Tags:
Node Thumbnail

อัลกอริธึมเข้ารหัสพร้อมตรวจสอบความถูกต้องจะใช้สำหรับการเข้ารหัสข้อมูล โดยเมื่อผู้รับถอดรหัสแล้วจะทราบทันทีว่าเป็นข้อความต้นฉบับหรือไม่ ต่างจากการเข้ารหัสปกติที่หากใช้กุญแจผิดจะได้ข้อมูลขยะออกมา ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันคือ AES-GCM ที่ใช้ใน TLS 1.2

โครงการประกวด CAESAR ได้ประกาศผลอัลกอริธึมเข้ารหัสแบบยึนยันตน (Authenticated Encryption) ที่ชนะการประกวด แบ่งตามประเภทการใช้งานดังนี้

  1. เหมาะสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ฮาร์ดแวร์น้อยหรือโค้ดมีขนาดเล็กสำหรับ CPU 8 บิต - Ascon, Acorn
  2. เหมาะสำหรับระบบประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้ดีใน CPU 64 บิตหรือฮาร์ดแวร์เฉพาะ - AEGIS-128, OCB
  3. มีการป้องกันต่อการใช้งานผิดวิธี - Deoxys-II, COLM

เนื่องจากการออกแบบอัลกอริธึมด้านวิทยาการรหัสลับมีความซับซ้อน ในอดีตจึงมีการจัดประกวดกันอยู่หลายครั้ง โดยอัลกอริธึมเข้ารหัส AES, แฮช SHA3 และแฮชรหัสผ่าน Argon2 ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายต่างผ่านการประกวดมาทั้งสิ้น

การประกวด CAESAR นี้เริ่มดำเนินงานในปี 2013 โดยมีคณะทำงานจากทั่วโลก การประกาศผลจะเลือกอัลกอริธึมมาหลายๆ ตัวให้เหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ คล้ายกับการประกวด eSTREAM ของสหภาพยุโรป

ที่มา: CAESAR website

Get latest news from Blognone

Comments

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 23 February 2019 - 23:07 #1097984
lew's picture
  • หัวข่าว การเข้ารหัสแบบยืนยันตน นี่เป็นคำที่ไม่เจอกันบ่อยนัก ใช้คำที่คนเชื่อมโยงได้ เช่น "กระบวนการเข้ารหัสลับพร้อมตรวจสอบความถูกต้องข้อมูล" ในทางเดียวกัน ควรเอาคำอธิบายไว้ย่อหน้าแรก
  • CAESAR เป็นโครงการของใคร ดำเนินการโดยใคร ทำไมต้องสนใจ เทียบกับ NIST อันนี้ควรเอาไว้ย่อหน้าแรกเช่นกันสั้นๆ เช่น นักวิจัยรวมตัวกันเอง (เฉพาะกิจครั้งนี้? กรรมการน่าสนใจ?) อาจต้องทท้าวความไปถึงการรวมตัวของกลุ่ม DIAC
  • อธิบายเงื่อนไขการเลือกสั้นๆ ว่าไม่ใช่เลือกเพราะความปลอดภัยอย่างเดียว (มีความเร็ว, พื้นที่ชิป ฯลฯ ด้วย)

lewcpe.com, @wasonliw