่องปรกติ (แต่ดูเหมือนว่ารุ่นใหม่จะไฟเหลืองมากก่ารุ่นแรกแฮะ)

ทาง Toyota ก็โดนกระหน่ำโจมตีไปแล้ว ... เหมือน Apple กรณีนี้ไม่มีผิด

ส่วน Honda นั่น ... เท่าที่รู้เหมือนเป็นการจัดการกับทาง Dealer เอง (ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นการที่ Dealer เพิ่มออปชั่นกับตัวรถเอง เช่นเบาะหนัง) ต้องไปโวยกับ Dealer เอง

... ส่วน Nokia เนื่องจากไม่ไ้ด้ตามข่าวนานแล้ว (ผมเป็นสาย SE น่ะ) ก็เลยไม่มีข้อมูลง่ะ

โนเกีย 5800 ที่สาวกโนเกีย(และคนหมั่นไส้แอปเปิ้ล)คุยกันว่าเป็น iphone killer นะ เปิดตัวในไทยเคสดันอ้าออก แถมไม่รับคืน วิธีแก้ช่วงๆแรกก็คล้ายๆ Iphone4 ตอนนี้ เช่น เอาตะไบไปถูให้บางลง ไปก่อน (ฮา)

Xbox360 / Ps3 เขามีเรื่องประกันให้แล้วถ้ามีปัญหาประกันไม่หมดก็มาที่ศูนย์

อีกกรณี Honda ทุบรถ CRV นี้คิดว่าจำเป็นไหมที่เขาต้องรับคืน เนื่องจากปัญหาที่เข้าซ่อมแต่ซ่อมไม่หาย
(และพอไม่รับคืน ก็กลายเป็นข่าวทุบรถโชว์เป็นแฟชั่นช่วงหนึ่ง เช่น ฟอร์จูนเนอร์เบรกห่วย)

กล่าวคือ สินค้ามีปัญหาส่วนหนึ่งจะให้รับคืนทั้งหมดมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายในด้านตัวสินค้า/Hardware จริงๆ
อีกอย่างในไทยมันจะกลายเป็นกรณีตัวอย่างให้เลียนแบบอ้างขอคืนได้ตลอดด้วยเหตุผล ร้อยแปดพันเก้า

ปล. เอาจริงๆทุกยี่ห้อในไทยมันก็บอกให้เลี่ยงเรื่องคืนรถทุกเจ้าแหละ เพราะรับคืนมาเต็มจำนวนเวลาขายต่ออีกทีมันขายราคามือหนึ่งไม่ได้แล้วนี่หว่าซวยอีก(ฮา)

จะว่าไป
Toyota นี้ก็คล้ายๆ Apple ดี เช่น ตอน Vigo กำลังจะเปิดตัว ดันเอกสารหลุดไป pantip แก้ปัญหาง่ายๆด้วยการ Fax บังคับให้ pantip ลบกระทู้ซะ >_<p
ผลคือ โดนด่ากันขรมทั้งห้อง แต่ สุดท้ายก็ยังเป็นกระบะขายดีอยู่ดี (ฮา)
หรือเรื่องเบรกห่วย แค่กดดันสื่อ เบรกลงข่าวกันหมด (สปอนเซอร์โฆษณา กล้าไหมล่ะ)
กรณีอเมริกา ดันมีข่าวคนตายปัญหาเลยดัง แถมสื่อก็ชอบหาเหยื่อดังๆที่พลาดมาเล่นอยู่แล้ว เลยโดนซะ

วิธีแก้พวกรถมีปัญหาเนียนๆ
โทรบอกลูกค้าให้มาเข้าศูนย์เช็กตามกำหนด เช็กรุ่นผลิตว่าตรงไหม แล้วแอบเปลี่ยนส่วนที่มีปัญหาให้เลย
(เลยคิดว่า แอปเปิ้ล จะแก้ล็อตที่มีปัญหาด้วยวิธีนี้ ดีกว่าเรียกมาแก้เหมาหมดทุกเครื่อง)
คล้ายๆแบบนี้ http://www.blognone.com/news/17346

ปล.2 ส่วนเรื่องศาสดาตอบเมล์กวนเรื่องสัญญาณนี่เฉยๆนะ คงเหมือนเอา Xbox360 ไฟแดง3ดวง ไปให้ บิลเกต แก้ให้หน่อย :D

ผมมองแค่เรื่อง iPhone4 อย่างเดียวนะไม่เปรียบเทียบกับอย่างอื่น

ตาจ๊อบ พูดไม่ดี ก็ช่างแก
iPhone4 ยังไม่ดี ยังไม่ต้องซื้อ อดใจรอหน่อย รอมีผลการทดสอบว่า ตาจ๊อบปรับปรุงแก้ไขไปแล้วค่อยไปซื้อยังไม่สาย

การแก้ปัญหาของแกดันเสนอออกมาช้าไป อีกทั้ง
-ดันตอบเมล์เกรียนๆไปหลายฉบับเรื่อง จับมือถือผิดท่า
-แล้วมาบอกทีหลังว่าเป็นเมล์ปลอม แต่มีคนยืนยันว่าจริง
-ออก procedures ให้พนักงาน ห้ามแจก bumper case เด็ดขาด (ออกแนวหยิ่งๆ)
-แถว่าไม่ได้เป็นที่ hardware แต่เป็นเพราะ software ด้านการคำนวณขีดสีญญาณเกินจริง ให้รอ update
-ตอนนี้ดันมาบอกว่า software ไม่แก้ปัญหาอะไร
-press ครั้งนี้ถ้าไม่พูดถึงบริษัทอื่นจะเป็นการดีกว่า

เรื่องมันดูเหวงๆ ยังไงไม่รู้

ส่วนเรื่องคืนเครื่องนี่ ถ้า Apple fanboys มีปัญหาเรื่องสัญญาณจริง หรืออยากได้เครื่องที่สมบูรณ์กว่านี้ พอเค้าไปคืนเครื่องเอาเงิน แล้วเขาจะเอามือถือ Apple อะไรใช้หละครับ ในระหว่างรอท่านจ๊อบ แอบแก้ไขปัญหาหนะ (ไม่รู้เมื่อไรจะเสร็จด้วย) สงสัยต้องไปซื้อ 3310 มาใช้รอไปก่อน

Kizz Mon, 19/07/2010 - 13:58

In reply to by tra33372

+1 เลยครับ
ตอนนี้คนทั่วไปคงอยากได้ คำตอบที่ดี และดูไม่เกรียนกว่านี้จากพี่จ๊อบแกอ่ะนะ

จิงๆ ผมก็ชอบนะ iphone เนี้ย ดีไซน์มันก็ดูดีในระดับนึง แต่คำตอบหลังการขายครั้งนี้ มันทำให้ความรู้สึกดิ่งลงเหวเรื่อยๆ เลย

+1 ด้วย
กำลังรออยู่เหมือนกัน แต่เห็น Case Vapor แล้วใจละลายเลย O-o
รอมันแก้ไขก่อน ถ้าไม่แก้จริงๆผมจะชั่งใจระหว่าง IP4+Case Vapor
กับ IP 4 2rd Edition แทน เฮ้อเห็นแล้วเซ็ง

ทำไมปัญหาต้องมาเกิดกับมือถือรุ่นที่ผมจะได้ใช้ทุกที คราวทีแล้ว P525
รีวิวมาดีๆ ปัญหาภายหลังเพียบเหมือนกัน

ถ้าซื้อมือถือมาแล้วใช้ไม่ได้เป็นเรื่อง น่าหงุดหงิดมากๆครับ
มือถือควรจะใช้งานได้ แม้จะว่าใช้ได้ไม่ดี แต่ก็ควรต้องใช้ได้
ตอน P525 ผม จะโทรๆเครื่องดับเอง เป็นอยู่ สี่ห้ารอบ แทบ
อยากจะเขวี้ยงทิ้งลงพื้นมากๆ

ต้องเข้าใจว่า โลหะ 2 ชิ้น มันถูกสัมผัสโดยมือเราทำให้สัญญาณลดลง ไม่ใช่เอามือไปบังแผงสัญญาณที่ทำให้สัญญาณลดลง ก็ตรงนั้นมันเลี้ยงที่คนเราจะจับไม่ได้ เรียกคืนแล้วผลิตใหม่เถอะครับ เกาไม่ตรงที่คัน แถมยังใสร้ายเค้าอีก เบือ

อ่านแล้วแอบงงๆ กับหลายๆ คน

ยิ่งคนที่พยายามเอาข้อมูลของการที่สัญญาณตกลงเมื่อจับที่ตัวเครื่อง

แต่ประเด็นหลักจริงๆ ที่ผมเข้าใจคือ iPhone 4 เนี่ย มันสัญญาณตกในท่าทางมาตรฐานของการใช้งาน

ซึ่งตรงข้ามกับโมเดลอื่นๆ ที่ต้องกุมเฉพาะจุด หรือรอบตัวเครื่องราวกับว่าต้องการให้มันสัญญาณตก ซึ่งมัน...

ผมคิดว่าคงไม่มีใครกุมเครื่องสองมือแล้วเอามาแนบหู ... จริงๆ นะ

มาลงชื่อ อ่านถึงตรงนี้ >><<

อยากจะบอกว่า อยากได้รุ่นนี้เหมือนกัน ทำไมต้องออกแบบมามีปัญหาด้วยนะ งั้นคงต้องรอ gen5 อย่างที่มีคนบอกไว้แหละ
"สินค้า apple ต้องรอซื้อ gen5 ถึงจะสมบูรณ์ที่สุด"

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find Hub
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png
EPYC
public://topics-images/epyc.png
HPE
public://topics-images/hpe.png
Juniper
public://topics-images/juniper.png
CMA
public://topics-images/cma.png
App Store
public://topics-images/app-store.png
DoJ
public://topics-images/doj.png
Siri
public://topics-images/siri.png
Apple Intelligence
public://topics-images/apple-intelligence.png
Acer
public://topics-images/acer.png
GeForce
public://topics-images/geforce.png
Omen
public://topics-images/omen.png
HP
public://topics-images/hp.png
Alienware
public://topics-images/alienware.png
Dell
public://topics-images/dell.png
Bungie
public://topics-images/bungie.png
Marathon
public://topics-images/marathon.png
Lenovo
public://topics-images/lenovo-2015-svg.png
Intel Arc
public://topics-images/badge-arc-graphics.png
GitHub
public://topics-images/8zfrryja_400x400.png
GitHub Copilot
public://topics-images/copilot.png
Foxconn
public://topics-images/foxconn_0.png
Visual Studio
public://topics-images/vs.png
Visual Studio Code
public://topics-images/vscode.png
WSL
public://topics-images/wsl.png
Linux
public://topics-images/linux.png
Tencent
public://topics-images/tencent_logo_2017.svg_.png
Entra
public://topics-images/microsoft_entra_id_color_icon.svg_.png
RHEL
public://topics-images/rhel-icon.png
MSI
public://topics-images/msi-logo-for_digital_use_b.png
MCP
public://topics-images/mcp.png
Docker
public://topics-images/docker.png
RISC-V
public://topics-images/risc-v-logo.svg_.png
Fedora
public://topics-images/fedora.png
ASUS
public://topics-images/asus.png
ROG
public://topics-images/rog-logo_red.png
Naughty Dog
public://topics-images/naughty-dog.png
AIS
public://topics-images/357073423_657473419752809_8491928084596189631_n.png
National Telecom
public://topics-images/nt.jpg
Elon Musk
public://topics-images/elon_musk_2015_0.jpg
OpenShift
public://topics-images/openshift-logotype.svg-0.png
Shift Up
public://topics-images/shiftup.png
Bethesda
public://topics-images/bethesda.png
The Elder Scrolls
public://topics-images/tes.png
CATL
public://topics-images/img_7841.png
Radeon
public://topics-images/radeon.png
Waymo
public://topics-images/waymo.jpg
Borderlands
public://topics-images/borderlands4.png
Android XR
public://topics-images/android-xr.png
Ninja Theory
public://topics-images/ninja.jpg
Jonathan Ive
public://topics-images/ive.jpg
Bitcoin
public://topics-images/bitcoin.svg_.png
Baidu
public://topics-images/baidu.jpg
Wear OS
public://topics-images/wearos.png
Activision
public://topics-images/activision.svg_.png
Netmarble
public://topics-images/netmarble.png
NetEase
public://topics-images/netease.png
Fujifilm
public://topics-images/l_9ycfw2_400x400.png
Google Vids
public://topics-images/vids.png
Google Docs
public://topics-images/docs.png
Google Sheets
public://topics-images/sheets.png
Google Chat
public://topics-images/gchat.png
Google Slides
public://topics-images/slides.png
Google Photos
public://topics-images/photos_0.png
Snapchat
public://topics-images/snapchat.png
Google TV
public://topics-images/gtv.png
Android Auto
public://topics-images/aauto.png
Gmail
public://topics-images/gmail.png
Google Forms
public://topics-images/forms.png
Google Workspace
public://topics-images/workspace_0.png
Android Studio
public://topics-images/android_studio_logo_2024.svg_.png
Pocket
public://topics-images/spnhfky8_400x400.png
Mozilla
public://topics-images/mozilla.jpg
Thunderbird
public://topics-images/thunderbird.png
Bluesky
public://topics-images/bluesky.jpg