Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

บริษัทด้านสตอเรจ NetApp ออกมาเปิดเผยการคาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีในปีนี้โดย Mark Bregman CTO ของบริษัท ที่โฟกัสไปที่ดาต้าหรือข้อมูล ในฐานะศูนย์กลางของการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและธุรกิจ จากการที่ปัจจุบันข้อมูลมีปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายและมีอิทธิพลต่อทุกอย่าง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานทางไอที ไปจนถึงกลยุทธการจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล (Provisioning)

เทรนด์เทคโนโลยีที่ NetApp คาดการณ์มีทั้งหมด 5 เทรนด์

alt="NetApp"

ข้อมูลกับการจัดการตัวเอง (Data become Self-Aware)

NetApp บอกว่าข้อมูลจะมีสามารถจัดการตัวเองได้หลากหลายขึ้นกว่าเดิม ระบบ Metadata จะทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้าย จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์และปกป้องตัวเองได้ สามารถอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ รวมถึงกำหนดผู้ที่สามารถเข้าถึง แบ่งปันและใช้งานข้อมูลได้เอง เพื่อความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูล

VM จะกลายเป็นเครื่อง Rideshare

การใช้งาน Virtual Machine ผ่านคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานแบบ webscale จะเหมือนกับการใช้บริการ Ride-Sharing อย่าง Uber หรือ Grab ที่แพร่หลายมากขึ้น และผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดหรือเป็นเจ้าของอุปกรณ์ใดๆ แค่กำหนดว่าผู้ใช้ต้องการอะไร ที่เหลือก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการคลาวด์ และเมื่อสิ้นสุดการเช่าใช้งาน กระบวนการทุกอย่างก็ถือว่าสิ้นสุด

alt="shutterstock_661115089"

ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเกินความสามารถในการถ่ายโอน แต่ยังจัดการได้

ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ข้อมูลต่างๆ ที่มาจากอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) อย่างเซ็นเซอร์, อุปกรณ์ IoT เป็นต้นมีเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจนเกินความสามารถในการส่งข้อมูลในยังหน่วยประมวลผลกลาง (Core) ดังนั้นการประมวลผลจะถูกย้ายจาก Core มายังอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) แทน

ตัวอย่างที่ชัดทีสุดคือรถยนต์ไร้คนขับ ที่เซ็นเซอร์บนตัวรถจะผลิตข้อมูลออกมามาเกินความสามารถในการส่งข้อมูลไปยังดาต้าเซ็นเตอร์ ดังนั้นการเก็บข้อมูล การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดจึงเกิดขึ้นที่อุปกรณ์ปลายทางคือรถยนต์ สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญของระบบไร้คนขับ

จาก Big Data จะพัฒนาไปเป็น Huge Data นำไปสู่สถาปัตยกรรม SSD แบบใหม่

เมื่อข้อมูลจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล (Huge Data) สคอเรจแบบ Persistent Memory จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การประมวลผลมี latency ที่ต่ำและข้อมูลไม่หาย ซึ่งความต้องการ latency ที่ต่ำท่ามกลางข้อมูลมหาศาลนี้เอง ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์สตอเรจใหม่ๆ ขึ้น หลังเทคโนโลยีแฟลชกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มลูกค้าองค์กร แต่ซอฟต์แวร์ที่รันอยู่นั้นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย

ปรากฏการณ์การจัดการข้อมูลแบบกระจายศูนย์และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

กระบวนการหรือกลไกในการจัดการข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้แต่น่าเชื่อถือ อาทิ บล็อคเชน จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และท้าทายการจัดการและระบบการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เดิมๆ อย่างดาต้าเซ็นเตอร์ เมื่อกลไกในการจัดการข้อมูลไม่มีศูนย์การ

alt="shutterstock_606840716"

Get latest news from Blognone

Comments

By: delta on 27 February 2018 - 18:16 #1035915
delta's picture

ดาต้า..สำคัญทุกยุคสมัย..สิ่งที่ควรคำนึง คือ ใช้ให้พอเหมาะและถูกต้อง..ดาต้ามาก ก็ไม่ใช่ว่า ดีถูกต้องเสมอ.