Digital Media

สงคราม HD DVD กับ Blu-ray กำลังครุกกรุ่น ไหนจะสงคราม OpenXML/OpenDocument อีก คราวนี้ถึงคราวมาตรฐานรูปภาพกันบ้าง

ไมโครซอฟท์เตรียมส่งฟอร์แมตรูปภาพของตัวเอง "Microsoft HD Photo" เข้าสู่กระบวนการขอ ISO

ต้องบอกกันก่อนว่าฟอร์แมตรูปภาพที่ครองตลาดในปัจจุบันก็คือ JPEG ครับ ใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 โน่น (15 ปีมาแล้ว) ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 ก็ได้ออกตัวปรับปรุงคือ JPEG 2000 ซึ่งก็ดีกว่าเก่า แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากปัญหาสิทธิบัตร ในปัจจุบันจะเห็นว่า อุปกรณ์แทบทุกชิ้นที่แสดงรูปภาพได้ก็จะต้องรองรับ JPEG กันหมด

หลังจากการวิจัยเป็นเวลาหลายปีของไมโครซอฟท์ (คิดว่าทั้งการพัฒนาและการวางแผนยึดตลาด) วันนี้เป็นที่แน่นอนว่าไมโครซอฟท์ต้องการ "Microsoft HD Photo" ให้เป็นมาตรฐานใหม่ของ Format รูปภาพ งานนี้ไมโครซอฟท์จะกินหมูแก่หรือไม่ หรือหมูแก่จะหนังเหนียวเหลือทน หนทางยังอีกยาวไกลครับ เรามาดูคุณสมบัติของฟอร์แมตใหม่นี้กันดีกว่า

  • เก็บรายละเอียดได้ 16-32 บิตสำหรับหนึ่งสี - เทียบกับ 8 บิตใน JPEG
  • บีบอีดดีกว่า JPEG ถึงสองเท่า! ที่ขนาดไฟล์เท่ากันคุณภาพจะดีกว่าสองเท่า หรือที่คุณภาพเท่ากันขนาดไฟล์จะเล็กกว่าครึ่งนึง
  • ออกแบบมาเพื่อรองรับชิบประมวลผลรูปภาพในกล้องถ่ายรูป ใช้หน่วยความจำต่ำ เนื่องจากเข้ารหัสภาพทีละชุด ไม่ต้องเก็บข้อมูลทั้งภาพไว้ในหน่วยความจำ
  • รองรับทั้ง Lossy (สูญเสียต้นฉบับ) และ Lossless (คงต้นฉบับไว้)
  • สามารถเก็บ Dynamic Range และ Color Gamut Data จากเซ็นเซอร์ของกล้องถ่ายภาพได้ทั้งหมด
  • สามารถเปลี่ยนแปลง Color Balance และ Explosure โดยไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิม (ช่วยให้ undo ได้)

แผนการที่เห็นชัดก็คือ Microsoft HD Photo นี้สามารถใช้ได้บนวินโดวส์ วิสต้าได้เลย และ ยังออก Plug-in สำหรับ Adobe Photoshop ไว้รอแล้วด้วย นอกจากนี้ยังปล่อย HD Photo Device Porting Kit สำหรับบริษัทผู้ผลิตให้นำไปใช้กันอีก

ทีนี้เราก็ต้องดูกันต่อไป ว่าไมโครซอฟท์จะมีชัยในสงครามนี้หรือไม่?

ที่มา: Sys-con Media ZDNet C|Net IT World

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

iannnnn Fri, 03/09/2007 - 01:38

ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการสนับสนุนฯ ละก็ ผมจะเชียร์เต็มที่เลยครับงานนี้

"Even when you do ship a product that incorporates the Windows Media Photo codec, in many circumstances it’s free:

Windows Media Photo is royalty-free …

- until 2010.

- after Microsoft’s related patents expire.

- for any software product that runs on a Microsoft operating system.

- when implemented as a component of XML Paper Specification (XPS.)

- for the first 50,000 units shipped each year.

For units in excess of 50,000 per year, for non-Microsoft OS or non-XPS implementations, after 12/31/2009 and before the Microsoft patents expire, the following royalties apply:

- $0.05 per unit, -OR-

- $50,000 per year for the entire company, for all products."

http://blogs.msdn.com/billcrow/archive/2006/06/30/651898.aspx

althema Sun, 03/11/2007 - 12:27

In reply to by dearteno

ผมว่าที่คุณ dearteno ก็อบมาไม่หมดนี่ จะทำให้คนที่ไม่ได้เข้าไปอ่านต้นฉบับจริงๆ เข้าใจคลาดเคลื่อนได้นะครับ เพราะข้อความจริงๆ ถ้าอ่านจนจบแล้ว จะไม่เป็นอย่างที่หลายๆ คนคิด

สรุปย่อๆ ว่าใช้งานได้ฟรี (ตลอดไป) สำหรับคนที่ใช้ codec ที่ออกโดยไมโครซอฟท์ (แต่ไมโครซอฟท์ จะออก codec ให้เฉพาะ OS ของไมโครซอฟท์เอง เช่น Vista, WinCE แล้วก็มีออกให้กับ OS X ด้วย - ไม่ยักมีสำหรับ Linux/Unix แฮะ)

ถ้าจะพัฒนา codec ขึ้นมาใช้เองไมโครซอฟท์ก็มีชุดพัฒนาให้ (เรียกว่า Device Porting Kit - DPK) ซึ่งตัว DPK นี่ไมโครซอฟท์ก็แจกให้ฟรีอีก (ใจดีจัง) เพียงแต่ว่า ถ้าหากเอา codec ที่พัฒนาเองนี้ไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะไปเข้าวิธีการคิด license แบบที่คุณ dearteno เอามาโพสนี่แหละ

สรุปคนใช้งานทั่วไปสามารถใช้ได้ฟรีแน่นอน แต่พวกบริษัทที่ผลิดอุปกรณ์ต่างๆ (พวกกล้อง digital, dvd player, etc.) อาจจะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ไมโครซอฟท์ ถ้าขายสินค้าเกิน 50000 ชิ้น/ปี (ตั้งแต่ปี 2010 ไป)

ส่วนซอฟท์แวร์ที่พัฒนา codec ขึ้นมาเอง แล้วมีการแจกจ่ายให้คนใช้กัน เช่น มีคนพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Linux ให้ดู/แก้ไข ไฟล์รูปแบบนี้ได้ (ในความคิดของผม อันนี้ไม่แน่ใจ) คิดว่าก็จะโดนเรื่องลิขสิทธิ์ไปด้วย (อันนี้ดูเหมือนจะจงใจกีดกัน Linux ยังไงไม่รู้)

ThaiBuddy Sat, 03/10/2007 - 18:34

ถ้าเป็นไปได้อยากให้แก้บทความนิดหนึ่งครับ ตรง Lossy=สูญเสียคุณภาพ(ไปบางส่วน) Lossless=ไม่สูญเสียคุณภาพ (แต่ขนาดจะใหญ่ขึ้นเล็กน้อย) เพราะถ้าแปลว่า สูญเสียต้นฉบับ คงไม่มีใครกล้าทำ compress แบบ Lossy :) ---------------- http://www.ThaiBuddy.com ฟรี T<->E dictionary แค่ชี้ mouse

anu Sat, 03/10/2007 - 20:57

ความหมายของผมคือ

Lossy - สูญเสียต้นฉบับ - ต้นฉบับจะสูญเสียไป แต่คุณภาพอาจจะเท่าเดิมก็ได้ (ถ้ามองด้วยตา) Lossless - คงต้นฉบับไว้ - ต้นฉบับอยู่เหมือนเดิมทุกประการ เพียงแต่ขนาดไฟล์เล็กกว่าไม่มีการบีบอัด (compress)

อธิบายไว้ตรงนี้เลยก็ได้ครับ

Lossy ในที่นี้มาจาก Lossy data compression ครับ เป็นรูปแบบของการบีดอัดไฟล์ชนิดหนึ่ง (จุดประสงค์เพื่อลดขนาดของไฟล์) การบีบอัดแบบนี้ จะดึง "ข้อมูล" ออกจากต้นฉบับบางส่วน โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่มนุษย์รับรู้ได้จะยังคงอยู่ครับ ทำให้คุณภาพของไฟล์อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และขนาดของไฟล์ก็เล็กลงมาก (โดยทั่วไปจะเหลือ 1/10 จากขนาดของต้นฉบับ) การบีบอัดแบบนี้นิยม ใช้กันมากในไฟล์รูปภาพ (เช่น JPEG, TIFF*) ไฟล์เสียง (MP3, WMA*, OOG) ไฟล์วีดีโอ (MPEG*)

Lossless ในที่นี้มาจาก Lossless data compression ครับ ก็เป็นรูปแบบการบีบอัดไฟล์อีกชนิดหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ Lossy ครับ คือความเป็นต้นฉบับ จะคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ข้อมูลที่ได้จากไฟล์บีบอัดจะต้องเหมือนกับข้อมูลที่ได้จากไฟล์ต้นฉบับทุกประการ แต่ขนาดไฟล์โดยทั่วไปจะเล็กลง ใช้กันมากในไฟล์ประเภทตัวหนังสือหรือข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงแล้วจะใช้งานไม่ได้ ส่วนที่สามารถลดขนาดไฟล์ได้ ก็เพราะนำเอาโมเดลทางคณิตศาสตร์มาใช้ครับ ซึ่งโมเดลที่นำมาใช้ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของไฟล์ว่าเป็นรูปภาพ เสียง วีดีโอ หรือตัวหนังสือ ตัวอย่างที่เห็นชัดเลยก็คือไฟล์ ZIP ครับ นึกภาพถ้าเราบีบอัดไฟล์ดิกชันนารีแบบ Lossy (ถ้ามี) มันก็ต้องดึงข้อมูลออกไปบางส่วน แล้วทีนี้พอเราไปเปิดดูดิกชันนารี มันก็คงมั่วน่าดู ถูกไหมครับ :) ตัวอย่างการบีบอัดแบบนี้ก็ได้แก่ ข้อมูล (Zip หรือ Defalte/LZW), รูปภาพ (JPEG 2000*, GIF, PNG, TIFF*), เสียง (Apple Lossless, FLAC)

* หมายถึงทำได้ทั้ง Lossy และ Lossless compression ครับ

ขอบคุณครับ

sirn Sat, 03/10/2007 - 21:05

In reply to by anu

เวลาจะโพสตอบ คลิ๊กตรง Reply ของโพสที่จะตอบด้วยนะครับ

ความหมายที่คุณ ThaiBuddy ต้องการจะสื่อ ว่าคำว่า "ต้นฉบับ" มันกำกวมน่ะครับ ว่าอ๊ะ ใช้แบบนี้แล้วต้นฉบับมันจะเปิดไม่ได้เหรอ (เออ ผมว่าที่นี่คงไม่มีคนเข้าใจผิดแบบนี้...) ดังนั้น ใช้คำว่า "คุณภาพ" มันจะเห็นชัดกว่า

-----------

If Web 2.0 for you is blogs and wikis, then that is people to people. But that was what the Web was supposed to be all along. Tim Berners-Lee

anu Sat, 03/10/2007 - 22:17

In reply to by sirn

ลืมกด Reply ไป คราวนี้กดแล้วครับ :)

ที่เลือกใช้คำว่า ต้นฉบับ เพราะมันจะสื่อไปถึงคำว่า Original ครับ ส่วนคำว่า คุณภาพ เอาจริงๆ แล้ว Lossy ที่คุณภาพสูงมากๆ ฟังด้วยหู หรือดูด้วยตานี่ไม่รู้หรอกครับ

มาจากข้อความนี้..

Lossless compression is used when it is important that the original and the decompressed data be identical

sirn Sat, 03/10/2007 - 22:40

In reply to by anu

ประเด็นมันอยู่ที่ความกำกวมน่ะครับ งั้นพบกันครึ่งทางที่ คุณภาพจากต้นฉบับ ....ยาวกว่าเดิมอีก (ฮา)

อ่านๆแล้วก็รู้สึกว่าจะยาว :) ความหมายของการ สูญเสียต้นฉบับ(ลองทำเป็นลืมบทความ หลับตาแล้วลองนึกถึงคำว่า "สูญเสียต้นฉบับ") ที่ผมพูดเรื่องนี้เพราะเจอมาบ่อยๆว่ามีคนเข้าใจผิด(ว่าทำแล้ว file ต้นฉบับจะหายไปหรือปล่าว? เหลือแต่อันที่ compress แล้ว? [เหมือน convert])สำหรับผมนะ ok ครับ แต่เห็นว่าผู้อ่านมีความหลากหลาย(ไม่ได้หมายถึงผมเก่งภาษานะ ผมผิดอยู่บ่อยๆ :) จนเพื่อนสนิทว่าอยู่เรื่อยๆ) ความหมายของผมก็แค่นี้แหละครับ ---------------- http://www.ThaiBuddy.com ฟรี T<->E dictionary แค่ชี้ mouse

anu Sun, 03/11/2007 - 11:46

In reply to by ThaiBuddy

:) ไม่มีอะไรครับ ว่ากันด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่อารมณ์ ไม่เครียดครับ ขำๆ โดยส่วนตัวแล้วผมก็ยังอยากใช้คำนี้อยู่ครับ เพราะมันสื่อได้ว่า "ต้นฉบับ" คุณหน่ะ ได้สูญเสียไปแล้ว ทำอย่างไร ก็ไม่มีทางเอากลับไปเหมือนของเดิมได้อยู่แล้ว อย่างตอนผม Process รูป หรือ Rip Audio CD หรือตัดต่อวีดีโอ ก็จะให้ความสำคัญกับต้นฉบับมาก จะเอาไปทำอย่างไรก็ได้ แต่ต้องมีต้นฉบับเก็บไว้หน่ะครับ ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ :)

iannnnn Sun, 03/11/2007 - 14:57

In reply to by anu

เห็นด้วยกับคำว่า "สูญเสียคุณภาพ" ครับ เอ๊ะนี่เราเถียงกันเรื่องอะไรอยู่เนี่ย

ถ้าต้นฉบับหายละตายเลย ฮิ ฮิ ... เอาเป็นว่าประเด็นที่เราพูดคุยกัน ผมว่าผู้เข้ามาอ่านก็พอเข้าใจละ :D สำหรับผม ต้นฉบับ(raw,bmp..etc)->lossy(เสียคุณภาพไป[แต่อย่างที่คุณ anu อธิบาย บางครั้งตาเรามองไม่รู้) ถ้ามีเฉพาะไฟล์ที่ compress(lossy) ก็หมายถึงคุณไม่สามารถเอาคุณภาพเท่าต้นฉบับกลับมาได้ เอาเป็นว่าผมจบละ(เพราะบทความไปหน้า 2 แล้ว คนอ่านคงน้อยลง) :) ---------------- http://www.ThaiBuddy.com ฟรี T<->E dictionary แค่ชี้ mouse

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png