Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลายคนคงสังเกตเห็นว่าเทรนด์การทำงานในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลาย ๆ บริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับการหาคนเก่ง ๆ มาทำงานเพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกันบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายแห่งได้เริ่มทยอยกันปลดพนักงานออกครั้งใหญ่ ส่วนทางฝั่งพนักงานก็จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลาไปพร้อม ๆ กับการหาความยืดหยุ่นในที่ทำงานและ work-life balance ดังนั้น ทั้งบริษัทและพนักงานเองก็ต่างพยายามปรับเปลี่ยนและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานที่รวดเร็ว Blognone Jobs พาไปดู 5 เทรนด์การทำงานที่อาจจะเป็นอนาคตของโลกการทำงานรูปแบบใหม่

บริษัทปรับโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะที่แต่ละสายงานเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งอุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก บริษัทต่างจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเพื่อให้บริษัทเดินหน้าต่อไปได้และยังคงแข่งขันกันบริษัทอื่น ๆ ในสายงานเดียวกันได้ หลายบริษัทเลือกที่จะปลดคนงานออกเพื่อลดรายจ่าย ขณะที่บางบริษัทพยายามจูงใจให้พนักงานมี Productivity มากขึ้น

บริษัทจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมีการจ้างงาน 7 ใน 10 ของตำแหน่งงานทั้งหมดในตลาดแรงงาน โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าควรจ้างงานพนักงานที่เก่ง ๆ พร้อมทั้รักษาพนักงานที่มีอยู่ไว้ ซึ่งการจ้างงานที่มากขึ้นก็ส่งผลต่อกำไรของบริษัทอย่างมาก ทำให้เป็นไปได้ว่าในอนาคตที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว บริษัทจะปรับโครสร้างให้การทำงานมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไปกับการจ้างพนักงานมากขึ้น

No Description

บริษัทให้ความสำคัญกับทักษะและประสบการณ์มากกว่าวุฒิการศึกษา

บริษัทต่าง ๆ เริ่มที่จะให้ความสำคัญกับทักษะของพนักงานรวมถึงประสบการณ์มากกว่าวุฒิการศึกษา หลายบริษัทตัดเกณฑ์เรื่องวุฒิการศึกษาออกจากคุณสมบัติการรับสมัครงาน นำไปสู่การเรียกร้องให้สถาบันอุดมศึกษาเริ่มปรับหลักสูตรให้เหมาะกับการทำงานมากขึ้นเพื่อให้บัณฑิตที่จบมาสามารถหางานทำได้

ทางด้านนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเองก็ให้ความสำคัญกับการหาประสบการณ์ก่อนเริ่มทำงานมากขึ้นโดยเฉพาะการเข้าร่วมโครงการฝึกงานหรืออาสาสมัครทำงาน บริษัท 4 ใน 5 เชื่อว่าการฝึกงานสามารถเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตเพื่อให้ทำงานอย่างประสบความสำเร็จได้

พนักงานเก่ง ๆ ย้ายงานกันเป็นเรื่องปกติมากขึ้น

มีงานวิจัยเผยว่า วัยทำงานที่มีอายุน้อยที่สุดในปัจจุบัน (Gen Z) จะทำงานราว 12-15 งานหากนับรวมตลอดชีวิต สาเหตุมาจากที่บริษัทต่างแข่งขันกันเพื่อดึงตัวคนที่มีความสามารถและมีทักษะไปทำงานที่บริษัทของตัวเอง บวกกับเทคโนโลยีที่ทำให้การทำงานทางไกลเป็นเรื่องปกติ คนเก่ง ๆ เหล่านี้เลยสามารถเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสายงาน หรือแม้แต่ย้ายประเทศเพื่อหางานที่ดีกว่าได้ บางคนสามารถทำงานหลาย ๆ งานไปพร้อม ๆ กันได้ด้วย

โอกาสในการทำงานที่มากขึ้นทำให้เกิดแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการโยกย้ายงานหรือสายงานเพื่อหาความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด และการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์และต่อยอดได้กับงานหลายรูปแบบจึงเป็นเรื่องที่คนให้ความสำคัญมากขึ้น

งานมากขึ้น แต่การจ้างงานลดลง

แม้ว่าจะมีงานให้ทำเพิ่มมากขึ้น แต่บริษัทหลายบริษัทกลับลดการจ้างงานหรือจำนวนพนักงานประจำลง ยกตัวอย่าง บริการขนส่งอย่าง Uber ที่มีคนขับรถโดยสายราว 5 ล้านคนและพนักงานกลุ่มนี้ไม่ได้เซ็นสัญญาจ้างงานกับบริษัท การทำแบบนี้ทำให้บริษัทมีโอกาสสรรหาพนักงานที่มีความสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของบริษัทได้อย่างหลากหลายและครอบคลุม

วิธีการจ้างงานแบบนี้ทำให้บริษัทเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่คอยดูแลและแก้ปัญหาของพนักงานประจำมาเป็นการสร้างทีมกลยุทธ์ในการเสาะหาคนเก่ง ๆ เพื่อมาทำงานแทน นอกจากนี้ ยังเน้นไปที่การหาเครื่องมือเพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานด้วย

No Description

ทักษะทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็น

เมื่อเข้าสู่ยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน บริษัทต่าง ๆ เริ่มพัฒนาไปเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีหรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้งานราบรื่นมากขึ้น ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่ว่าการมี Soft Skill อย่างการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานร่วมกันและความฉลาดทางอารมณ์เท่านั้นจึงจะสามารถดึงความสนใจจากนายจ้างได้ แต่พนักงานจำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัลมากขึ้น อย่างการใช้แอปพลิเคชัน ความรู้เรื่อง AI หรืออย่างน้อยก็มีทักษะในเรื่อง Internet of Things

การรู้ทันเทรนด์การทำงานที่จำเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมได้ทัน ทั้งเรื่องการฝึกฝนทักษะและการหาความรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

ส่วนใครที่สนใจหางานประจำด้านเทคและไอที สามารถเข้ามาหางานได้เลยที่ Blognone Jobs

ที่มา: World Economic Forum

Get latest news from Blognone