Tags:
Node Thumbnail

นักฟิสิกส์สามารถจำลองการเกิดพายุบนดาวพฤหัสไว้บนฟองสบู่ได้ โดยสามารถทำให้เกิดได้แม้กระทั่ง "จุดแดงยักษ์" (จุดสีแดงที่เห็นได้อย่างชัดเจนบนดาวพฤหัส) การจำลองดังกล่าวใช้หลักการพาความร้อน หรือการถ่ายเทความร้อนภายในระบบที่เป็นของไหล ทีมวิจัยได้รายงานไว้ใน Physical Review Letters ฉบับวันที่ 7 เมษายน 2008 ไว้ว่าเมือพวกเขาได้ให้ความร้อนที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของฟองสบู่ และทำให้ขั้วของฟองสบู่เย็นลง พลศาสตร์ภายในฟองสบู่ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบการพาความร้อนบนผิวของดาวพฤหัสเป็นอย่างมาก เจ้าฟองสบู่พายุนี้ยังสามารถช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลศาสตร์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกและใ้ต้ผิวโลกได้เช่นกัน

ตามไปดูรูปสวยๆได้จากที่มานะครับ

ที่มา - ScienceNOW, Original Paper form PRL "Thermal Convection and Emergence of Isolated Vortices in Soap Bubbles"

Get latest news from Blognone

Comments

By: phys_pucca on 11 April 2008 - 13:38 #48213

เขียนตามสัญญาที่ให้ไว้กับพี่ Tiggs Boson ครับ :)

By: Tiggs Boson on 12 April 2008 - 09:25 #48331 Reply to:48213

ดีมั่กๆ ครับ :)

By: phys_pucca on 11 April 2008 - 14:17 #48218

เย้! ผมได้ขึ้นแล้วครับ

By: Tiggs Boson on 12 April 2008 - 09:26 #48332 Reply to:48218

ดีใจด้วยเด้อ
มีอันแรก เดี๋ยวก็มีอันตามมาอีก

By: noomz
AndroidSymbianUbuntu
on 11 April 2008 - 15:24 #48231

เห มันเส้นศูนย์สูตรกะขั้วด้วยเหรอ เพิ่งรู้นะครับนี่

ปล. ลิ้งค์ที่มาอันแรก ลองเข้าไปดูมีอะไรน่าสนใจเยอะเลยครับ

By: phys_pucca on 11 April 2008 - 18:57 #48265 Reply to:48231

เส้นศูนย์สูตร = equator
ขั้ว = pole
คือในการทดลองเขาใช้ฟองสบู่เป็นครึ่งทรงกลม equator ในที่นี้จึงหมายถึงส่วนที่สัมผัสกับฐาน ขั้วคือส่วนโค้งที่อยู่ยอดสุดครับ ไม่รู้จะใช้คำอื่นว่างัยแล้ว

By: ABZee on 11 April 2008 - 21:23 #48277

สงสัยนิดหน่อยครับ.. อะไรคือ พลศาสตร์ หรือครับ? ต่างกับกลศาสตร์ยังไงอะ
Fluid Dynamics นี่คือพลศาสตร์ของไหล หรือกลศาสตร์ของไหล?

PoomK

By: phys_pucca on 12 April 2008 - 01:05 #48313

Dynamics = พลศาสตร์
Mechanics = กลศาสตร์

Thermodynamics = อุณหพลศาสตร์ ครับ :)

By: Tiggs Boson on 12 April 2008 - 09:35 #48333

เค้าทดลองกับฟองสบู่โดยไม่ให้มันแตกได้ไงครับนี่

By: phys_pucca on 12 April 2008 - 10:58 #48340 Reply to:48333

นั่นสิครับ แต่ผมว่าให้มันอยู่ได้สักสองนาทีก็น่าจะเห็นอะไรเยอะแล้วนะครับ
เป็นการทดลองที่ง่ายแต่ลึกซึ้ง ผมว่าเอามาทำเป็น Senior Project ยังได้เลยครับ :D