ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเชื่อกันว่า การใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carboon Nanotube) น่าจะเป็นความหวังใหม่ในการกักเก็บไฮโดรเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell)
แต่จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาคาร์บอนนาโนทิวบ์ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ในการใช้กักเก็บไฮโดรเจน ทำให้ความต้องการที่ใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ยังคงมีความจำเป็นต่อไป
นักวิจัยชาวจีน Dapeng Cao ได้เสนอความคิดที่จะใช้ ซิลิคอนนาโนทิวบ์ (Silicon Nanotube) แทนที่จะเป็นคาร์บอนเหมือนแต่ก่อน โดยข้อมูลจากการจำลองโครงสร้างทางโมเลกุล พบว่า การใช้ซิลิคอนจะสามารถกักเก็บไฮโดรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า การใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ โดยเป็นการเปรียบเทียบ ในภาวะการใช้งานของเซลล์เชื้อเพลิงในปัจจุบัน
แต่ถึงอย่างไร ข้อเสนอนี้ก็ยังเป็นแค่แบบจำลอง ยังคงต้องรอการพิสูจน์ในทางปฏิบัติต่อไป
Comments
ก็ใช้น้ำนี่ไม่ได้เหรอ แล้วมีตัวแยกเอา H2 ออกไปใช้
ถามดีครับ....ไม่ทราบเหมือนกัน เดาว่าน่าจะเป็นเรื่องน้ำหนักกับประสิทธิภาพมั้ง รอผู้รู้มาตอบดีกว่า
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ไม่ได้ เพราะพลังงานที่ใช้แยก H2 จากน้ำ มากกว่าพลังงานที่จะได้กลับคืนมาจาก Hydrogen Fuel Cell เสมอครับ
การแยก H2 ออกจากน้ำใช้กระบวนการ electrolysis ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองเอามากๆ (ประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร)
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้จึงต้องมาจากการใช้พลังงานลม นิวเคลียร์ ฯลฯ
มีข้อสงสัยกับการสะกดภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ผมเรียนอิเล็กโทรนิคส์มาจะมีคำหนึ่งว่า "Tube" อ่านว่า "ทิวป์" หมายถึงหลอดภาพ, จอภาพ, ลักษณะที่คล้ายหลอดภาพ
แต่พอมาเจอ YouTube ที่มาจาก You + Tube อ่านว่า "ยูทูป" (You=ของคุณ, Tube=จอภาพ)
แล้วมาเจอ Nanotube อ่านว่า "นาโนทิวบ์" ผมเข้าใจว่าการเก็บซิลิคอนในข่าวน่าจะอยู่ในรูปแบบของหลอด
เลยสับสนว่าการใช้คำมันควรจะเป็นแบบไหนแน่ ระหว่าง ทิวป์ กับ ทูป ถ้ายึดอังกฤษแบบอเมริกัน
หลักเกณฑ์การถอดเสียงอักษรโรมัน ถ้าประเด็นคือเรื่องตัวสะกดข้างหลัง ผมคิดว่า ทิวบ์ น่าถูกต้องกว่า ทิวป์ นะครับ (ดูได้จากลิงค์ที่ให้มา)
แต่ถ้าถามว่า ทำไมไม่แปลว่า แท่งหรือหลอดนาโน ผมคิดว่ามันยังไม่ค่อยสื่อความหมายน่ะครับ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net