Tags:
Node Thumbnail

KBTG ประกาศจัดงาน TechJam 2019 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว โดยธีมในปีนี้คือ Deep Jam ที่โจทย์และการแข่งขันจะเน้นการแก้ปัญหา แก้โจทย์ วัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันแบบเข้มข้นมากขึ้นและลดความเป็นเกมโชว์อย่างปีที่แล้วลง

No Description

เนื้อหาของการแข่งขันยังคงมี 3 กลุ่มเช่นเดิมได้แก่
- Deep Data ที่วัดความสามารถด้าน Data Scientist ของผู้เข้าแข่งขันในการนำข้อมูลดิบมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในแง่ธุรกิจ
- Deep Coding วัดความสามารถด้านการเขียนโปรแกรม เขียนโค้ดและแก้ปัญหา
- Deep Design วัดความสามารถในการนำวิธีคิดด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะ UX/UI ไปจนถึง Design Thinking มาแก้ปัญหา

No Descriptionจากซ้ายไปขวา คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล หัวหน้ากรรมการ Deep Design | คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG | ดร. ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ หัวหน้ากรรมการ Deep Data | คุณอาภาพงษ์ จันทร์ทอง หัวหน้ากรรมการ Deep Code

ในส่วนของการแข่งขัน Deep Data ดร. ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ ตำแหน่ง Data Scientist จาก Kasikorn Labs หัวหน้าคณะกรรมการของ Deep Data เปิดเผยว่าการแข่งขันรอบแรกในปีนี้ จะยังมีความคล้ายกับของปีที่แล้ว กล่าวคือกรรมการจะให้ข้อมูลดิบ ที่ประกอบไปด้วยทั้งข้อมูลจริงที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล/ลูกค้าและข้อมูลที่สร้างขึ้น แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างโมเดลขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ที่ให้ ซึ่งจะต้องส่งโมเดลที่สร้างขึ้นให้ทางคณะกรรมการดูด้วย

ขณะที่รอบไฟนอล (Final Round) คุณภควัตยังไม่เปิดเผยว่าจะเป็นโจทย์แนวไหน โดยจะแจ้งให้กับผู้เข้ารอบสุดท้ายอีกครั้ง แต่บอกใบ้แค่ว่าโจทย์จะใช้เทคนิคที่ไม่เคยใช้มาก่อนในการแข่งขันปี 2017 และ 2018 ขณะเดียวกันก็มีความเกี่ยวข้องกับการใช้โมเดล Deep Learning ด้วย แต่ตอนนี้กำลังปรับปรุงโจทย์ให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลที่เยอะเกินไป ให้ผู้เข้าแข่งขันสามารถเทรนโมเดลได้ในระยะเวลาที่กำหนด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังประมวลผลที่สูงเกินไป เพราะจะกลายเป็นว่าผู้เข้าแข่งขันที่มีคอมพิวเตอร์แรง ๆ จะได้เปรียบ

No Description

ส่วน Deep Code คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทองตำแหน่ง Machine Learning Engineeer จาก Kasikorn Labs หัวหน้าคณะกรรมการของ Deep Code ระบุว่าคณะกรรมการตัดสินใจจะเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันจากปีที่แล้ว ตัดรูปแบบการแข่งแบบเกมโชว์ออก แต่ยังคงโจทย์ที่เน้นการแก้ปัญหาอยู่เช่นเดิมสำหรับการแข่งขันรอบแรก ส่วนรอบสุดท้ายการแข่งขันจะจำลองสถานการณ์เหมือนจริง ให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนเซอร์วิสบน Docker รวมถึงเชื่อม API ของธนาคาร เมื่อมีคนยิง API มาแล้วตอบทันที รวมถึงอาจมีการเปลี่ยน requirement ระหว่างการแข่งขัน ก็ต้องปรับเปลี่ยนตามนั้นให้ได้เพื่ออิงกับสถานการณ์การทำงานในชีวิตจริงๆด้วย

ภาษาที่ใช้ในการแข่งขัน ต้องใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งจากต่อไปนี้: C, C++, Golang, Java, JavaScript และ Python 3

No Description

ด้าน Deep Design คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล ดีไซน์เนอร์จาก KBTG และหัวหน้าคณะกรรมการระบุว่ารูปแบบจะยังไม่แตกต่างจากปีที่แล้วมากนัก แต่ในรอบสุดท้าย (Final Round) จะเพิ่มระยะเวลาการแข่งขันจากเดิมที่มีเวลาแค่วันเดียวแค่เช้าถึงเย็น ปีนี้จะมีเวลาข้ามวัน ซึ่งจะมีเวลามากพอที่จะให้ผู้เข้าแข่งขันปรับปรุงและแก้ไขผลงานดีไซน์ตามที่ได้ Requirement จาก User ในการแข่งขัน

No Description

TechJam 2019 by KBTG เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 11 พฤศจิกายน 2562 นี้ทาง techjam.tech (เฉพาะด้าน Deep Code ที่เปิดรับถึง 5 พฤศจิกายน 2562 นี้เท่านั้น) ผู้เข้าแข่งขันสามารถมาแบบเดี่ยวหรือคู่ก็ได้ อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่จำกัดอาชีพ โดยในขั้นตอนสมัครจะต้องทำโจทย์ผ่านทางออนไลน์เป็นการกรองผู้เข้าแข่งขันครั้งแรกด้วย ก่อนจะประกาศผลผู้ผ่านเข้าสู่รอบแรกในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ทางเพจ KBTG Live

ส่วนรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน และวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2562 ที่อาคาร KBTG (เมืองทองธานี) พร้อมประกาศผลและมอบรางวัลให้ทีมผู้ชนะเลิศแต่ละด้าน ซึ่งจะได้มีโอกาสเดินทางไปเปิดประสบการณ์ และดูงานด้านเทคโนโลยีและการออกแบบระดับโลก ณ ซิลิคอน วัลเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

No Description

Get latest news from Blognone