LINE

แอพ LINE เวอร์ชันล่าสุด รองรับการเติมเงินรถไฟฟ้า BTS ผ่านบริการ Rabbit LINE Play จากแอพ LINE โดยตรงแล้ว

กระบวนการใช้งานคือเข้าเมนู BTS จากใน Rabbit LINE Pay จากนั้นเชื่อมบัตร Rabbit เข้ากับแอพ LINE แล้วนำบัตรไปเปิดใช้งาน (activate) ที่สถานี BTS ซึ่งปัจจุบันยังใช้งานได้ 5 สถานีคือ อโศก, อนุสาวรีย์ชัย, ช่องนนทรีย์, ศาลาแดง และเพลินจิต

Rabbit LINE Pay เป็นบริษัทร่วมทุนที่เริ่มต้นโดย LINE และกลุ่มรถไฟฟ้า BTS ในปี 2016 จากนั้นได้ AIS เข้ามาร่วมทุนด้วยอีก 1 รายในช่วงต้นปี 2018


Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ผูกครับ ระบบจะให้เลือกว่าจะใช้ RLP balance หรือบัตรเครดิต ถ้าเลือกตัวเลือกแรกยอดเงินในบัตรจะโอนเข้ามารวมกับ RLP ถ้าเลือกตัวเลือกหลังยอดเงินก็จะโอนเข้ามารวมกับ RLP แต่เวลาไปแตะจะหักบัตรเครดิตแทน

เอาจริงคือแบบนั้นเลยครับ ถ้าคุณลงทะเบียนจะเห็นเมนูให้เลือก Payment Method ของบัตร Rabbit ซึ่งสามารถเลือกบัตรเครดิตที่คุณผูกไว้กับ RLP ได้ด้วยครับ และเมื่อ Activate บัตรที่สถานี เงินในบัตรจะโอนเข้า RLP ครับ

จริงๆ มันคือตัดเงินจาก RLP (แล้ว RLP เลือกตัดเงินจาก wallet หรือบัตรเครดิตอีกทีตามที่เราตั้งไว้) ครับ บัตรเป็นสื่อกลางเฉยๆ...

เปิดใช้งานครั้งแรกครั้งเดียวครับ เข้าใจว่าเพื่อทำ KYC เฉยๆ หลังจากนั้นแตะเข้าได้ตามปกติเลย

ถ้า KYC ก็มีวิธีอื่นนี่ครับ ไม่ได้ทำแค่คนเดียวลูกมีกี่พันคนละครับ แกติแถวยาวอยู่แล้วจะเพิ่มอีกเหรอครับ

ลูกค้าก็เป็นคนที่ใช้บัตรกลุ่มเดิมนี่ครับ แต่แทนลูกค้ากลุ่มเดิมจะต่อแถวไปเติมเงิน ก็เปลี่ยนไปต่อแถว activate บัตรครั้งเดียว ยกเว้นบัตรหายหรือซื้อบัตรใหม่

ผมไม่รู้ว่าอะไรทำให้คุณพูดซ้ำๆ ว่า "แถวยาวไม่พออีกเหรอ"

คิดว่าะพอเข้าธุรกรรม E-Money แล้ว การที่จะทำให้ชัวร์สุดๆคือการเจอกันแบบ Face to face อันนี้คือ Play Safe สุดชีวิตกรณีถ้าเกิดการโกงสำหรับในแง่ร้านค้านะ
ประเด็นคือตอนที่ซื้อบัตร Ràbbit ดันไม่ได้ทำ KYC เลยต้องให้มาทำทีหลังมากกว่า

นั่นสิครับ เค้าทำให้ได้ง่านขึ้นก็บ่น เค้าไม่ทำอะไรเลยก็บ่น
มันอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก็ให้เวลาเค้าหน่อยเถอะครับ จะเอาแบบสั่งวันนี้พรุ่งนี้ใช้ได้เลยคงไม่มีที่ไหนทำให้ได้หรอกครับ

+1 ทำไมต้องไปทำที่สถานีด้วย ไม่เข้าใจ!!

ปล. ถ้าใช้ท่านี้ จะเติมเงินอย่างเดียว (ไม่เติมเที่ยว) ด้วย Credit Card ที่ผูกกับ LINE Pay ได้มั้ย?

ผมว่าเหมือนจะมีความจำเป็นที่จะต้องทำแบบนั้นครับ จะได้เช็คได้ว่าบัตรนั้นผูกกับไอดีของเจ้าของบัตรจริงๆ เพราะเคยมีบัตรของผมที่ไมได้ register เข้าระบบ แต่ใช้งานปกติ วันดีคืนดีอยาก add เข้ากลายเป็นว่าตัวบัตรไปผูกกับไอดีที่เป็นอีเมลใครก็ไม่รู้ เสียเวลาไปกับการแก้ปัญหานี้นานพอสมควร

ทีแรกก็นึกถึงปัญหา​นี้ แต่ความจริงระบบเติมเงินเข้าแบบนี้ไม่ต้องลงทะเบียนก็ได้ แค่ใส่เลขให้ตรงก็พอ เพราะว่าการเติมเงิน คนถือบัตรจะได้ประโยชน์​ครับ กลับกับการเชื่ิอมกับเว็บเพื่อแลก rabbit points เคสนั้นควรลงทะเบียนเพราะคือถือบัตรเสียประโยชน์​ แต่ดันใส่เลขลงเว็บไปได้เลย ทีนี้ไปแอบจิ๊กเลขบัตรคนเดินทางบ่อยๆ มาแลกคะแนนสบายๆ ผมว่าตอนนี้สมองมันกลับด้านไปหมดละ หวังว่าเอาไว้จะดีขึ้น

แต่ความจริงระบบเติมเงินเข้าแบบนี้ไม่ต้องลงทะเบียนก็ได้

ทันทีที่ผูกสำเร็จ เงินในบัตรจะย้ายมาเป็นยอด RLP ครับ เจ้าของบัญชี RLP จะได้เงินก้อนนั้นมาทันที

อ่อ ผมนึกว่าเป็นแบบ Easy Pass ซะอีก ถ้าเชื่อมกันสนิทแบบนั้น เอาไว้จะขึ้นรถไฟฟ้าโดยหักผ่านบัตรเครดิตอัตโนมัติเลยไหมครับนี่ ไม่ต้องเติมเงินเข้าบัตรละ

เท่าที่ผมอ่านจากขั้นตอนการผูกว่าเมื่อเลือกเป็นบัตรเครดิตแล้วจะขึ้นรถได้โดยไม่เกี่ยวว่าจะมียอดเงินอยู่เท่าไหร่ผมว่าใช่ครับ มันจะหักบัตรเครดิตให้เลย

เพราะว่าบัตรประเภทนี้มันเป็นออฟไลน์รึเปล่าครับ คล้ายๆ 7 Card ของเซเว่น ที่เติมเงินเข้าจาก K Plus ได้ แต่เงินยังไม่เข้าทันที ต้องเอาบัตรไปแตะที่เซเว่นให้เงินเข้าก่อน ถึงจะใช้ได้

มันต้องเอาบัตรไป override ใหม่ครับ
บัตรนี้จะใช้นอกระบบรถไฟฟ้าไม่ได้อีกต่อไป ตามร้านค้าต่างๆ และเติมเงินผ่านเค้าเตอร์ไม่ได้ ต้องเติมผ่านแอพมันเท่านั้น
ถ้าจะยกเลิกไม่ใช้แล้วก็ต้องทิ้งบัตรไปเลยครับ เอาบัตรเดิมมาใช้อีกไม่ได้

ไม่คับ ผมพึ่งไปลองถามที่เคาเตอร์มา เค้าเปิดบูทเฉพาะให้ Activate โดยเฉพาะ แยกจากเคาเตอร์คับ ไม่ต้องห่วงเรื่องคิวรอแออัดคับ

มันเป็นการย้ายระบบของบัตรจากระบบเดิม ไปที่ ระบบ rabbit line pay ครับ

ตามความเป็นจริงครวจะย้ายข้อมูลไปให้หมด แต่ก็นั้นเละ บางคนก็ไม่ได้ใช้ rabbit line pay

active บัตร ตอนนี้ยังรอบรับแค่ 5 สถาที่ ลองสอบถามบ้างสถานีเช่น สยาม ก็ ทำได้แล้วครับ

เพราะมันไม่ใช่การได้สิทธิ์อย่างเดียวมั้งครั้ง พอ activate แล้วจะมีการเสียสิทธิ์บางอย่างไปด้วย

เกือบจะดีแล้ว ไม่วายยังต้องไปเปิดที่สถานีอีก

ขอให้ทำครั้งเดียวนะ ไม่ใช่ทำทุก 6 เดือนอะไรแบบนั้น

-> มีโปรโมชั่นฟรี 3 เที่ยวเมื่อผูกกับ LINE Pay แต่เป็นเที่ยวจากการเติมเงิน ต้องมีเงินคงเหลือใน LINE Pay Wallet ไม่ต่ำกว่า 15 บาท ต้องใช้ภายใน 90 วัน หลังจากการลงทะเบียน และใช้ได้ตั้งแต่ 19 ก.ย. (วันพุธ) เป็นต้นไป
-> ต้องใช้เที่ยวในบัตร Rabbit ให้หมดก่อนผูกกับ LINE Pay
-> ที่ต้องไป Activate เพราะข้อมูลการเติมเงิน/ใช้บัตร Rabbit จะเข้ามาอยู่ในแอพ LINE Pay เลย
-> มีรายงานว่าที่สถานีศาลาแดง เครื่อง Activate ยังไม่มา

บัตรแบบเที่ยวเดียวโดนบีบเหลือใช้ได้แค่ช่องเดียวแล้วครับ ทำคล้าย ๆ ทางด่วนที่ต้องการจูงใจให้คนไปใช้แบบเติมเงิน

ตอนนี้บัตรเที่ยวเดียวมันมีทั้งแบบเก่าแบบใหม่มั้ยครับ ผมไม่ได้ซื้อบัตรเที่ยวเดียวนานแล้ว ใช้แต่บัตรแตะที่ออกได้ทุกช่อง

คือต้องไม่ผูกกับค่ายใด ค่ายเงินสิครับ อย่างนี้ผูกกับ AIS และมือถือ Samsung กับ Sony บางรุ่นเท่านั้น

ผมหมายถึง ลงแอป Rabbit Line Pay ในมือถือเครื่องใดก็ได้ที่มี NFC แล้วแตะที่เกจแล้วเดินผ่านไปเลย...ของ่ายๆ เงื่อนไขไม่ต้องเยอะ...

T_T ถ้าเติมผ่าน app ธนาคารกรุงเทพฯ ไม่ได้ละก็สงสัยเลิกใช้ แต่ดูเหมือนธนาคารกรุงเทพฯ เค้าก็ไม่ค่อยอยากให้ทำแล้วด้วย

ถามผ่าน LINE@ BTS มาแล้วเค้าบอกว่าถือเป็นบัตร Corporate ครับจึงใช้ไม่ได้ ดังนั้นตามความเข้าใจของผมคือบัตรที่ไม่ได้ออกโดย BTS โดยตรงน่าจะใช้ไม่ได้ทั้งหมด

ใช้ได้เฉพาะบัตรธรรมดาครับ
บัตร cooperate , business partner (บัตรผู้สูงอายุ,เดบิต-เครดิตการ์ดแรบบิต) และ ais rabbit simcard ใช้ไม่ได้ครับ

  • ต้องใช้เที่ยวในบัตร Rabbit ให้หมดก่อนผูกกับ LINE Pay
    อันนี้เหตุผลคืออะไรครับ รู้สึกยุ่งยาก จะผูกเลยก็ไม่ได้ ต้อง activate แล้วยังต้องรอใช้เที่ยวให้หมดก่อนอีก

espadago Sun, 09/16/2018 - 15:23

rabbit line pay กับ rabbit card มันจะแยกจากันทำไมตั้งแต่แรก

พอมาโคกันก็ยุ่งยากไปอีก

เพราะมันไม่เกี่ยวกันแต่แรกไงครับ

rabbit มีก่อน
line pay (เฉยๆ ไม่มี rabbit) เกิดตามมา
แล้ว rabbit ก็ไปซื้อหุ้น line pay
แล้ว ais ก็ซื้อหุ้น rabbit line pay

https://www.blognone.com/node/79565

จากข่าวนี้เขาร่วมทุนกัน 50:50 ระหว่าง rabbit (ของbts) กับ line pay (ของ line)
กลายเป็นrabbit line pay ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีการโคกันมาตั้งนานเเล้ว ตั้งแต่ปี2016

ดังนั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลย เหมือนเป็นคนละบริษัทแล้วมาร่วมงานกันครั้งแรก มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว

บริษัท rabbit ก่อตั้งมานานเป็นส่วนนึงของ BTS จน Line (ของบริษัทชื่อ Naver เป็นของเกาหลี) เข้ามาทำตลาดในไทยจนมี Line pay อยู่พักนึง ทาง rabbit ก็ไปซื้อหุ้นมาร่วมทุนกันตามข่าวที่คุณแชร์ครับ

ปล.อย่าเสพข่าวครึ่งๆ กลางๆ สิครับ ไม่รู้ก็ถามอย่าใช้วิธีการเถียง

มีหลายบัตรที่ยังใช้งานไม่ได้จริง ทั้งๆ ที่ปัจจุบัน ใช้งานบัตรเหล่านั้นอยู่ การทำแบบนี้ จะ Refund เงินออกจากบัตรเดิมก็ทำไม่ได้ ขั้นตอนจริงอาจจะต้องไปที่สถานี เพื่อทำรายการยาวนาน ยิ่งกลางวันคนเยอะแทบจะทุกสถานี

บางทีก็ไม่เข้าใจตรรก ของคนคิด Process ทำให้มันถูกต้องและสะดวก คงทำได้แค่นี้ละมั้ง?

ได้แต่ให้กำลังใจ และคิดว่าจะดีขึ้นจริงๆ ซะทีนะ

ระหว่างนี้คงต้องหาบัตรใหม่ไป

แล้วมันจะกลายเป็นบัตรเติมเที่ยวไปเลยหรือเปล่าครับ หรือยังเป็นบัตรเติมเงินครับ
เพราะปกติ BTS ไม่ให้เติมเงินด้วยบัตรเครดิต แต่เติมเที่ยวได้
อีกอย่างคือ เอาไปใช้กับร้านที่รับบัตร Rabbit อย่างเช่น Familymart หรือพวกฟู้ดคอร์ท ได้ไหมครับ

1.) บัตรที่ผูกกับแอปแล้ว จะใช้ขึ้น BTS ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้แตะจ่ายเงินที่เครื่องรับตามร้านค้าต่างๆได้อีกต่อไป
2.) บัตรที่ผูกกับแอปแล้ว จะไม่สามารถทำรายการใดๆผ่านห้องจำหน่ายตั๋ว BTS ได้
3.) บัตรที่มีเที่ยวเหลืออยู่ ต้องใช้ให้หมดก่อนไป Activate นะ

เพิ่มเติม
ถ้าจะเลิกใช้บัตรนี้กับ rabbit line pay ลบบัตรออกจากแอพแล้วบัตรจะเป็นขยะทันที เอามาใช้อีกไม่ได้ ทิ้งไปเลยครับ

1.) บัตรที่ผูกกับแอปแล้ว จะใช้ขึ้น BTS ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้แตะจ่ายเงินที่เครื่องรับตามร้านค้าต่างๆได้อีกต่อไป

แต่ผมคิดว่าได้คับ เพราะปกติ ตัว Line pay ก็จ่ายเงินผ่านร้านค้าได้อยู่แล้วด้วย QR code (โดยตัดบัตรเครดิต) บัตรที่ผูกกับแอปก็น่าจะจ่ายผ่านร้านค้าได้คับ(เพราะบัตรเองก็ดึงเงินจาก Line pay ซึ่ง Line pay ผูกกับบัตรเครดิตอีกที) เรื่อง Transaction fee ไม่น่าเกี่ยวแล้วคับ(เค้าคงไม่งกแล้ว 555)

มีคนลองแล้วครับ คือทัชไม่ได้ แต่ถ้าเอา line pay จ่ายก็ผ่าน qr ซึ่งต้องจ่ายผ่านมือถืออยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับบัตร
คือตัวบัตร ไม่สามารถทัชกับระบบ rabbit เดิมได้ แต่ถ้าจะจ่าย line pay ก็ต้องจ่าย qr แทน (ซึ่งจะผูกบัตรหรือไม่ผูกไม่เกี่ยว) ผมว่าจุดประสงค์ของคนที่อยากผูกบัตรคือ ตัดผ่านเครดิตง่ายๆด้วยการทัช ครับ

หลังจากย้ายไปแล้ว จะมีระบบเติมเงินและเติมเที่ยวจะอยู่ใน Line pay เลยครับ (ก็คือซื้อเที่ยวในแอปได้เลย ไม่ต้องไปเคาเตอร์ พอเที่ยวหมดก็กลายเป็นแบบเติมเงินแทน)

Bizard Sun, 09/16/2018 - 17:31

ใส่หมายเลข 13 หลักไปแล้วมันขึ้นว่า Unrecognized card number ครับ อะไรเนี่ย +_+

รายละเอียดนะครับ สำหรับคนที่สงสัย

  1. บัตรที่เอาไปผูกได้ จะต้องเป็นบัตร Rabbit ธรรมดาทุกประเภท (รวมถึงบัตรลายพิเศษที่เคยออกขาย เช่นลายคุมะมง หรือลายกันดั้มที่ขายอยู่) แต่ยกเว้น บัตร Rabbit สำหรับผู้สูงอายุ/บัตร Rabbit ธุรกิจ และบัตรร่วม (เช่นบัตร Rabbit ที่เป็นบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ของธนาคารกรุงเทพ/บัตรเครดิต Aeon/บัตร M Generation ที่เป้น Rabbit/บัตร Rabbbit ที่เป็นบัตรสมาชิก Happy Club ของ McDonalds/บัตร Rabbit ที่เป็นบัตร McCafe/บัตรนิสิต-นักศึกษาที่เป็น Rabbit/บัตร Rabbit ลายอุ่นใจ (AIS) และซิม AIS Rabbit mPay ทุกประเภท)/บัตร Rabbit ที่ไม่ได้ออกในเขตกรุงเทพมหานครทุกใบ (เช่นบัตร Rabbit ที่ใช้เดินทางกับรถ CM Smart Bus ของเชียงใหม่)
  2. ผูกบัตรแล้ว บัตรจะโดนเขียนข้อมูลทับให้เป็นบัตรผ่านของ RLP และจะใช้ได้เฉพาะโดยสารรถไฟฟ้า BTS กับรถ BRT เท่านั้น ไม่สามารถใช้ชำระที่ร้านค้าต่าง ๆ (เช่น Family/Gourmet Market/Foodcourt the mall) และที่ท่าเรือคลองภาษีเจริญได้ (พวกร้านค้าทดแทนโดยใช้มือถือจ่าย) และกรณีที่ลบบัตรออกจาก RLP บัตรจะไม่สามารถใช้งานอะไรได้อีก (โยนทิ้งได้เลย) นอกจากออกบัตรใหม่มาใช้ทดแทนเท่านั้น
  3. ผูกบัตรแล้ว เงินทั้งหมดจะถูกโอนเข้า RLP และการตัดจะใช้การตัดจาก RLP โดยตรง เลือกได้ว่าจะให้ตัดจาก E-Wallet หรือจากบัตรเครดิต
  4. ผูกบัตรแล้วเติมเที่ยวโดยสารในบัตรได้เหมือนเดิม

สอบถามเพิ่มครับ ฉะนั้นแล้ว บัตรจะไม่สามารถเติมเงินได้ แต่จะตัดยอดเป็นเที่ยวอย่างเดียวใช่มั้ยครับ

สมมติว่าใช่ แต่ก่อน 40 เที่ยวจะได้ราคาพิเศษ (ผมจำราคาไม่ได้) ถ้าตัดรายเที่ยวจะคิดตามราคาจริงตามระยะทางใช่มั้ยครับ

ทุกอย่างเหมือนเดิมครับ แต่กระเป๋าเงินมันจะเปลี่ยนจากกระเป๋าบนบัตร เป็นกระเป๋าของ RLP
เวลาเติมเงินให้เติมผ่านบูธของ BTS หรือ AIS เข้า E-Wallet แทนเติมบนบัตร เวลาใช้มันก็จะไปหักตรงนี้
เที่ยวสามารถซื้อเพิ่มได้ตามปกติ ใช้ราคาปกติของ BTS เลยครับ

นึกภาพไม่ออกครับ ถ้าสมมติผมจะซื้อเที่ยว 40 เที่ยวจาก RLP ได้มั้ยครับ

ขออภัยที่ถามเยอะ เพราะไม่กล้าลอง ลองแล้วถอยหลังกลับไม่ได้

ทางเทคนิคคือมันเขียนข้อมูลบัตรใหม่ทับใส่ข้อมูลเดิมทั้งหมดเลยครับ มันเลยทำให้บัตรเอาไปใช้แบบเดิมไม่ได้ (บัตรที่ผ่านการเขียนข้อมูลแล้ว เค้าจะมีสติ๊กเกอร์ Rabbit Line Pay แปะไว้ยืนยันว่าไม่ใช่บัตรแบบเดิมครับ)

บัตร rabbit ที่แอดเข้าแอพไลน์แล้วแต่ยังไม่ได้ไป active ที่สถานี สามารถลบออกจากแอพไลน์ได้มั้ยฮะ ถ้าลบออกแล้วบัตรจะยังใช้งานได้เหมือนเดิม(ก่อนแอดเข้าแอพไลน์)มั้ยฮะ

มันเป็นขยะไม่ได้ครับ
ทุกคนที่ซื้อบัตรมีค่ามัดจำบัตรนะครับอย่างลืม 50 บาท
80 บาท 100 บาท บ้างแล้วแต่ยุค
ขอผมบัตรยุคแรกๆค่า่มัดจำบัตร 50 บาท....

บัตรรุ่นใหม่ (ที่เริ่มขายเมื่อเมษาปีที่แล้ว) ไม่มีค่ามัดจำบัตรแล้วนะครับ ของเดิมมีค่าธรรมเนียมออกบัตรใหม่ ค่ามัดจำบัตร และค่ามัดจำการเดินทาง ภายหลังเอาค่ามัดจำบัตรกับค่ามัดจำการเดินทางออกไป เหลือแค่ค่าธรรมเนียม 80 บาทเท่านั้นครับ

บัตรรุ่นเดิมเห็นว่าจะคืนค่ามัดจำบัตรให้ ส่วนค่ามัดจำการเดินทางจะโอนเข้า RLP ไปด้วย อันนี้ไม่ชัวร์ ลองไปถามที่บูธดูนะครับ

แล้วระบบ EMV ละ? แทนที่จะให้คนที่เอาบัตรเครดิตไปเติมเงินเข้าบัตร สู้ทำให้บัตรเครดิตและเดบิตตัดตรงๆไปเลยสบายกว่าเหรอ? แถมผลดียังช่วยให้ขาจรกับนักท่องเที่ยวไม่ต้องไปแออัดได้อีกเยอะ

ปล.ช่วยปล่อย function ที่ lean ออกมาทีเถอะ แล้วให้คนที่ต้องซื้อกลายเป็นพวกขาจรแค่ไม่กี่คนซักที T.T

ตามข่าวก็เป็นแบบนี้ครับ ผูกบัตรแล้วตัดผ่านบัตรเครดิตได้เลย ไม่ต้องไปเติมเข้าบัตรก่อน

แต่ถ้าหมายถึงจะให้ตัดผ่านบัตรเครดิตแบบ Paywave เลย นั่นต้องให้ BTS รื้อระบบทำใหม่ทั้งระบบครับ เพราะ Rabbit ที่ใช้อยู่เป็น Close loop (MRT/ARL เป็น Open loop นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม BTS ใช้แมงมุมไม่ได้)

ผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นผลพลอยได้จากสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู/เหลือง หรือเพราะความตั้งใจจะทำให้ผู้โดยสารด่าน้อยลง หรือเพราะเอไอเอส

เชื่อว่ามาจากทั้งสามเหตุอย่างละนิดละหน่อย
1.สัมปทานสายสีชมพูและสายสีเหลือง ที่บีทีเอสชนะการประมูลไปนั้น กำหนดในสัญญาว่าต้องสามารถใช้ตั๋วร่วมได้ นั่นหมายความว่า ทั้งสองสายใหม่นี้ใช้บัตรแมงมุมได้ตั้งแต่วันที่เปิดให้บริการแน่นอน แต่บีทีเอสย่อมทำให้รองรับบัตรแรบบิทและตั๋วเที่ยวเดียวเดิมได้ด้วย เป็นการบีบให้บีทีเอสต้องเลือกว่าจะปรับระบบเก่าหรือผสมมันในระบบใหม่
ซึ่งบีทีเอสเลือกปรับระบบเก่า ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วใหม่ เตรียมรองรับสายใหม่ และเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเดิมเป็นแบบแตะเข้าแทนการสอดแล้ว แต่ก็ยังยื้อ ไม่ยอมตอบตกลงว่าจะรับบัตรแมงมุมมาใช้กับระบบเดิมสักที รัฐเองก็ยังไม่มีอำนาจ ต้องรอพ.ร.บ.ตั๋วร่วม ตอนนี้ทำได้เพียงแค่ขอความร่วมมือเฉยๆ

2.ความพยายามเป็นมิตรกับผู้โดยสาร ตั้งแต่ตอนอาณัติสัญญาณขัดข้อง บีทีเอสก็รับฟังเสียงผู้โดยสารไปเยอะพอสมควร บวกกับ
3.เอไอเอสที่เข้ามาลงทุนในไลน์เพย์ ก็คงเห็นดีเห็นงามและผลักดันให้เกิดระบบนี้ ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วจะยังงกค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตก็ตาม

เกรงว่าทำอันนี้แล้วบัตรแมงมุมจะเป็นหมันเลย แต่ถ้าเป็นหมันแต่ได้เป็น EMV ก็คงจะดีกว่านี้อีกเยอะ

เป็นผม คงใช้คำสั่งศาลสั่งให้รองรับบัตรแมงมุมอะครับ BTS นี่เห็นแก่ตัวจริงๆ คุณภาพก็ไม่พัฒนา อยู่กับที่ เอาแต่ดูดเงินคนใช้ แต่ไม่พัฒนาการให้บริการเลย รถก็น้อย คนรอรถก็เบียดจนเต็มชานชาลาแล้ว

ผมว่ามันก็เกี่ยวกับผลประโยชน์นั้นแหละ BTS ทำแบบนี้เพื่อมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น

  • ประเด็นยืนยันตัวน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญนะครับ
  • และประเด็นที่ตัดเรื่องการใช้จ่ายออกก็น่าจะสำคัญมากเช่นกัน

เท่าที่อ่านหลายความเห็น การผูกบัตรคือ เอาบัตรแรพบิตนี้ แปลงร่างเป็นบัตรเครดิตการ์ดเพื่อเข้าระบบ BTS โดยเฉพาะ (Direct credit ได้โดยไม่ต้องเติมเงิน) ... อะไรที่ตัดบ้ตรได้โดยตรง คงต้องจำกัดสิทธิ์ก่อน และมีกระบวนการระบุตัวตน (KYC ตามระบบแบงก์) ตามสมควร

ถ้าไม่ระงับธุรกรรมประเภทซื้อสินค้าอื่นๆ ลองคิดว่าถ้าทำแรพบิทหาย ซึ่งแรพบิตดันเป็นบัตรที่สามารถแตะจ่ายกินอะไรก็ได้ที่รับบัตรได้ แล้วไม่มีอะไรผูกตัวบุคคล เข้ากับบัตรเครดิตหรือยืนยันตัวอะไรไว้เลย หรือยังมีสิทธิ์ทำได้เท่าเดิม แล้ววันดีคืนดีทำบัตรแรพบิทหาย หรือลืมไว้สักที่ (ซึ่งก็เกิดบ่อย) บัตรใบนั้นจะรูดอะไรก็ได้จนกว่าเจ้าตัวจะรู้ตัวเลยนะ ก็เลยต้องเอาฟีเจอร์ในการจ่ายร้านค้าอื่นออก เพราะถ้าบัตรหายความเสียหายที่จะเกิดและต้องชดใช้ มันจะสูงกว่าแค่ความเสียหายจากราคาค่าเดินทาง (ซึ่งจะลดความเสียหายและการรับผิดชอบแค่ร้อยกว่าบาท แถมเป็นอัฐยายซื้อขนมยายด้วย)

ส่วนพาร์ทที่เคยต้องใช้แรพบิทในการแตะจ่ายเงิน
Action ที่เกิดขึ้นของเรา (ในการเอาบัตรไปผูก Rabbit line pay) เท่ากับเป็นการยืนยันว่าลูกค้าคนนี้ก็มีมือถือที่ใช้จ่ายเงินได้ ... ดังนั้นไม่ต้องมีบัตรก็ควรไปทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์ ซึ่งมีกระบวนการยืนยันและตรวจสอบ รวมไปถึงความปลอดภัยที่สูงกว่าแทน ก็น่าจะเมคเซนส์อยู่นะครับ

บัตรเครดิตมีขั้นตอนของระบบยืนยันตัวอย่างลายเซ็น (อืมมม นับสักหน่อยก็ได้) กับ PIN ครับ (แต่ถ้าใช้ออนไลน์ก็ปลิวไป) แต่บัตร Rabbit นี่มันไม่มีอะไรเลยนะ แตะผ่านแตะผ่าน ทางผู้ให้บริการก็คงไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

ไม่เห็นยากเลยครับก็เพิ่มระบบPINเข้าไปเฉพาะตอนใช้บัตรจ่ายเงินที่ร้านค้าสิ กดเลขที่เครื่องEDCเอา
ใช้PINเดียวกับของRLPที่ผูกบัตรไว้ก็ได้
บอกลูกค้าไปว่าเพื่อความปลอดภัยเผื่อทำบัตรหาย อย่างน้อยก็จำกัดได้เฉพาะเอาไปใช้กัยBTSซึ่งมันก็ไม่กี่บาท

ดีกว่าใช้ไม่ได้ไปเลย

แล้วถ้าทำงั้นทำไมไม่เอามือถือ scan จ่ายไปเลยละครับ เพราะคนที่ผูกแบบนี้ต้องมี line pay อยู่แล้ว ง่ายกว่าอีก จะไปเพิ่มระบบที่ยากกว่าทำไม

ต่างตรงที่ บัตรเครดิต มีธนาคารรับรองอยู่ มีกฎหมายคุ้มครองค่อนข้างมาก มีระเบียบแบงก์ชาติคุ้มครองค่อนข้างมาก

การทำบัตรเครดิตหาย มันจะเกิดอีเวนท์ที่ตามมาหลายอย่างมากเลยนะครับ การโทรแจ้ง การติดตาม การอายัดยอด การคืนเงิน รวมไปถึงการตรวจสอบและออกบัตรใหม่ ... ทั้งหมดนี้เป็นภาระหน้าที่ของผู้ออกบัตรด้วยในหลายๆส่วน ซึ่งถ้าแรบบิทจะทำให้มันเทียบเท่ากัน ก็ต้องเปิด Customer Service/Fraud Detection/Fraud Protection/Legal ขึ้นมาในระดับธนาคารเลย ซึ่งผมว่าก็อาจจะเป็นปัจจัยหลักๆที่ทำให้เลือกทางนี้

ถ้ามองจากผู้บริโภคไป มันอาจจะดูไม่ต่างกันมาก แต่ภาระความรับผิด(+รับผิดชอบ)ของผู้ประกอบการที่จะเกิดขึ้นถ้ายอมให้ทำได้มันจะเยอะขึ้นมาก ซึ่งดูทรงแล้วทาง Rabbit เองก็คงไม่ได้อยากทำแบบนั้น

เทียบกันว่าถ้าเกิดภาระการคืนเงินและอายัดเงินเกิดขึ้นมา ถ้ามันคือค่าเที่ยวรถโดยสาร แรบบิทรับผิดชอบอย่างมากก็แค่ให้คนๆนั้นเดินทางฟรี ก็เป็นการรับผิดชอบที่ไม่ได้เสียหายมากเท่าไร และได้คืนตอนออกบัตรใหม่อยู่แล้ว ...

แต่ถ้าฟังก์ชันเท่าบัตรเครดิตเลย เอาไปแตะร้านค้าซื้อของ(ส่วนมากก็ร้านอาหาร) มื้อนึงหลักพัน ... แล้วบัตรนั้นเจ้าของดันอายัด ภาระในการชำระหนี้คือแรบบิทก็ต้องจ่ายให้ร้านค้าอยู่ดี และต้องมาไล่เอากับเจ้าของบัตรให้จ่าย ก็อาจจะนับเป็นความเสี่ยงที่ทางแรบบิทเองไม่อยากรับ หรือเปล่าครับ

ประเด็นนี้น่าสนใจครับ แต่ว่าการแตะแล้วจ่ายของเดบิทหรือเครดิทการ์ดก็มีอยู่เหมือนกัน ในกรณีที่มียอดค่าใช้จ่ายน้อยๆ ตรงนี้ผมว่าสามารถจำกัดวงเงินได้ และค่อยให้ใช้ PIN เมื่อมีการใช้จ่ายในยอดเงินที่สูงถึงระดับที่กำหนดไว้

จริงนา่จะทำแบบบบัตร IC Card ของญีปุ่่น แอพเข้ามือถือ iPhone ได้โดยตรงเลย แถมใช้ซื้อของได้ร้านสะดวกซื้อได้ตามปกติด้วย ไม่มีข้อจำกัด

การจ่ายเงินใน RLP สำหรับ iPhonr ผมกด 3D Touch ที่ไอคอน LINE ครับ แล้วเลือก My Code Payment จากนั้นก็สแกนนิ้วยืนยัน จ่ายเงินได้ละ ไม่ได้มากดเข้าแอพ ฯ แล้วค่อยเลื่อนหาเมนู ใครไม่เคยใช้ ก็ลองใช้ตามนี้ดูนะ สะดวกดี

เสริมอีก เสียเวลาน้อยกว่าถ้า add My code ขึ้น home screen ไปเลยครับ กดทีเดียวเข้าเลย
ไม่ค่อยเกะกะเท่าไหร่เพราะบน home screen ผมไม่มี LINE ด้วยซ้ำ (ไม่ได้ใช้เพื่อแชต) ?

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png