Tags:
Node Thumbnail

Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser

จุดมุ่งหมายของรายงานนี้คือการเผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงาน เช่น กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง

Tags:
Node Thumbnail

Whoscall ร่วมกับกับภาคีภาครัฐและเอกชน 11 ราย เปิดตัว Scam Alert ฟีเจอร์ใหม่บน Whoscall ซึ่งเป็นฐานข้อมูลรวมศูนย์ ที่จะเตือนภัยมิจฉาชีพจากหน่วยงานรัฐ รวมถึงข้อมูลเตือนภัยกลโกง สามารถใช้งานได้ทั้งลูกค้าฟรีและพรีเมี่ยม โดยแบ่งเป็น 2 ฟีเจอร์หลักๆ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ล่าสุดของ บช.สอท. ระหว่างเดือน มีนาคม 2565 - มิถุนายน 2567 เผยให้เห็นข้อมูลน่าสนใจคือ คนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากกว่า 575,500 คดี

มูลค่าความเสียหายสะสมกว่า 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยมูลค่าความเสียหายวันละ 80 ล้านบาท 64% เกิดขึ้นกับกลุ่มเพศหญิงวัยทำงานตอนกลางจนถึงวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 30 - 60 ปีขึ้นไป สูงถึงกว่า 248,800 คดี

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หอการค้าไทยร่วมมือกับบริษัท Gogolook (โกโกลุก) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เพิ่มฟีเจอร์ Verified Business Number หรือฟีเจอร์ให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถลงทะเบียนยืนยันเบอร์โทรศัพท์เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการคุยกับลูกค้าที่อาจจะเลือกไม่รับเบอร์แปลกเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ

ทางหอการค้าไทยและ Gogolook ระบุว่าในตอนนี้ผู้ใช้โทรศัพท์กว่า 60% เลือกที่จะไม่รับเบอร์แปลกเนื่องจากกลัวว่าจะเป็นมิจฉาชีพ การเพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวจะเข้ามาช่วยลดอัตราการปฏิเสธการรับสายของลูกค้าให้กับทางธุรกิจต่าง ๆ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้

Tags:
Node Thumbnail

Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน เผยรายงานประจำปี 2566 เพื่อศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และลิงก์จากข้อความ พบมิจฉาชีพก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม, ลิงก์ขอล็อกอินปลอม, การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง

จากรายงานประจำปี 2566 พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ

Tags:
Node Thumbnail

บริษัท Gogolook เจ้าของแอพ Whoscall ออกรายงานประจำปี 2566 สรุปสถิติว่ามิจฉาชีพหลอกลวงคนไทยผ่านทางโทรศัพท์และข้อความ SMS รวมทั้งหมด 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565

หากแยกตามชนิดของการหลอกลวง

  • โทรศัพท์ จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565
  • SMS ข้อความหลอกลวง 58.3 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 17% จาก 49.7 ล้านข้อความ ในปี 2565

กรณีของข้อความหลอกลวง คนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัยเฉลี่ย 20.3 ข้อความ มากที่สุดในเอเชีย โดยอันดับสองคือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ธนาคารไทยพาณิชย์จัดทำโครงการ แก้เกมกลโกง "รู้ตัว! ก่อนเงินหาย" ร่วมกับแอป “Whoscall” ที่จะช่วยระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จักและบล็อกสแปม ด้วยการแจกโค้ด Whoscall พรีเมียมฟรี 1 ล้านโค้ด นาน 6 เดือน มูลค่ารวมกว่า 354 ล้านบาท สำหรับลูกค้า SCB EASY เพียงกดรับโค้ด Whoscall พรีเมียม ผ่านเมนู EASY BONUS บนแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้ง่ายๆ ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2566 – 3 มกราคม 2567 (จำกัด 1 คน/สิทธิ/ตลอดระยะเวลาแคมเปญ)

4 ฟีเจอร์จาก Whoscall พรีเมียม ได้แก่

  • บล็อกสายสแปมอัตโนมัติ
  • อัปเดตฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์อัตโนมัติ
  • ผู้ช่วยกรองและบล็อคสแปม SMS
  • ไม่มีโฆษณา

สามารถกดรับโค้ด Whoscall พรีเมียม บนแอป SCB EASY ผ่าน 5 ขั้นตอนง่ายๆ

Tags:
Node Thumbnail

Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักเผยรายงานประจำปี 2022 ไทยยังมีปัญหามิจฉาชีพมากขึ้น ยอดสายโทรจากมิจฉาชีพในไทยเพิ่มขึ้น 165% นับเป็น 17 ล้านครั้งในปีก่อน เปรียบเทียบกับปี 2021 ที่มี 6.4 ล้านครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 13.5 ล้านเบอร์ หรือกว่า 45% โดยรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อเป็นข้อมูลที่มีการรั่วไหลมากที่สุด การรั่วไหลของข้อมูลมาจากหลายสาเหตุทั้งฐานข้อมูลองค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือผู้ใช้กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฟิชชิ่ง