Tags:
Node Thumbnail

คำวินิจฉัยของศาลฎีกาสหรัฐฯ พิจารณาคดี Lexmark International, Inc. ที่พยายามเรียกร้องให้มีการยุติการนำสินค้าของ Lexmark ที่เป็นตลับหมึกปรินเตอร์มาทำใหม่ แล้วขายตัดราคา คำตัดสินคดีนี้ไม่ได้กระทบแค่เพียงบริษัท Lexmark แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตพรินเตอร์รายอื่น เช่น HP และ Canon ด้วย

No Description

คำตัดสินนี้ ประธานศาลฎีกา นาย John Roberts ระบุว่า ผู้ขายสินค้าต้องสิ้นสิทธิ หรือ ถูกระงับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ถึงแม้ว่าจะมีการตกลงกับผู้ซื้อแล้วว่าผู้ซื้อจะไม่ขายสินค้าต่อให้ผู้อื่น กฎนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมยาและการเกษตรต่างก็เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของบริษัท Lexmark โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่เกรงว่า จะมีการนำ ‘สายหรือท่อที่สอดเข้าไปในหัวใจ’ นำกลับมาใช้ใหม่

ข้อพิพาทระหว่างบริษัท Lexmark, Inc. กับ บริษัท Impression Products Inc. เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัท Lexmark อ้างว่าบริษัท Impression ละเมิดสิทธิบัตรของตน เพราะบริษัท Impression ไปซื้อตลับหมึกมา และเติมหมึกใหม่เพื่อนำมาขายต่อ

No Description

ศาลฎีกาอธิบายกรณีนี้ว่า

สิทธิบัตรของเจ้าของ เมื่อขายสินค้าออกไปแล้ว สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะจำกัดการผูกขาดของเจ้าของ หมายความว่า สิทธิที่มีอยู่ในตัวสินค้าจะตกเป็นของผู้ซื้อสินค้า สิทธิและประโยชน์ที่พึงได้จะเป็นของเจ้าของสินค้า กล่าวคือ ใครก็ตามที่ซื้อสินค้าจะสามารถนำไปใช้และขายต่อได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรอีกต่อไป มีอิสระที่จะนำไปกระทำการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ก็ย่อมได้

ศาลเน้นให้เห็นว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะทำสินค้า ขายสินค้าและใช้สินค้านั้นๆได้ เพื่อจำกัดภาวะผูกขาดที่มีต่อตัวสินค้า เหตุผลของศาลอ้างจากมาตรา 1201

  • บริษัท Lexmark พยายามอ้างอำนาจของตนจากการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรตลับหมึก พยายามต่อต้านบริษัทต่างๆ ที่นำมาผลิตใหม่ ด้วยการซื้อตลับหมึกที่ใช้แล้ว จากนั้นก็เติมหมึกใหม่ และนำไปขายต่อ
  • บริษัท Impression Products ยืนยันกับศาลฎีกาว่า เขามีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น
  • ศาลฎีกาอธิบายถึงคำวินิจฉัย โดยอ้างตามหลักการระงับซึ่งสิทธิ (exhaustion doctrine) ที่สามารถตีความได้ว่า จะจำกัดอำนาจว่าด้วยสิทธิของเจ้าของสิทธิบัตร โดยใช้หลักการนี้ในการระงับอำนาจนั้น เนื่องจากผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสามารถแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากสิทธิของตนในครั้งแรกและเมื่อได้รับประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์นั้นแล้ว สิทธิก็ระงับสิ้นไป ผู้ซื้อสินค้าก็มีสิทธิที่จะใช้สินค้า ขายสินค้า หรือนำเข้าสินค้าได้โดยเสรี เพราะผู้ซื้อมีสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นๆ

No Description
ภาพการทำงานของบริษัท Impression Products

ที่มา - Bloomberg, Electronic Frontier Foundation, Supreme Court ruling in Impression Products v. Lexmark International, Foss Patents, การนำหลักการระงับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้กับกฎหมายลิขสิทธิ์

Get latest news from Blognone

Comments

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 14 June 2017 - 23:02 #993004
TeamKiller's picture

เคยใช้ยี่ห้อนี่ แต่เดียวนี้ไม่ขายลูกค้าบ้านๆ ละ

By: Kittichok
Contributor
on 15 June 2017 - 00:43 #993028

ส่วนตัวต้องการให้สิ้นสุดลงที่ผู้ซื้อสินค้าคนแรกตามคำวินิจฉัยนี้ เพื่อไม่ต้องกังวลเมื่อจะเอาวัตถุนั้นไปรังสรรค์ต่อ ส่วนเจ้าของสิทธิบัตรก็น่าจะหาวิธีการมารักษาผลประโยชน์ของตน เช่น ตลับหมึกก็รับคืน อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานแล้วควรทำลายทิ้ง

By: waroonh
Windows
on 15 June 2017 - 09:51 #993095

คดีนี้ มันน่าสนใจตรงที่ hardware ที่เขียน ในเอกสารซื้อขายว่า
เป็นการเช่าซื้อสิทธิ์ไม่ใช่การซื้อขาด ถือว่า ผู้เช่าใช้มีสิทธิ์เต็ม เหมือนซื้อขาดตามปรกติ
มันเอาไปใช้กับ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ได้ด้วยครับ

โดยเฉพาะ เครื่องเล่นเกมส์ ถ้าในกรณีของ Lexmark เค้าฟ้องคนผลิตเจ้านี้เพราะ
ตลับหมึกที่ Lexmark ขายให้ ผู้ใช้ เป็นการเช่าซื้อสิทธิ์ เปรียบเหมือนการที่
ทุกวันนี้ คุณเดินไปซื้อบัตรกินข้าวใน ศูนย์อาหารซึ่งเป็น แผ่น NFC แบบหนึ่งแล้วไม่คืน
เอาบัตรนี้ไปใช้อย่างอื่น(ผู้ใช้ไม่ผิด)

แล้วต่อมา เอาแผ่นบัตร (ตลับหมึก)ที่ว่า ไปขายต่อ แล้วผู้ผลิตรายนี้รับซื้อเอาไว้ ซึ่ง
ถ้าผู้รับซื้อต่อ ไปยำตลับหมึกแก้ lock ออก ให้เติมหมึกเองได้ เอามา pack กล่อง
ขายเป็นของใหม่ ได้ แล้วไม่ผิดด้วยเนี่ย

เราสามารถรับซื้อเครื่อง PS1 เก่า เอาไปรื้อหัวอ่าน cd ออก
แล้วยำเครื่องให้เล่นเกมส์จาก SD Card เอาไป Pack กล่อง
ขายเป็น ของมือ 1 ได้ อย่างถูกต้อง ตามกฏหมายสหรัฐ
(แต่ตัว Rom ส่วนใหญ่จะยังผิดกฏหมายอยู่นะครับ เพราะจะมีเขียนกำกับไว้
ด้วยขนาดตัวเท่ามดแนบในอกสารหนาๆ ว่าป็นการ
"เช่าสิทธิ์ใช้ Software" จากผู้ผลิต)

By: Kittichok
Contributor
on 15 June 2017 - 19:55 #993271 Reply to:993095

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่น่าสนใจครับ

By: WoodyWutthichai
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 15 June 2017 - 11:58 #993145

นึกถึงคดีขายหนังสือมือ 2 เลย แต่เคสนั้นมีเรื่องการนำเข้าด้วย รายละเอียดอาจจะต่างกัน

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2017 - 12:36 #993160

ช่วงนี้ถึงเริ่มมีแท็งค์แบบ official หลายยี่ห้อสินะ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2017 - 12:36 #993161

ช่วงนี้ถึงเริ่มมีแท็งค์แบบ official หลายยี่ห้อสินะ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: heart
ContributoriPhone
on 15 June 2017 - 13:26 #993180
heart's picture

แล้วถ้าซื้อซีดีเพลง
แล้วมีคนเก็บขยะเอาไปขายต่อหละ
http://www.posttoday.com/crime/329995

By: AmidoriA
UbuntuWindows
on 15 June 2017 - 16:28 #993222 Reply to:993180
AmidoriA's picture

เมื่อเจ้าหน้าที่ขอดูใบอนุญาตจำหน่ายแผ่นซีดี ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ

อันนี้ผิดกฏหมายชัดเจนครับ เพราะขายหนัง ต้องขออนุญาติ เขียนเป็นกฏหมายชัดเจน
แต่ไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับตลับหมึก