LG

ช่วงนี้เทคโนโลยีที่กำลังวัดใจว่าจะอยู่หรือจะไปกันในระบบบันเทิงทั้งหลายคือการแสดงภาพสามมิติที่ใช้กันตั้งแต่ในโรงภาพยนตร์, เกม, ทีวี, และจนตอนนี้มันมาถึงโทรศัพท์มือถือแล้ว ผมเองแม้จะได้ดูหนังสามมิติอยู่เรื่อยๆ แต่ก็คิดไม่ออกว่าหากมันไม่ใช่การ "ไปดู" ในโรงแต่อุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ทุกวันเช่นมือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นสามมิติจริงๆ มันจะใช้งานได้จริงแค่ไหน งานนี้พอดีหายืมเครื่อง LG Optimus 3D มารีวิวได้เลยเอามาลองใช้งานดู

ก่อนอื่นคือบทความนี้ไม่ใช่การรีวิวเต็มรูปแบบแต่เป็นการทดลองใช้งานโทรศัพท์ที่มีหน้าจอและ UI เป็นสามมิติมากว่า เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาของผมเองในช่วงนี้นะครับ แต่แนะนำตัว LG Optimus 3D กันสักหน่อย

เสปค

LG Optimus 3D เป็นโทรศัพท์ในรุ่นสูงเช่นเดียวกับ LG Optimus 2X มันใช้ชิป TI OMAP4430 ที่เป็น ARM Cortex A9 ทำงานสูงสุดที่ 1GHz แรม 512MB และหน่วยความจำแฟลชภายใน 8GB หน้าจอ

หน้าจอสามมิติขนาด 4.3 นิ้ว พร้อมซอฟต์แวร์ LG 3D UI ที่เป็นเมนูหลักสำหรับรวมซอฟต์แวร์ที่เป็นสามมิติที่แถมมากับเครื่อง

รูปร่างภายนอก

รูปร่างภายนอกและวัสดุของ LG Optimus 3D ทำให้ผมนึกถึงโทรศัพท์รุ่นอื่นๆ ของ LG ได้เป็นอย่างดี ด้วยฝาหลังพื้นผิวสากเล็กน้อย และด้านหน้าที่เรียบเป็นแผ่นเดียว

LG Optimus 3D เป็นโทรศัพท์ที่แสดงความเป็นสามมิติทั้งตัวตั้งแต่กล้องสองตัวด้านหลัง สัญลักษณ์ 3D Stereoscopic ที่เด่นกว่าโลโก้ LG เองเสียอีก ที่หนักกว่าทั้งหมดคงเป็นปุ่มที่น่าจะเป็นชัตเตอร์กล้อง แต่มันกลับเป็นปุ่ม 3D เพื่อเปลี่ยนโหมดกล้องจากสองมิติเป็นโหมดสามมิติ

จอภาพสามิติ

LG Optimus 3D มาพร้อมกับจอภาพ 800x480 มาตรฐานปรกติสำหรับโทรศัพท์รุ่นสูงสักหน่อย แต่ในโหมดการทำงานสามมิตินั้นจะต้องวางจอภาพเป็นแนวนอนเท่านั้น โดยมันจะแบ่งพิกเซลในแต่ละคอลัมภ์มาแสดงภาพสำหรับตาซ้ายและขวา ทำให้จอภาพเวลาแสดงภาพสามมิติแล้วความละเอียดจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อจำกัดใหญ่สองข้อนี้อาจจะเป็นการบ้านให้ผู้ผลิตจอภาพต้องทำการบ้านกันอีกมาก โดยในจอความละเอียดสูงเช่นโน้ตบุ๊กนั้นการลดความละเอียดไปเพื่อนำพิกเซลครึ่งหนึ่งมาแสดงภาพสามมิติไม่ใช่เรื่องใหญ่นัก แต่ในจอที่ความละเอียดไม่สูงเช่นในโทรศัพท์มันจะมีผลค่อนข้างมาก ส่วนปัญหาที่ใหญ่กว่าคือการใช้ในแนวตั้งที่เป็นท่าปรกติในการใช้โทรศัพท์ แต่พอเป็นจอสามมิติเมื่อใช้ในแนวตั้งแล้วก็ไม่สามารถแสดงผลพิเศษอะไรได้

การใช้งานจริงพบว่าต้องเล็งระยะให้ตรงกับระยะที่จอออกแบบไว้ ไม่ใช่นั้นแล้วภาพก็จะเริ่มซ้อนๆ กันมองไม่เป็นสามมิติ ชวนให้ปวดหัว ตรงนี้หลายคนรอบตัวผมมาลองใช้แล้วบอกผมว่า "นึกออกแล้วว่าทำไม Nintendo 3DS ขายไม่ดี"

กล้อง

กล้องสองตัวใช้จับภาพจากสองมุมมองแบบเดียวกับที่สายตาของเรามองภาพจริงๆ ไฟล์ที่ได้จากกล้องนั้นจะเป็นไฟล์ .jps ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือภาพ JPEG ธรรมดา ในกรณีที่โปรแกรมไหนอ่านไฟล์ .jps ไม่ออกก็เปลี่ยนนามสกุลไฟล์ได้เลย

ที่น่าสนใจคือไฟล์นี้เมื่อเปิดมาแล้วเป็นสองภาพ ถ้าใครสามารถทำ "ตาเข" เพื่อมองภาพสามมิติได้ ภาพนี้ก็ทำได้เหมือนกัน

ไฟล์วิดีโอก็เช่นเดียวกัน คือเป็นไฟล์ .mp4 ธรรมดาที่มีวิดีโอสำหรับตาซ้ายขวา แต่กรณีของไฟล์วิดีโอนั้น YouTube จะรู้ว่าเป็นวิดีโอสามมิติและแปลงให้เอง หากจอภาพเราเป็นสามมิติเช่นใน LG Optimus 3D ก็จะแสดงภาพสามมิติได้เอง หรือหากไม่มีจอภาพสามมิติก็สามารถใส่แว่นเพื่อดูภาพได้เหมือนกัน ตรงนี้สำคัญมากเพราะเราจะมีช่องทางแชร์เนื้อหาที่เป็นสามมิติให้กับคนที่ไม่มีจอสามมิติได้สะดวกมาก

ความรู้สึกจากการใช้งาน

อย่างที่บอกไว้แล้วว่าผมขอยืมเครืองนี้มาเพื่อทดสอบการใช้งานจอภาพสามมิติเป็นหลัก ส่วนใหญ่ใช้เล่นเกมสามมิติและดูวิดีโอ (น่าสนใจว่า channel ของทาง LG สำหรับวิดีโอสามมิตินั้นดูในเมืองไทยไม่ได้) พบว่าจอภาพสามมิตินั้นมี "คุณค่า" ในตัวมันเองเช่นเดียวกับการดูภาพยนตร์ในโรงสามมิติที่หาก เนื้อหาถูกสร้างมาเป็นสามมิติแล้ว ความสนุกโดยรวมก็จะดีกว่าการรับชมด้วยภาพสองมิติธรรมดาพอสมควร

อย่างไรก็ตามปัญหาความล้าของสายตายังมีผลอย่างมาก โดยเฉพาะจอภาพที่ไม่ต้องใส่แว่นเช่นนี้ ทางเดียวที่เราจะมองภาพโดยไม่เห็นภาพซ้อนได้คือการวางเครื่องไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งพอเป็นโทรศัพท์เราก็มักจะถือเครื่องห่างไป หรือใกล้เกินไปเป็นเรื่องปรกติ ภาวะเช่นนี้ทำให้เวลาที่ระยะหลุดออกจากระยะที่มองเห็นภาพสามมิติภาพก็จะเบลอจนทำให้สายตาล้าเร็วขึ้นไปอีก ตรงนี้ผมเชื่อว่าอนาคตหากจอภาพสามมิติยังได้รับความนิยมต่อไป ผู้ผลิตน่าจะใช้จอภาพด้านหน้ามาจับระยะสายตาผู้ใช้เช่นเดียวกับโน้ตบุ๊กสามมิติของโตชิบา

อย่างที่บอกแล้วว่าจอภาพสามมิติในตอนนี้ยังไม่สามารถแสดงผลในแนวตั้งได้ เรื่องหนึ่งที่น่าจะเป็นข้อจำกัดคือการใช้ accelerometer เพื่อควบคุมเกมที่เป็นเรื่องปรกติในโทรศัพท์จะทำไม่ได้ทันที เพราะหากจอภาพไม่อยู่แนวนอนพอดีแล้วภาพก็จะเบลอ เทคโนโลยีจอภาพสามมิติคงต้องการการพัฒนา "อีกขั้น" เพื่อที่จะใช้งานกันเป็นเรื่องปรกติได้จริงๆ

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

หวังว่าคงไม่ตกม้าตัวเดียวกันตายเหมือน Nintendo นะครับ คนส่วนใหญ่บอกว่าผิดหวังกับจอ 3 มิติ ทั้งที่มันเป็นจุดขาย สุดท้ายเลยขายไม่ออกซะงั้น

ผมลอง 3DS เองแล้วรู้สึกว่า เล่นไปนานๆ จะปวดตา รู้สึกเหมือนสมองสับสนเรื่องโฟกัส จอ LG นี่เป็นเหมือนกันมั้ยครับ

กรณีของ 3DS นี่ เขามีปุ่มเลื่อนปรับระยะของ 3D ให้เหมาะสมกับระยะสายตาด้วยครับ (ปรับต่ำสุด ก็จะกลายเป็นภาพ 2D )

แต่ถึงยังงั้นก็ไม่ไหวอยู่ดี ลดราคาลงมาแล้ว ก็ยังไม่สนใจอยากได้เลยสักนิด

ในงาน TME ที่เพิ่งผ่านมา ผมต่อแถวอยู่เกือบๆ 20 นาทีเพื่อลองเล่นเจ้านี่

พอได้จับตัวเป็น และลองเล่นเกมที่เป็น 3D ดูแล้ว อีก 1 นาทีต่อมาผมก็ต้องส่งให้ชาวต่างชาติด้านหลังต่อไป ไม่ไหวครับ เวียนหัว/คลื่นไส้/คล้ายจะเป็นลม สูดดมยาหม่องก็ไม่หาย

เดาเอาว่าเพราะ 1. จอมันเล็ก ก็ต้องเพ่งอยู่แล้ว 2. ไปเจอจอ 3D อีกคราวนี้หนักเลยครับ 3. อายุเยอะแล้วสังขารไม่อำนวย :D

jp Mon, 08/15/2011 - 18:11

ตอนเล่น First-person shooter (FPS) ใหม่ๆไม่ยักกะบ่นกัน แปลกแฮ(ะ)

Concept วิธีนี้ได้ แต่ในทางปฏิบัติ มักจะถือให้ได้ระยะคงที่ตลอดเป็นเรื่องยากที่จะมองได้ตรง strips กับสายตาทั้งสองข้าง อีกอย่างมันออกมาได้ไม่นาน ก็ไม่ต่างจาก AMLCD ออกมาใหม่ๆ ภาพก็ไม่สวยสีไม่คงที่โดยเฉพาะ TN ที่มุมมองแคบ อีกไม่นานคงมี Technology ที่พัฒนาเพื่อแก้ปัญหา หรือทางเลือกอื่นที่ดีกว่ามาแข่ง

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png