Tags:
Node Thumbnail

ในปี 2013 เมือง Dayton ในรัฐ Ohio เริ่มใช้แท็ก RFID สำหรับงานซ่อมผิวทางถนนเป็นครั้งแรก มันคือระบบงานที่ระบุให้ผู้รับเหมาผู้ดำเนินการเปิดผิวถนนเพื่อซ่อมแซมอะไรก็ตามแต่ต้องฝังแท็ก RFID เอาไว้เพื่อให้สามารถติดตามและระบุตัวคนที่ทำงานซ่อมเปิดผิวถนนนั้นได้ในภายหลัง

เรื่องนี้สำคัญอย่างไร?

การออกแบบระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมืองนั้น โดยมากจะมีการติดตั้งระบบส่งควบคู่ขนานไปกับแนวถนน บ้างก็อยู่ข้างบน แต่มีไม่น้อยที่ใช้วิธีฝังตัวอยู่ใต้พื้นถนนเลย ไม่ว่าจะเป็นแนวสายไฟฟ้า, สายเคเบิลสื่อสาร, ท่อประปา, ทางระบายน้ำ กระทั่งท่อส่งแก๊ส และท่อดับเพลิง ซึ่งผลพวงจากการออกแบบการติดตั้งระบบส่งสาธารณูปโภคดังที่กล่าวมา นั่นทำให้การซ่อมบำรุง, หรือตรวจสอบระบบเหล่านี้จำเป็นต้องเปิดผิวถนนที่อยู่ด้านบน กลายเป็นรอยปะผิวด้วยยางมะตอยมากมาย อันไหนที่ทำได้ดีตามมาตรฐานหลังเสร็จงานคนก็ใช้ถนนต่อไปได้ไม่มีปัญหา แต่อันไหนที่เก็บงานห่วย บดอัดไม่ดี, ส่วนผสมวัสดุปะผิวไม่ถูกต้อง เหล่านี้ส่งผลให้ถนนเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

ด้วยเหตุที่ว่ามา ในแง่ของหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามตัวให้ได้ว่ารอยปะถนนในแต่ละจุดนั้นเป็นฝีมือใคร ทำงานอะไร เมื่อไหร่ จากแต่เดิมใช้วิธีนั่งหาแบบฟอร์มขออนุญาตทำงานที่เก็บในแฟ้มกันเป็นวัน ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนเป็นการกรอกข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลในระบบก็ระบุได้แค่ว่าวันไหนมีคนขอทำงานบนถนนเส้นไหน ทว่าไม่อาจระบุแน่ชัดว่าหลุมไหนบนถนนเป็นผลงานของผู้รับเหมารายใด ทำให้ต้องเสียเวลาถกเถียงและนัดหมายเพื่อมายืนยันตำแหน่งหน้างานกัน แต่เมื่อตอนนี้มีเทคโนโลยี RFID เข้ามาช่วยงานนี้ก็ง่ายขึ้นมากโดยทำได้ในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น

แนวทางการทำงานก็คือ เมื่อผู้รับเหมารายใดก็ตามทำงานของตนเองเสร็จและจะต้องซ่อมปะผิวถนน พวกเขาจะต้องวางแท็ก RFID ที่ทางเมือง Dayton เตรียมให้ก่อนทำการรองพื้นลาดยางมะตอย ตัวแท็กที่ว่านี้เป็นแท็กแบบเส้นลวดยาว ถูกออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศต่างๆ ไม่ว่าจะเจอความชื้น, ความร้อนที่ถูกส่งต่อจากไอแดด, ความหนาวเย็นจากหิมะ ตลอดจนแรงกดอัดตัวของคอนกรีตและยางมะตอย หลังจากนั้นเมื่อทางการต้องการตรวจสอบข้อมูลว่ารอยปะผิวถนนนี้เป็นของใคร เจ้าหน้าที่ก็แค่ใช้เครื่องสแกนแบบพกพามาตรวจข้อมูลจากแท็ก RFID ที่อยู่ใต้พื้นนั่นเอง

นับจากปี 2013 จนถึงตอนนี้เมือง Dayton มีการฝังแท็ก RFID ประจำแต่ละจุดที่มีการซ่อมปะผิวถนนราว 9,200 ชิ้นแล้ว และตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มใช้ระบบนี้เมือง Dayton ก็สามารถประหยัดเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งคิดเป็นมูลค่าค่าจ้างได้ถึง 60,000 ดอลลาร์

ในปัจจุบันเมืองอื่นๆ ก็เริ่มนำไอเดียนี้ไปปรับใช้งานบ้างเช่นกัน อาทิ Denver ก็เริ่มใช้แท็ก RFID เพื่อทำระบบข้อมูลการซ่อมถนนเมื่อปีก่อน, Colorado Springs ก็เริ่มใช้งานเทคโนโลยีเมื่อเดือนที่แล้ว และเมื่องใหญ่อย่าง Los Angeles ก็เตรียมจะใช้แท็ก RFID สำหรับการก่อสร้างทางเดินเท้าและทางจักรยานในอนาคต

ที่มา - RFID Journal: 1, 2, 3

alt="upic.me"

Get latest news from Blognone

Comments

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 14 June 2016 - 12:01 #919279

ฝังกะสะพานลอยได้ไหมครับ

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 14 June 2016 - 12:11 #919284 Reply to:919279
Polwath's picture

ผมว่าฝังได้หมดทุกรูปแบบนะ ตามที่อ่านในรายละเอียดของข่าวนะครับ แต่สะพานลอยเป็นคอนกรีตนะ มันจะอ่านเจอหรือเปล่า


Get ready to work from now on.

By: illusion
ContributorAndroid
on 14 June 2016 - 12:17 #919286 Reply to:919284
illusion's picture

ผมว่าเจ้าของความเห็นเค้ากำลังกัดจิกสะพานลอยที่กำลังเป็นประเด็นในบ้านเรารึเปล่าครับ ฮ่าๆ

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 14 June 2016 - 12:26 #919289 Reply to:919279
MaxxIE's picture

รู้สึกว่าสะพานลอยนั้นเค้าทำประชดการไฟฟ้านะครับ
เค้ารับงานมาสร้างสะพานลอยตรงนั้น แต่มันมีเสาไฟฟ้าขวางอยู่ พอแจ้งให้การไฟฟ้ามาย้ายออกก็ไม่มาย้ายซักที
ก็เลยสร้างประชดไว้แบบนั้นเลย เพราะถ้ารอการไฟฟ้า โครงการสร้างก็จะล่าช้าไปอีก ทำให้โดนปรับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 14 June 2016 - 13:45 #919325 Reply to:919289

ผมว่าพวกที่พาดวางสายก็พอกันครับ การไฟฟ้าส่งเรื่องไปหาเจ้าของแล้วแต่เงียบ (แทนที่จะย้ายตั้งแต่แรกก็จบเรื่อง)

ผมว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำตัวทุเรศที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยนะ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 14 June 2016 - 14:24 #919344 Reply to:919325
hisoft's picture

น่าจะเพิ่มเงื่อนไขนะครับ ถ้าไม่ทำอะไรกับสายภายในหนึ่งสัปดาห์ (สองก็ได้อ่ะ) การไฟฟ้าตัดสายย้ายเสาได้เลย

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 14 June 2016 - 14:32 #919351 Reply to:919344

ปกติก็ร่อนจดหมายแบบนั้นครับ พื้นที่ผมเค้าก็ส่งไปแล้วไม่ยอมมาก็จับมัดโยนไปเสาใหม่เลย

เรื่องของเรื่องคือการไฟฟ้าพื้นที่นี้ไม่ยอมทำอะไรเลยมากกว่า

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 14 June 2016 - 14:22 #919343 Reply to:919289
panurat2000's picture

เหลือเชื่อ! สะพานลอยฉาวเมืองนนท์ฯ ระบุส่งงานครบแล้ว

เพจ “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน” แฉสะพานลอยฉาวเมืองนนท์เจาะพื้นให้เสาไฟฟ้าโผล่กลางทางเดินพบพิรุธเพียบ ทั้งเรื่องประกวดราคา แถมบริษัทรับเหมาไม่เคยรับงานก่อสร้างสะพานมาก่อน ที่สำคัญ ลงสถานะการก่อสร้างส่งงานแล้วตามกำหนดเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว ทั้งที่แทบไม่มีความคืบหน้า

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 14 June 2016 - 12:22 #919288
Jaddngow's picture

มีไหมแบบ แกล้งใส่ของบริษัทอื่นลงไป

By: SilentHeal
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 14 June 2016 - 13:03 #919306 Reply to:919288
SilentHeal's picture

ผมว่า พอทำงานเสร็จ คนตรวจต้องมายิงตรวจดูก่อนล่ะ ว่าฝังจริงมั้ย ฝังของตัวเอง รึเปล่า

By: pote2639
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 14 June 2016 - 12:27 #919290

บ้านเราคงมาทั้งกระทรวง ดีไม่ดีคนไม่พอช่อม LOL

By: sonkub
AndroidWindows
on 14 June 2016 - 12:40 #919298

กลัวจะทำเป็นลืมใส่นี่ซิ

By: Roborov
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 14 June 2016 - 12:42 #919300
Roborov's picture

มาประเทศสารขัณฑ์คงใส่ RFID ไว้ในรอยปะ เพื่อให้รถหักหลบได้ทันแทน >__<

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 14 June 2016 - 13:07 #919311 Reply to:919300
mr_tawan's picture

มันอยู่ได้ไม่เกินสองอาทิตย์ ผมว่าคงเปลืองค่า RFID มากทีเดียว


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: tanut007
iPhoneAndroidRed HatWindows
on 14 June 2016 - 13:06 #919310

ความหนาวเย็นจากหิม >>> ความหนาวเย็นจากหิมะ ครับ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 14 June 2016 - 14:18 #919339 Reply to:919310
panurat2000's picture

แต่ต้องฝั่งแท็ก RFID เอาไว้

ฝั่ง => ฝัง

ก่อนทำการรองพื้นราดยางมะตอย

ราดยาง => ลาดยาง

ว่ารอยปะผิวถนนนี้เป็นของใคร ่

ใคร ่ => ใคร

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 June 2016 - 16:15 #919386
Holy's picture

ของบ้านเรายิงพื้นที่เดียวกันอาจจะเจอ tag 3-4 อัน ขุดแล้วกลบ กลบแล้วขุดอยู่นั่น ไม่รู้จักนัดกันมาทำ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 June 2016 - 19:06 #919413 Reply to:919386
  • ปีแรกทำถนนยางมะตอยอย่างดีสวยยย
  • ปีสองทำท่อ ขุดยางมะตอยตรงไหล่ทางออกหมด ฝังท่อลงไป เสร็จแล้วเอาคอนกรีตใส่แทนยางมะตอย กลายเป็นถนนยางมะตอยไหล่ทางคอนกรีต และแน่นอน ฝาท่อโผล่จากผิวถนนมาประมาณ 2-3 ซม. ทั้ง ๆ ที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ ๆ
  • ปีสาม ลอกถนนยางมะตอยออกหมด ทำเป็นถนนคอนกรีตแทน โดยที่ไหล่ทางที่ทำเมื่อปีที่แล้วยังอยู่เหมือนเดิม และแน่นอน ของเก่ากะของใหม่เชื่อมกันไม่สนิท ของใหม่สูงกว่าของเก่าอยู่ 5-6 ซม. เลยมั้ง (เพราะมันยุบลงบ้างแล้ว และตอนนี้ฝาท่อกะไหล่ทางนี่เป็นขั้น ๆ เห็นชัดเจนเลย เพราะไหล่ทางยุบลง แต่ฝาท่อไม่ยุบ)

ที่พูดมานี่แถวบ้านผมเอง.... ปัจจุบันเป็นถนนเส้นที่อันตรายที่สุดสำหรับผม ไปเส้นนี้ทีไรต้องระวังเพิ่มขึ้นมาก ๆ ทุกที เพราะไหล่ทางมันใช้ไม่ได้เลย เอาไว้จอดรถอย่างเดียว


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 14 June 2016 - 19:46 #919427 Reply to:919413
hisoft's picture

เจอ "เป็นจักรยานทำไมไม่ปั่นชิดซ้าย" ทีนี่ผมอยากจะกราบให้พี่มาปั่นชิดซ้ายตลอดทางให้ผมดูเลยครับ orz

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2016 - 09:16 #919489 Reply to:919427
Holy's picture

ผมเจอพี่วินพูดว่า "ทำทางให้จักรยานทำไม ภาษี(รถยนต์/มอไซ)ก็ไม่เสีย" แล้วอยากตอบเหลือเกินว่า ผมเสียภาษีอย่างอื่นเยอะกว่าพี่อีก..... แต่ไม่กล้าพูด ซ้อนเขาอยู่

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 June 2016 - 12:24 #919547 Reply to:919427

อย่าว่าแต่จักรยานเลยครับ มอเตอร์ไซค์กับรถยนต์ยังต้องหลบ น้ำตาจะไหลเวลาขี่ผ่านเส้นนี้ TT^TT


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Kittichok
Contributor
on 15 June 2016 - 01:45 #919460

ไอเดียที่ใช้งานได้จริงก็ควรยินดี