Tags:

เคยมีดราม่าประกวดฟอนต์ กติกาห้ามทำฟอนต์ไม่มีหัว เลยอยากตั้งกระทู้นี้ค่ะ

คนไทยน่าจะชินกับฟอนต์ไทยไร้หัวกันมากแล้ว ไม่ว่าจะสือสิ่งพิมหรือดิจิตอล หรือตอนเวลาเขียนข้อความแบบเร่งๆก็เขียนไม่มีหัวกัน ครูประถมควรเลิกตัดคะแนนเด็กที่เขียนหนังสือไม่มีหัวนะคะ มีหัวเฉพาะตัวที่ต้องดูหัวเช่น ภ, ถ, ค, ด ก็พอ

สมัยเราเขียนภาษาอังกฤษบทเรียนก็ใช้คัดลายมือทั้งตัวพิมและตัวเขียน เวลาส่งการบายครูก็ให้เขียนตัวเขียนส่ง(แอบสงสารครูกลัวอ่านลายมือเราไม่ออก) แต่คนสมัยนี้ไม่นิยมเขียนตัวเขียนกันแล้ว แม้แต่คนอเมริกันเอง

คิดว่าถึงเวลาที่อะไรควรจะเปลี่ยนให้ชีวิตสะดวกสะบายขึ้นควรจะเปลี่ยนอย่ายึดจารีทประเพณีดีกว่าไหม
ปล.เราเริ่มเปลี่ยนจากตัวเองค่ะ เขียนภาษาไทยไม่มีหัวตลอด ภาษาอังกฤษเขียนตัวพิมพ์ตลอด

Get latest news from Blognone
By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 November 2016 - 18:59 #956202
hisoft's picture

เขียนมีหัวหรือไม่มีหัว เขียนตัวเขียนหรือตัวพิมพ์มันก็แล้วแต่ความถนัด-รสนิยมของคนครับ มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นอะไรเลย ผมเขียนภาษาไทยไม่มีหัวไม่ได้เพราะความเคยชิน ให้แก้นี่ก็คงยากหน่อยครับเพราะลายมือผมเละเทะมากอยู่แล้ว อักษรหลายตัวก็เขียนหลายๆ รอบลากเส้นกันคนละแบบอีก (ไม่นับว่าลากเส้นแบบเดียวกันก็เขียนไม่ค่อยเหมือนกันเพราะความเละของลายมือ) ผมเขียนตัวพิมพ์เร็วเหมือนเขียนตัวเขียนไม่ได้ ตอนสอบผมก็ต้องเขียนตัวเขียนให้อาจารย์ไปทนแกะลายมือเพราะถ้าเขียนตัวพิมพ์ผมจะทำข้อสอบไม่ทันเอา

เรื่องประกวดฟอนต์ผมเห็นด้วยว่าไม่ควรบังคับว่าห้ามทำฟอนต์ไม่มีหัวเพราะมันจะไปปิดกั้นจินตนาการและโอกาสที่จะได้มีฟอนต์ดีๆ แต่คงไม่ต้องมาถึงขั้นชวนให้คนอื่นเลิกมั้งครับ ไม่มีหัวก็ไม่ได้มีข้อดีเหนือมีหัวอะไรขนาดว่าสมควรเปลี่ยน

แต่ถ้าหัวข้อ "ควรหมดยุคตัวอักษรไทยมีหัวหรือยังคะ" หมายถึงแค่ ควรหมดยุคบังคับให้อักษรไทยต้องมีหัว อันนั้นผมเห็นด้วยครับ แต่ถ้าหมดยุคมีหัวให้ไปใช้ไม่มีหัวไปเลยอย่างว่านั่นผมไม่เห็นด้วย

By: luna777
AndroidWindows
on 29 November 2016 - 19:27 #956207 Reply to:956202

แค่อยากให้ตัวอักษรไม่มีหัวเป็นที่ยอมรับค่ะ ไม่ดูเป็นการเขียนผิด ใครถนัดเขียนแบบไหนก็แล้วแต่บุคคล

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 November 2016 - 19:56 #956212 Reply to:956207
hisoft's picture

ถ้าแบบนั้นก็เข้าใจได้ครับ แต่ผมยังสับสนๆ ตรงนี้อยู่

คิดว่าถึงเวลาที่อะไรควรจะเปลี่ยนให้ชีวิตสะดวกสะบายขึ้นควรจะเปลี่ยนอย่ายึดจารีทประเพณีดีกว่าไหม
ปล.เราเริ่มเปลี่ยนจากตัวเองค่ะ เขียนภาษาไทยไม่มีหัวตลอด ภาษาอังกฤษเขียนตัวพิมพ์ตลอด

โดยรวมผมว่าคุณ nrml เขียนไว้ค่อนข้างชัดเจนครับแต่ยังไม่ได้อ่านแบบละเอียด

By: nrml
ContributorIn Love
on 29 November 2016 - 19:23 #956206
nrml's picture

ผมว่ามันไม่ได้เกี่ยวกันนะครับ แม้แต่ในภาษาอังกฤษเองมันก็มีฟอนต์แบบ serif กับ sans serif ซึ่งฝรั่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีปัญหาตรงนี้นะครับ ฟ้อนต์แต่ละแบบมันมีเอกลักษณ์และความเหมาะสมในการเลือกนำไปใช้งาน อีกอย่างหนึ่งคือผมคิดว่าในชีวิตของผมน้อยมากครับที่จะเจอคนที่เขียนตัวหนังสือแบบไม่มีหัวมักจะเจอคนที่เขียนแบบทั้งมีหัวและไม่มีหัวในคนเดียวกันขึ้นอยู่กับฟอร์มของตัวอักษรนั้นๆ

ส่วนเรื่องข้อกำหนดของผู้จัดประกวดตรงนั้นผมว่าพอเข้าใจได้ครับ มันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดประกวด ถ้าเราไม่พอใจก็ต้องเคลียร์กับทางผู้จัด ถ้าสุดท้ายแล้วความเห็นไม่ตรงกันก็ไม่ต้องส่งเข้าไปประกวดแค่นั้นเองครับ

By: readonly
iPhone
on 29 November 2016 - 20:32 #956218
readonly's picture

คิดว่าถึงเวลาที่อะไรควรจะเปลี่ยนให้ชีวิตสะดวกสะบายขึ้นควรจะเปลี่ยนอย่ายึดจารีทประเพณีดีกว่าไหม

สบาย ครับ ไม่ใช่ สะบาย เข้าใจว่า จขกท. พิมพ์ผิด แต่เดี๋ยวนี้ผมเจอเด็กรุ่นใหม่หลายคนอยากให้การสะกดคำผิดๆ เป็นที่ยอมรับ เพราะเห็นว่ามันทำให้ชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายขึ้น ครับ

อยากให้จขกท. ลองยกตัวอย่างว่าถ้าตัวอักษรไม่มีหัวชีวิตจะสะดวกสบายขึ้นอย่างไร ส่วนตัวผมเขียนแบบมีหัวมาทั้งชีวิตจึงไม่สามารถเข้าใจว่าถ้าไม่มีหัวมันจะทำให้เขียนเร็วขึ้น หรือชีวิตสบายขึ้นอย่างไร

ความจริงในช่วงหลายปีมานี้ผมพบว่าตัวเอง "พิมพ์" มากกว่า "เขียน" ด้วยซ้ำ ดังนั้นจะเขียนแบบไหนก็คงไม่ต่างกัน ขอเพียงให้อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ด้วยภาษาที่เป็นทางการ เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ไม่ต้องแปล สัญลักษณ์ -> ภาษาไทย ก็น่าจะสะดวก สบายดี ครับ

สำหรับคนอื่นๆ ถ้าในสถานศึกษาหรือในที่ทำงาน และบุคคลที่ติดต่องานด้วย ยอมรับภาษาเขียนแบบไม่มีหัวโดยไม่รู้สึกเป็นภาระในการใช้งานผมก็คิดว่า น่าจะสะดวก สบาย สำหรับพวกเขาเช่นกัน ครับ

ส่วนเรื่องภาษาอังกฤษแบบตัวเขียน เนื่องจากหลังๆ นี้ผมพิมพ์ และอ่าน ทางสื่อดิจิตอล มากกว่าการเขียน ดังนั้นจึงชิน และรู้สึกว่าการใช้ตัวพิมพ์มันสะดวก สบายดี ครับ

By: adente
ContributorSUSESymbianWindows
on 29 November 2016 - 21:10 #956228
adente's picture

พอมันไม่มีหัวมันจะอ่านยากไปนะ เช่น ก ภ ท ว า ยิ่งเป็นลายมือด้วยยิ่งต้องมานั่งแปลภาษาไทยกันอีก ส่วนเรื่องเด็กนักเรียนเราก็ควรสอนเด็กให้รู้ว่าแบบไหนมันเป็นถูกก่อนนะครับให้เขาเข้าใจพื้นฐานความแตกต่างของแต่ละตัวอักษรก่อนน่าจะดีกว่านะครับ

By: Wizard.
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 29 November 2016 - 22:34 #956238
Wizard.'s picture

ถ้าผู้จัดมีเจตนาว่าอยากได้ font ที่มีหัวไว้ใช้งาน ก็เป็นจุดประสงค์ของผู้จัดการประกวดนะ
ถ้าสิ่งที่คิดไม่ได้เข้ากับการประกวดก็ไม่ส่งเข้าประกวดก็ได้นี่นาครับ

By: AMp
In Love
on 29 November 2016 - 23:13 #956242

ในระดับประถม ผมมองว่าจุดประสงค์เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือที่ถูกต้องนะ โตมาจะใช้อะไร ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไรแล้ว

By: meathasith
Windows PhoneAndroidWindows
on 30 November 2016 - 03:59 #956257

ผมเห็นด้วยกับคุณ luna777 นะครับ ที่ว่าภาษามีไว้สื่อสารครับ แต่รูปแบบจะเป็นอย่างไรก็ตาม (มีหัวหรือไม่มีหัว, ลายมือหวัดหรือบรรจง) แค่สุดท้ายสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ แค่นั้นผมว่าก็ทำหน้าที่ของมันได้ดีแล้วครับ อาจมีบางคนชอบแบบมีหัว บางคนชอบแบบไม่มีหัว ถ้าอ่านออกเหมือนกันผลออกมาก็ไม่แตกต่างกันครับ

By: waroonh
Windows
on 30 November 2016 - 09:20 #956283

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่สน ว่าตัวหนังสือจะมีหัวไม่มีหัว
หลาย ๆ ครั้งฝรั่ง เรียกผมว่า Broken English Master ด้วยซ้ำ (คือไปทำภาษาเค้าบรรลัยหมด)

แต่ผมก็คิดว่า ไม่ควรไป คิดในแนวที่ว่า ก็ฉันอยากเขียนตัวหนังสือไม่มีหัว
ตัวหนังสือมีหัว ควรเป็นอดีตไปได้แล้ว หรือ การบ้านยาก สมัยนี้ใครเค้าทำกัน
อันนี้ไม่ถูกต้อง การเรียนคือการฝึกฝนในสิ่งที่ควรจะเป็น ควรจะทำตรงนั้นให้ดีเสียก่อน
แล้วไปใช้ที่อื่น อย่างไรก็ว่ากันอีกที

By: wichate
Android
on 30 November 2016 - 10:48 #956293

ผมนึกถึง ม. ห. ไม่มีหัวแล้วขำก๊ากเลย จะเอาแบบนี้จริงๆเหรอ
หัวมีทำอะไรครับ มันมีไว้เพื่อความสะดวกสะบาย จะได้รู้ว่าเวลาเขียนต้องเริ่มจากตรงไหน นี่คุณจะตัดความสะดวกสะบายออกซะงั้น

By: MN on 30 November 2016 - 11:08 #956299

ไม่มีหัวแล้วจะแยก กไก่ กับ ถถุง อย่างไร ว แหวนกับสระ า
หรือจะเอาแบบจดชวเลข

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 30 November 2016 - 20:02 #956353 Reply to:956299
hisoft's picture

มีหัวเฉพาะตัวที่ต้องดูหัว

By: thanyadol
iPhone
on 30 November 2016 - 11:42 #956304

ภาษาไทยน่าจะมีการบูรณะ ได้แล้วครับ มันเป็นภาษาที่ซับซ้อนไป

By: nrml
ContributorIn Love
on 30 November 2016 - 14:33 #956327 Reply to:956304
nrml's picture

ผมว่ามันโอเคแล้วระดับหนึ่ง อย่าทำให้มันมีหลาย standard เลยเดี๋ยวจะเหมือนกับบางภาษาเช่นญี่ปุ่นหรือจีน

By: khao_lek on 1 December 2016 - 15:49 #956495 Reply to:956327

เห็นด้วยครับ แค่เดี่ยวนี้ก็พัฒนาไปเยอะแล้ว จำกันไม่ไหว ยิ่งเวลาอ่านกับเวลาเขียนนึกไม่ออก

By: jokerxsi on 1 December 2016 - 00:38 #956378

ผมเห็นด้วยเรื่องที่อยากให้ยอมรับอักษรไทยที่เปลี่ยนหัวเป็นขีดที่ไม่ต้องวนกลมๆแทน

กรณีนี้ผมมองว่าใครเป็นเจ้าของเงินก็มีสิทธิกำหนด ถ้าคุณอยากสู้โดยไม่ต้อง Drama ผมแนะนำให้ลอง Crownd Funding เป็นเงินรางวัล
แล้วจัดประกวดเอง มันก็ดูน่าสนใจดีนะ

ภาษาไทยผมว่าเป็นภาษาที่ยากมากๆ
พอได้เรียนภาษาที่ 3 ขึ้นไปเราจะเริ่มเปรียบเทียบความยากง่าย ความได้เปรียบเสียเปรียบของภาษาได้
ตอนนี้กลายเป็นว่าภาษาที่ง่ายคือ ภาษาอังกฤษ ที่ยากน่าจะเป็นกลุ่มจีน ไทย

ข้อดีของภาษาไทยคือมีเสียงค่อนข้างเยอะ ทำให้มีโอกาสออกเสียงภาษาอื่นๆได้ง่ายกว่า
ภาษาไทยต้องใช้ Sense กับความเคยชินค่อนข้างเยอะ บริบทมีผลต่อความหมาย
นี่ยังไม่ไม่นับ Bug/ความกำกวมในภาษา เช่น
- ไม่อยากกินข้าว แปลว่า เกลี่ยดที่จะกินข้าว หรือไม่ได้ต้องการที่จะกินข้าว
- เด็กคนนั้นอยากกินไอติม => เราไม่ใช่เด็ก เราไม่มีวันรู้ว่าเด็กคนนั้นอยากกินไอติม ต้องใช้คำว่า เด็กคนนั้นดูเหมือนอยากกินไอติม (ผมเจออ.ญี่ปุ่นแก้มา) อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นที่ภาษาหรือความเคยชิน

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 1 December 2016 - 13:43 #956468
Perl's picture

จำ iOS7 แบบไม่มีหัวกันไม่ได้เหรอครับ ลำบากคนใช้แท้

By: ageorge21
iPhoneAndroid
on 1 December 2016 - 15:43 #956493
ageorge21's picture

จริงๆมีหัวหรือไม่มีหัวมันขึ้นอยู่กับ ลักษณะการใช้งานมากกว่าครับ
บางสถานการณ์ต้องใช้แบบมีหัวเพื่อให้อ่านได้ชัดเจน เช่น ป้ายบอกทางตามถนน ก็ใช้แบบมีหัว
บางสถานการณ์ไม่ซีเรียสมากอยากให้รู้สึกอีกแบบ เช่น โปสเตอร์สื่อโฆษณา ก็ใช้แบบไม่มีหัว
(ทั้งนี้การใช้งานควรคำนึงถึงขนาดของตัวอักษรด้วยนะครับ บางบริบท อ่านยากมากถ้าใช้ไม่ถูก)

สุดท้าย อย่างที่บอกครับ มันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ทำ
ความสะดวกสบาย ไม่เกี่ยวกันครับ :)

By: Alios
iPhoneAndroidWindows
on 2 December 2016 - 10:16 #956644

ภาษาไทย ถ้าทำให้ใช้งานง่าย ก็ไม่สลักสลวย แล้วคนหัวอนุรักษ์ก็ไม่ยอมแน่นอน

ส่วนตัวอักษรควรมีหัวหรือไม่ ผมคิดว่ายังคงเป็นสิ่งที่ควร ถึงมันจะทำให้ความเร็วในการเขียนช้าลง แต่มันทำให้คนไทยยังอ่านง่ายอยู่

ส่วนตัวอยากให้คำนึงลดการใช้วรรณยุกต์ให้น้อยลงซะมากกว่า เพราะปัญหาสระลอยของภาษาไทยในคอมพิวเตอร์พบเห็นทั่วไปบ่อย

By: mk-
Symbian
on 3 December 2016 - 11:17 #956797
mk-'s picture

ตัวอักษรไม่มีหัวมันอ่านยาก เนื่องจากคนส่วนมากเคยชินกับตัวอักษรมีหัว ถ้าเอาไว้ทำหัวข้อหรือคำโปรยหรือข้อความย่อสั้นๆก็พอได้ ภาษามีไว้สื่อสารถ้าทำแล้วเกิดสื่อสารกันยากขึ้นจะทำไปทำไม

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 3 December 2016 - 11:43 #956803

คิดว่าไม่ควรเปลี่ยนการเขียนครับ แต่จะเขียนอย่างไร ตราบเท่าที่สามารถสื่อความได้ถูกต้อง หากไม่มีหัวแต่ไม่ได้ทำให้เข้าใจผิด ก็ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ขึ้นอยู่กับงานที่ใช้ด้วย ต้องการความโดดเด่นก็อาจละอาจตัดออกบ้าง หรือต้องการให้อ่านง่านก็ควรมีหัวให้ชัดเจน.

By: นายไก่ on 4 December 2016 - 20:58 #956949

มีหัวหรือไม่มีหัว ไม่แปลกครับ อักษรไทยมีการออกแบบมานาน
มันมีศิลปะในตัวมันเอง อักษรพระราชพิธีต่างๆ ดูแล้วภูมิใจครับ มันสวยงามมาก
แต่ก็ไม่น่าจะกำหนดกติกาห้ามทำฟอนต์ไม่มีหัว เพราะมันคือการออกแบบ
เมื่อก่อนเคยคิดครับ ถึงวันนี้ก็ไม่เข้าใจว่าทำไม
ส่วนตัวนะครับ ถ้าจะปรับกันจริงๆน่าจะตัดอักษรที่เสียงเหมือนกันมากกว่า
จาก44ตัวเหลือแค่20กว่าตัวเอง เช่น สอ ส ศ ษ อื่นๆอีก มันน่าจะทำให้คนชาติอื่นเข้าถึงเราง่ายขึ้น

By: neonicus
Android
on 7 December 2016 - 10:29 #957276

ผมว่าก่อนจะคิดเรื่องหัวไม่หัว

ตัด ฅ ฃ ออกไปก่อนเลยครับ จะตายอยู่แล้วยังไม่เคยได้ใช้
ไม่รู้จะสอนเด็กทำไมว่ามีอักษรที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ตลอดชีวิต
ยิ่งเห็นใน keyboard layout ทั้งคอมจริงทั้งในมือถือก็รำคาญครับ
คนทำ layout ไม่ได้รู้ว่าคนไทยไม่ใช้ ดันแปะมาเป็นปุ่มอักษรที่โผล่มา
โดยตัดอักษรที่ได้ใช้จริงอยู่ในพวก alt char ซะอีก

By: garmin
Android
on 7 December 2016 - 11:37 #957289

ลองศึกษาประวัติศาสตร์ Printing Technology ดูสิครับ font designer เขาพูดเรื่อง "มีหัว ไม่มีหัว" มานานมากแล้ว ประเด็นที่ font designer ที่มีชื่อเสียง เช่น

Hermann Zapf

https://en.wikipedia.org/wiki/Hermann_Zapf

เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้่ว เราใช้ font ของ Zapf กันเยอะมาก แต่ไม่เคยรู้ เขาได้รับค่าลิขสิทธิ์จาก font ของเขาตั้งแต่ที่ออกสู่ "ตลาดสิ่งพิมพ์" ถ้าใครเคยทำหนังสือ 30 ปีที่แล้ว ก่อน DTP Desktop Publishing (โดย Apple Macintosh ของ Steve Jobs เข้ามาพลิกวงการ)

สมัยนั้นต้องให้โรงพิมพ์ทำเรียงพิมพ์ "ตัว compute" ด้วยเครื่อง Linotype ราคาเป็นล้าน พิมพ์ออกมาบนกระดาษมัน แล้วเอามาตัดแปะเป็นต้นฉบับ เพื่อไปทำ plate เครื่องพิมพ์ เราจะต้องจินตนาการ font และ ขนาดของ font ในหัว แล้วสั่งทางร้านเรียงพิมพ์ไป

"font มาตรฐาน" จะเป็น font ของ Hermann Zapf ละครับ

เครื่อง Apple Macintosh มาด้วย technology ของ Adobe ชื่อว่า ATM (Adobe Type Manager) ต้องเสียเงินซื้อมาใช้งาน ที่ทำให้ตัวหนังสือบนหน้าจอไม่มีรอยหยักเมื่อขยาย เป็น scalable font ซึ่งมีบน Windows ตามมา

แต่ ATM https://www.adobe.com/products/atm/ ได้เลิกไปเมื่อ Apple พัฒนา font technology ใหม่ที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ Adobe คือ TrueType Font ที่พวกเราใช้มาจนทุกวันนี้ http://www.truetype-typography.com/tthist.htm

เมื่อละเราพูดถึง font มีหัว ไม่มีหัว ต้องย้อนอดีตไปตั้งแต่สมัยยังไม่มีคอมพิวเตอร์ละครับ มีแต่เทคโนโลยีการพิมพ์ในโรงพิมพ์ Linotype

font design นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว เขาคำนึงถืงความเร็วในการอ่านด้วย font ที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่าน อ่านได้เร็ว แม้ว่า font จะมีขนาดเล็ก (คือลดความลำบากในการแยกตัวอักษรออกจากกัน)

font ที่แพร่หลายมากๆคือ Times New Roman ออกแบบโดย Stan­ley Mori­son ในปี 1929 ให้กับหนังสือพิมพ์ The Times of Lon­don

http://typographyforlawyers.com/a-brief-history-of-times-new-roman.html

font ของ Hermann Zapf ที่มีชื่อเสียงมากคือ Palatino, Optima และ Zapf Dingbats

http://nyti.ms/1S36jwV

https://www.thebookdesigner.com/2015/10/herman-zapf-a-legendary-type-designer/

Zapf Dingbats ตัวอักษรสัญลักษณ์ มีในเครื่องพิมพ์ Laser ของ Apple แต่ปัจจุบันเราใช้ Symbols ของ Microsoft แทน

มีบทความวิจัยเกี่ยวกับการใช้ font สำหรับการอ่าน เรื่อง Does print size matter for reading? A review of findings from vision science and typography (2011) >> ที่นี่

ที่น่าจะช่วยตอบคำถาม "ภาษามีไว้สื่อสาร ควรหมดยุคตัวอักษรไทยมีหัวหรือยังคะ" ได้ครับ

By: pizzicato
ContributoriPhoneUbuntu
on 13 December 2016 - 17:09 #958438
pizzicato's picture

เอาจริงๆ นะครับ ในโลกนี้ 6000 ล้านคน ไม่มีใครมาแคร์หรอกว่าตัวอักษรภาษาไทยจะมีหัวหรือไม่มีหัว ผมว่าตัวอักษรใดๆ ที่มันไม่สามารถใช้สื่อสารกันไปมาระหว่างคนทั้งโลกได้ อักษรเหล่านั้นมันมีความเป็นศิลปะ (ประเพณี, ขนบธรรมเนียบประจำชาติ, ฯลฯ) มากกว่าตัวอักษรคับ เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยนะครับ ที่จะให้เกิดการยอมรับว่าไม่มีหัวก็ได้ -> แต่นั่นมันก็ไม่ใช่ความดั่งเดิม ส่วนขนบธรรมเนียบประเพณีดั้งเดิมหรือ Original มันก็ยังคงอยู่ แค่นั้นเอง

สุดท้ายแล้วตัวอักษรที่ไม่มีหัวมันก็อาศัยรูปแบบดั้งเดิมของตัวอักษรแบบมีหัวเป็นตัวตั้งต้นในการประดิษฐ์อยู่ดี ฝั่งนึงก็ควรจะยอมรับ อีกฝั่งนึงก็ควรจะให้เกียรติ เราถึงจะอยู่กันได้


positivity

By: maxmin on 8 September 2018 - 10:04 #1069614

มีหัวนี่แหละคือเสน่ห์อย่างนึงของอักษรไทย ฝรั่งที่เรียนอักษรไทยใหม่ๆเค้ารู้สึกสนุกที่ได้เขียนอักษรไทย เพราะมีหัวให้ม้วน