Adobe พัฒนาปัญญาประดิษฐ์โดยใช้ machine learning ศึกษาภาพจำนวนมากจนสามารถตรวจสอบได้ว่าภาพแต่ละภาพนั้นผ่านการตัดต่อหรือไม่
วิธีที่มันใช้เพื่อการวิเคราะห์เพื่อจำแนกว่าภาพเหล่านั้นมีการตัดต่อหรือไม่ ก็คือการวิเคราะห์ noise ในภาพถ่าย ภาพแต่ละภาพนั้นจะมีรูปแบบลักษณะของ noise ที่แตกต่างกันจนสามารถใช้จำแนกภาพได้ และแม้แต่บริเวณต่างๆ ในภาพเดียวกัน ก็ยังมีรูปแบบของ noise ที่แตกต่างกันด้วย
ปัญญาประดิษฐ์ของ Adobe สามารถตรวจสอบภาพที่ผ่านการตัดต่อได้ 3 แบบ คือการเพิ่มวัตถุเข้าไปในภาพ (splicing), การทำซ้ำวัตถุในภาพ (copy move) และการลบบางสิ่งบางอย่างออกจากภาพ (removal)
ระบบของ Adobe สามารถตรวจหาการเพิ่มวัตถุในภาพถ่ายได้โดยการตรวจสอบว่าพื้นที่ส่วนใดในภาพที่มีรูปแบบของ noise แปลกแยกจากพื้นที่ข้างเคียง หรือในกรณีที่มีการทำซ้ำวัตถุในภาพแล้วเคลื่อนย้ายไปวางตำแหน่งอื่น มันก็จะพบได้เนื่องจากตรวจสอบ noise เจอว่ามีรูปแบบซ้ำกับบริเวณอื่นในภาพ ส่วนการลบบางอย่างออกจากภาพนั้นจะถูกตรวจสอบได้เพราการลงสีหรือวาดขึ้นมาใหม่นั้นจะไม่มี noise ให้เห็น (หากใช้เทคนิคการนำเอาภาพส่วนอื่นมาปิดทับก็จะตรวจเจอได้อยู่ดี)
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดที่เราจะคาดหวังได้จากปัญญาประดิษฐ์ของ Adobe นี้ก็เห็นจะไม่พ้นเรื่องการตรวจสอบข้อมูลภาพข่าวต่างๆ ว่ามีความถูกต้องจริงแค่ไหน มีการแต่งเติมตัดต่อเพื่อบิดเบือนข้อมูลของข่าวสารหรือไม่ และไม่แน่มันอาจได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับงานนิติวิทยาศาสตร์ได้ด้วย
ที่มา - Adobe Blog, เอกสารงานวิจัย
ถัดไปก็จะเป็นงานวิจัยที่ใช้
tekkasit Sun, 06/24/2018 - 23:06
ถัดไปก็จะเป็นงานวิจัยที่ใช้ ML ช่วยในแต่งภาพเพื่อลดการถูกตรวจจับการตกแต่งอีกทีหนึ่ง
คิดเหมือนผมเลย
PsFreedom Mon, 06/25/2018 - 07:39
In reply to ถัดไปก็จะเป็นงานวิจัยที่ใช้ by tekkasit
คิดเหมือนผมเลย
เดี๋ยวก็มีใช้ AI นี้ไปช่วยตัดต่อรูปให้เนียนอีกทีหนึ่ง ฮ่าๆๆ
เดี๋ยวเจอเทคนิคตัดต่อเสร็จ
Holy Mon, 06/25/2018 - 00:08
เดี๋ยวเจอเทคนิคตัดต่อเสร็จ ปริ้นท์ให้เนียนๆ คมๆ ลงกระดาษ แล้วเอาไป Scan มาใหม่ Noise นิ่งเลย
แต่พอสแกนมามันก็ไม่ใช่ภาพตัดต
zyzzyva Mon, 06/25/2018 - 00:23
In reply to เดี๋ยวเจอเทคนิคตัดต่อเสร็จ by Holy
แต่พอสแกนมามันก็ไม่ใช่ภาพตัดต่อแล้วไง มันก็กลายเป็นภาพจริงของมัน ถึงแม้ในภาพจะเหนือจริงสุดๆก็ตาม
มันอยู่ที่ Pattern
akira Mon, 06/25/2018 - 04:40
In reply to เดี๋ยวเจอเทคนิคตัดต่อเสร็จ by Holy
มันอยู่ที่ Pattern การวางตัวของ Noise ที่แตกต่างกัน ดังนั้นยิ่งสแกนให้คมชัดมันยังตรวจจับได้ รวมถึงการ Convert สีด้วย
วิธีหลอกมันคือต้องทำตรงกันข้ามกับความคมชัด คือ ระเบิด Noise ให้เป็นภาพแตกๆ ไม่ชัด เพื่อกลบเกลื่อนความต่างของรอยต่อ แล้วค่อยเอามาสแกนซ้ำ
เกิดแนวคิดว่า ถ้าทำ noice
sudoku144 Mon, 06/25/2018 - 08:44
เกิดแนวคิดว่า ถ้าทำ noice reduction แล้วตัดต่อภาพมาใส่กัน แล้วสาด noise เข้าไปจะยังจับได้มั้ยเนี่ย
(No subject)
TigerST Mon, 06/25/2018 - 11:33
In reply to เกิดแนวคิดว่า ถ้าทำ noice by sudoku144
ปกติเวลาทำ Noise Reduction มันจะใช้วิธีการเกลี่ยสีครับ(Adobe Lightroom) อย่างรูปนี้ Noise ขึ้นเพราะดัน ISO สูง


เมื่อทำ Noise Reduction แล้วจะได้รูปเป็น
ซึ่งถ้าเกลี่ยแล้วนำภาพมาต่อกันผมกลัวว่าภาพที่ได้มันจะไม่ Smooth แบบเดิม
ปอลิง ไม่ต้องถามว่ารูปใคร ผมถ่ายเองนะฮะ
เลือกรูปตัวอย่างได้ดีครับ
impascetic Mon, 06/25/2018 - 11:37
In reply to (No subject) by TigerST
เลือกรูปตัวอย่างได้ดีครับ
ว่าแต่คนในรูปนี่ใครอะครับ
TigerST Mon, 06/25/2018 - 11:53
In reply to เลือกรูปตัวอย่างได้ดีครับ by impascetic
ว่าแต่คนในรูปนี่ใครอะครับ
นี่ขนาดไม่รู้จักนะครับ
impascetic Mon, 06/25/2018 - 15:12
In reply to ว่าแต่คนในรูปนี่ใครอะครับ by TigerST
นี่ขนาดไม่รู้จักนะครับ ถ่ายมาขนาดนี้
สุดยอดไปเลยครับ
niranam51150 Mon, 06/25/2018 - 12:06
In reply to (No subject) by TigerST
สุดยอดไปเลยครับ (หมายถึงภาพประกอบน่ะ 555)
เป็นตัวอย่างที่ดีมากกกกกกกก
bellpocket Mon, 06/25/2018 - 20:53
In reply to (No subject) by TigerST
เป็นตัวอย่างที่ดีมากกกกกกกก ยกนิ้วให้เลย
Adobe สร้าง AI
panurat2000 Mon, 06/25/2018 - 11:00
เช็ค => เช็ก
ตรวจสอบของภาพ ?
พบได้เนื่องตรวจ ?
Adobe
sale99baht Mon, 06/25/2018 - 12:08
Adobe เขาสามารถเช็กค่าการเปลี่ยนแปลงได้จาก XMP ที่อยู่ในไฟล์รูปว่ารูปนั้นถูกตัดต่อมาจากรูปไหน รูปมีติดลิขสิทธิ์ไหม เขามีเครื่องมือนี้ใช้มานานแล้ว ส่วน AI ที่มาใหม่ ทำให้การเช็กเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
อันนั้นมันเช็คจากบันทึกครับ
hisoft Mon, 06/25/2018 - 13:46
In reply to Adobe by sale99baht
อันนั้นมันเช็คจากบันทึกครับ ไฟล์ไม่มีบันทึกก็จบ ไม่ได้ทำให้การเช็คเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นแต่_ทำให้เช็คสิ่งที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้_ได้
งานเข้า
gtoz016 Mon, 06/25/2018 - 12:51
งานเข้า