Tags:
Node Thumbnail

Cisco ร่วมกับ AT Kearney บริษัทด้านคอนซัลท์ได้เปิดเผยรายงานวิจัยในประเด็น Cybersecurity ในภูมิภาคอาเซียน โดยบทสรุปของรายงานชี้ว่าภูมิภาคอาเซียนจะเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการโจมตี ซึ่งสอดคล้องกับการลงทุนด้านนี้ที่ยังถือว่าต่ำ

ปัจจัยสำคัญมาจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้ จะมีศักยภาพค่อนข้างสูงภายใน 10 ปีข้างหน้า ไม่รวมปริมาณอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะที่ความเสี่ยงในการถูกโจมตีก็สูงตามไปด้วย จากความพร้อมในเชิงนโยบายที่ต่ำ ขาดกรอบโครงสร้างการกำกับดูแลที่สอดคล้องกันในระดับภูมิภาค ขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ไปจนถึงขาดการลงทุนที่เพียงพอ

alt="shutterstock_669226093"

ปัญหาเชิงนโยบายและการขาดความร่วมมือระดับภูมิภาค

การตระหนักรู้และความรู้ความเข้าใจต่อปัญหา Cyberseucirty ในเชิงนโยบายของหลายประเทศในอาเซียนยังค่อนข้างแตกต่างกันมาก (fragmented) มีเพียงสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้นที่มีกรอบความคิด นโยบายและการลงทุนในด้านนี้ที่ค่อนข้างสูง ส่วนวนที่เหลือเรียกได้ว่าด้อยพัฒนาด้าน Cybersecurity ก็ได้

นอกจากเชิงนโยบายในระดับประเทศแล้ว งานวิจัยยังระบุด้วยว่าอาเซียนขาดกรอบความร่วมมือและกรอบทางกฎหมายด้าน Cybersecurity ในระดับภูมิภาค ซึ่งจะยิ่งทำให้ปัญหาเลวร้ายลงไปอีก ทำให้ชาดการพัฒนากลยุทธ์ที่สอดคล้อง การประเมินความพร้อมและการรายงานเหตุการณ์ โดยปัญหานี้เป็นปัญหามาจากโครงสร้างทางการเมืองระดับภูมิภาคด้วย

alt="image3"
กราฟแสดงความพร้อมในด้านต่างๆ ของแต่ละประเทศ

ตัวอย่างในแง่ของความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ดีคือสหภาพยุโรป ที่มีกรอบโครงสร้างด้านกฎหมายที่ชัดเจนและเลขาธิการมีอำนาจ สามารถจัดการและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

องค์กรธุรกิจประเมินมูลค่าความเสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ลงทุนด้านนี้ต่ำไปด้วย

นอกจากปัญหาเชิงนโยบายระดับประเทศ ภาคเอกชนก็มีปัญหาเช่นกัน งานวิจัยระบุว่าองค์กรทั่วโลกยังขาดความสามารถในการตรวจวัดมูลค่าความเสี่ยงที่อาจเกิดจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการอาศัยข้อมูลในอดีตเพื่อประเมินความเสี่ยงในปัจจุบันที่ไม่ครอบคลุมการโจมตีที่ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อการประเมินต่ำเกินไป ทำให้การลงทุนในด้านนี้ต่ำตามไปด้วย อย่างตัวเลขการลงทุนด้าน Cybersecurity ในภูมิภาคของแต่ละประเทศ เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จาก GPD จะพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และยิ่งต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศที่ลงทุนด้านนี้ในระดับสูง

alt="Screen Shot 2561-01-24 at 3.28.42 PM"

ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันและลงทุนให้มากขึ้น

งานวิจัยแนะนำว่าภาครัฐควรมีกฎหมาย มาตรฐานและแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงทำงานร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้แนวทางปฏิบัติต่างๆ สอดคล้องกัน และที่สำคัญคือควรลงทุนในด้านนี้ให้มากย่ิงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเชิงโครงสร้างหรือเชิงองค์ความรู้ในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่เชี่ยวชาญด้านนี้

alt="Screen Shot 2561-01-24 at 3.28.51 PM"

Get latest news from Blognone

Comments

By: stan
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 24 January 2018 - 18:08 #1030076
stan's picture

ผู้บริหารไม่ค่อยเห็นความสำคัญของความปลอดภัยทางเทคโนโลยี ไม่อนุมัติงบป้องกัน ต้องรอให้เกิดความเสียหายก่อน ค่อยโทษฝ่าย IT

By: sMaliHug on 24 January 2018 - 20:12 #1030089

ที่จริงแล้วระดับธุรกิจบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือ สาขาเท่านั้นครับ ส่วนใหญ่แล้ว Infra ก็จะถูกออกแบบและจัดการจากบริษัทแม่ ทางแค่นี้มี operation คอย support แค่นั้น

นอกนั้นก็จะหลุดไปเป็นแบบบ้านๆเลย

By: thedesp
WriterAndroidWindows
on 24 January 2018 - 20:50 #1030093
thedesp's picture

เพราะส่วนใหญ่คิดว่า IT Risk เป็นเรื่องของฝ่าย IT นะสิ