Special Report

ใน Ask Blognone ตอน "ปัญหาคีย์บอร์ดภาษาไทยบนมือถือ" ผมได้ขอข้อมูลและความเห็นเรื่องคีย์บอร์ดภาษาไทยบนมือถือยี่ห้อต่างๆ จากผู้อ่าน Blognone หลังจากนั้นผมได้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอต่อที่ประชุมของ NECTEC วันนี้เลยมารายงานความคืบหน้าครับ

การประชุมมีขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ที่ NECTEC Academy ตรงถนนศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วมประชุมมีดังนี้ (ใบเซ็นชื่อไม่อยู่ที่ผม ขอใส่ชื่อเป็นบางคนละกัน เดี๋ยวเขียนผิด)

  • ดร. วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช - ผู้ช่วยผู้อำนวยการ NECTEC (ประธาน)
  • ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล - รองผู้อำนวยการ สวทช.
  • ดร. ภูกิจ อรุณสกุล - Mobile Operator & Enterprise Senior Manager จาก HTC
  • คุณเนตรชนก ตรีรยาภิวัฒ์ - กรรมการผู้จัดการ C & N Solution (ภาษาไทยบน Windows Mobile และ Android)
  • ตัวแทนจากบริษัท Thai-G (ภาษาไทยบน Windows Mobile)
  • คุณชาญศักดิ์ สุวรรณกุล - เว็บมาสเตอร์ของ PDAMobiz.com
  • คุณเจมส์ คลาร์ค
  • ตัวแทนจากไมโครซอฟท์
  • ตัวแทนจาก Longdo
  • ทีม Traffy ของ NECTEC

ถ้าตกหล่นท่านใดไปก็ขออภัยนะครับ
งานเริ่มโดยผมนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมาจากกระทู้ข้างต้น ไม่มีอะไรใหม่ เน้นรูปเป็นหลัก สไลด์ตามนี้

จากนั้นที่ประชุมได้อภิปรายเรื่องสถานการณ์ของคีย์บอร์ดในปัจจุบัน ดังนี้

  • ปัจจุบันคีย์บอร์ดบนมือถือแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ hard keyboard (คีย์บอร์ดจริงมีปุ่ม) กับ soft keyboard (คีย์บอร์ดบนหน้าจอ)
  • ส่วน hard keyboard มีความหลากหลายมาก จำนวนและวิธีเรียงปุ่มขึ้นกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ซึ่งคงไปยุ่งกับเขาได้ยาก มาดูเรื่อง soft keyboard กันดีกว่า
  • ไมโครซอฟท์ไม่ได้ยุ่งกับระบบภาษาไทยบน Windows Mobile ซึ่งผู้ขายฮาร์ดแวร์จะเป็นคนรับผิดชอบเอง โดยจ้าง C & N Solution และ Thai-G ทำระบบภาษาไทยในเครื่องแต่รุ่น
  • เดิมที HTC บริษัทแม่จะไม่ยุ่งกับระบบภาษาไทยของมือถือ HTC ที่ขายในเมืองไทย อยากทำอะไรก็ทำไปขอให้ขายได้ แต่นโยบายกำลังจะเปลี่ยนมาเป็นว่า คีย์บอร์ดภาษาไทยต้องมีจำนวนแถวเท่ากับคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ภาษาอังกฤษมี 4 แถว จะไม่สามารถขยายภาษาไทยเป็น 5 แถวได้ ส่วนมาตรฐานคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษของ HTC ก็ไม่มี รูปแบบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ขึ้นกับรุ่นเป็นหลัก
  • ถ้าเกิดว่ามี "มาตรฐานภาษาไทยบนคีย์บอร์ดมือถือ" ขึ้นมา ทาง HTC อาจจะทำตามได้ลำบากเพราะขัดกับแนวทางของบริษัทแม่
  • ทาง C & N Solution ได้เล่าประสบการณ์การทำภาษาไทยบน Windows Mobile มาตั้งแต่ปี 2000 แนวทางของ C & N คือยึดตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นหลัก แล้ว map คีย์ภาษาไทยตามนั้น ซึ่งแปลว่าการแปลงตัวภาษาอังกฤษเป็นไทยจะคงที่เสมอ แต่ตำแหน่งของปุ่มจะถูกย้ายไปในที่แปลกๆ ตามภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ปุ่มสัญลักษณ์ของภาษาอังกฤษถูกเอาออกไป ภาษาไทยจะถูกใส่ใน spacebar
  • ปัจจุบัน C & N มีคีย์บอร์ดภาษาไทยของ ThaiWinCE ให้เลือกทั้งหมด 5 แบบ (ขึ้นกับความเหมาะสมของหน้าจอ) ผู้ใหญ่ที่พิมพ์ดีดเป็นมักชอบคีย์บอร์ดเต็มที่มีปุ่มครบเหมือนคอมพิวเตอร์เพราะติดนิสัย แต่เด็กๆ ชอบคีย์บอร์ดแบบ 4 แถวที่ปุ่มสระรวมกันเป็นปุ่มเดียวมากกว่า
  • Thai-G บอกว่าคีย์บอร์ดภาษาไทยในปัจจุบัน เกิดจากจินตนาการล้วนๆ ไม่มีหลักการหรือข้อมูลวิจัยมารองรับ

ดร. ทวีศักดิ์ ได้ประเมินว่าการออกมาตรฐานสำหรับคีย์บอร์ดภาษาไทยในปัจจุบันอาจไม่คุ้มแก่การลงทุนแรงงาน เพราะมีเงื่อนไขที่ฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เป็นจำนวนมาก (ต้องยึดตามคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษเป็นหลัก) ดังนั้นควรมองไปที่ มาตรฐานการป้อนภาษาไทยบนมือถือในอนาคต ว่าเราสามารถคิดนวัตกรรมการป้อนข้อมูลที่ดีกว่าปัจจุบันได้หรือไม่ เพราะอีกไม่นานคนไทยคงใช้มือถือต่อเน็ตกันมากกว่าพีซี ควรคิดระบบป้อนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเตรียมรอเอาไว้เลย

  • ทางเลือกที่เป็นไปได้ เช่น การเขียนเป็นภาษาคาราโอเกะ เลียนแบบการป้อนข้อมูล Pinyin ของจีน เพียงแต่อุปสรรคสำคัญคือการแปลงเสียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ (transliteration/romanization) จะทำอย่างไร? ปัจจุบันมีหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตแต่ว่าคนส่วนมากก็ใช้ไม่ค่อยตรงนัก และหลายจุดก็ไม่สมเหตุสมผล อาจต้องประดิษฐ์หลักการถอดเสียงแบบใหม่ที่อิงกับหลักที่คนทั่วไปใช้อยู่แล้ว
  • การถอดเสียงอาจมีปัญหาว่าคนไทยหวงวัฒนธรรมหรือการสะกดแบบเดิม แต่ควรดูกรณีของประเทศจีนทั้งประเทศที่กล้าเปลี่ยนไปใช้ Pinyin เป็นตัวอย่าง กรณีของ Pinyin นั้นทิ้งวรรณยุกต์ไปแล้วใช้การคาดเดาคำ ซึ่งมีความแม่นยำประมาณ 90%
  • ดร. วิรัช ให้ข้อมูลว่า NECTEC เคยทดลองพัฒนาระบบป้อนข้อมูลลักษณะนี้ เช่น Smart-Q เพียงแต่ความสามารถของฮาร์ดแวร์ในสมัยนั้น (2001) ยังต่ำ ใส่อัลกอริธึมในการคาดเดาคำที่ซับซ้อนได้ยาก
  • ทางเลือกที่สองที่เป็นไปได้ คือ สร้างระบบ key top แบบใหม่ที่ไม่อิงกับคีย์บอร์ดในปัจจุบัน (หมายถึง A = ฟ) เช่น อาจเป็น A = ก_ หรือ A = ะ า เป็นต้น ซึ่งคนที่พิมพ์ดีดไม่เป็นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า และมีงานวิจัยหรือ usability test รองรับ
  • รูปแบบการป้อนข้อมูลภาษาไทยเหล่านี้ ควรประกาศให้เป็น public domain เพื่อป้องกันการจดสิทธิบัตรแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้ในวงกว้าง เมื่อรูปแบบที่ใช้งานได้จริงเป็น public domain แล้ว อุตสาหกรรมน่าจะยอมรับแนวทางนี้เอง โดย NECTEC ยินดีเป็นผู้ประสานงานให้

สรุปการประชุม

  • ไม่ทำมาตรฐานเรื่องปุ่มภาษาไทยบน soft keyboard แล้ว เพราะขัดกับแนวทางของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์
  • แต่ละฝ่ายลองไปศึกษาเรื่อง romanization/transliteration และรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นไปได้มาก่อน โดย ดร. วิรัช รับไปศึกษาข้อมูลมาให้
  • นัดประชุมครั้งต่อไป ช่วงกลางเดือนธันวาคม

เพิ่มเติมโดย mk

  • จริงๆ อยากเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการมือถือ/PDA เข้าร่วมประชุมมากกว่านี้ แต่ติดขัดในเรื่องเงื่อนเวลา ในโอกาสหน้าผมอาจติดต่อบางท่านแถวๆ นี้ เชิญไปให้ความเห็นด้วยนะครับ
  • ถ้าใครรู้จักกับค่ายมือถือเหล่านี้ รบกวนติดต่อผมมาหลังไมค์: Nokia, iPhone (Apple/TRUE), i-Mobile, Wellcom, G-NET, TWZ และเฮาส์แบรนด์ทั้งหลาย
  • ใครมีไอเดียที่น่าสนใจว่า รูปแบบการป้อนข้อมูลบนมือถือควรมีหน้าตาอย่างไร คุยกันได้ในคอมเมนต์
  • คุณเจมส์ คลาร์ค ลองร่างไอเดียส่งเข้ามาขอความเห็น ผมยังไม่มีเวลาแปล ตอนนี้อ่านฉบับภาษาอังกฤษกันไปก่อน Thai Input Method for Smart Phones

สุดท้ายขอบคุณคุณพรพรหม @pornprom จาก NECTEC Academy ที่ช่วยประสานงานให้เกิดการประชุมได้ครับ

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

AdmOd Tue, 10/27/2009 - 10:37

Winmo เป็นอะไรที่ภาษาไทยหลากหลายมากๆ

แต่ปัญหาคือ รุ่นมีปุ่มกลับใช้ปุ่มไม่สะดวก ต้องไปจิ้มหน้าจอแทน

suphkorn Tue, 10/27/2009 - 10:57

อย่างแรกเลยคือ Layout ของปุ่มควรเป็นมาตรฐานเสียก่อน อย่างเช่นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์เนี่ย ถึงแม้ว่าจะวางตัวอักษรไม่เหมือนกันอย่างเช่นแป้นพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสเป็นต้น แต่ปุ่มจะวางไว้เหมือนกัน หรืออย่างน้อยควรจะมีมาตรฐานว่าจะมีกี่ปุ่ม ปุ่มอะไรบ้าง
เท่าที่ผมเห็นมือถือหลายๆรุ่น ปุ่มไม่เหมือนกันเลยแม้จะเป็นค่ายเดียวกันก็เถอะ ดูโนเกีย E-Series ซิ ไม่เหมือนกันเลย เอาแค่ E-71 E-63 E-72 ปุ่มก็ไม่เหมือนกันแล้ว ทั้งๆที่รูปทรงใกล้เคียงกัน
ทุกค่ายควรจะร่วมมือกันเพื่อผู้บริโภค โดยการลงความเห็นว่าปุ่มแบบไหนจะเหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด คิดว่าปัจจุบันแต่ละค่ายคงจะคิดหาวิธีในการพิมพ์ที่ง่ายที่สุด เพื่อเป็นจุดขายของตนซะมากกว่า มันก็เลยไม่เป็นมาตรฐานเสียที
หลังจากมี Layout มาตรฐานแล้ว เรื่องวางตัวอักษรคงไม่ยากต่อไป ส่วนความคิดผมเองก็คิดว่าไม่น่ายากขนาดนั้น เราใช้ 9-12ปุ่มยังพิมพ์กันไทยได้เลย พอมีหลายปุ่มจะจัดวางยังไงให้มันครบและง่ายต่อการใช้ ผมก็คิดว่าไม่น่ายากนะ มีปุ่ม Shift เพืออักษรแถวที่หนึ่ง Shift2 เพืออักษรแถวที่สอง เท่านี้ก็ใส่อักขระได้เป็นร้อยแล้ว
ปัจจุบันใช้ E-63 ยังคิดเลยว่ามีหลายปุ่มซะเปล่า แต่พิมพ์ไทยยากสุดๆ เพราะพี่โนเกียเค้าเอาสระไปรวมกันไว้ปุ่มเดียว

จากที่เคยเล่นโทรศัพท์มา ผมชอบ Keyboard Layout แบบ
Windows mobile ที่สุดครับ เพราะเหมือนย่อของคอมมาเลยทีเดียว
เชื่อว่าถ้าใช้แบบนี้เป็นมาตรฐาน คงไม่มีปัญหาแน่ครับ
สามารถเรียนรู้ได้เร็วเลยทีเดียว

แต่ปัญหาคือ มันจะมีหลายบรรทัด นั่นก็หมายความว่า ตัวเครื่องก็
ต้องมีความใหญ่กว่า

ล่าสุดเห็นมือถือแนว Keyboard โผล่มามากขึ้น ผมเองก็เล่นมาหลายอันแล้ว ที่ไม่ค่อยชอบมากๆคือ N97 แบบว่า ไม่คุ้นเลยครับ
มันมีแค่ 3 บรรทัด พิมพ์ไม่ค่อยสะดวกเลย

สรุปคืออยากได้ Keyboard Layout แบบใช้ง่ายที่สุด
และอย่าเอาปุ่มหนึ่งมีหลายตัวอักษร เห็นแล้ว มึนจริงๆ

เรื่องอย่างนี้ ที่ pdamobiz มีบุคคลภายนอกที่มีประสบการณ์กับคนทำLayoutไทยใช้กันเองและผู้ใช้จริงๆ เยอะมาก แต่ทำไมที่นั้นไม่มีข่าวนี้เลย

PH41 Tue, 10/27/2009 - 12:06

ผมไม่มีพวก smart phone แต่พอนึกออกเวลาใช้ TalkingDict
คนละยี่ห้อ คนละรุ่นบางทีก็วางตัวอักษรไว้คนละที่
บางทีมีตัวอักษรตรงลูกษรด้วย

แต่ผมใช้ keyboard แบบเก่าบนมือถือ
ใช้ระบบ T9 text input ก็เร็วกว่าบางคนใช้ soft keyboard อีก

bankkung Tue, 10/27/2009 - 13:44

สรุปว่าทั้งฮาร์ด ทั้งซอฟท์พับเก็บไป ใครอยากจะแฮคหรือเขียนเอาก็ตามใจ
มุ่งไปทาง Romanization ว่างั้น

อ่านแล้วรู้สึกเห็นด้วยจังครับ ชอบในส่วนการตัดวรรณยุกต์ออก อาจจะตัด ะ ออก แต่เหลือ ั ถ้าจะใช้ ะ ก็ ั ั สองที = ะ

ปล.
สรุปการประชุม
* ไม่ทำมาตรฐานเรื่องปุ่มภาษาไทยบน soft keyboard แล้ว เพราะขัดกับแนวทางของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์

น่าจะเป็น
สรุปการประชุม
* ไม่ทำมาตรฐานเรื่องปุ่มภาษาไทยบน Hard keyboard แล้ว เพราะขัดกับแนวทางของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์

ผมว่าถูกแล้วนะ คือ hard keyboard ยังไงก็ไม่ยุ่ง แต่ soft keyboard ที่เราเชื่อกันว่าถ้ามีมาตรฐานออกมาแล้วจะช่วยได้ก็กลับไม่ได้อย่างที่คิดเพราะอาจจะขัดต่อนโยบายของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์

หมายถึง soft keyboard นั่นล่ะครับ คือ hard นี่คงไปแตะอะไรไม่ได้เลย แต่ soft ที่เข้าใจว่าง่ายกว่ากลับไม่ง่ายอย่างที่คิด

kurosame Tue, 10/27/2009 - 14:26

ผมว่าทำเป็น Romanization ก็ดีนะครับ ถ้าทำดีๆอาจจะเอาไปใช้กับ hard keyboard ได้ด้วย

ผมเป็นคนนึงที่ชอบ Hard keyboard มากกว่า soft keyboard
ก็ค่อนข้างเห็นด้วยกับแนวทาง Romanization นะครับ
แต่ก็อยากให้ลองคิดรูปแบบของ hard keyboard layout แบบคร่าวๆ ไว้ด้วย
คือเป็นทางเลือก ให้มีหลายๆ ทาง เผื่อแต่ละคนจะถนัดทางไหนก็น่าจะดีกว่านะครับ
ข้อเสนอแนะของผม คือ อยากให้ map ตัวหนังสือไทยทั้งหมด เข้าไปกับตัวอักษรอังกฤษ (A-Z) ส่วนตัวอื่นๆนั้น ถือเป็น bonus
ถ้ามองแบบนี้ keyboard มันจะเหลือแค่แบบเดียว
แล้วพยายาม map ปุ่มที่เหลือ (ไม่ต้องเอาสัญลักษณ์ กับเลขไทยเข้ามา) ก็น่าจะยังพอสามารถทำได้ โดยใช้ระบบการเดาคำช่วย
รวมถึงเราอาจจะตัดตัวอักษรที่แทบไม่มีการใช้งาน เช่น ฦ, ๅ, ํ, ฺ รวมถึงสัญลักษณ์ที่มีในภาษาอังกฤษเช่น ( , ) ? ออกไป
ผมลองคิดดูเล่นๆ มันจะสามารถ map เข้าได้เกือบหมด ขาดแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง
edited
ลองคิดๆดูแ้ล้ว map เข้าไปได้ 7 ตัว เหลืออีก 15 ตัว โดยไม่ซ้อนกัน
ถ้าเอา 15 ตัวนี้ map เข้าไป โดยอาศัยหลักการเดาคำช่วย ก็อาจจะทำได้
หรืออาจจะเอาปุ่มสัญลักษณ์ที่มักจะมีบ่อยๆ ในคีย์บอร์ดมาช่วยด้วย

แนวทางการ map เฉพาะ A-Z นี่อยู่ในลิงก์อันสุดท้าย ตามข้อเสนอของคุณเจมส์ คลาร์คครับ ลองอ่านดูได้ ถ้าสนใจจะเชิญมาคุยรอบหน้าครับ

น่าจะคิดและวางมาตรฐานทั้ง hard และ soft เอาไว้ก่อน เขาไม่ใช้ก็อีกเรื่อง
มุ่งเน้น ให้คนไทย จำปุ่มจิ้ม ได้ง่ายๆ เป็นหลัก (บนปุ่มน้อยๆ )

เคยบ่นๆ และคุยกับเพื่อน เรื่อง คียบอร์ดไทย บนไอโฟน
ไม่ชอบ

การเรียง ก-ฮ วางบนปุ่มตัวเลข ก็ยังโอเคกว่า แต่ก็ท่องจำยากหน่อย เพราะมี 44 พยัญชนะ ต้องนึกนิดนึง และแต่ละเครื่องมือถือ จัดแบ่งกลุ่ม ก-ฮ ไม่เหมือนกัน

คุณ เมธา เสนอไอเดีย จัดกลุ่มตาม ตำแหน่งที่เริ่มเขียนอักษร:
เช่น จากมุมบนซ้าย, มุมล่างซ้าย, ตรงกลาง

ผมสรุป ให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า

  • คนที่จะพิมพ์ไทย อย่างน้อย น่าจะเป็นคนที่เขียนอักษรไทยได้
  • เมื่อเขียนอักษรไทยได้ ก็น่าจะต้องรู้ว่า จุดเริ่มต้นลากเส้นเขียนอักษรจากตำแหน่งใด ในระหว่างเส้นบรรทัด

ลองไล่พยัญชนะ แบ่งกลุ่มคร่าวๆ ได้ดังนี้

เริ่มต้นจากมุมบนซ้าย เรียงตามพยัญชนะ (ถ้าจะจัดกลุ่มย่อย ก็มีหัวเข้ากับหัวออก)
= ขฃฆชซ ฑท นบปผฝพฟ มยษ หฬ

เริ่มต้นจากมุมบนขวา
= ง

เริ่มต้นจากตรงกลาง
= คฅ จฉ ฐ ฒ ดต ธ ศ อฮ

เริ่มต้นจากมุมล่างซ้าย
= ก ฌญ ฎฏ ณ ถ ภ รลว ส ฤ

กับพวก สระ, วรรณยุกต์ อาจจะรวมกลุ่มกัน

ไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาต่อได้ไหม แต่ก็ดูเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีที่มาที่ไป และคนไทยน่าจะเขียนได้ทุกคน
อาจจะพัฒนาเป็นปุ่มกดแล้ว expand ออกมาให้เลือก หรืออื่นๆ

คนทั่วไปอาจท่อง ก-ฮ ได้ช้า หรือไม่ครบ แต่น่าจะเขียนอักษรได้ และรู้ว่าเริ่มเขียนจุดไหน

ส่วนผมพอจะจำ ฟหกด ได้ก็นิยม ฟหกด มากกว่า

เคยมีคียบอร์ดที่วิจัย และพัฒนาให้พิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเอาปุ่มที่พิมพ์บ่อย วางไว้ใกล้นิ้ว อย่างคียบอร์ด ปัตตโชติ ไม่รู้ว่านำมาใช้อะไรได้ไหม แต่ก็เท่ากับว่า ต้องเริ่มจำเลย์เอ๊าท์คีย์บอร์ดใหม่อยู่ดี

ปล. ลองดู ปุ่มคียบอร์ด ญี่ปุ่น บนไอโฟน ผมว่าเขาก็มีแนวคิดดีนะ
พยัญชนะของญี่ปุ่น มีพอๆ กับอังกฤษ
พื้นฐานเขาแบ่งกลุ่มตามเสียงสระ ได้ห้ากลุ่ม อะ อิ อุ เอะ โอะ
คียบอร์ดญี่ปุ่น บนไอโฟน มีปุ่มน้อยมาก
คลิกที่ตัวหลัก จะ expand ออกสี่ทิศ เป็นเครื่องหมายบวก แล้วเลือกอีกทีว่า เอาเสียงตัวไหนมาใช้ นับว่ามีไอเดีย และใช้งานได้ดี

แนวทางนี้เหมือนเคยมีใช้ใน Thai input v.2 ของ Orange สมัยที่ยังอยู่ในเมืองไทยเลยครับ (v.1 เป็นแบบเรียงตามลำดับพยัญชนะ) ตอนนั้นเขาเอาใส่ไว้ใน Sim card เลย เพราะสมัยนั้นโทรศัพท์โดยทั่วไปยังไม่มี thai input ในเครื่องกัน (พอโทรศัพท์เริ่ม input ภาษาไทยได้แล้ว เจ้า SIM ที่ว่านี้ก็หายไป)

โดยส่วนตัวผมชอบรูปแบบนี้มากเลยครับ เคยลองๆ เล่นดูพิมพ์ได้เร็วและเข้าใจง่ายทีเดียว เพราะนึกภาพเหมือนเราเขียนตัวอักษร แม้โทรศัพท์รุ่นต่อๆ มานี่จะมี thai input อยู่ในเครื่องพร้อม (แบบกดจากปุ่มตัวเลข เรียงตามพยัญชนะ) แต่ผมก็ยังคิดถึงวิธี input แบบนั้นอยู่ดี ซึ่งก็คิดว่าแนวคิดที่ว่ามานี้อาจจะมีการจดสิทธิบัตรแล้วครับ เพราะหลังจากนั้นมาก็ไม่ใครใช้วิธีนี้อีกเลย ทั้งๆ ที่เป็นวิธี input ที่เข้าใจง่ายแบบนึงทีเดียว

แต่ตอนนี้ชอบ input แบบ 5 แถวของ ThaiWinCE/Windows mobile ที่สุดครับ เพราะส่วนตัวพิมพ์สัมผัสอยู่แล้ว แผนผังมันอยู่ในหัว เจอคีย์บอร์ดแบบเสมือนจริงนี้ทำให้พิมพ์ได้เร็วมากเลย ปัญหาคือปุ่มเล็กมากทำให้ต้องเอาเล็บจิกหรือใช้ Stylus เวลาพิมพ์ ซึ่งหน้าจอแบบ resistive มันทำได้ แต่ในอนาคตที่มือถือจะมุ่งไปใช้ capacitive กัน คีย์บอร์ดแบบเต็มๆ อย่างนี้คงไม่เวิร์คแน่

ผมสนับสนุนแนวทาง romanization ที่สุดครับ เพราะดูจะเหมาะกับคนไทยที่สุดแล้ว มียุคนึงสมัย SMS กำลังบูมแต่มือถือ input ภาษาไทยไม่ได้ ก็ส่งภาษาคาราโอเกะกันตรึมเลย อ่านรู้เรื่องกันอีกต่างหากครับ นอกจากนี้คนชาติอื่นที่พอพูดภาษาไทยได้ แต่ไม่สามารถเขียนได้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ดีด้วยครับ

คิดถึงปุ่มจีนแบบนับเส้นเลย สมัยก่อนมือถือพิมพื์จีนได้ เลยลองพิมพ์เล่นดู
สนุกมากเลยครับ ใช้ปุ่มแค่ 5 ปุ่มเท่านั้น ก็สามารถรวมคำทั้งหมดที่มีในภาษาเค้าได้

ปล.ผมเป็นเคยเขียนบทความแป้นพิมพ์ปัตตะโชติบนวิกิพีเดียครับ
จำได้ลางๆ ว่า พอค้นข้อมูลเรื่องแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆ แล้ว
เหตุที่แป้นนี้ไม่เป็นที่นิยม เพราะพิมพ์ได้เร็วเกินไป ซี่พิมพ์ดีดจะพันกัน
ส่งผลให้แป้นพิมพ์เกษมณีถูกใช้มาเรื่อยๆ จนเข้ายุคคอมพิวเตอร์ซะหนิ

มันคือ ThaiSMS2 ของ TA Orange เมื่อก่อนหนิครับ
วิธีนี้ก็ดีครับ ผมว่ามันจำง่ายมากๆ แต่ดันไม่มีมือถือยี่ห้อไหนเอาไปใช้เลย (หรือว่าติดเรื่องลิขสิทธิ์)

http://gotoknow.org/file/drtorn/Artorn+NCSEC2005+download+ver.pdf

Short paper ตัวนี้เค้าบอกว่าวิธี ThaiSMS2 มีปัญหาคือ "มีขั้นตอนมากกับจำนวนอักขระต่อแป้นที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดขั้นตอนที่มากขึ้น" แต่ผมว่าถ้าเอามาพัฒนาต่อแล้วใช้ร่วมกับ T9 มันน่าจะโอเคนะครับ

หรือจะจัดชุด keyboard ไว้สัก 2-3 แบบครับ
ไม่เหมือนกัน แต่เป็นลักษณะอิงพิมพ์นิยมที่มีการใช้อยู่บ้างแล้วตามท้องตลาด

ใครชอบแบบไหน ก็ซื้อแบบนั้นไป

ใช้วิธีเขียนเฉพาะเสียงอ่านแล้วใช้ T9 แปลงเป็นตัวอักษรที่ถูกต้องเราก็จะลดอักษรไปได้เยอะนะครับ

เช่น โฆษณา ก็ พิมพ์ว่า โคสนา
ศาลา ก็ สาลา
อังกฤษ ก็ อังกริด

จาก ศ ษ ส ก็ลดเหลือแค่ ส
ฬ ล ก็เหลือ ล
ฏ ด เหลือ ด
ญ ย หลือ ย
ณ น เหลือ น
ฒ ธ ท เหลือ ท
ฤ ก็ combine เป็น ริ

น่าจะลดไปได้เกือบครึ่ง และน่าจะ map ลง layout keyboard ภาษาอังกฤษได้
ก็จะใข้ได้ั้ทั้ง hard ทั้ง soft

สนับสนุนแนวทางนี้เหมือนกันครับ
หรืออาจจะพิมพ์เป็นเสียงอ่านทีละพยางค์ไปเลยคู่กับ T9
เป็น พยัญชนะ + สระ + ตัวสะกด

เช่น

  • ค+โ+ด/ส+ะ/น+า (หรือ ค+โ/ส+ะ/น+า)
  • ส+า/ล+า
  • อ+ะ+ง/ก+ร+อิ+ด

MAP เข้ากับปุ่มมือถือแบบตัวเลขในปัจจุบัน (12 ปุ่ม) ก็น่าจะได้

แป้นแบบพิมพ์สัมผัสคงเหมาะที่สุดแล้วครับ
เพราะภาษาอังกฤษเองก็ใช้วิธีการเรียงแบบนี้เหมือนกัน
เวลาถือเครื่องสองมือก็จะทำให้พิมพ์เร็วขึ้นด้วย

คีย์บอร์ดไทยปัจจุบันก็มีหลักการนะครับ คือปรับตำแหน่ง
ให้เหมาะสม เพื่อที่จะไม่ให้คานดีดของพิมพ์ดีดตีกัน
จะบอกว่าเป็นจินตนาการล้วน ๆ เลยก็ไม่ใช่ซะทีเดียว
มีการลองผิดลองถูกแล้วก็ทำการค้นความ 7 ปีนะครับ
พูดแบบนี้แล้วเหมือนไม่ให้เกรียติผู้คิดค้นซักนิด

แป้นปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ ฟหกด่าสว คือแป้น เกษมณี
ส่วนแป้นที่จำการวิจัยมาแล้วว่าพิมพ์เร็วกว่าคือแป้น
ปัตตะโชติ แต่มาทีหลังและไม่ได้รับความนิยม

ทางฝรั่งก็มีกรณีที่คล้าย ๆ กัน แป้น QWERTY ที่เป็นมาตรฐานปัจจุบัน
ก็ไม่ได้เป็นแป้นที่ทำให้พิมพ์ได้เร็วที่สุดแต่แป้นที่พิมพ์เร็วสุดเป็นแป้น
DVORAC ครับ มาทีหลังและไม่ได้รับความนิยมเหมือนกัน

ถ้าพิมพ์สัมผัสเป็นแล้ว จะแบบไหนก็เร็วมากเหมือนกันครับ

อันนี้พูดในแง่ keyboard คอมฯทั่วๆไปนะครับ

ตั้งแต่เกิดมาพิมพ์แต่เกษมณี ยังไม่เคยเห็น คีย์บอร์ตปัตตะโชติ(Hard keyboard) ตัวเป็น ๆ เลยบอกไม่ได้ว่า จะถนัดหรือเปล่า

เวลาพิมพ์บน BB หรือ IPHONE (ของคนอื่น) หากันจนตาเหล่ ยังพิมพ์ไม่เสร็จเลย เพราะเคยแต่พิมพ์สัมผัสบนคอมพิวเตอร์

Thai-G บอกว่าคีย์บอร์ดภาษาไทยในปัจจุบัน เกิดจากจินตนาการล้วนๆ ไม่มีหลักการหรือข้อมูลวิจัยมารองรับ

น่าจะหมายถึง แป้นพิมพ์ภาษาไทยในมือถือ 3,4 แถว มากกว่านะครับ

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__0.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png