Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาระบบธนาคารล่มเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมานานหลายปี และยิ่งนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นผ่านโครงการพร้อมเพย์ ยิ่งทำให้คนจำนวนมากต้องอาศัยบริการธนาคารมากกว่าเดิม

ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการพร้อมเพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) ระบุเหตุผลหนึ่งที่ควรสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ว่าเป็นการลดต้นทุนการจัดการธนบัตร นับแต่การพิมพ์, เก็บรักษา, ขนส่ง, ไปจนถึงการทำลาย

แต่โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่ไร้ความน่าเชื่อถือ กำลังทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นผู้ประสบภัย ในรอบปีที่ผ่านมา เราพบปัญหาของระบบธนาคารสารพัดรูปแบบ นับแต่ระบบการเงินที่ใช้งานไม่ได้นานหลายชั่วโมง, ระบบโอนเงินที่ดูดเงินหายไปในหลุมดำได้ครึ่งค่อนวัน ไปจนถึงปัญหายิบย่อยการล่มครั้งละไม่กี่นาทีที่ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดบ้าง

No Description

ความผิดพลาดในระบบไอทีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่สิ่งที่น่าวิตกคือธนาคารแห่งประเทศไทยแทบไม่เคยมีท่าทีต่อสาธารณะในเรื่องนี้ ทั้งที่มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาลได้รับผลกระทบในวงกว้าง เราไม่เคยเห็นธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาแสดงตัวในฐานะผู้กำกับดูแลระบบธนาคารให้มีความน่าเชื่อถือ และไม่เคยเห็นมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว

สิ่งที่เราเห็นกลับมีแต่การประกาศความสำเร็จในการผลักดันสังคมไร้เงินสด เรามักเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงตัวเลขผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น, ปริมาณเงินที่โอนผ่านระบบใหม่อย่างพร้อมเพย์ หรือสถิติอื่นๆ อย่างต่อเนื่องผ่านงานวิจัยและการแถลงในโอกาสต่างๆ แต่กลับไม่เคยแถลงสถิติว่าระบบต่างๆ ของธนาคารไทยมีปัญหากันแค่ไหน

การเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลปัญหาระบบธนาคารล่ม แม้ไม่ช่วยให้ธนาคารหายล่มไปในทันที แต่การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสว่าระบบล่มมากน้อยแค่ไหน ย่อมทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกผู้บริการได้อย่างถูกต้อง, มีการจัดการเมื่อเกิดปัญหาเพื่อผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และธนาคารมีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว

สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรบังคับธนาคารต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ผมเสนอแนวทางดังนี้

  1. เปิดเผยข้อมูลเสถียรภาพระบบไอทีธนาคาร ผมเชื่อว่าทุกครั้งที่ระบบไอทีธนาคารมีปัญหา ธนาคารต้องส่งรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจำอยู่แล้ว ผมเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยสถิติปัญหาของธนาคารแต่ละแห่งเป็นประจำตามห้วงเวลา รายไตรมาส, ครึ่งปี, หรือรายปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการจากเสถียรภาพของการให้บริการเป็นอีกตัวแปร นอกจากโปรโมชั่น, การโฆษณา, หรือการจูงใจอื่น
  2. กำหนดแนวทางการแจ้งเตือนประชาชนที่ชัดเจน ผมสังเกตพบว่าธนาคารหลายแห่งเปลี่ยนแนวทางการแจ้งข่าวระบบมีปัญหาไปมากในช่วงปีที่ผ่านมา หลายธนาคารเลิกโพสตามสื่อสังคมออนไลน์ชี้แจงปัญหา หลายธนาคารเลือกที่จะ “ตอบ” การร้องเรียนปัญหาทีละรายโดยไม่ยอมโพสแจ้งว่าระบบมีปัญหาตรงๆ ทำให้หน้า timeline ของธนาคารเหล่านี้ไม่ปรากฎข้อความแจ้งระบบมีปัญหาเลย การหนีปัญหาเช่นนี้สะท้อนการกำกับดูแลที่แย่ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงควรกำหนดให้มีมาตรฐานแจ้งต่อประชาชนเมื่อระบบมีปัญหาขนาดใหญ่พอ เช่น เมื่อระบบใช้งานไม่ได้เป็นเวลา 10 นาทีขึ้นไป ธนาคารต้องโพสผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์และหน้าเว็บหลักของธนาคาร, หากมีปัญหาเกิน 3 ชั่วโมงต้องออกจดหมายข่าวแจ้งสื่อมวลชนถึงแนวทางแก้ปัญหา เป็นต้น
  3. ให้ธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างหน้าเว็บบอกสถานะบริการ การสร้างเว็บสถานะบริการเป็นเรื่องปกติของการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น AWS Service Health Dashboard หรือ Google Cloud Status ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่น บริการไม่ตอบสนองไม่กี่นาทีอาจจะไม่ต้องการการแจ้งเตือนในวงกว้าง แต่ควรเปิดเผยให้ตรวจสอบได้ ระบบกลางเช่น ITMX ควรแสดงให้เห็นว่าการเชื่อมต่อกับธนาคารไหนยังอยู่และธนาคารใดถูกตัดออกจากระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถหาทางเลือกในการทำธุรกรรมต่อไป

ผมเชื่อว่าหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทยในการสร้างระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ควรกลัวว่าการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้จะสร้างความกังวลให้กับผู้ใช้ หรือทำให้ธนาคารบางแห่งเสียชื่อเสียง แต่ควรยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ประชาชนตัดสินใจเข้าใช้เทคโนโลยีเมื่อมันมีความพร้อม และมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เมื่อเกิดปัญหา

note: เวอร์ชั่นแรกของบทความนี้มีภาพประกอบแสดงชื่อธนาคารโดยมี suggest ถึงคำว่าล่มของกูเกิล สมาชิกทักท้วงว่าน่าจะเป็นประวัติการค้นหามากกว่าความนิยมในการค้นหาของคนหมู่มาก จึงถอดภาพออกไป

Get latest news from Blognone

Comments

By: jane
AndroidUbuntu
on 1 February 2019 - 22:14 #1094818
jane's picture

ฟู่ ฟู่ ฟู่

By: Hoo
AndroidWindows
on 1 February 2019 - 22:32 #1094821

ผมว่า หลังบ้านของแต่ละแบงค์ไม่เก่งพอ
แบงค์ชาติตั้งค่าปรับหนักๆระดับแบงค์เจ๊ง ก็อาจจะยังมีล่มอยู่ดี ?

By: ravipon
iPhoneWindows
on 1 February 2019 - 22:48 #1094826 Reply to:1094821
ravipon's picture

มีธนาคารเยอะเกินไป แบงค์เล็ก ๆ ลงทุนไม่ไหว ส่วนแบงค์ใหญ่ต้องลงทุนอีกแค่ไหน เห็นในงบการเงิน KTB ปลายปีที่แล้วก็ลงทุนระบบ IT ไปมาก หรือหมดไปกับค่าทำแอพใหม่หมด?

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 3 February 2019 - 00:23 #1094944 Reply to:1094821
dangsystem's picture

ใช่ครับ ปรับยังไงก็ล่มอยู่ดี จ่ายเงินค่าทำแอปเท่าไหร่เวลาล่มปรับบริษัทรับจ้างทำไม่ได้สักบาทละมั่ง

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 February 2019 - 02:44 #1094950 Reply to:1094821
lew's picture

ผมก็ไม่ได้เสนอให้ปรับสักข้อเลยนะ

เรื่องปรับมันคงต้องมีระดับที่ยอมรับไม่ได้อยู่และโดนปรับล่ะครับ เรื่องปรับเพราะล่มนี่ถ้ามีก็เรื่องเล็กมาก อย่างมากไม่ถึงล้าน ไม่ต้องกังวลแทนธนาคารหรอกครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: huanaa
Contributor
on 1 February 2019 - 22:45 #1094823

ผมคิดว่าควรตัดภาพประกอบที่เป็นการค้นหาคำว่า กรุงไทย ด้วย google ออกนะครับ เพราะว่าคำว่า กรุงไทยล่ม เป็นการแสดงประวัติคำค้นหาของเจ้าของบทความเอง ไม่ใช้คำค้นหาที่คนนิยมสืบค้นครับ

By: 21Aki
ContributorAndroidWindows
on 1 February 2019 - 22:48 #1094827 Reply to:1094823
21Aki's picture

+1 ครับ ยังมี Remove อยู่เลย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 February 2019 - 23:08 #1094831 Reply to:1094823
lew's picture

จัดออกตามเสนอมาครับ

อันนี้ผมอาจจะพลาดไปเองครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: olarn_u
iPhoneUbuntu
on 1 February 2019 - 22:51 #1094828

รูป search Google นี่สื่อถึงอะไรนะครับ?

จากรูป ผมเข้าใจว่า result 2 อันแรกไม่ใช่ suggestion ที่ Google เลือกมาให้ แต่เป็น recent ที่เราเคย search รึเปล่านะ เพราะมันมี link remove อยู่ด้านหลังด้วย

ถ้ายังไง ช่วยอธิบายกำกับใต้ภาพได้ไหมครับว่าจะสื่ออะไร ขอบคุณครับ

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 1 February 2019 - 23:49 #1094834
PH41's picture

เห็นด้วยกับแนวทางทั้ง 3 ข้อครับ

By: nest3d
iPhoneAndroid
on 1 February 2019 - 23:57 #1094835

เห็นด้วยกับข้อ 1 เป็นอย่างยิ่ง

By: suwanpnt
iPhoneAndroidWindows
on 2 February 2019 - 00:33 #1094842
suwanpnt's picture

สมมติว่ากำหนด due ในวันที่ 1 แล้ววันนั้นระบบล่ม มาฟื้นวันที่ 2 จะมีดอกเบี้ยที่เกิดจากผิดนัดชำระหนี้ทันทีใช่ไหม ยิ่งถ้าเป็นบัตรเครดิต ก็จะมีค่าธรรมเนียมอีกมากมาย
ความเสียหายนี้ จะถูกยกเลิกหรือไม่ ถ้าเกิดเราไม่สามารถทำธุรกรรมได้เพราะระบบล่ม

By: Jaynarol
AndroidRed HatWindows
on 2 February 2019 - 01:24 #1094843
Jaynarol's picture

เห็นด้วยกับทุกข้อเลยครับ

By: kasemsakk
ContributorAndroidSymbianWindows
on 2 February 2019 - 01:47 #1094846
kasemsakk's picture

ผมเชื่อว่าระดับปฏิบัติการของ ธปท. อยากทำอะไรเยอะแยะใจจะขาด

แต่ระดับผู้บริหารของ ธปท. นี่สิ...

เวลาสื่อสารอะไรออกมา ถ้านักข่าวไม่กระทุ้ง ธปท. ไม่ออกมาพูดหรอกฮะ (เคยถามผู้ว่าฯ เรื่องการตรวจสอบการเปิดบัญชี เหมือน 3 ชั้นของฝั่งมือถือ ยังจะให้ FinTech ทำเลย)

By: udornrt
AndroidWindows
on 2 February 2019 - 08:43 #1094861

ระบบ as400 มันซึมลึกเข้าอยู่ในกระดูกดำของธ. เพราะหลายๆ app มันproof ตัวเองแล้วว่า มันทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขนาดไหน
ยิ่งกว่านั้น Database ที่มันใช้คือ db2 ความห่วยขนาดหนัก มิแปลกที่มันจะเป็นแบบนี้ ถึงจะทำให้ดีในหน้า front แต่ข้างหลังยังเป็น db2 มันก็ไม่ไปไหนหรอกครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 2 February 2019 - 09:13 #1094865 Reply to:1094861

เห็นด้วยครับ ว่าแต่...เขาไม่ได้ใช้ oracle หรอกเหรอครับเนี่ย

By: udornrt
AndroidWindows
on 2 February 2019 - 19:58 #1094928 Reply to:1094865

AS400 มันเกาะกับ DB2 ประมาณ OS +APP+DB ผสานกันเป็นเนื้อเดียว

By: Ooh
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 2 February 2019 - 18:16 #1094920 Reply to:1094861
Ooh's picture

ถามแบบไม่รู้หน่อยครับ? DB2 มันไม่ดียังไงหรอครับ แล้วต้องใช้อะไรถึงจะดี???


Ooh

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 5 February 2019 - 09:39 #1095192 Reply to:1094920

มันเก่าครับ
มันคือระบบ database ที่ใช้บนเครื่อง mainframe
การจะย้ายมาเป็น oracle หรืออื่นๆ มันยากมาก เพราะต้องทำ core banking ใหม่หมด function หลังบ้าน หน้าบ้านทุกอย่างต้องเริ่มใหม่จาก 0
บ้านเราน่าจะมีแค่ kbank ที่ย้าย core banking แล้ว (ใช้เวลานานน่าจะเกือบ 10 ปีถึงย้ายสำเร็จ)

By: Nozomi
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 3 February 2019 - 17:39 #1094979 Reply to:1094861
Nozomi's picture

เกลียด as400 เข้ากระดูกเช่นกัน ฮ่า

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 2 February 2019 - 10:23 #1094874

ผมเตรียมเงิน จะมาจ่ายหนี้
เมื่อวานสุดท้ายพอดี ระบบล่มไม่ได้จ่าย รอโดนฟ้องจากบัตรแล้วเนี้ย
ของผมค้างสามเดือนละ ว่าจะตัดสักเดือน
ธนาคารช่วยไรได้มั้ยค้าบ เศร้าใจเงินก้อนสุดท้ายเตรียมาจ่ายหนี้ไม่ได้จ่าย

---ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ การโอนเงินไม่เข้าบัญชี วันที่ 1 ก.พ.62 .ก่อนช่วงเวลา 22.00 ระบบจะปรับปรุงเงินเข้าบัญชีปลายทางพรุ่งนี้เวลาประมาณ 19.00 น.เป็นต้นไปค่ะ ***หากเงินยังไม่เข้าในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เข้าสามารถแจ้ง Call Center 02-111-1111 เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบรายการให้ค่ะ

By: NoppawanConan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 2 February 2019 - 14:58 #1094901 Reply to:1094874
NoppawanConan's picture

ถ้าเอาไปโพสในพันทิป น่าจะเจอพวกที่คอมเมนต์สวนกระแสใส่แน่นอนผมว่า แต่ระบบมันแย่จริงๆ


แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 3 February 2019 - 16:26 #1094975 Reply to:1094874
animateex's picture

เคสนี้ผมเคยโดนคล้ายๆกันอยู่ ตอนไปคุยปัญหากับเจ้าหน้าที่เค้าบอกระบบมันจะมีการตัดหนี้รอบสองกันความผิดพลาดด้วยนะ (ในกรณีรอบแรกตัดไม่ผ่าน/เงินไม่ครบตามยอด)

อย่างผมลืมใส่เงินลงในบัญชีที่ระบบจะตัดตอน 20:00 วันที่ 31 ม.ค ระบบจะตัดซ้ำให้ตอน 8:00 ของวันที่ 1 ก.พ. แทน ถ้าวันที่ 1 เป็นวันเสาร์ก็จะไปตัดวันที่ 3 ก.พ. แทน

By: KimHan
iPhoneWindows PhoneBlackberrySymbian
on 3 February 2019 - 17:14 #1094977 Reply to:1094975

แล้วแต่นโยบายแต่ละธนาคารนะ ยกตัวอย่าง SCB จะเป็นแบบนี้

เดือนไหนเจอวันหยุดในวันตัดรอบบิลก็จะตัดก่อน
และวันไหนที่เจอวันหยุดในวันกำหนดจ่ายก็จะเลื่อนให้ในวันทำการถัดไป
ผมว่าดีมากๆเลย

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 4 February 2019 - 09:10 #1095019 Reply to:1094975

ถ้าค้างเดือนสองเดือน คงไม่เปนไรค้าบ อันนี้ค้างสามเดือนละครับผม ถ้าไม่ตัดสักเดือนจะขึ้น npl ครับผม

By: whitebigbird
Contributor
on 3 February 2019 - 21:57 #1094997 Reply to:1094874
whitebigbird's picture

ติดต่อธนาคารรึยังล่ะครับ ถ้ายังไม่ได้ติดต่อธนาคารแล้วมาโพสต์ถามในบล็อกนันนี่ก็นะ

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 4 February 2019 - 09:18 #1095018 Reply to:1094997

ติดต่อทุกช่องละค้าบ คอลเซ็นเตอร์วันนั้นยิ่งโทรไม่ติดเลย สายไหม้แน่นนอน
เงินเข้าอีกวันเลยดีลคร้าบผม รอรับหมายศาลแล้ว

เขาตอบข้อความนี้ แล้วเงินก็เข้าวันเสาร์ ซึ่งดีลผมเปนวันศุกร์
ถ้าหมายถึงธนาคารที่ผมจะจ่าย ไม่ใช่แบ้งกรุงไทยครับ แต่โอนถอนเงินจากกรุงไทย
ถ้าเปนพวกสินเชื่อบ้าน คงโดนเลทชาร์จ อันนี้เปนบัตรเครดิตค้างสามเดือนครับผม

--ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ การโอนเงินไม่เข้าบัญชี วันที่ 1 ก.พ.62 .ก่อนช่วงเวลา 22.00 ระบบจะปรับปรุงเงินเข้าบัญชีปลายทางพรุ่งนี้เวลาประมาณ 19.00 น.เป็นต้นไปค่ะ ***หากเงินยังไม่เข้าในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เข้าสามารถแจ้ง Call Center 02-111-1111 เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบรายการให้ค่ะ

By: whitebigbird
Contributor
on 4 February 2019 - 09:31 #1095022 Reply to:1095018
whitebigbird's picture

สู้ๆ นะครับ คุยเจรจาให้ได้ ไปคุยกับผู้จัดการสาขาใดสาขาหนึ่งเลยก็ดีครับ พยายามคุยแบบ in person ให้ได้ครับ

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 4 February 2019 - 09:39 #1095025 Reply to:1095018
Holy's picture

ลองคุยกับธนาคารเจ้าหนี้ดูครับ ถึงจะค้าง 3 เดือน 1 วัน แล้วบางธนาคารอาจจะยังไม่ส่งฟ้องทันทีก็ได้ครับ ถ้าเค้าเห็นอยู่ว่าเงินเข้าแล้วเดือนนึงก็อาจจะไปหยุด Process ทางกฎหมายไว้ให้ (หรืออาจจะหยุดออโต้เลยก็ได้ ถ้ายังไม่เริ่ม) ลองโทรไปคุยกับธนาคารเลย จริงๆ ลูกหนี้ที่จ่ายช้าแล้วโดนดอก/ดอกปรับไปเรื่อยๆ แต่ยังจ่ายนี่คือลูกหนี้ที่ดีที่สุดของธนาคารแล้ว เค้าเองก็ไม่อยากฟ้องให้เสียโอกาสกับลูกค้ากลุ่มนี้หรอกครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 4 February 2019 - 10:00 #1095029 Reply to:1095025
whitebigbird's picture

ถูกครับ ฟ้องปุ๊บกลายเป็น npl หรือไม่ก็ต้องเข้าสู่การประนอมหนี้

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 4 February 2019 - 11:26 #1095036 Reply to:1095029
Holy's picture

เพิ่มเติมสำหรับคุณ z2 ให้อีกว่า ถ้าวันครบ 3 งวดคือวันที่ 1 จริงๆ (ไม่ใช่ 31) ถึงแม้ว่าในระบบจะจ่ายทะลุไปวันที่ 3 เดือน 1 วัน แต่การรายงาน NCB จะสรุปรายงานทุกสิ้นเดือน ดังนั้นตราบใดที่ธนาคารยังไม่ฟ้อง และคุณไปจ่ายให้ครบงวดนึงภายในเดือน ก.พ. สิ้นเดือน ก.พ. คุณจะยังไม่เป็น NPL ใน NCB ครับ

ปล. แต่ระวังเรื่องเบี้ยปรับ/ค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย บางธนาคารอาจให้จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้แยกออกมาก่อน เงินที่เหลือถึงไปตัดดอก/ต้นหนี้

By: KimHan
iPhoneWindows PhoneBlackberrySymbian
on 4 February 2019 - 11:47 #1095037 Reply to:1095018

ต้องไม่ชำระเงิน 1 ปีขึ้นไปถึงได้หมายศาลครับให้ไปเจรจาประนอมหนี้

แต่ก่อนหน้านั้นจะมีบริษัททวงหนี้โทรมาทวง ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป ให้คุยปกติ บอกความเป็นจริงที่เราเจอ เค้าจะช่วยหาทางออกให้ครับ เพราะคนโทรมาทวงเค้าก็ไม่ได้อยากโทรหลอก เค้าอยากช่วยเราปิดไวๆ งานเค้าก็เสร็จ ได้ค่าคอม

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 2 February 2019 - 11:22 #1094880
btoy's picture

เห็นด้วยครับ ธปท. ควรจะเข้ามากำกับและดูแลปัญหานี้อย่างจริงจัง เพราะส่วนตัวเชื่อในศักยภาพของธนาคารเอกชนว่าเค้าสามารถทำให้ระบบมันนิ่งได้ ถ้าอยากทำจริงๆ


..: เรื่อยไป

By: powerpat
iPhoneAndroid
on 2 February 2019 - 11:32 #1094881
powerpat's picture

ดีที่ธนาคารใช้หลักไม่ใช่ kbank ktbเลยไม่เคยได้รับผลกระทบ

By: phenocalypse
ContributorAndroidWindows
on 2 February 2019 - 11:54 #1094884

นึกถึงทวีตของเซเลปไอทีท่านหนึ่ง ที่บอกว่าทำไมร้านอาหารบางแห่งถึงยังกำหนดขั้นต่ำของการจ่ายด้วยบัตรเครดิตอยู่ เหมือนจะไม่เกี่ยว แต่ก็สะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการก็ไม่มั่นใจใน Cashless เหมือนกัน เรื่องธนาคารเจ้าของ EDC ที่ยังเก็บค่าธรรมเนียมแพง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งสังคมไร้เงินสดเช่นกัน

By: allinsense
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 2 February 2019 - 13:52 #1094894 Reply to:1094884
allinsense's picture

2.5% เรตกลางๆ ร้านทั่วๆไปผมว่าก็เยอะนะครับ สมมุติยอดขายต่อวัน 50,000 ก็โดนไป 1250 บาทแล้ว x 30 วัน = 37500 บาท เงินก้อนนี้ผมมองจากผู้ประกอบการ เราจ้างพนักงานทั่วไปได้เพิ่ม 2-3 คนเลยนะครับ แน่นอนว่ามันก็มีเรต 1-1.5% แต่ร้านค้านั้นต้องยอดขายเยอะจริงๆถึงต่อรองได้เรตดีขนาดนี้

ผมเป็นกลุ่มสังคมไร้เงินสดแบบ 99% เข้าใจทั้งสองฝั่ง อยากให้ระบบเกิด แต่ค่าธรรมเนียมก็อยากให้ธนาคารทบทวนอีกครั้ง

By: prugsadee on 2 February 2019 - 16:01 #1094908 Reply to:1094894

เห็นด้วยครับ มันกลายเป็นว่าความสะดวกต้องจ่ายด้วยเงินที่เยอะมากทีเดียว ใช้เงินสดดีกว่า ไม่เสียค่าธรรมเนียม ผมยังนิยมใช้เงินสดอยู่นะครับ สะดวกมากซื้ออะไรก็จ่ายเงินเลย จบกันไปตรงนั้นไม่ต้องกังวลระบบมันจะตัดเงินไหม คนรับได้เงินไหม กลับจะเครียดกว่าเดิมอีก

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 4 February 2019 - 13:09 #1095042 Reply to:1094908
Bigkung's picture

งดสดข้อเสียคือโกงเงินทอน แบงค์ปลอม และเจอปล้นก็หาเจ้าของเงินจริงๆไม่เจอครับ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 February 2019 - 07:30 #1095165 Reply to:1094908

ถึงจุดหนึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมครับ ธ.บอกว่ายอมไม่เก็บค่าธรรมเนียมพร้อมเพย์แล้ว ขอเก็บค่าธรรมเนียมตู้ atm แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยหน่อยครับ เค้าเจรจากับแบงค์ชาติมาซักพักแล้ว


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 2 February 2019 - 19:15 #1094925 Reply to:1094894

การขายปลีก มันรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่คุรไม่ได้ใช้เข้าไปแล้วครับ เช่น ค่ารูดบัตร เป็นต้น ถึงแม้จะใช้หรือไม่ใช้ก็ถูกคิดรวมไปแล้วครับ ดังนั้นถึงคุณจะใช้เงินสดทางร้านค้ายิ่งยินดีรับ เพราะร้านค้าจะได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2.5% ของมูลค่าที่รูด แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า เดี๋ยวนี้บางธนาคารให้โปรฯ EDC เรียกว่าแทบจะรูดฟรี ค่าธรรมเนียมถูกยิ่งกว่า 2.5% รายเดือนไม่เสีย ค่าสลิปไม่ต้องจ่าย ขออย่างเดียวปั่นยอดรูดให้ถึง ทำให้บางร้านเดี๋ยวนี้ขอรับบัตรเดบิต บัตรเครดิตดีกว่า เพราะต้นทุนมันถูกมากๆ ครับ ใครจ่ายผ่าน QR Code นะ แทบอุ้มเพราะ 1.ไม่มีค่าธรรมเนียม 2.คนคุม POS ไม่ต้องเสียเวลานั่งเคลียร์บัญชีหลังปิดร้านหากเงินขาด ปิดยอดไม่ลงตัว แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิวเอาเงินฝากเข้าบัญชีสำนักงานใหญ่ด้วย

By: tanapon000 on 2 February 2019 - 20:03 #1094929 Reply to:1094894
tanapon000's picture

ของ SCB เมื่อ 2 ปีก่อนที่ได้มาคือ รายเดือนไม่เสียเพราะใช้ net จาก Lan
ค่าธรรมเนียมสูงสุดคือบัตรเครดิษ platinum ขึ้นไปอยู่ที่ 1.7% เองมั้ง ไม่รู้หลังจากนี้จะมีถูกกว่านี้ไหม

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 February 2019 - 03:23 #1094954 Reply to:1094894
lew's picture

ผมมองเรื่องนี้สองประเด็นครับ

  1. บัตร PromptCard ผูกกับระบบบัตรเครดิต ธนาคารต่างๆ มักอ้างว่า PromptCard ราคาถูกแล้ว ไม่ถึง 0.5% แต่เอาจริงๆ รับเครื่องจ่ายมา การฝึกให้รับเฉพาะบัตร PromptCard นี่ยากมาก ไม่มีการโปรโมทจากธนาคาร บัตร PromptCard มีกี่ใบผมก็ไม่แน่ใจ ผมเองไม่เคยถือบัตรหาบัตร PromptCard มาถือไว้เพราะร้าน (ควรจะ) รับเยอะกว่า เรื่องนี้ควร note หน่อยว่าร้านยอมรับ QR เยอะกว่าเพราะมันเข้าใจง่าย รับ QR คือไม่มีค่าธรรมเนียม จบ
  2. 0.5% นี่ก็แพงเกินไป ร้านเล็กๆ ยอดต่ำๆ เขาใช้เงินสดถูกกว่านั้น จะรับทำไม?

ผมหาข้อมูลทางการไม่ได้ แต่ใน Quora ระบุว่าเรต Alipay สำหรับร้านในจีนเพียง 0.25% เท่านั้นและเป็นเรตสูงสุด ร้านส่วนมากได้ที่ 0% หรือ 0.1% เท่านั้นเอง


lewcpe.com, @wasonliw

By: xenatt
ContributorWindows PhoneRed HatSymbian
on 3 February 2019 - 16:35 #1094976 Reply to:1094954
xenatt's picture

Promtcard ไม่เคยเจอคนไทยใช้งานเลย Alipay ส่วนใหญ่เป็นคนจีน มีลูกค้าจ่ายบ้างสะดวกดี ในการจ่ายเงิน แต่การพิมพ์เอกสารออกมาค่อนข้างยุ่งยาก
ตัดเงินเข้าบัญชียุ่งยากกว่าของ credit card


Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 2 February 2019 - 16:40 #1094910

บังคับตั้งกองทุนเยียวยาดีไหมครับ เช่นถ้ามีปัญหา ใช้งานโอนเงินแล้วเน็ตล่ม ให้คืนเงิน สัก 10%

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 3 February 2019 - 00:32 #1094945 Reply to:1094910
dangsystem's picture

พอรู้ข่าวว่าธนาคารไหนล่มคงมาโอนกันหมดบัญชีแหละครับทีนี้ เพราะได้เงิน 10%

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 February 2019 - 03:13 #1094952 Reply to:1094945
lew's picture

หรืออีกทาง ธนาคารก็ปรับระบบ พอล่มแล้วกดไม่ผ่านทันที

เพราะไปอมเงินลูกค้าเป็นวันๆ แบบทุกวันนี้แล้วไม่เสียอะไรเลย


lewcpe.com, @wasonliw

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 February 2019 - 09:25 #1095020 Reply to:1094945

เอาเฉพาะ รายการที่ทำสำเร็จจากต้นทาง แต่ปลายทางไม่ไม่เข้ากะพอ กระมังครับ
ช่วงที่ระบบ ก่อนจะล่ม...

อย่างน้อย ธ ต้นทางจะได้หาทางป้องกัน ใครล่มก่อน คนนั้นจ่าย...

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 2 February 2019 - 20:05 #1094930

ผมว่า ควรจะมีมาตราการปรับเงินธนาคารที่ล่มนะครับ เพราะการให้เปิดเผยข้อมูลความเสถียรภาพของระบบไอทีธนาคาร ธนาคารก็แค่ทำรายงานส่งๆ แล้วเราก็อาจจะได้นั่งอ่านรายงานของธนาคารที่คนทำงานเกี่ยวกับไอทีอ่านแล้วก็จะหัวเราะแล้วบอกว่า "ไอทีธนาคารมีปัญญาทำได้แค่นี้เหรอ?" ซึ่งเขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่ผู้บริหารธนาคารอาจจะพยายามลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นลง หรือมองไม่เห็นถึงความจำเป็น ดังนั้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ ตระหนักผมว่าก็ควรมีมาตราการปรับไปเลยครับ

By: sdc on 3 February 2019 - 19:11 #1094985

ควรจะมีมาตรการนะ เช่น ถ้าถอนไม่ได้เกิน 10 นาที ปรับ 10% ของเงินที่ลูกค้าจะถอน(รวมกัน)และขึ้นข้อความประกาศทุกช่องทาง พร้อมเวลาที่จะแก้ไขได้ รวมถึงจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เช่นเว็บ ตู้ แอพ หรือ line, Facebook, Twitter ถ้าไม่ขึ้น ปรับธนาคาร 20% ในเดือนนั้น ถ้าเกิน 20 นาที ปรับ 25% และถ้ายังไม่ขึ้นอีกปรับ 30% ที่ธนาคารควรได้รับ และถ้าเกิน 30 นาทีขึ้นไป และยังไม่ขึ้นข้อความทำหนังสือแจ้งเหตุใดถึงไม่แจ้งลูกค้า และปรับ 50% หรือครึ่งหนึ่งของเงินธนาคาร พร้อมทั้งให้ธนาคารออกมาขอโทษและจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก พร้อมทั้งมาตรการป้องกัน

ถ้าธนาคารไหนเกิดบ่อยเกิน 2 ครั้งติดกัน และ 3 ครั้งไม่ติดกัน ไม่ว่าจะกี่นาที และให้ทำหนังสือแจ้งธนาคารที่เกิดบ่อย ให้ธนาคารแจ้งเหตุผลและมาตรการป้องกัน

ใครที่จ่ายหนี้ หรือหักเงินตามรอบบิลต่างๆ แล้วทำรายการไม่ได้ ไม่ให้คิดดอกเบี้ย จนกว่าจะทำรายการภายใน 3 วันทำการ ถ้าเกินคิดปกติจากนี้คิดปกติ

แบงค์ชาติควรจะหาทางป้องกันด้วยนะ ไม่ใช่ให้ผู้ใช้โวยวาย และรับผิดชอบหาทางกันเอง อยากจะพาไทยไป 4.0 ทุกอย่าง แต่ระบบยังเน่าเป็น 0.4 อยู่เลย

By: powerpat
iPhoneAndroid
on 4 February 2019 - 07:24 #1095012
powerpat's picture

ถ้าปรับเงินเพราะล่ม ผมมองว่าไม่เกิดประโยชน์เท่าไหร
คนจะหาช่องโหว่หาเงินอีก

ความเห็นตามบทความทุกข้อ 1.2.3. ผมว่าดีมาก แต่แนะนำบังคับลงรายละเอียดย้อนหลังหน้าwebหรือบังคับออกแถลงข้อมูลประวัติย้อนหลังอย่างน้อย 2-5ปีไปเลย

แฟร์ๆกับทุกฝ่าย
- สำหรับผู้ใช้ ใครล่มบ่อยมีผลต่อภาพลักษณ์ เสถียรภาพการใช้งานจริง เลือกที่คิดว่าตัวผู้ใช้รับได้
- สำหรับรัฐ ถ้าล่มแล้วให้ข้อมูลไม่ตรงตามจริง ค่อยเสียค่าปรับให้รัฐ ช่วยผลักดันcashless และรัฐได้ตัง
- สำหรับธนาคาร ถ้าลงข้อมูลไม่บิดพริ้วก็ไม่โดนปรับ บังคับลงรายละเอียด/แถลงการ ผมมองว่าดีกว่าเอะอะล่มแล้วปรับเงินแบบนั้นมันบีบบังคับธนาคารเกินไป

By: qo
iPhoneUbuntuWindows
on 4 February 2019 - 09:55 #1095028
qo's picture

ผู้บริหารธนาคารแต่ละที่คงยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของไอทีว่ามันทำรายได้ได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน เพราะคิดว่าตัวเองเป็นบริษัท non-IT แต่ถ้า BoT ลงมากำกับดูแลมากกว่านี้ เหล่าผู้บริหารของธนาคารก็คงต้องทำตามระเบียบปฏิบัติและธนาคารจะให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นกับเรื่องเหล่านี้

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 4 February 2019 - 10:50 #1095033 Reply to:1095028

เครียดแค่ไหนเขาก็มองเหมือนค--ยที่นั่งกดคีย์บอร์ดได้น่ะครับ สัญญาจ้างเป็นรายปีอยู่แล้ว

ความสำคัญของไอทีมีแค่นั้นจริงๆ

By: IDCET
Contributor
on 4 February 2019 - 15:46 #1095030

ง่ายๆ ออกค่าปรับธนาคารที่ 10% ของรายได้ทั้งหมดปีล่าสุด (ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อม) แน่นอนว่าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงบ้างหละนะ

เอาเป็นว่า ถ้าอยากทำแบงค์ก็ห้ามล่มเลย หรือปิดกิจการทิ้งแล้วโอนให้คู่แข่งไปดำเนินการต่อเลยจะดีกว่า


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: eploentham
iPhoneAndroidUbuntu
on 4 February 2019 - 10:10 #1095031

บริษัทที่ขายเครื่องนับแบงค์ เครียดมาก

By: crisis_xiii
iPhone
on 4 February 2019 - 15:34 #1095067
crisis_xiii's picture

ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกตลาดไปซักพักแหละครับ

ผมเชื่อว่าไม่มีธนาคารใหนอยากระบบล่ม แต่พอมีปัญหาบ่อยๆ ลูกค้าก็จะหนีไปธนาคารอื่นเอง

ส่วน Cashless society มันก็เป็น goal อยู่แล้ว BOT สนับสนุนจริง แต่จะให้บังคับธนาคารให้มี penalty ทุกครั้ง ก็คงไม่มีธนาคารใหนอยากทำครับ ใจเขาใจเรา

ตอนนี้เปนช่วง learning curve สูงอยู่ ธุรกรรม online เราโตสุดๆ ก็ต้องให้โอกาศแต่ละธนาคารปรับปรุงระบบและแย่งลูกค้ากันตามกลไกตลาดคับ

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 4 February 2019 - 16:46 #1095089 Reply to:1095067

จริงๆ ลูกค้าบุคคลนี่ย้ายหนียากพอควรครับ เพราะบัญชีหลักส่วนมากคือบัญชีที่ไว้รับเงินเดือน ซึ่งก็ผูกกับบริษัทว่าบริษัทใช้ธนาคารอะไรอีกทีอีก

By: KimHan
iPhoneWindows PhoneBlackberrySymbian
on 4 February 2019 - 18:29 #1095107 Reply to:1095089

ของผมโชคดี มีให้เลือก 3 แบงก์ bbl kbank tmb

By: 7
Android
on 4 February 2019 - 18:47 #1095111
7's picture

ปรกติธนาคารไม่ได้ประมาณการโหลดเอาไว้ล่วงหน้าก่อนเหรอ
เห็นแต่ละธนาคารชอบมาอวดว่าทำระบบใหม่ไปหลายร้อยล้าน
รองรับความทันสมัยอะไรมากมาย บลาๆๆๆ แต่ระบบล่มแทบทุกเดือน
แย่ยิ่งกว่าแต่ก่อนอีก ทำระบบมายังไง จะมาอ้างคนใช้เยอะก็ไม่ได้
เพราะมีระบบของประเทศอื่นที่คนใช้เยอะกว่าเป็นร้อยๆเท่า ยังทำกันได้เลย

By: delete on 5 February 2019 - 10:17 #1095198

ตอนนี้ที่ทำได้ก็คือปรับเวลาทำธุรกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ไม่ให้อยู่ในช่วงวันสิ้นเดือน
ช่วงสิ้นเดือนก็ใช้เงินสดไป 555