คงเป็นเรื่องปกติืที่คำว่า "ซื้อเผื่อๆไว้ก่อนเพื่ออนาคต" ผุดขึ้นมาในสมองเมื่อหลายๆคนมองหาคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องที่ประกอบเองโดยการเลือกชิ้นส่วนตามต้องการ ผมไม่ได้ชี้ชัดว่าคำพูดนี้ผิดหรือถูก แต่อยากจะนำเสนอในมุมมองว่า "ซื้อเผื่อๆไว้ก่อนเพื่ออนาคต" นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ การลงทุนไปกับคอมพิวเตอร์อย่างไรถึงจะคุ้ม อย่างไรก็ตามความคุ้มค่าของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้รู้สึกว่าระยะเวลาที่เปิดให้ upgrade ระบบนั้นสั้นลงเรื่อยๆ เนื่องจาก interface ของอุปกรณ์ต่างๆเปลี่ยนไปและไม่สามารถร่วมกับของเก่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ช่อง PCI-Express และ AGP ที่ไม่สามารถใช้ช่องต่อบนเมนบอร์ดด้วยกันได้ หรือการรองรับหน่วยความจำชนิดใหม่ ช่องต่อฮาร์ดดิสแบบใหม่

ถ้านายดินสอต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ซักเครื่อง ขณะที่กำลังเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้หน่วยความจำหลักแบบ DDR3 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ด้วยความจำเป็นนายดินสอต้องใช้และรอไม่ได้จึงคิดว่าทำอย่างไรดี ระหว่าง

1.เลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 ที่ราคา 5,000 บาท
2.เลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น ที่ราคา 3,000 บาท

จะเห็นว่าส่วนต่างกันสองพันบาท เป็นเงินจำนวนไม่น้อยถ้านายดินสอตัดสินใจจ่ายไปล่วงหน้าเพื่อให้ได้เทคโนโลยีของวันพรุ่งนี้มาครอบครอง ขณะที่ราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 นั้นยังเกินเอื้ิอม ไม่สามารถจัดหามาได้ในวันที่ซื้อเครื่อง

กรณีที่หนึ่ง

ผ่านไปหกเดือน ราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 ลดลงมาจนจับต้องได้ สถาณการณ์ของนายดินสอจะเป็นอย่างไร

1.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 แล้วนายดินสอสามารถเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำหลักชนิดใหม่ได้ถ้าต้องการ เท่ากับว่าได้ใช้ส่วนต่าง 2000 บาทที่จ่ายไปล่วงหน้าให้เกิดประโยชน์

2.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น นายดินสอไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำหลักชนิดใหม่ได้ถ้าต้องการ อาจจะต้องซื้อหน่วยความจำหลักรุ่นเก่าที่มีราคาสูง หรือเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เท่ากับว่า "เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย"

กรณีที่สอง

ถ้านายดินสอพอใจกับเครื่องที่ซื้อมาเพราะเครื่องนี้สามารถรองรับงานที่ใช้ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีการ upgrade สถาณการณ์ของนายดินสอจะเป็นอย่างไร

1.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับทั้ง DDR2 และ DDR3 แล้วนายดินสอเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ 2000 บาท

2.ถ้าเลือกซื้อเมนบอร์ดที่รองรับ DDR2 เท่านั้น นายดินสอไม่เสียเงินไปโดยปล่าประโยชน์

ถึงจุดนี้จะเห็นว่าการตัดสินใจเลือกซื้ออะไรนั้นมีความสำคัญมากทีเดียว แน่นอนว่าถ้าเงินไม่ใช่ปัญหา สถาณการณ์ต่างๆเหล่านี้ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่กาีรใช้เงินให้คุ้มค่าเงินนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิด การเลือกซื้ออะไรต้องมองถึงการใช้ประโยชน์ที่แท้จริง และมีแผนการต่อไปในอนาคตที่แน่นอนจะช่วยให้การเลือกซื้อในวันนี้ ไม่เป็นความสูญเปล่าในอนาคตครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: latesleeper
Android
on 28 November 2008 - 19:49 #73399

ใช่ คอมเครื่องเก่าเราใช้บอร์ดที่สนับสนุน RDRAMเจ๋งปะล่ะครับ อิอิ

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 28 November 2008 - 22:49 #73440

สำหรับผมเวลาแนะนำใคร เรื่องเก่าใหม่ผมไม่สน
ผมจะถามว่าเอาไว้ใช้ทำอะไร

ทำงาน, เล่นเกมส์, Graphic, 3D ฯลฯ

ถ้าทำงานทั่วๆไปเล่นเน็ท ผมไม่สนเลยว่าเทคโนโลยี่เก่าหรือใหม่
แต่ถ้าพวกเกมส์ฮาร์ดคอ ถึงจะเอาใหม่สุดแรงสุดให้
ถ้าพวกทำ Graphic, 3D ผมก็ใส่รุ่นกึ่งใหม่กึ่งเก่า แต่อัดแรมอัดฮาร์ดดิสไปเยอะๆ

ปล.ผมไม่ได้เปิดร้านนะครับ แค่พอแนะนำคนรู้จักมาเยอะ

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 29 November 2008 - 00:56 #73466

ผมจัดคอมตามงบที่มี แล้วค่อยดูงานที่ใช้

CMDEVHUB

เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ

By: natty
ContributoriPhone
on 29 November 2008 - 01:53 #73481

ดีใจจังที่ไม่เคยซื้อเผื่อ เพราะงบไม่เคยพอ ฮ่าๆ

บลอกของ natty


บลอกของ natty

By: semicolonth
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 29 November 2008 - 10:24 #73506
semicolonth's picture

ผมคิดว่าเราต้องมองภาพรวมให้เป็นครับ
จากตัวอย่างก็เห็นได้ชัดเจนทีเดียว

ถ้าเราประเมินว่าเครื่องคอมพ์ที่กำลังจะซื้อนี้
เราจะใช้งานมันได้จนหมดอายุขัยของมัน
โดยที่ไม่ต้อง Upgrade การซื้อเผื่อก็ไม่จำเป็น

แต่ถ้าในทางกลับกัน เราคิดว่าเราตั้งใจจะ Upgrade แน่ ๆ
เพราะแนวโน้มราคาของ Option กำลังจะดิ่งลง
ตรงนี้ก็น่าคิดว่าจะซื้อเผื่อไว้ได้

ผมเคยได้ยินศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งว่า "Total Cost of Ownership" (TCO)
คือต้องมองภาพรวมให้ชัดเจน รู้จักวางแผนไว้ก่อน
ว่าโดยสรุปแล้วเราจะต้องจ่ายเงินให้โครงการนี้เท่าไหร่

บางโครงการจ่ายเงินต้นน้อย แต่ต้องจ่ายภายหลังมาก
ตรงนี้ TCO ก็อาจจะสู้โครงการที่เราจ่ายเงินต้นมาก
แต่ภายหลังเราแทบไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้

ถ้าเรารู้จักการประเมิน TCO
ผมคิดว่าการตัดสินใจของเราจะแม่นยำขึ้นครับผม


blog.semicolon.in.th

By: jirayu
ContributorWindows PhoneBlackberrySymbian
on 29 November 2008 - 11:57 #73517

ส่วนตัวคอมผมไม่ได้ซื้อเอง แต่อัพเกรดเอง นี่แหละที่มันเป็นปัญหา -*-

ผมไม่สามารถกะซื้อฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับอุปกรณ์ในอนาคตได้ (บอร์ด AGP+DDR Ram) ทำให้ผมต้่องควานหา HW เก่าในท้องตลาดมาเพื่ออัพเกรด

ครั้งต่อไปตอนซื้อคอม ผมต้องเลือกเองแล้วแหละ...

MyBlog !!!


By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 29 November 2008 - 21:32 #73589

ดูงบ + ดูแนวโน้มเทคโนโลยี + การใช้งาน ประกอบกัน
อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดจอ ก็ซื้อเผื่อไว้เหมือนกันนะ แต่ไม่เอาพวก cutting edge มันแพงไป รุ่นถูกๆ ก็ห่วยไป ใช้งานเกมส์ไม่ไหว ก็เลือกเอากลางๆ งบก็ไม่เปลืองมาก เผื่อใช้งานได้นานสักสองปีกำลังดี
บางครั้งเลือกยากนักก็เอาดีสุดเท่าที่งบประมาณมันจะพอซื้อนั่นแหละ ถือว่าได้เลือกของดีที่สุดแล้ว จะดีจริงหรือไม่ก็อีกเรื่อง :P

By: tvchampion on 30 November 2008 - 03:37 #73623

ประเด็นเรื่องนี้ คงอยู่ที่ งบประมาณ ลักษณะการใช้งาน และ การกำหนดอายุการใช้งาน
ถ้ากำหนดพวกนี้ได้หมดผมว่า ก็คงไม่มีปัญหาสักเท่าไหร่
เวลาผมประกอบคอมให้พี่ป้าน้าอา (โดนใช้ประจำ) ผมจะถามเสมอว่าเขามีงบเท่าไหร่ เอาไปใช้อะไร
แล้วค่อยมาจัดชุดให้โดยกำหนดกรอบเวลาไว้ประมาณสองปี (ถ้างบพอ ถ้าไม่ได้ก็ดีที่สุดตามงบ)
เพราะถ้าเกินสองปีนี่ผมไม่เคยเดาถูกเลยว่าจะมีไม่มีอะไรใหม่ออกมา
เทคโนโลยีมันเปลียนเร็วจะตาย