Tags:
Forums: 

No Description

โดยทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี
ผู้จัดการประจำประเทศไทย
นูทานิกซ์

สภาพแวดล้อมทางสังคมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ผลักดันให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจต้องปรับตัว ผู้บริโภคเข้าสู่ยุคดิจิทัล ธุรกิจซึ่งแท้จริงสามารถประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ทำไมธุรกิจบางแห่งยังปรับตัวได้อย่างเชื่องช้า แทนที่จะนำหน้าผู้บริโภค กลับต้องเดินตามหลัง

Internet of Thing (IoT), Digitalization, Big Data, Virtualization, Cloud เทคโนโลยีสื่อสารความเร็วสูงคุณภาพสูง, การเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบทุกที่ทุกเวลา, การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการประมวลผลต่างๆ ก่อให้เกิดการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย

โครงการมากมายที่ภาครัฐผลักดันล้วนมีจุดประสงค์นำพาประเทศทุกภาคส่วนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ เช่น Industry 4.0 ที่มีจุดหมายในการนำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นสมาร์ทฟาร์มมิ่ง, เปลี่ยน SME ให้เป็นสมาร์ทเอ็นเตอร์ไพรซ์ และเปลี่ยนการให้บริการแบบเดิมเป็นการให้บริการที่มีมูลค่าสูง

แล้วองค์กรธุรกิจจะใช้ไอทีของตนเองให้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แข่งขันได้ และตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไร

จากการสำรวจการใช้ไอซีทีในสถานประกอบการปี 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าธุรกิจขนาดใหญ่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงร้อยละ 99.6 ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีการใช้คอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 22.5 และมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 18.3 เท่านั้น องค์กรขนาดใหญ่ที่มีการใช้ไอทีมากอยู่แล้ว มักเผชิญความท้าทายกับการปรับปรุงระบบเดิมที่ใช้งานมานานให้ทันสมัยตอบรับกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว ส่วนองค์กรขนาดกลางและเล็ก เผชิญกับความยุ่งยากในการใช้งานไอทีที่ต้องพึ่งพาช่างเทคนิคที่มีความรู้เฉพาะด้าน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง ซับซ้อน ในขณะที่มีเงินทุนที่จำกัด เป็นต้น

ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมเริ่มไปต่อไม่ได้
เมื่อไอทีขององค์กรจำเป็นต้องก้าวออกมาเป็นกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ทว่ามีกำแพงสูงที่หลายองค์กรไม่สามารถก้าวข้ามไปได้เนื่องด้วยการยึดโยงและใช้งานมาอย่างยาวนาน คือระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมซึ่งมีการใช้เซิร์ฟเวอร์ และแซนสตอเรจที่แยกกันอยู่ โครงสร้างพื้นฐานแบบนี้จำเป็นจะต้องลงทุนครั้งละมากๆ, มีความซับซ้อน, ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ไอทีขององค์กรไม่สามารถสร้างบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีปัญหาระบบหยุดชะงักและใช้เวลาในการแก้ไขปัญหายาวนาน

พับบลิคคลาวด์เป็นทางเลือกหนึ่งของหลายๆ องค์กร ด้วยจุดเด่นที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสนใจโครงสร้างพื้นฐานเหมือนการซื้อเซิร์ฟเวอร์สตอเรจมาติดตั้งเอง, ซื้อเท่าที่ใช้ และใช้งานง่าย แต่เมื่อมาพิจารณาในแง่มุมลึกๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายเรื่องระบบเครือข่ายอาจเป็นภาระใหญ่ในการนำพับบลิคคลาวด์มาใช้เพื่อรองรับผู้ใช้และการใช้งานภายในองค์กร รวมถึงเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็เป็นข้อกังวลใจของทุกองค์กร

ก้าวข้ามข้อจำกัดด้วย Hyperconverged และ Enterprise Cloud Platform
โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จเป็นเทคโนโลยีที่ได้แนวคิดมาจากคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำ เพื่อทดแทนการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม โดยรวมเอาเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ สตอเรจเน็ตเวิร์ค และเวอร์ชวลไลเซชั่นไว้ในอุปกรณ์เดียว ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมและขับเคลื่อน จึงสามารถใช้งานได้ทั้งการประมวลผล การจัดเก็บ และระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น เสมือนเราสร้างคลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้งานเอง ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโครงสร้างแบบเก่าที่มีอุปกรณ์แยกจากกันเป็นชิ้นๆ

การ์ทเนอร์และไอดีซีให้การยอมรับว่าไฮเปอร์คอนเวิร์จเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะกับไอทีในยุคปัจจุบันและอนาคต

ความได้เปรียบของเทคโนโลยี Hyperconverged

• ประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย บริหารจัดการง่าย
โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จช่วยลดความซับซ้อนในการจัดซื้อ การบริหารจัดการ การใช้งาน ตลอดจนช่วยให้การใช้เวลา ทีมงาน และงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และควรจะมีระบบการบริหารจัดการง่ายด้วยอินเตอร์เฟซเพียงหน้าจอเดียว เป็นคลาวด์ที่ไอทีสามารถสร้างขึ้นใช้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง (Enterprise Cloud Platform)

• รองรับระบบคลาวด์ และเวอร์ชวลไลเซชั่น
ไฮเปอร์คอนเวิร์จได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วยแนวทางที่อาจจะแตกต่างกัน เช่น แพลตฟอร์มคลาวด์ระดับองค์กร (Enterprise Cloud Platform) แบบครบวงจรของนูทานิกซ์ สามารถสร้างสะพานเชื่อมระหว่างดาต้าเซ็นเตอร์และบริการพับบลิคคลาวด์ซึ่งให้อิสระกับผู้ใช้ด้วยการรองรับ VMware, MS Hyper-V รวมถึง Nutanix Hypervisor และเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบคลาวด์ต่างๆ เป็นหนึ่งเดียวกันโดยไม่มีฮาร์ดแวร์หรือไฮเปอร์ไวเซอร์ ล็อกอินอีกต่อไป อีกทั้งยังรองรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ แมเนจเม้นท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น VMware vRealize, Microsoft Azure Pack หรือ Openstack เป็นต้น

• มีระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
ไฮเปอร์คอนเวิร์จต้องมาพร้อมกับโซลูชั่นที่มีสามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลทั้งการ Deduplication การบีบอัดข้อมูลแบบอินไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนสตอเรจ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการเขียนข้อมูล มีอินเตอร์เฟซหน้าจอในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เรียบง่าย และเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ทุกมิติ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการดำเนินงานต่างๆ และแก้ไขปัญหาได้เพียงไม่กี่คลิ๊กได้จากหน้าจอเดียวผ่านเว็บเบราว์เซอร์

• ยืดหยุ่น ปรับขยายได้เพื่อรองรับอนาคต
การเลือกใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นที่รองรับการขยายตัวในอนาคตนั้นไม่ง่าย และอาจต้องใช้เงินลงทุนสูง นูทานิกซ์ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานแบบ Pay-as-you-Grow โดยองค์กรทุกขนาดสามารถปรับขยายการทำงานได้ตามต้องการ เริ่มต้นใช้งานได้จากเล็กๆ หรืองานเฉพาะบางงาน และขยายได้ตามการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรจ่ายเท่าที่ใช้โดยไม่ต้องลงทุนในสิ่งที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้

• ปกป้องระบบ และข้อมูลที่จัดเก็บ
ความสามารถในการปกป้องข้อมูล และการทำ Disaster Recovery เป็นเรื่องสำคัญมาก ระบบที่เลือกใช้จึงจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถเหล่านี้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเหตุฉุกเฉินในสถานการณ์หนักหรือเบา ผู้ใช้สามารถเลือกระดับในการปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำสำเนาข้อมูลแบบต่างๆ และการเชื่อมต่อกับคลาวด์เพื่อสำรองข้อมูล รวมถึงการเข้าถึงคลัสเตอร์ในสถานการณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นศูนย์ข้อมูลของภาครัฐเป็นต้น ระบบไอทีขององค์กรควรได้รับการปกป้องข้อมูลที่สำคัญด้วย

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และการนำธุรกิจเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ย่อมมีความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอที วัฒนธรรมองค์กรที่จะต้องเปลี่ยนไป ต้องเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค การจัดสรรเวลาและงบประมาณ องค์กรจึงควรพิจารณาเลือกโซลูชั่นเบ็ดเสร็จที่เริ่มได้จากเล็กๆ ปรับขยายขีดความสามารถในการทำงานได้ตามความต้องการและในเวลาที่ต้องการ ตอบโจทย์ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เวลาที่ใช้ ความคุ้มค่าการลงทุนในระยะยาว เร็วและง่าย ปลอดภัย เป็นเวอร์ชวลไลเซชั่น และเชื่อมต่อระบบคลาวด์ และมีความพร้อมรับเทคโนโลยีที่จะมาถึง

Get latest news from Blognone