Tags:
Node Thumbnail

ผมมีโอกาสเดินทางไปบรรยายที่งานสัมมนา HPCast10 ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤษภาคม 2551 ที่โรงแรม Grand Hyatt ประเทศ Singapore ตามคำเชิญของบริษัท HP Asia Pacific ที่สิงค์โปร์ งาน HPCast10 เป็นงานสัมมนาระดับโลกที่จัดเป็นประจำโดยบริษัท HP เพื่อให้กลุ่มลูกค้าด้าน Grid และ High Performance Computing จากทั่วโลก มานั่งคุย พบปะกัน และยังเอาตัวแทนจากบริษัทใหญ่ๆ เช่น Intel, Microsoft, AMD และอีกหลายบริษัท มาคุยให้ฟังเรื่องแนวโน้มทางเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เราได้เห็นทิศทางทั้งหมด พร้อมกันทีเดียว

การบรรยายในครั้งนี้มีผู้ฟังประมาณ 100 คนจากทั่วโลก หน้าที่ของผม คือ ไปเล่าความก้าวหน้าและทิศทางของโครงการกริดแห่งชาติของเรา ซึ่งผมอยากจะคุยว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่โครงการที่ เราทัดเทียมกับสิงค์โปร์ นำหน้ามาเลเซีย และทิ้งที่เหลือในอาเซียนไม่เห็นฝุ่นครับ

สำหรับงานสัมมนาครั้งนี้ทำให้เห็น trend เด็ดๆ หลายประการครับ

  • เทคโนโลยีมัลติคอร์กำลังกลายเป็นแนวโน้มแรงมากจะขยายเป็น 4-6-8 คอร์ในปีนี้และปีหน้า แต่การพัฒนาซอฟต์แวร์ยังตามอยู่มาก ซึ่งประเทศไทยคงต้องพัฒนาโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้านนี้ได้ออกสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น ตรงนี้อยากทราบความเห็นด้วย ครับ ทางผมพยายามทำงานร่วมกับ Intel , Software Park, และกลุ่มมหาวิทยาลัยในการดึงเทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมบน multicore มาสอนกันและกระจายสู่อุตสาหกรรม แต่หลายคนจากภาคอุตสาหกรรมยังถามว่า ระบบปฏิบัติการทำให้แล้วไม่ใช่หรือ ทำไมต้องเรียนรู้ ซึ่งผมว่ายังเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปนิดหนึ่ง เอาไว้ผมจะลองว่ากันเรื่องนี้แบบยาวๆ สักครั้งทีหลังครับ

  • ระบบคอมพิวเตอร์แบบ blade กำลังกลายเป็นความจำเป็นเนื่องจากสามารถลดขนาด data center และประหยัดพลังงาน ได้มาก ตอนนี้ RACK 42U ตู้เดียวสามารถบรรจุเครื่องได้รวมแล้ว 1024 CPU core นะครับ ทำให้ได้สมรรถนะถึงกว่า 12 เทราฟลอบ (ตอนนี้เครื่องที่เร็วที่สุดในไทยจะอยู่ที่ 4.5 เทราฟลอบ) เครื่องรุ่นใหม่จุเต็ม 1 blade enclosure จะได้ถึง 256 CPU Core แล้วครับ แล้วเสียบไฟบ้านแบบตู้เย็นได้เลย ไม่ต้องมี data center ที่แพงและซับซ้อน เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ Personal supercomputing แล้วครับ

  • Ethernet Switch กำลังเคลื่อนเข้าสู่ 10Gbps ในราคาถูกมากๆ ตอนนี้ latency ใน switch 10G รุ่นใหม่ลงมาเหลือราว 6 microsecond แล้ว นับว่าดี ทำให้ใช้ 10G แบบเดียวทำได้ตั้งแต่ interconnection ในคลัสเตอร์ยัน campus backbone เลย สำหรับ high Speed interconnection หลักๆในโลกได้แก่เทคโนโลยีของ Quadric, SCI, Myrinet, Infiniband ทุกตัวมีแนวโน้มตายหมดครับเหลือแค่ Infiniband และ 10G Ethernet เนื่องจากความเป็นมาตรฐานครับ ทำให้ตลาดเชื่อมั่นกว่ามาก

  • Cloud computing และการให้ service จาก cloud ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
    แนวคิดนี้ กูเกิลเป็นคนนำมาก่อน คนอื่นเริ่มตาม เช่น Amazon EC2 สิ่งที่กำลังจะเกิด คือ การสร้างมาตรฐาน API สำหรับการพัฒนาโปรแกรมบน cloud ซึ่งแนวคิดแบบ MapReduce ของกูเกิลได้ถูกพัฒนามาเป็น runtime ในโครงการ Hadoop แล้ว ขอฟันธงครับว่าจะมีการขยายตัวเรื่องนี้เร็วมากๆ

  • การทำ virtualization กำลังเป็นแนวโน้มที่ใหม่และมาแรงมากๆ และมีผลิตภัณฑ์ที่แข่งกันออกมามากมาย ตอนนี้ key technology คือ การสร้างกลุ่มของ infrastructure แบบกริดหรือคลัสเตอร์และทำ VM ที่ย้ายไปมาได้ เพื่อทำ load balancing และรองรับ fault tolerance ที่ดีขึ้น ตอนนี้ทุกคนเริ่มทำ live migration คือแอบย้ายทีละน้อยโดยไม่ต้องเก็บ VM ลงดิสค์แล้วไป reload ที่เครื่องอื่น (เรียกว่า dump and restore mode) ทำให้เราสร้างระบบที่ดีเร็วและอึดขึ้นมากครับ

ดูแล้วไปเร็วครับ วิ่งไล่เทคโนโลยียากต้องใช้มอเตอร์ไซค์แล้วครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: willwill
ContributorAndroid
on 7 June 2008 - 09:19 #53968
willwill's picture

EC2 มาก่อน app engine ไม่ใช่หรอครับ

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 7 June 2008 - 10:04 #53973 Reply to:53968

กูเกิลทำเน้นเรื่อง Cloud มาตั้งแต่ต้น App Engine แค่เป็นบริการตัวแรกที่ให้เรารันโปรแกรมของเราเองได้ ก่อนหน้านั้นกูเกิลทำใช้เองข้างในนานแล้วครับ เช่น GFS และ BigTable เป็นต้น

By: anu
Contributor
on 7 June 2008 - 10:49 #53976

ThaiGrid ไม่เปิด Free Could Computing Service มั่งอะครับ

ยุคต่อไปหลังจาก Free Hosting ก็จะเปลี่ยนเป็น Free Computing Could แทน..ว้าว

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 7 June 2008 - 11:51 #53980 Reply to:53976

มันก้ำกึ่งนะ นี่เป็นโอกาสทางธุรกิจ ถ้ารัฐไปทำแข่ง ธุรกิจก็เกิดยากเนื่องจากปัญหาด้านราคา แต่ถ้าเป็นการสนับสนุนก็ไม่มีปัญหา

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 7 June 2008 - 15:13 #53996 Reply to:53980
veer's picture

สำหรับหน่วยงานวิจัยของรัฐดีปะครับ :-P ... จริงๆ เก็บเงินด้วยก็ได้ เพราะหน่วยงานวิจัยของรัฐจริงๆ ก็ได้ทุนมาเหมือนกัน

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 8 June 2008 - 16:31 #54082 Reply to:53996

ถ้าเก็บตังค์จะจ่ายป่ะ อันนี้ถามจริงๆ แล้วราคาที่เหมาะสมล่ะ

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 8 June 2008 - 18:53 #54088 Reply to:54082
mementototem's picture

ถ้ารัฐเก็บตังค์ก็จะเป็น "เราเป็นผู้สียภาษี ทำไมต้องเก็บตังค์เพิ่มอีก!" แบบนี้รึเปล่า?


Jusci - Google Plus - Twitter

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 9 June 2008 - 03:38 #54114 Reply to:54088

ฮ่ะๆ รัฐทำตัวลำบาก

By: mk
FounderAndroid
on 9 June 2008 - 04:47 #54120 Reply to:54114
mk's picture

truehits ก็มีรายได้เยอะแยะนิครับ หน่วยงานรัฐเหมือนกัน

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 9 June 2008 - 13:17 #54138 Reply to:54120

truehits ดำเนินการแบบเอกชน มุ่งเน้นหากำไร แต่ลงทุนโดยภาครัฐ ซึ่งต่อไปอาจจะคล้าย ๆ Internet Thailand ในปัจจุบัน (หรือคล้ายอยู่แล้วหว่า ไม่แน่ใจ)

--


--

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 9 June 2008 - 22:04 #54177 Reply to:54120

ถ้าจำไม่ผิด SIPA ไม่มีนโยบายหาเงิน นั่นแหละว่าหามาแล้วก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีแผนรองรับ

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 8 June 2008 - 22:36 #54099 Reply to:54082
veer's picture

จ่ายครับ (ความคิดเห็นส่วนตัวนะ) ถ้าราคาถูกกว่า EC2 นิดหน่อย จะอยู่ได้เปล่าครับ?

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 9 June 2008 - 03:41 #54115 Reply to:54099

คิดแบบคราวๆ เอาแค่ค่าไฟ ก็ตกราวๆ ชั่วโมงละ 20 บาท นี่แค่ค่าไฟอย่างเดียวนะ

หรือว่าค่าไฟประเทศไทยมันแพงมาก

By: freeman
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 7 June 2008 - 14:42 #53995
freeman's picture

อาจารย์มี วิดีโอ บรรยากาศของงาน หรือ สไลด์ที่บรรยาย มั่งป่าวคับ

Stay Foolish

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 8 June 2008 - 18:37 #54086
tomyum's picture

อยากได้ Blade server rack แบบมีคอยล์ทำความเย็นในตัว แบบตู้แช่นะ จะได้ Data Center in a box แท้ๆ อ้อ ขอพ่วงเครื่องปั่นไฟฮอนด้าวาง Top up ไว้ด้่วยอีกตัว(อันที่จริงขอทั้งตู้แค่ใช้ไฟไม่เกิน 5KVA ได้ก็พอ) ขอราคาไม่เกิน 7-8 หมื่นจะซื้อไว้สักตัว มีใครสนใจทำเป็น Project ตัวจบมั่ง!!! \(@^_^@)/ M R T O M Y U M