หลายคนอาจลืมชื่อบริษัทไต้หวัน VIA Technologies ในฐานะผู้สร้างซีพียู x86 อีกค่ายกันไปแล้ว แต่จริงๆ แล้ว VIA ยังอยู่ในตลาดซีพียู x86 แต่เน้นซีพียูประหยัดพลังงานสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว เช่น ตระกูล C7, Nano, Eden (ธุรกิจอื่นๆ ของ VIA เน้นไปที่บอร์ด ชุดพัฒนาสำหรับรถยนต์ เครื่องจักร กล้องติดรถยนต์)
รากเหง้าของ VIA ในโลกซีพียู มีที่มาจากการซื้อกิจการบริษัทอเมริกันสองครั้งคือ Cyrix และ Centaur Technology ในปี 1999 เหมือนกัน ปัจจุบัน Centaur ยังเป็นแกนกลางในการพัฒนาซีพียู x86 รุ่นใหม่ๆ ของ VIA
Christopher Domas นักวิจัยความปลอดภัยซีพียู, ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว นำเสนองานวิจัยช่องโหว่ของซีพียู VIA C3 ที่เปิดคำสั่งลับ ทำให้โปรเซสที่มีสิทธิ์ต่ำ สามารถทะลุการป้องกันของซีพียูไปสู่สิทธิ์ระดับสูงกว่าได้
ซีพียู VIA C3 บางรุ่นมีซีพียู RISC ขนาดเล็กฝังอยู่ภายใน และสามารถเปิดขึ้นมาทำงานด้วยคำสั่งที่ไม่มีอยู่ในคู่มือ ซีพียูตัวนี้มีความสามารถในการส่งคำสั่ง x86 ให้ซีพียูหลักนำไปรันได้ โดยไม่มีการปกป้องระดับสิทธิ์ (ring) เหมือนเช่นการทำงานของ x86 ตามธรรมดา เมื่อส่งคำสั่งเข้าไปอย่างถูกต้อง แฮกเกอร์ก็สามารถยกระดับสิทธิ์โปรเซสตัวเองกลายเป็น root ได้โดยง่าย
VIA ผู้ผลิตชิป x86 ที่เคยไปทำตลาดชิปประหยัดพลังงานก่อนหน้าอินเทลหลายปี (ก่อนอินเทลจะไปบุกตลาดด้วย Atom) ตอนนี้กลับมาสาธิตชิป Isaiah II ชิปรุ่นต่อไปน่าจะเปิดตัวช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้
ชิปรุ่นใหม่นี้ได้ทีมออกแบบจาก Centaur Technology ที่ทาง VIA ซื้อบริษัททมาร่วมงาน ตัวชิปเป็นแบบสี่คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2 GHz
VIA แสดงผลทดสอบพลังประมวลผลในด้านต่างๆ ทั้งการประมวลเลขจำนวนเต็ม, ภาพมัลติมีเดีย, การเข้ารหัส, และการประมวลทางการเงิน ผลจากทาง VIA แสดงว่า Isaiah II อยู่ในระดับเดียวกับ AMD Athlon 5350 ที่ปล่อยความร้อนระดับ 25W TDP แรงกว่า Atom Z3770 อยู่หลายเท่าตัว แต่ผลทดสอบนี้ไม่ได้บอกว่า Isaiah II จะกินพลังงานระดับใด
โครงการคอมพิวเตอร์จิ๋วจากฝั่ง VIA ที่ชื่อว่า APC เปิดตัวรุ่น Rock ไปครบหนึ่งปี และประกาศรองรับ Firefox OS เมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ประกาศโครงการสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาด้วยการแจกเครื่อง APC ให้กับนักพัฒนาที่สามารถปิดบั๊กในหมวด "Free APC"
บั๊กในหมวดนี้มีทั้งหมด 11 รายการ โดยก่อนหน้านี้ APC ก็เข้าไปทำงานร่วมกับ Firefox OS เพื่อแก้ปัญหาไปแล้วหลายอย่าง
Firefox OS เริ่มแตกหน่อจากโทรศัพท์มือถือมายังอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ แล้ว โดยล่าสุด APC บริษัทพีซีขนาดจิ๋วที่เป็นบริษัทลูกของ VIA (เจ้าของผลงานคอมพิวเตอร์ในกล่องกระดาษ) ประกาศสนับสนุน Firefox OS แล้ว
APC นำซอร์สโค้ดของ Firefox OS ไปปรับแต่งให้ทำงานบนบอร์ด APC Paper และ APC Rock ของตัวเองได้ และเผยแพร่โค้ดบน GitHub แล้ว สถานะตอนนี้ยังถือเป็นรุ่นพรีวิวที่ยังมีบั๊กและต้องพัฒนาต่ออีกสักระยะหนึ่ง (แต่ APC สัญญาว่าจะปล่อยอัพเดตแบบ OTA บ่อยๆ)
VIA บุกตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในตระกูล Raspberry Pi มาตั้งแต่ APC 8750 แต่ข้อเสียคือมันใช้ซีพียูเพียง ARM 11 800 MHz ตอนนี้เครื่องรุ่นที่สองก็ออกมาแล้วในชื่อ APC Rock ที่ใช้ชิป Cortex-A9 ที่ผลิตด้วย VIA เอง
APC Rock ให้แรมมา 512 MB และหน่วยความจำแฟลชขนาด 4 GB ใช้ไฟ 9V กินพลังงาน 13.5 วัตต์ ราคา 79 ดอลลาร์
ข้อดีของมันคงเป็นพอร์ตเชื่อมต่อให้ให้มาค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะว่ามีพอร์ต VGA ที่ Raspberry Pi ไม่มี อีกส่วนคงมี "กล่องกระดาษ" ที่ทำมาพอดีกันไว้วางคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องไปกับหนังสือได้ (ดูท้ายข่าว)
สั่งได้แล้ววันนี้ ค่าส่งมาไทย 16 ดอลลาร์ (ไม่รวมภาษี) ส่วนรุ่นพร้อมกล่องยังต้องรอถึงเดือนมีนาคม
พีซีสำหรับอุตสาหกรรมและงานเฉพาะทางนั้นเป็นตลาดที่ VIA บุกมาก่อนเจ้าอื่นๆ แต่กระแสการใช้งานในวงกว้างรอบนี้ดู VIA จะตามหลังเจ้าอื่นๆ อยู่มาก โดยตัวล่าสุดที่ VIA เปิดตัวมา คือ APC นั้นยังใช้ ARM11 และกินไฟสูงถึง 13.5 วัตต์ รอบนี้ VIA กลับมาอีกครั้งด้วย VAB-800 ที่ใช้ชิป ARM Cortex-A8 ที่ทั้งบอร์ดกินพลังงานเพียง 5 วัตต์
VAB-800 ใช้ชิป Freescale iMX537 ที่เป็น Cortex-A8 800MHz พร้อมแรม DDR3 1GB หน่วยความจำแฟลชสูงสุด 64GB โดยตัวมันเองออกแบบสำหรับการใช้งานทางอุตสาหกรรมเป็นหลักเพราะมีพอร์ตบัส CAN, watchdog timer, UART, หรือกระทั่ง GPIO มาให้ด้วย ทาง VIA เองก็โฆษณาจุดขายว่ามันทำงานได้ที่อุณหภูมิ -20 ถึง 70 องศาเซลเซียส
ตลาดพีซีขนาดจิ๋วเริ่มบูมมาด้วย Rasberry Pi ช่วงหลังๆ ก็เริ่มมีรายอื่นๆ ให้ความสนใจกัน เช่น ผู้ผลิตในจีนอย่าง AllWinner ที่ทำราคาได้เพียง 74 ดอลลาร์พร้อมรัน Android 4.0 ตอนนี้ผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง VIA ที่ทำตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก่อนก็ลงมาเล่นตลาดนี้บ้างแล้วด้วยแบรนด์ลูกที่ชื่อว่า APC
กลับมาอีกครั้งกับ ZBOX คอมพิวเตอร์สุดจิ๋วจาก Zotac (ที่บ้านเราไม่มีตัวแทนจำหน่าย) โดยในปีนี้ ZBOX nano VD01 มาพร้อมกับซีพียูจาก VIA Nano X2 U4025 ที่ความเร็ว 1.2 GHz แบบ 2 คอร์ รวมถึงฮาร์ดดิสก์ 2.5" ขนาด 320 GB แรม DDR3 2 GB พอร์ต USB 3.0, eSATA, LAN, HDMI, DisplayPort ด้านการเชื่อมต่อไร้สายก็เพียบพร้อมทั้ง Bluetooth 3.0, Wi-Fi 802.11n และตัวรับสัญญาณอินฟาเรด ทั้งหมดนี้อัดแน่นมาในเคสขนาด 127mm x 127mm x 45mm เท่านั้นครับ (เล็กกว่ามาตรฐาน Mini-ITX ที่ 170mm x 170mm อยู่พอควรเลยทีเดียว)
ราคายังไม่ปรากฎ แต่คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วง 250-300 ดอลลาร์ เช่นเดียวกับ ZBOX รุ่นก่อนๆ ครับ
ยักษ์ใหญ่วงการเซมิคอนดักเตอร์อย่าง VIA เข้าร่วมรบในสงครามสิทธิบัตรโทรศัพท์มือถืออย่างเต็มตัวแล้ว โดยยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลรัฐเดลาแวร์ ในสิทธิบัตรซีพียูสองใบคือ
สิทธิบัตรทั้งสองใบเป็นของบริษัท Centaur ที่มีสิทธิบัตรแนวคิดพื้นฐานของการออกแบบซีพียูอยู่จำนวนหนึ่ง สิทธิบัตรเหล่านี้พื้นฐานมากจนกระทั่งผู้ผลิตซีพียูแทบทุกรายจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องทั้งหมด
ใครที่มีอายุหน่อยคงจำการ์ดจอยี่ห้อ S3 กันได้ (ไม่ว่าจะเป็น S3 รุ่นตัวเลข, S3 Trio, S3 Vision, S3 Virge, Savage 3D) ชะตากรรมหลังจากนั้นของ S3 คือพ่ายศึกการ์ดจอที่รบกันดุเดือด จนต้องขายฝ่ายกราฟิกให้ VIA และแยกบริษัทไปทำอุปกรณ์บันเทิงต่างๆ ในชื่อ SONICblue ก่อนจะล้มละลายไป
ช่วงหลังมานี้ S3 หากินโดยขายสิทธิบัตรด้านกราฟิกเป็นหลัก ตัวอย่างลูกค้าได้แก่ นินเทนโด ที่ซื้อสิทธิบัตรไปใช้ในเครื่องเล่นเกมของตัวเอง แถม S3 ยังเคยฟ้องชนะแอปเปิลเรื่องสิทธิบัตรการบีบอัดภาพอีกด้วย
VIA ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์จากไต้หวัน ระบุว่าแท็บเล็ต Android ราคาถูก ซึ่งใช้ซีพียูของ VIA จะออกมาตีตลาด iPad ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
รองประธานของ VIA บอกว่าแท็บเล็ตจะมีด้วยกัน 5 โมเดล ราคาอยู่ระหว่าง 100-150 ดอลลาร์ ผลิตโดยบริษัทฮาร์ดแวร์ของจีน และคาดว่าจะมีทั้งรุ่น ARM กับ x86
ที่มา - Bloomberg
ข้อดีมากๆ ของ USB คือเมื่อพอร์ตไม่พอ เราสามารถติดตั้ง USB hub เพื่อเพิ่มพอร์ตได้ ในวันนี้ VIA เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ปล่อยชิปสำหรับ USB 3.0 ออกมาในชื่อชิป VL 810
ราคาไม่แจ้ง แถมเป็นสินค้าต้นทาง คงต้องรอผู้ผลิตซื้อไปผลิตอีกทอดอีกที
ที่มา - VIA
อีกข่าวคือ HP ที่เปิดตัวเครื่อง Probook และ Elitebook ไปถึงหกรุ่นเมื่อวานนี้ มีจุดน่าสนใจอยู่ที่ Elitebook 8540w และ 8540p ที่ระบุว่ามี USB 3.0 ให้เลือก ไม่แน่ชัดว่าต้องเพิ่มราคาเท่าใหร่ แต่ Elitebook นั้นแพงแน่ๆ
แม้จะเงียบไปนานให้วิตกเล็กน้อย แต่ VIA ก็กลับมาอีกครั้งด้วยการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Mobile-ITX ที่มาขนาดเพียง 6x6 เซนติเมตร
ตัวบอร์ดมีเพียงซีพียู, หน่วยความจำ, และชิปเซ็ตต่างๆ เท่านั้น ไม่มีพอร์ด I/O อยู่เลยนอกจากสล็อตเฉพาะที่ไว้ต่อเข้ากับบอร์ด I/O ที่ขายแยกต่างหาก หรือง่ายๆ ว่ามันคือการรวมเอาหน่วยความจำและชิปเซ็ตไปวางบนบอร์ดพีซีบี แล้วให้มาตรฐานในการวางพอร์ตต่างๆ นั่นเอง
ที่น่าสนใจคือตัวบอร์ดต้องการไฟ 5V เพียงเส้นเดียวเท่านั้น
ตลาด Netbook Nettop นั้นคนส่วนใหญ่คิดกันว่าเป็นตลาดระดับล่างจึงไม่ค่อยมีชิพเซ็ทกราฟฟิคระดับสูงรองรับมากนัก
NVIDIA ได้เล่งเห็นตลาดนี้และได้นำ GeForce 9400M GPU มาทำงานร่วมกับโพรเซสเซอร์ Intel Atom และเรียกว่า NVIDIA ION
เมื่อไม่นานมานี้บริษท ZaReason นำสินค้าที่พัฒนาโดย NVIDIA ION ภายใต้การทำงานของ Linux ออกมาแสดง
ZaReason Ion Breeze 3770 ความสามารถส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับ Nettop ที่พัฒนาด้วย NVIDIA ION ทั่วไป
รายละเอียดพอสังเขป
Chris Ballนักพัฒนาและทำหน้าที่โฆษก กล่าวว่า OLPC XO-1.5 laptopที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น software ที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนานคือFedora 11 โครงการแล็ปท็อบหนึ่งเครื่องเพื่อเด็กหนึ่ง
กระแสการใช้ซีพียูความเร็วต่ำจำนวนมากในเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวนั้นเริ่มมาจากโครงการ Molecule ของบริษัท SGI แต่ก็เงียบไปเนื่องจากฐานะทางการเงินของบริษัทที่ย่ำแย่ แต่ล่าสุดทางเดลล์ก็เตรียมจะวางตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบเดียวกันในชื่อว่า Dell DCS
Dell DCS นั้นเป็นการออกแบบเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นโมดูลขนาดเล็กพอๆ กับดิสก์ 3.5 นิ้ว ทำให้ตัวถังขนาด 2U นั้นสามารถใส่เครื่องได้ถึง 12 เครื่อง
ตัวเครื่องแต่ละเครื่องนั้นมีสเปคดังนี้
Ion 1 ยังไม่ทันออก (กำหนดออกเดือนพฤษภาคม) ทาง NVIDIA ก็ประกาศตัวแพลตฟอร์ม Ion 2 แล้ว
ความต่างก็คือแพลตฟอร์มนี้จะออกแบบมาสำหรับซีพียู VIA Nano แทนที่จะเป็น Atom เหมือนรุ่นแรก รายละเอียดอื่นๆ ยังไม่มี ทาง NVIDIA บอกแค่ว่า Ion 2 จะออกวางตลาด "ภายในปีนี้" ส่วนทาง VIA บอกแค่ว่าโครงการนี้เริ่มกันมาก่อนการเปิดตัว Nano เมื่อเดือนมิถุนายน 2008 แล้ว
หนึ่งในผู้ผลิตชิปเซ็ตอิสระอย่าง VIA ได้ประกาศยกเลิกสายการผลิตอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ หลังจากทนแรงกดดันจากการที่ผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่อย่างเอเอ็มดีและอินเทลล้วนมีชิปเซ็ตเป็นของตัวเอง และสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าไม่ไหว
ทาง VIA ระบุว่าได้มีการวางแผนเรื่องนี้มานานแล้ว โดยการที่ VIA เข้ามาลงทุนพัฒนาซีพียูเองก็เพราะเล็งเห็นว่าตลาดชิปเซ็ตอิสระนั้นอาจจะมีอนาคตไปไม่ไกลนัก จึงเตรียมการที่จะขยับตัวเองมาเป็นผู้ผลิตแพลตฟอร์ม x86 แบบเต็มรูปแบบ
หลังๆ มานี้ผู้ผลิตอีกรายคือ NVIDIA ก็มีปากเสียงกับอินเทลเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะลงเอยกันแบบไหน
ที่มา - Custom PC
ข่าวกระแส Intel Atom กำลังแรงจนหลายๆ คนเริ่มกลัวว่าเจ้าเก่าอย่าง VIA ที่ทำตลาดมานานจะแพ้ไปง่ายๆ อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อทาง VIA ได้เริ่มแจกตัวอย่างบอร์ด VIA Nano ให้กับเว็บหลายๆ และผลทดสอบออกมานับว่าน่าประทับใจ
ผลทดสอบหลายๆ เว็บให้ผลตรงกันว่า VIA Nano นั้นทำงานเร็วกว่าประมาณร้อยละ 33 แต่มีข้อเสียคืออัตรากินไฟสูงสุดที่ขึ้นไปถึง 25 วัตต์ เทียบกับ 4 วัตต์ของ Atom แต่การกินไฟทั้งระบบในภาวะโหลดเต็มของ VIA Nano นั้นอยู่ที่ 77.5 วัตต์ เทียบกับ 60.1 วัตต์ของ Atom ทำให้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นมาร้อยละ 33 อาจจะคุ้มค่าอยู่บ้าง
ข้อดีของ Nano อย่างหนึ่งคือมันเข้ากันได้กับเมนบอร์ดเดิม ทำให้เราอาจจะได้เห็นผู้ผลิต Netbook เดิมเปลี่ยนมาใช้ Nano กันในเร็วๆ นี้
อินเทลเพิ่งเปิดตัว Atom ไปวันนี้ในไทยทาง VIA ก็ไม่ยอมปล่อยให้อินเทลเอาตลาดนี้ไปกินง่ายๆ หลังจากเปิดตัว Nano มารอก่อนแล้ว VIA ก็เปิดตัว Mini-ITX 2.0 มาตรฐานใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์ประหยัดไฟ
แพลตฟอร์ม Mini-ITX นั้นออกแบบไว้ตั้งแต่ปี 2001 การปรับปรุงครั้งนี้ก็ยังคงขนาด 17x17 เซนติเมตรไว้เหมือนเดิม แต่ปรับปรุงในส่วนของสเปคภายในเช่น
ความได้เปรียบของแพลตฟอร์มนี้ที่รองรับ PCI Express เป็นเรื่องที่ทาง VIA ภูมิใจเป็นพิเศษถึงขั้นเดโมเกม Crysis ในงานเปิดตัว โดยเครื่องที่ใช้เดโมนั้นติดเอาการ์ด NVIDIA GeForce 9600 ไว้ด้วย
ในงาน WiMax Expo ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ทางบริษัท Quanta ผู้รับจ้างผลิตโน้ตบุ๊กรายใหญ่ของโลกได้ออกมาแสดง VIA OpenBook รุ่นต้นแบบของทางบริษัท ที่น่าสนใจคือในรายชื่อของผู้ผลิตนั้นมีทั้ง เดลล์, เอชพี, และโซนี่ ตามกันมา สำหรับสองบริษัทแรกนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่ากำลังทำโน้ตบุ๊กขนาดเล็กราคาถูก แต่สำหรับโซนี่นั้นยังไม่เคยมีข่าวแบบเดียวกันมาก่อน
ทาง Quanta ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
ถ้าออกมาจริงๆ ขอช่องอ่าน SD ด้วยนะครับ เดี๋ยวจะมีแต่ MemoryStick
ที่มา - X-bit labs
VIA C7 นั้นทำตลาดได้ค่อนข้างดีในโน้ตบุ๊กขนาดเล็ก แต่เมื่ออินเทลออก Atom ที่ใหม่กว่าเยอะมาตี ทาง VIA จึงต้องอัพเดตผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยซีพียูในตลาดนี้รุ่นถัดไปของ VIA ถูกพัฒนาในชื่อรหัส VIA Isaiah มาได้สักระยะ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่จาก C7 ด้วยเลย
มาวันนี้ VIA พร้อมเปิดตัว Isaiah แล้ว โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ VIA Nano Processor ซึ่งจะแบ่งเป็นสองรุ่นย่อยคือ L-series สำหรับโน้ตบุ๊ค ความเร็วเริ่มต้นที่ 1.6 GHz และ U-series (Ultra-low voltage) สำหรับอุปกรณ์ที่เล็กกว่านั้น เริ่มต้นที่ 1.0 GHz
จุดขายที่น่าสนใจข้อแรกคือประสิทธิภาพสูงกว่า C7 โดยเฉลี่ย 2 เท่า (ผลการทดสอบแบบละเอียดดูตามลิงก์) และกินพลังงานต่ำ คือ 17-25 วัตต์สำหรับรุ่น L และ 5-8 วัตต์สำหรับรุ่น U
ช่วงไม่กี่เดือนหลังข่าว Atom เริ่มมาทาง VIA ซึ่งบุกตลาดพีซีประหยัดไฟมานานก็พบว่าตัวเองกำลังอยู่ในสภาพไม่ดีนัก เนื่องจากผู้ผลิตจำนวนมากเลือกข้างไปอยู่กับทาง Atom ที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าเป็นเท่าตัว แผนการล่าสุดของทาง VIA จึงเป็นการออกแบบเครื่อง UMPC ในชื่อ OpenBook แล้วปล่อยแบบทั้งหมดให้ใครก็ได้ไปใช้งานได้ฟรีด้วยสัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons (By-SA)
ตัวแบบมีทั้งลายวงจรบนตัวเครื่องและไฟล์ CAD ของตัวถัง นับว่าพร้อมเอาไปผลิตได้ในทันที สเปคมาตรฐานตามแบบที่ให้มามีดังนี้
เมื่อเดือนที่แล้วทาง VIA ได้ออกมาประกาศถึงความตั้งใจของบริษัทที่จะเปิดเผยเสปคภายในของชิปกราฟิก เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับลินุกซ์ได้ดียิ่งขึ้น และในวันนี้ความตั้งใจนั้นก็เริ่มออกมาเป็นรูปร่างเมื่อมีการปล่อยโค้ดกว่า 16,000 บรรทัดให้ออกมาแล้ว
โค้ดที่ปล่อยออกมาเป็นไดร์เวอร์ของชิปในตระกูล Unichrome ได้แก่รุ่น CLE266, K400, K800, PM800, CN700, CX700, K8M890, P4M890, P4M900, และ VX800 IGPs ทำให้ครอบคลุมชิปที่ทำงานอยู่ในเครื่อง gPC, Cloudbook และเมนบอร์ดจำนวนมากที่ใช้ชิปของ VIA
อย่างไรก็ตามยังไม่มีการปล่อยโค้ดในส่วนของการทำงานสามมิติ และการเร่งความเร็วภาพยนตร์ออกมา แต่ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีพอสมควร