Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

คดีกองทัพเรือฟ้องหมิ่นประมาทและพรบ.คอมพิวเตอร์กับเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน ที่โควตเนื้อข่าวมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ (ดูรายละเอียดจาก iLaw) เป็นคดีที่ได้รับควมสนใจจากนานาชาติ หน่วยงานปกป้องสื่ออย่างสมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนออกมาเรียกร้องให้ถอนคดีนี้เมื่อปีที่แล้ว วันนี้ศาลภูเก็ตก็มีคำพิพากษายกฟ้องคดีนี้แล้ว

สุนัย ผาสุก นักวิจัยอาวุโสจาก Human Rights Watch ระบุว่าคดีนี้ควรเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบข้อร้องเรียนแทนการฟ้องสื่อ

ที่มา - @pakhead, @AAshayagachat, @sunaibkk

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 1 September 2015 - 10:35 #839253
panurat2000's picture

เป็นคดีที่ได้รับควมสนใจจากนานาชาติ

ควม => ความ

By: hydrojen
iPhoneRed HatWindows
on 1 September 2015 - 11:09 #839272
hydrojen's picture

เปราะบางเหลือเกิน
พรบ.คอม ที่ออกมาทุกครั้งหลังข้ามหัวชาวบ้าน
คงมีเพื่อป้องกันการข่าว จริงๆ

By: WoodyWutthichai
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 1 September 2015 - 11:32 #839283 Reply to:839272

แปลกใจตรงที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี รัฐบาลเลือกตั้งก็ไม่คิดแก้ไข กลับใช้ฟ้องคนอื่นด้วย

ผมว่าการฟ้องศาลครั้งนี้ ในแง่ดีก็คือกลายมาเป็นบรรทัดฐานว่าการกล่าวหาผ่าน พรบ.คอมฯ ก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความจริงได้

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 1 September 2015 - 12:08 #839308 Reply to:839283

จะรัฐบาลไหนบอกว่ามั่นคงก็ใช้ทั้งนั้นแหละครับ ประชาชนก็ต้องรักษาตัวเองด้วยการไปเรียกร้องเหมือนประชาชนอเมริกาทำกับ NSA

ปล.พรบ.นี้ร่างมาโดยอำนาจรัฐประหารใครจะแก้ได้ครับ รัฐธรรมมนูญที่เป็นหัวใจยังกฏหมายยังแก้ไม่ได้เลย =_= แถมเขียนกันยังกับไม่ต้องกฏหมายทั่วไปละจับยัดลงรัฐธรรมนูญหมดเดี๋ยวไม่ศักดิ์สิทธิ์

By: WoodyWutthichai
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 1 September 2015 - 14:09 #839353 Reply to:839308

ตกลง รัฐบาลไม่แก้เพราะอยากได้กฎหมายความมั่นคงไว้ใช้ หรือเพราะร่างโดยอำนาจรัฐประหารเลยแก้ไม่ได้ครับ ^_^

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 September 2015 - 14:10 #839354 Reply to:839308
Golflaw's picture

พรบ.นี้ร่างมาโดยอำนาจรัฐประหารใครจะแก้ได้ครับ

แก้ได้สิครับ พอเข้าสู่ภาวะปกติรัฐบาลก็แก้ได้อยู่แล้ว รัฐธรรมนูญ'50 ยังเคยถูกแก้ไขเลย แต่ในความเป็นจริงคือรัฐบาลไหนก็ตาม เมื่อตนมีอำนาจก็เห็นกฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือเลยไม่คิดจะแก้มากกว่า


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: hydrojen
iPhoneRed HatWindows
on 1 September 2015 - 14:15 #839358 Reply to:839354
hydrojen's picture

รัฐธรรมนูญ'50 ยังเคยถูกแก้ไขเลย
รัฐธรรมนูญ'50 ยังเคยถูกแก้ไขเลย
รัฐธรรมนูญ'50 ยังเคยถูกแก้ไขเลย

แต่ในความเป็นจริงคือไม่เคยมีรัฐบาลที่มาโดยวิธีปรกติ แก้ไขได้
แถมยังโดนฟ้องระนาว เกือบโดนแบนทั้ง สส.และ สว.

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 September 2015 - 14:29 #839362 Reply to:839358
Golflaw's picture

ไม่ใช่ทุกครั้งนี่ครับ

ตอนแก้เรื่องระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็ไม่มีปัญหาอะไร


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: WoodyWutthichai
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 1 September 2015 - 14:48 #839364 Reply to:839358

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 93-98
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 190 เพียงมาตราเดียว

ที่มา

By: Pichai_C
Windows PhoneWindows
on 1 September 2015 - 15:42 #839374 Reply to:839364

สรุปการแก้ไขทั้ง 2 ครั้งนี้ โดนแบนยาวทั้ง สว.และ สส. เลยเหรอครับ?

By: thanyadol
iPhone
on 1 September 2015 - 16:04 #839377 Reply to:839364

มันไม่ได้เกี่ยวว่าใครแก้หรอก มันเกี่ยวกับจะแก้อะไร เพราะบางมาตรา แตะไม่ได้
ยกตัวอย่าง ม112 คิดว่าประชาชนไม่อยากแก้ ลองประชามติมั้ยครับ ?

By: gondolaz
AndroidUbuntuWindows
on 1 September 2015 - 20:44 #839422 Reply to:839377
gondolaz's picture

เอาสิ ผมว่าลองดูก็ดี... แต่ผมว่าโดยรวมก็ไม่อยากให้แก้นะ แต่คนที่ดูแลและบังคับใช้กฎหมายของเรา (ตร.) ก็นะ
คือถ้าใช้อย่างเป็นธรรมผมว่ามันก็คงไม่มีปัญหาอะไร

By: hydrojen
iPhoneRed HatWindows
on 2 September 2015 - 09:55 #839559 Reply to:839364
hydrojen's picture

ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) *โดยการลด สส.แบบเขต เพิ่มสส.บัญชีรายชื่อ (เพื่อหวังผลดารเลือกตั้ง ก่อนการยุบสภา)
และหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190) *เรื่องการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจ ในพื้นที่คาบเกี่ยวประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้ง่ายขึ้น

คำถามคือ การแก้ที่มา ส.ว. ต่างจากการแก้ไข มาตรา 93-98 อย่างไร
ทำไม่ถึงผิด ม.68 (50)

แสดงว่ามีแค่บางพรรค สามารถแก้ไข เพื่อความได้เปรียบทางการเลือกตั้งได้ โดยไม่ขัด

By: 0FFiiz
Windows PhoneAndroidWindows
on 1 September 2015 - 13:46 #839346 Reply to:839272
0FFiiz's picture

ทำไมผมรู้สึกว่า ตอนนี้สำนักข่าวมันอิสระยิ่งกว่าช่วงประชาธิปไตยอีก
อิสระเกินไป จนไม่สนใจจรรยาบรรณแล้ว = =""

By: hydrojen
iPhoneRed HatWindows
on 1 September 2015 - 14:11 #839356 Reply to:839346
hydrojen's picture

ขอสักตัวอย่างครับ

ส่วนตัวอย่างของผมที่เห็นว่าไม่อิสระ "การรายงานข่าว 'เหตุระเบิดที่ราชประสงค์' ให้ทุกสำนักข่าวร้ายงานว่าเหตุก่อความไม่สงบ"

By: Yone on 1 September 2015 - 14:53 #839367 Reply to:839346

ที่คุณพูดถึงมันเรื่องจรรยาบรรณสื่อครับ ไม่เกี่ยวข้องกันสักทีเดียว

By: toandthen
WriterMEconomics
on 1 September 2015 - 19:48 #839416 Reply to:839346
toandthen's picture

งง เบย


@TonsTweetings

By: gondolaz
AndroidUbuntuWindows
on 1 September 2015 - 20:45 #839423 Reply to:839346
gondolaz's picture

+1 นั่นสิครับ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 1 September 2015 - 20:41 #839421
mr_tawan's picture

สุนัย ผาสุก นักวิจัยอาวุโสจาก Human Rights Watch ระบุว่าคดีนี้ควรเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบข้อร้องเรียนแทนการฟ้องสื่อ

ประชาชนเองก็ควรทำด้วยนะครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: waroonh
Windows
on 2 September 2015 - 07:43 #839521

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้ผมรู้ว่า
ไม้หลัก ปักขี้เลน กันหมดแทบทุกองค์กรเลยครับ
เหอะๆ