Tags:

สวัสดีสมาชิก Blognone ทุกท่านครับ ไอเดียของหัวข้อนี้คืออยากให้แต่ละท่านมาพูดถึงเนื้อหาที่เรียนในคณะหรือสาขาทางสายไอทีของท่าน จุดประสงค์ของผมก็คือ ผมเชื่อว่ารุ่นน้องหลายๆ คนจะแยกความแตกต่างของคณะทางสายไอทีไม่ออก ซึ่งก็เป็นปัญหาต่อการตัดสินใจการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย คำตอบของสมาชิกแต่ล่ะท่านจะช่วยอธิบายว่าคณะหรือสาขาของท่านนั้นศึกษาเรื่องอะไร น่าสนใจมากน้อยเพียงใด (เคยมีการตั้งหัวข้อมาแล้ว แต่ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลง)

ดังนั้นผมอยากให้แต่ละท่านช่วยส่งความคิดเห็นตามหัวข้อเหล่านี้ด้วยครับ

  1. กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด
  2. เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)
  3. คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

สำหรับสมาชิกที่จบการศึกษาไปแล้วผมขอเพิ่มเติมดังนี้ด้วยนะครับ

  1. จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า
  2. ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง
  3. คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

อยากให้สมาชิกแต่ละท่านอธิบายให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่าน แต่อย่าพาดพิงระหว่างมหาวิทยาลัยกันนะครับ แต่ละแห่งย่อมมีความแตกต่างกัน ไม่มีที่ไหนจะดีที่สุดหรือแย่ที่สุด จะมีก็แต่ที่ๆ เหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด

ขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นครับ :)

Get latest news from Blognone
By: psemanssc
Blackberry
on 1 November 2012 - 00:57 #499549

ถ้าผมไม่เรียนคณะสายไอทีจะตอบได้ไหมหว่าา
ไม่ขอตอบเป็นข้อๆนะครับรอให้เด็กสายไอทีมาตอบดีกว่า ตอนนี้ เรียนคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชอบสายไอที แต่ว่า ที่บ้านให้เรียนสายเกี่ยวกับวิทย์สุขภาพ ก็เลยเรียนทันตะ เพราะไม่อยากเป็นแพทย์ แม่บอกว่าคอมพิวเตอร์แม่อยากให้ใช้เวลาว่างศึกษาเอา ตอนมอปลาย เคย สอบ สอวน คอมพิวเตอร์ติด รอบแรก แล้วก็เคยทำเว็บไซต์ของหมวดคณิตของโรงเรียนให้ และก็ช่วยอาจารย์ดูแลเว็บโรงเรียน ตอนแรกอาจารย์คิดว่าจะเรียน วิศวะ คอม ซะอีกแต่ ปรากฏว่าไป สอบ กสพท ตามเพื่อน ไม่ได้คิดว่าจะติด ติดเพราะได้อิ้งกะเลขเยอะมาก แม่เลยขอร้องแกมบังคับ ปัจจุบัน ก็ยังนั่งๆศึกษา .NET บ้างยามว่าง เช่นบนรถไฟฟ้า แต่ว่าก็ไม่ค่อยมีเวลาเลย เพราะเรียนหัวฟู

By: untilate
ContributorAndroidWindows
on 1 November 2012 - 02:56 #499578 Reply to:499549

ตอนแรกเข้าใจว่าคุณ psemanssc เรียนสัตวแพทย์ ซะอีก

By: psemanssc
Blackberry
on 1 November 2012 - 11:17 #499687 Reply to:499578

เย้ย รู้ได้ไงหว่าา เคยเรียนครับบ แต่ซิ่ว ไปสอบ กสพท ตามเพื่อน ดันติดอีกจริงๆอนากกลีบไปเรียนแถว ตจว มากกว่าแต่ดันติดอันดับ1 ที่เลือกเลย

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 1 November 2012 - 15:08 #499749 Reply to:499549
iStyle's picture

ตอนนี้อยู่ปีไหนอะครับ? (ถามนอกเรื่องมากๆ)


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 November 2012 - 01:03 #499551
darkleonic's picture

มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา)
สำนักวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร (ตอนนี้น่าเป็นจะเป็นคณะ ICT)
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

เนื่องจากตอนนั้น ม.ยังตั้งใหม่ ยังมีอาจารย์ไม่มาก เพราะงั้นคงเลือกเวลาที่ลงได้ไม่มากนัก

รุ่นผมจะไปทางภาษาโปรแกรมเสียเยอะครับไล่มาตั้งแต่
basic -> C -> Java (ในวิชา OOP เรียนให้รู้ concept ของ OOP)-> VB.Net 2003 -> และ PHP
ตอนนั้นอาจารย์ให้ใช้ WAMP server ซึ่งผมพบว่ามันง่ายกว่า Apache บานเลย ตอนนี้ผมก็ใช้อยู่ -> XML และ Web Service (ตอนนั้นใหม่โคตรๆ เลยมั้ง)

อย่างอื่นก็จะเป็นพวก Network Communication เบื้องต้น,System Analysis,Data Structor เรียนเรื่อง Concept ของการโปรแกรมมิ่งอะไรแบบนั้น พวกพลิกแพลงอย่างหุ่นยนต์ CG ภาษาระดับล่าง ก็ไปที่เอกอื่นหมดครับ เหมือนกับว่ารุ่นผมปั้นมาให้เขียนโปรแกรมกันเลยทีเดียว

เนื่องจากวุฒิผมเป็น วท.บ. ก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเรียนพวก ฟิสิกส์ เคมี ชีวิต ก็ได้เรียนอย่างละตัวส่วนคณิตเรียน 3 ตัวพร้อมกับดราม่าว่าเขียนโปรแกรมแล้วต้องมาเรียนพวกนี้ทำไม รับ require จากคนที่เรียนโดยตรงมาไม่ง่ายกว่ารึ

คำแนะนำ : ตอนนี้ก็ผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ผมก็เชื่อว่าถ้ารักเขียนโปรแกรม ก็ Com-Sci หรือ IT ครับ

ผมเรียนจบแล้วครับการทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วงละกัน
1. ช่วงแรกทำอยู่ PR ก็เป็นพวกทักษะการใช้งานและซ่อมคอมพิวเตอร์การเดินเครือข่าย LAN การทำ Video Broadcasting
2. ปีจจุบันคุมระบบ Call Center ได้ใช้เรื่องเขียนโปรแกม PHP + Ajax ทำระบบงานต่างๆ ภายใน office ครับ

หากจะเรียนต่อตอนนี้ยังไม่ได้คิดครับ
2.


I need healing.

By: KnightBaron
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 1 November 2012 - 01:09 #499552
KnightBaron's picture

ขอตอบแบบขี้เกียจๆ นะครับ

1.กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2.เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

สรุปสั้นๆ คือเรียนการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตั้งแต่พาร์ทไฟฟ้า ว่า Transistor ทำงานยังไง เอามาต่อกันเป็น Logic Gate ยังไง แล้วเอามันมาต่อรวมกันเป็นวงจรยังไง แล้วเอาไอ้พวกนี้มาสร้างเป็นระบบคอมพิวเตอร์ยังไง มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างจากการวิ่งของ Electron แต่ละตัว จนออกมาเป็นภาพที่เห็นบนจอ รวมถึงทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลัง ตั้งแต่การการเก็บข้อมูล (Data Structure) วิธีการแก้ไขปัญหา (Algorithm)

เนื้อหาใหม่ๆ ตามกระแสนิยมก็มีมาบ้าง พวก Web Programming, Android บลาๆ แต่ไม่เน้นหนักลงไปในหลักสูตร แต่มีเป็น Training บ้างสำหรับคนที่สนใจ เพราะหาเรียนง่าย ส่วนใหญ่คนที่สนใจเรียนแป๊บๆ ก็เป็นแล้ว ที่สำคัญกว่าคือพื้นฐานต้องแน่น

3.คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

ไม่จำเป็นต้องคะแนนดีก็เทพคอมได้ครับ คนที่ความรู้พื้นฐานทางวิชาการดี จะได้เปรียบตรงคุณจะเข้าใจพื้นฐานได้แน่นกว่า แต่หลายคนที่เรียนวิชาการพื้นฐานร่อแร่ แต่พอเข้าวิชาภาคแล้วคะแนนสูงลิบลิ่วก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

วิชาการสายคอมพิวเตอร์รวมๆ เป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ต้องมีความสามารถและความสนใจในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองพอสมควร ถ้าคุณไม่มีใจรักเทคโนโลยี คุณก็คงจะจบได้ และได้สกิลหลายๆ อย่างติดตัวไป แต่คงไม่มีความสุข และสุดท้ายไม่ได้ทำงานตรงสายเท่าไหร่

คำแนะนำรวมๆ สำหรับการเลือกเรียน ผมได้ยินมาหลายครั้งแล้วกับคนที่ชอบให้แนะนำว่า "เรียนไอ้ที่ชอบ หรือเรียนไอ้ที่เราเก่ง/ถนัดดี" ส่วนตัวผมคิดว่าเลือกเรียนไอ้ที่เรียนแล้วมีความสุขเถอะครับ ถ้าทำในสิ่งที่ชอบ ถึงจะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดในสาย แต่มีความสุข ก็ทำไป หรือถ้าเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด ประสบความสำเร็จง่ายกว่าชาวบ้านแล้วมีความสุขก็ทำไปเถอะ

By: Poet_guy on 1 November 2012 - 01:20 #499554 Reply to:499552
Poet_guy's picture

เกียรตินิยมอันดับหนึ่งมาตอบเองเลยทีเดียว
ผมเองก็กากฮะ แต่ชอบ เลยยังทำงานอยู่ในสายนี้ :)

By: KnightBaron
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 1 November 2012 - 01:32 #499558 Reply to:499554
KnightBaron's picture

ยังไม่จบครับ orz

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 1 November 2012 - 01:39 #499557
Perl's picture
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสารสนเทศ, เขียนโปรแกรม .Net & Java, ศึกษา Network ในระดับ Internet Layer, โครงสร้าง OS, Datacenter ในระดับ Basic, การออกแบบ Diagram, Flowchart, Database, Data และอัลกอริทึม, Network Security นอกนั้นเป็น บัญชี finance แสตท อังกฤษธุรกิจ การตลาด การจัดการ เศรษฐศาสตร์ ภาษี =_=
  • ถ้าจะลงลึกเข้มเข้น แนะนำสาย วิศวะ, IT ครับ เนื่องจากสายนี้เนื้อหา IT เบา เหมาะสำหรับงานพวกบริหารจัดการมากกว่า เช่นงานดูแลสารสนเทศ หรือไม่ก็ Programmer แต่ก็ไม่มีสอนหลายๆ อย่างเช่น Logic, ไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นสำหรับงานบนสายนี้ (แต่จบแล้วต้องศึกษาต่อยอดเองด้วยนะ)
  • ไม่ตรงครับ ผันตัวมาเป็น Networker กับบริษัทสาย SI
  • ที่เรียนมาได้ใช้บางอย่างเพียงเผินๆ ส่วนใหญ่ศึกษาด้วยตัวเองใหม่หลังเรียนจบ เริ่มตั้งแต่ OSI Layer 7 (แต่อย่างน้อยก็เขียนโปรแกรมใช้เองได้ละนะ xD)
  • สอบ Cert ต่อแล้วไต่ระดับความรู้ในจุดนี้เอาครับ
    • จบไม่ตรงสายโอกาสรับเข้าทำงานยากกว่าคนที่จบตรงสายนะครับ เพราะคุณยากจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าทำไม HR ถึงต้องรับคุณในเมื่อเด็ก IT ก็เข้าคิวสมัครงานพร้อมกับคุณ ดังนั้นกำหนดจุดหมายให้กับตัวเองซะตั้งแต่ตอนนี้ครับ
By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 November 2012 - 01:48 #499560 Reply to:499557
McKay's picture

จากประสบการณ์ ผมเจอสายคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แย่งงานประเภท SA จากสาย pure IT บ่อยมากครับ ส่วนพวก programming นี่ HR จะดูประสบการณ์เป็นหลัก


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 1 November 2012 - 02:42 #499574 Reply to:499560
Perl's picture

อันที่จริงผมว่ามันเหลื่อมๆ กันนะ ผมเองก็คิดว่าสาขานี้สามารถไปเป็น SA ได้นะครับ (System Administrator ใช่ไหม หรือ System Analysis ? (แต่อันที่จริงบริหารคอมก็มีวิชา System Analysis ด้วยนะ สาวๆ บริหารร้องกันระงม))

By: MaNaStorm on 1 November 2012 - 10:25 #499656 Reply to:499560

เป็นเรื่องที่ เชื่อกันว่าทางสายนี้จะมีพื้นทั้งสายเทคโนโลยีและธุรกิจอยู่พอสมควร ทำให้สามารถนำ เทคโนโลยีมาใช้งานได้ตรงโจทย์ของธุรกิจได้ดีกว่า ดังนั้น HR ก็เลยเชื่อว่าคนที่จบทางสายนี้ จะสามารถทำหน้าที่ SA ที่อยู่ตรงกลางระหว่างเทคโนโลยีและธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ยังไงก็ตามเรื่องพวกนี้ผมว่าอยู่ที่ตัวคนมากกว่า รุ่นของผมที่สามารถจบมาแล้วทำงานตรงนี้ได้อย่างภาคภูมิ มีอยู่ ซัก 3% ได้มั้ง (จากจำนวน ร้อยนิดๆ ) สอบถามจากเพื่อน ม อื่นในสาขาเดียวกันก็ได้ผลใกล้เคียงกัน (ในช่วงปีที่ผมเรียนจบนะครับ ปัจจุบันไม่แน่ใจ )

หากจะให้แชร์ว่าความชอบแบบไหนควรจะเข้ามาเรียนในสายนี้ก็
1.มีความกระหายในเทคโนโลยี (ตามแบบฉบับของผู้อยู่ในสายเทคโนโลยีทั่วไป โลกมันเปลี่ยนกันเร็ว)
2.มีหัวการค้าเล็กน้อย หรือสนใจด้านการทำธุรกิจอยู่บ้าง (คนประเภทที่ไปนั่งกินข้าวแล้ววิเคราะห์ว่าเจ้าของร้านจะได้เงินเท่าไหร่ต่อวันนี้ กระโดดเข้ามาเลย)
3.พร้อมจะเปิดรับความรู้ที่มันขัดแย้งกันอยู่บ้าง (เทคโนโ่ลยีที่ dynamic , บัญชีที่ static)

อย่าเข้าเรียนมาเพราะ
- ฉันไม่สนใจ IT เท่าไหร่หรอก แต่มีคนบอกว่า IT เงินเดือนดีและ คอมธุรกิจนี่แหละน่าจะง่ายสุดแล้ว (คุณกำลังจะเข้ามาเป็น 97% ที่ผมรู้จัก)

อ่อ ทางสายนี้จะไ่ม่สอน อะไรที่่ลึกมากนะครับแต่จะอยู่ในมุมที่ทำให้คุณรู้จักใช้มากกว่า
คุณจะเขียนโปรแกรมได้บ้าง
คุณจะรู้จัก อุปสงค์ อุปทาน ดีขึ้น
คุณจะพอรู้ว่าเพราะอะไร ทางฝังธุรกิจมีความต้องการแบบนี้ และเพราะอะไรทางฝั่งเทคโนโลยีจึงทำให้ไม่ได้

ในเส้นทางต่อไปหลังจากจบแล้ว
ก็อาจจะเป็นเเหมือนที่ข้างบนว่าไว้ว่าเป็น SA จะดูมีภาษีดีในสายตาของ HR อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
ตัวผมเองเมื่อจบก็ออกมาเป็น Programmer => senior SA และมองตัวเองไว้ในทางสายบริหาร IT ต่อไป

การเรียนต่อในระดับปริญาโท สายบริหาร IT ก็ยังมีเปิดรับอยู่ในหลายๆ ม.อยู่เหมือนกัน
ซึ่งก็จะได้เรียนในสิ่งที่เป็น เทคนิควิธีการบริหารมากขึ้นและความเป็น IT ลดลง (ไม่ลึกแต่จะกว้างขึ้น)

น่าจะหมดแล้วครับ
ขอให้โชคดีในการเลือกเส้นทางครับ

By: GooEng
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 3 November 2012 - 21:21 #501114 Reply to:499557
GooEng's picture

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มาตรฐานคุณวุฒิที่ สกอ. รับรอง คือ คุณวุฒิทางคอมพิวเตอร์ ครับ สาขานี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนที่เรียนจบสาขาอื่นครับ แต่จะเด่นในด้านการใช้วิชาบริหารธุรกิจ มาประยุกต์กับคอมพิวเตอร์ ทำให้เหมาะจะเป็น SA ที่ต้องเจอลูกค้า แล้วแปลงภาษาธุรกิจของลูกค้า โดยเฉพาะเรื่อง ERP มาเป็นภาษาที่ Programmer (วิทยาการคอมฯ, IT) รู้เรื่องครับ ดังนั้นจึงต้องเน้นทำ UML ด้วย สำคัญมาก สำหรับบริษัทเอกชนบางแห่งจะบอกว่า เหมาะเป็น Tester ที่ต้องเข้าใจ Business Flow ขอแค่อ่านภาษาอังกฤษออก และหาจุด Error เก่ง เหมือนการทดสอบเกมส์นั่นแหละครับ

คนที่จบสายวิทยาการคอมฯ, IT, วิศวคอมฯ เขายังต้องเรียนต่อ ป.โท ด้านบริหาร จึงจะมีความรู้เรื่อง ERP เท่ากับคนที่จบสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจนะครับ

หากไปสอบเป็นข้าราชการ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สามารถสอบและขึ้นบัญชีเอาไว้ได้ครับ แต่สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มาสอบได้ แต่คุณวุฒิจะไม่ผ่านครับ เพราะเมื่อสอบ ภาค ข. แล้ว ทางหน่วยงานราชการที่รับสอบจะส่งเรื่องให้ กพ. ตรวจสอบคุณวุฒิ กพ.ก็จะส่งเรื่องต่อให้ สกอ. เขาตรวจเป็นรายวิชาเลยว่า มีวิชาทางคอมพิวเตอร์ถึง 30 หน่วยกิตไหม หากมีครบ หรือ เกิน ถือว่า ผ่านด่านนี้

ตรวจสอบ มาตรฐานคุณวุฒิ ได้ครับ


คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

By: gsoftthai
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 1 November 2012 - 01:53 #499559
gsoftthai's picture

สาขาที่ผมกำลังเรียนนี้อาจไม่ใช้ it ที่นิยามของชาว Blognone เท่าไหร่นะครับ

  • - กำลังเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • - เรียนเกี่ยวกับการสื่อสารเน้น การสื่อสารไร้สายและการสื่อสารความเร็วสูง เช่นระบบสื่อสารดาวเทียม,โทรศัพท์,fiber optic
  • - อาจารย์ที่สาขาบอกมานะครับว่าคนที่เรียนสาขานี้ จะต้องติดตามค้นคว้าความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ของพวกนี้จะตายและมีของใหม่มา เช่นโทรเลขที่ตายไปแล้ว จนถึงการมาของ 4G LTE มันจะไม่มีวันสิ้นสุดเหมือนกับความต้องการของมนุษย์
  • ส่วนตัวตอนแรกผมเล็งไว้สองสาขาคือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับวิศวกรรมโทรคมนาคม ดูจากหลายๆอย่างแล้ว คิดเองเออเอง ว่าทางคอมพิวเตอร์น่าจะศึกษาเอาเองได้ เพราะเนื้อหาค่อนข้างเปิดและแพร่หลายอยู่แล้ว เช่นอยากศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้ๆ ก็ซื้อหลังสือมาอ่านมาฝึกฝนก็น่าจะได้ จึงมองเป็นศึกษาค่อนข้างอิสระและงานอิสระเห็นจากหลายๆคนที่มาเปิดบริษัทเองเลย แต่อีกทางมันค่อนข้างปิดไม่เป็นที่แพร่หลายและมีงานมารองรับเลย ระยะสั้นเลยเลือกโทรคมนาคมและศึกษาทางคอมพิวเตอร์ในระยะยาวควบคู่ไปครับ

    By: best
    iPhoneAndroid
    on 1 November 2012 - 02:26 #499569

    เรียน Com sci มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    สามารถ แบ่ง สิ่งที่เรียนได้ดังนี้

    • สอนการProgramming
    • สอนการ ออกแบบ ระบบ
    • สอน algorithm
    • สอน ทฤษฎี ระบบ network

    ซึ่ง เรียน รวมๆ พวกนี้ ส่วนใคร สนใจด้านไหน ก็พัฒนา กันต่อเอง

    จบมาทำงานเป็น Dev มาตลอด ก็ตรงสาย
    - สอนการProgramming
    - สอนการ ออกแบบ ระบบ
    - สอน algorithm
    3อย่างนี้เป็นพื้นฐานที่ได้ใช้ตลอด

    แต่สิ่งที่เรียนไม่เพียงพอ และยุคสมัยเปลี่ยนสิ่งสำคัญคือการพัฒนาตัวเอง ให้เข้ากับ สมัยใหม่

    -ในอดีต เรียน JAVA ตอนนี้ทำ .NET
    -ในอดีต เรียนออกแบบ Database ทำ SQL ทุกวันนี้ ออกแบบ Class ใช้ ORM
    -ในอดีตสอนให้ ทำ process แบบ water fall ทุกวันนี้ต้องทำ agile

    แล้วก็ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ จะมีอะไรมาอีก ก็ต้องพัฒนากันไป

    By: puuga
    iPhoneAndroid
    on 1 November 2012 - 02:51 #499570
    puuga's picture

    1. กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    ป.ตรี(2547-2550) - วิทยาการคอมพิวเตอร์(Computer Science) มหาวิทยาลัยนเรศวร

    ป.โท(กำลังศึกษา) - เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) มหาวิทยาลัยนเรศวร

    2. เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง

    ป.ตรี - วิชาทาง programming เยอะมากครึ่งๆของวิชาเอก ครอบคลุมภาษาดังๆในสมัยนั้นค่อนข้างครบ ตอนนี้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่แล้ว ลดภาษาที่มีความนิยมน้อย เพิ่ม mobile programming เข้ามา
    นอกจากนี้ยังมี

    network communication+security

    operation system

    system analysis and design

    data structure ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล วิธีการจัดเรียง แนวๆนี้

    computer graphic

    programming language ศึกษาลักษณะของภาษาโปรแกรมมิ่งแบบต่างๆ ว่าทำงานอย่างไร ใช้งานอย่างไร

    database ศึกษาเรื่องฐานข้อมูล

    AI-artificial intelligence ศึกษาลักษณะของ AI ว่ามีหลักการอะไรบ้าง

    ยังมีอีกแต่จำไม่ได้แล้ว

    ป.โท - ความรู้สึก ณ ปัจจุบันคือ ส่วนใหญ่รู้มาตั้งแต่ ป.ตรีแล้ว บวกกับประสบการณ์ทำงานแล้ว มีที่รู้เพิ่มไม่มาก แต่เนื่องจากยังเรียนไม่จบ ยังอาจจะมีอะไรมากกว่านี้ก็ได้

    3. คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    เปิดใจให้กว้างเสมอ พยายามอัพเดทตัวเองตลอดเวลา อย่าหยุด
    เรียนด้านนี้ ควรจะฝึกฝนการแก้ปัญหาให้ดี มองปัญหาให้ออก คิดแก้ให้รอบด้าน ตัดสินใจให้ไว ไม่โลเล แต่ไม่บุ่มบ่าม

    อย่าเข้าใจว่ามาเรียนสายนี้แล้วจะซ่อม-ประกอบคอม ลงวินโดวส์เก่ง ฯลฯ ไม่ใช่นะ คนละเรื่องกัน
    เรื่องวิชาเรียน แยกง่ายๆเป็นวิชาพื้นฐาน กับวิชาเอก

    สำหรับคนบางคนวิชาพื้นฐานบางตัวแทบไม่รอด แต่พอวิชาเอกเก็บ A เรียบ แต่บางคน วิชาพื้นฐาน AB ชิวๆ แต่พอวิชาเอกหา A ไม่เจอ เรื่องนี้น่าจะขึ้นอยู่กับความชอบเป็นหลัก พอชอบมันก็สนุก พอสนุกอะไรๆมันก็ง่าย

    ส่วนเรื่องมีคนพูดๆกันว่าเขียนโปรแกรมศึกษาเองได้ อันนี้ผมไม่ออกความเห็นเพราะเรียนมาตรงสาย แต่จากประสบการณ์ที่เจอมา ผมมีข้อสรุปของตัวเองในการแบ่งระดับความสามารถของคนที่เรียกตัวเองว่า developer คือ

    1. Make it work = good
    2. Make it right = better
    3. Make if Fast = best

    ตัวอย่างเช่น OOP-JAVA คงมีน้อยคนที่อธิบายได้ว่า primitive type กับ reference type ต่างกันอย่างไร ในสถานการณ์ไหน ควรใช้แบบไหน

    4. จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ไม่ตรงสาย เพราะต้องทำงานในกิจการครอบครัว

    5. ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    แอบรับงานนอกบ้าง ตรงนี้บอกได้คำเดียวว่า โลกกว้างใหญ่ องค์ความรู้เดินหน้าตลอดเวลา เหมือนเทียบระดับกีฬาสีกับโอลิมปิค

    6. คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    กำลังเรียน ป.โท อยู่ในสายเดิม ไม่ต่อทางสายบริหาร ขอไม่บอกเหตุผล

    By: coolll
    Android
    on 2 November 2012 - 23:45 #500786 Reply to:499570

    รุ่นพี่ผมนี่เอง อิอิ
    ผมคิดเหมือนพี่เลยเรื่อง "มาเรียนสายนี้แล้วจะซ่อม-ประกอบคอม ลงวินโดวส์เก่ง ฯลฯ"
    หลังจากที่เรียนจบแล้วทำงาน IT จับฉ่าย ในหน่วยงานราชการ
    คนในองค์กรค่อนข้างจะคาดหวังว่าเรียนจบคอมพิวเตอร์มา แล้วต้องทำได้ทุกอย่าง ในทุกงานสายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    ทุกวันนี้ต้องเจอกับงานใหม่ๆ แปลกๆ นอกเหนือจากสิ่้งที่เรียนตลอด ถ้าไม่ปรับตัว ไม่ยอมรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มันก็อยู่ในสายงานนี้ได้ยากจริงๆ ครับ

    เก่าไป ใหม่มา ยอมรับว่าความรู้พื้นฐานเรื่อง IT สมัยใหม่คงสู้เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่ได้ แต่สิ่งที่พอจะทำได้ ก็คือ การนำประสบการณ์เก่าๆ ที่มี มาต่อยอดกับความรู้ใหม่ๆ แล้วนำไปใช้แก้ปัญหาทั้งเก่าและใหม่ในปัจุบัน อิอิ

    By: clozed2u
    ContributoriPhoneIn Love
    on 5 November 2012 - 09:23 #501525 Reply to:500786

    แสดงว่าอยู่แถวนี้กันหลายคนแฮะ

    By: CPECHRIS
    Windows PhoneWindows
    on 1 November 2012 - 02:33 #499571
    CPECHRIS's picture
    1. กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

      วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ตอนนี้ปี 3)

    2. เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

      ที่นี่ค่อนข้างเน้นความเป็น Specialist ในด้าน Computer Engineering มาก ขนาดที่ว่าแทบไม่มีวิชาทางวิศวกรรมที่เรียนร่วมกับสาขาอื่นเลย เช่น Mechanics/Drawing/Materials/Electromagnetic รวมถึง Phy+Chem ก็เรียนอย่างละตัว ไม่มี Lab ครับ

      วิชาภาคส่วนใหญ่จะต้องทำโปรเจค จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับวิชาภาคในเทอมนั้นๆครับ ว่ามีกี่วิชา บางทีก็จะเป็นโปรเจคร่วม 2-3 วิชาครับ ถ้าชอบคิดชอบทำอะไรใหม่ๆ อาจารย์ที่ภาคจะชอบมากครับ

      เนื้อหาที่เรียน ปี 1 ก็จะมีทางสายวิทย์ Calculus Phy Chem มีวิชาภาคคือ Programming + Data Structures + Discrete Math (เรียนคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง เช่นพวกระบบเลขฐาน บูลีน เซต การจัดหมู่ การพิสูจน์ อะไรพวกนี้) วิชาพิเศษๆอย่าง Computer Engineering Exploration ที่จะเป็นการเตรียมให้พบกับวิชาอื่นๆด้วยการเขียนโปรแกรมบ้าง ต่อวงจรบ้าง ทำหุ่นยนต์บ้าง เขียน shell script บ้าง ลงท้ายเทอมด้วยโปรเจคที่จะทำอะไรก็ได้ แล้วก็มี English ที่แบ่ง Level ตามคะแนน ONET ENG ถ้าทำได้เยอะก็จะได้ไปเริ่มในตัวที่สูงกว่า ซึ่งตอนหลังจะเลือกวิชาทางสายภาษาที่สนใจเองได้

      พอขึ้นปี 2 ก็จะเจอกระดูกชิ้นใหญ่ๆ คือ Circuit Electronics + Lab + Signals and Systems (ซึ่งเป็นวิชาปราบเซียนของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่นี่ก็ว่าได้ วิชานี้จะ apply เอา calculus มาอธิบายความเป็นไปของสัญญาณและระบบในธรรมชาติ แต่ที่หนักคือเทคนิคในการแปลงสัญญาณที่ทำให้หลายๆคนไปกันไม่เป็น แต่อาจารย์ที่สอนท่านเก่งมากจริงๆครับ ผมยังประทับใจเลย แต่เรียนรอบเดียวไม่ผ่านครับ 555+) สามวิชานี้มีโปรเจคร่วมกันครับ ต้องเข้าใจและนำเสนอออกมาได้ทั้งในด้านทฤษฏีวงจรไฟฟ้า + การลงมือสร้าง + สัญญาณและระบบภายใน

      เทอม 2 ก็จะเบาลงมาครับ เป็น Digital Systems + Lab ที่ใช้พื้นฐานจาก Discrete Math เต็มๆ ศึกษาความเป็นดิจิตอล 0,1 มาได้ไง โจทย์มาให้สร้างแบบนี้ จะต้องทำยังไง อาจารย์จะพยายามชี้ให้เห็นว่า ในวงจรเดียวกัน การมองลงไปในทาง Circuit กับ Digital มันก็จะไม่เหมือนกัน ลงท้ายด้วยการทำโปรเจคควบสองวิชาครับ มี Programming Languages ให้ได้ศึกษาภาษาโปรแกรมหลายๆภาษา เวลาเลือกใช้ก็จะใช้ได้ถูก

      ปี 3 มี Database & ERP Systems ที่เน้นเนื้อหาของระบบฐานข้อมูลกับระบบ ERP อย่างละครึ่งๆ วิชานี้ต้องศึกษาด้วยตัวเองเยอะมาก เพราะต้องเขียนโปรเจคเดียวกันด้วย ASP.NET และ PHP แล้วก็วิชา Computer Architectures and System ที่เป็นการ Guide เกี่ยวกับอะไรหลายๆอย่างในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เราเคยได้ยิน แต่ไม่รู้จัก เช่นพวก บัส แคช ไปป์ไลน์ อะไรพวกนี้

      แล้วก็หลังจากนั้นก็มี Operating Systems, Software Engineering แล้วก็มีให้เลือกลงวิชาภาคได้อีก 6 ตัวตลอดปี 3-4 ครับ ตามความสนใจ Mix and Match ได้ตามสบายเลย

      ปี 4 ก็อุทิศให้กับ Senior Project ที่รุ่นพี่เค้าบอกว่า เข้มข้นมากๆครับ

    3.คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    จะมาทางสายความรู้พื้นฐานแน่น หรือ skill ด้านคอมพิวเตอร์แน่นก็ได้ทั้งนั้นครับ มีทางให้เอาตัวรอดได้ทั้งสองแบบ แต่สำคัญคือต้องทำโปรเจคเยอะ ถ้าชอบทำโน่นทำนี่ ชอบคิดอะไรใหม่ๆ จะดีมากครับ

    By: toneferis
    iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
    on 1 November 2012 - 03:31 #499582 Reply to:499571

    กำลังจะคอมเม้นเลย มาเห็นอันนี้ก่อนเลยขอเสริมนิดนึง วิชาเลือกลงได้สูงสุด 10ตัวครับ(ถ้าฟิตสุดๆอะนะ) ^^

    วิชาเลือกค่อนข้างทันสมัย อย่าง securityจะปรับเนื้อหาใหม่ทุกปี Androidกับios ก็มีสอนมานานแล้ว

    Os มีประโยชน์มากๆ เรียนแล้วจะเข้าใจosอื่นๆได้ง่ายขึ้นมาก ส่วน Software engineering นี่มีประโยชน์กว่าที่คิด

    ส่วนปี4 โปรเจคจบก็เข้มข้นยิ่งกว่าซุปหมูอีก 555 จากเด็กปี4 :p

    By: itpcc
    ContributoriPhoneRed HatUbuntu
    on 3 November 2012 - 10:14 #500903 Reply to:499571
    itpcc's picture

    ว้าว ที่นี่ สาขานี้เลยที่เป็นอันดับหนึ่งผมจะสอบเข้า ^_^
    ดูๆแล้วก็น่าเรียนดีนะครับ
    แต่ไม่รู้จะสอบเข้าได้มั้ยเนี่ยสิ
    ปล.ไม่รู้ว่าใน ม. มีนักเรียนโอลิมปิกวิชาการเยอะมั้ยครับ ^^


    บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

    By: CPECHRIS
    Windows PhoneWindows
    on 6 November 2012 - 00:47 #502022 Reply to:500903
    CPECHRIS's picture

    ที่นี่เข้าไม่ยากครับ ถ้ามี Profile ทางสายคอมมาดี ได้รางวัลอะไรมาเยอะ ส่งแบบ Active Recruitment ได้ครับ ถ้าผ่านเกณฑ์ภาควิชาจะเรียกสัมภาษณ์เข้าเรียนเลย

    ส่วนนร โอลิมปิก มีบ้างประปรายครับ แต่ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่

    By: Codetotti on 1 November 2012 - 02:38 #499573
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
    • วิชาที่เรียนมีดังนี้ครับ
    1. เทคโนโลยีพื้นฐาน วิชาการศึกษา (เช่น จิตวิทยาการศึกษา การวัดผลและการประเมินผล เทคโนโลยีการศึกษา เป็นต้น)
    2. วิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียพื้นฐาน (เช่น การถ่ายภาพ วิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา กราฟฟิค เทคนิคสีสรรและเสียง สำหรับงานมัลติมีเดีย เป็นต้น)
    3. วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์)
    4. วิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ - มัลติมีเดีย (เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางมัลติมีเดีย มัลติมีเดียประยุกต์ทางการศึกษา สื่อสารมวลชน โฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น)
    5. เทคนิคการพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย
  • เพิ่มเติม - มัลติมีเดียที่บางมดจะแบ่งวิชาเป็นกลุ่มคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และศิลปะ ดังนั้นวิชาที่เรียนจึงค่อนข้างกว้างและไม่เจาะลึกมากครับ วิชาทางด้านฮาร์ดแวร์ จะเป็นวิชาพื้นฐานอย่างเช่น อิเล็คฯ พื้นฐาน (พวกวงจรไฟฟ้า) แล็บอิเล็คฯ เรียนไมโครคอนโทรลเลอร์ , วิชาด้านเสียง ประเภทของไมโครโฟน คลื่นเสียง จัดห้องบันทึกเสียง, ประเภทของจอภาพ ส่วนซอฟต์แวร์ - ก็จะเป็นภาษาต่างๆ อย่าง C++, PHP, Java, Computer Graphic, เขียนเกม, Database, SA เรียนการใช้โปรแกรมตระกูล Adobe , 3DMAX, Maya ฯลฯ วิชาประเภทศิลปะ ก็จะมี Drawing, ออกแบบ, ถ่ายภาพ, กราฟฟิค, ถ่ายวิดีโอ, ทำหนังสั้น สารคดี นอกจากนั้นก็เรียนวิชาโฆษณา, การทำรายการวิทยุ, การออกข้อสอบ วัดผลประเมินผล ,จิตวิทยา ,ทำสื่อการสอน
  • คำแนะนำ - ด้วยความที่เรียนหลากหลายและไม่ได้เจาะด้านใดด้านหนึ่ง เลยทำให้คนที่มีเป้าหมายอยู่แล้วอาจจะไม่สนุกในการเรียนบางวิชาครับ อย่างคนชอบศิลปะ อาจจะเบื่อวิชาฮาร์ดแวร์ คนชอบเขียนโปรแกรมอาจจะไม่ชอบวิชาศิลปะ ดังนั้น อยากจะเรียนก็คงต้องมีความสนใจด้านนี้บ้างครับ ไม่งั้นจะเรียนไม่สนุกนะ แต่บางคนก็เข้ามาเรียนที่นี่ก็ได้ลองได้เรียนอะไรที่หลากหลายก็ค้นพบตัวเองได้เหมือนกันครับ และด้วยความที่มัลติมีเดียที่บางมด อยู่ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี อาจจะทำให้ใครหลายคนไขว้เขวในเรื่องของวุฒิครับ เราจบมาได้วิทยาศาสตรบัณฑิตนะครับ เพราะเราเรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เหมือนกันครับ เรียนแคลคูลัส ฟิสิกส์ (ตัดเกรดกับคณะวิทยาศาสตร์) เคมี แต่ไม่มีชีวะ
  • จบมาทำงานอะไรได้บ้าง - เอาจากบรรดาเพื่อนๆ ในรุ่นครับ เป็นโปรแกรมเมอร์ทั้งเขียนเว็บ ทำระบบ, Web design, Graphic วาดภาพการ์ตูน, อนิเมเตอร์ ,ช่างภาพนิตยสาร ,ครีเอทีฟ ,ออแกไนเซอร์ ,ตัดต่อ รายการทีวี ,ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์, งานโฆษณา , AE , Online marketing, Social , ครูสอนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  • ความรู้ที่ใช้ - งานแรกทำงานที่ค่ายเพลงแห่งหนึ่งครับ ดูแลระบบหลังบ้านของเว็บ ก็เข้าใจประเภทของไฟล์นะ เพราะด้วยความที่เป็นค่ายเพลงจึงพบเจอ ไฟล์เพลง วีดีโอ เราก็เข้าใจพวกนี้นะครับ จากนั้นก็มาทำบริษัททำเว็บครับ ที่นี่ไม่ค่อยได้ใช้ความรู้มัลติมีเดียเท่าไหร่ แต่ได้ความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งมากขึ้นครับ ส่วนที่ปัจจุบันทำงานอยู่ด้าน Service ครับ เป็นทีมดูแล Streaming ก็เกี่ยวกับพวกไฟล์วิดีโอ อะไรพวกนี้เหมือนกันครับ สรุปคือ ที่เรียนมาได้ใช้นะครับ และก็รู้สึกจะตรงสายด้วย
  • ตอนนี้ยังไม่แผนจะเรียนต่อครับ แต่ถ้าได้เรียนก็คงเรียน software engineer ครับอยากรู้ให้ลึกมากกว่าเดิม
  • By: rulaz07
    ContributoriPhoneAndroidBlackberry
    on 1 November 2012 - 02:45 #499576
    • วิศวคอม
    • เรียนมันทุกอย่าง ตั้งแต่ ไฟฟ้า assembly hardware math network ยัน programming (ไม่นับปีแรกๆที่เรียนเคมี ฟิสิกส์)
    • จบมาเป็น programmer เพราะเกลียดไฟฟ้า และ network ที่สุด ทั้งภาคจบมาเป็น programmer แค่ 2-3 คน ที่เหลือไป com สายอื่น
    • ความรู้ที่เรียนทิ้งไป 90% ที่เหลือได้จากการทำงานหมด
    • คคห ส่วนตัว การเรียนต่อปริญญาที่สูงขึ้นเป็นอะไรที่เสียเวลาที่สุดแล้ว
    By: narok119
    ContributoriPhone
    on 1 November 2012 - 11:28 #499588

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    ผมเรียนจบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) หลักสูตร วิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) รหัส 48XXXXXX ครับ

    ขอเรียกชื่อหลักสูตรย่อๆว่า CS ละกันนะครับ ณ เวลาที่เขียนนี่ก็จบมาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    ผมไม่ขออธิบายรายละเอียดแต่ละวิชา เพราะคิดว่าไปอ่านจากในเว็บหลักสูตรได้ http://www.sit.kmutt.ac.th แต่จะสรุปสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นจุดเด่นแตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ หรือ หลักสูตรเดียวกันที่มหาวิทยาลัยอื่น

    ผมเข้าใจว่าโครงสร้างสูตรสมัยนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนบ้าง และ มีวิชาร่วมสมัย (เช่น Could Computing) แทรกเข้ามาด้วย แต่วิชาที่เรียนเป็นพื้นฐานคาดว่าเหมือนเดิม และ สอนโดยบุคลากรกลุ่มเดิม จึงขออธิบายแบบรวบยอดดังนี้ครับ

    • ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง

    เนื่องจากเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ เลยใช้ภาษาอังกฤษทั้งในการสอน และ การสอบ ครับ
    โดยส่วนใหญ่อาจารย์เป็นคนไทยที่เป็นนักเรียนนอก ซึ่งกลับมาสอนใช้ทุนรัฐบาลครับ

    โดยธรรมชาติของห้องเรียน ซึ่งไม่ได้เป็นนานาชาติเท่าไหร่ สุดท้ายนักเรียนก็พูดภาษาไทยกันเอง แต่เวลาคุยกับอาจารย์หรือฟังอาจารย์ก็จะเป็นภาษาอังกฤษประมาณนั้น

    การเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษแม้จะเทียบไม่ได้กับการไปเรียนต่างประเทศกับเจ้าของภาษา แต่ก็จะได้ความ "ชินชา" กับการใช้ภาษาครับโดยเฉพาะการอ่าน เพราะต้องอ่าน textbook ตลอด และ ต้องเขียนภาษาอังกฤษทุกครั้งที่มีการสอบ

    • มีวิชาที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อย

    หลักสูตรนี้มีวิชาบังคับที่ไม่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรงน้อยเมื่อเทียบกับหลักสูตรอื่นครับ เช่น เราสามารถเลือกลง ฟิสิกส์ หรือ เคมี หรือ ชีวะ แทนที่จะโดนบังคับให้ลงทั้ง 3 ตัว และ ไม่ต้องเรียนมีวิชา Drawing แบบที่วิศวคอมพ์เรียนเป็นต้น แต่แน่นอนว่าหนีไม่พ้น Cal 1 และ 2 ซึ่งจริงๆแล้วผมถือว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องอยู่นะ

    • ได้เรียนวิชาสายตรงตั้งแต่ ปี 1- ปี2

    ผมเห็น CPE หรือ CS (ไม่นับ ไอที หรือ คอมพ์ธุรกิจ) เกือบทุกมหาวิทยาลัย กว่าจะได้เรียนวิชาภาคก็ปาเข้าไปปี 3 ปี 4 แต่หลักสูตรนี้ค่อนข้างล่อตาล่อใจคนใจร้อนอยากเรียนวิชา CS พอสมควรครับ คือจับเรียนวิชาอย่าง Programming I/II , Algorithm , Data Structure , Programming Syntax , OOP อะไรเทือกนี้กันตั้งแต่ ปี 1- ปี2 ซึ่งถือว่าสนุกมากสำหรับคนที่ต้องการมุ่งเข้าเนื้อหาด้านนี้เร็วๆ ไม่อยากรอช้า และ ถือว่าเป็นประโยชน์กับคนที่ยังลังเลว่าถนัดวิชาสาย CS จริงหรือไม่ คนที่ไม่ชอบก็สามารถตัดสินใจซิ่วได้แต่เนิ่นๆ คนที่ชอบก็เริ่มสนุกกันได้อย่างรวดเร็ว

    • มีวิชาแนว workshop ให้เลือกลงเยอะ

    เนื่องจากเด็กไทยส่วนใหญ่จบด้าน CS ไปก็ไม่ได้ทำงานด้าน Computer Science โดยตรง แต่จะออกไปแนว Software Engineer มากกว่า ซึ่งหลักสูตรนี้ก็มีวิชาแนว practical ให้ลงเยอะเช่น Java , Database , Web programming workshop หรือเห็นรุ่นหลังๆนี้มีแม้กระทั่ง iOS , Android workshop ซึ่งถือว่าเร้าใจมากสำหรับคนอยากจบไปประกอบอาชีพนี้เพราะนอกจากจะได้ความรู้ที่ตรงสายงานแล้วยังเก็บเป็นหน่วยกิจวิชาเรียนได้ด้วย

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    ผมขอแบ่งประเภทเด็กที่อยากเข้าคณะนี้ออกเป็น 3 แบบหลักๆ

    • คิดว่าจะได้มาเรียนแบบ super user

    มีเด็กหลายคนมากที่คิดว่าจะได้มาเรียนเป็น super user อารมณ์ว่าใช้ Photoshop หรือ การใช้ Excel อย่างเชี่ยวชาญ อันนี้ถือว่า "ผิดมหันต์" และไม่ควรมีกรณีนี้เกิดขึ้นด้วย ผมขอแนะนำว่าอย่าเข้ามาเรียน CS นะครับ เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายกาจ

    • อยากประกอบอาชีพเขียนโปรแกรม (Software Engineer)

    ถือว่าเป็นคณะที่เหมาะครับ เพราะได้เรียนรากลึกพื้นฐานด้าน Software อย่างจริงจังมากกว่า CPE / ไอที / คอมพ์ธุรกิจ รวมถึงมีวิชา workshop ต่างๆเป็นตัวเลือกเยอะมาก ถือว่าเรียนไปแล้วไม่ผิดหวัง และ นำไปใช้ในวิชาชีพได้จริงเยอะมากครับ

    • อยากไปเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพ์ (Computer Scientist)

    อันนี้ผมเห็นว่ามีจำนวนน้อยมากจนถึงไม่มีเลย แต่ก็ขอเกริ่นไว้ว่า CS ที่บางมดก็เป็นตัวเลือกที่ไม่ขี้เหร่นักครับ แต่เหมือนหลักสูตรจะตั้งมาเป็นแนว practical based มากกว่า อาจจะไม่ถูกใจคนที่ชอบสายทฤษฎีจ๋าๆ เท่าไหร่ ถ้าให้แนะนำว่าลองมอง CS ของจุฬาไว้จะเหมาะกว่า

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ถ้าอยากจบมาแล้วอยากเป็น Software Engineer สำหรับผมถือว่าตรงความคาดหมายเป๊ะครับ เพราะตอนนี้ทำอาชีพ Software Engineer อยู่ (อย่างมีความสุข)

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    สิ่งที่ผมรู้สึกว่าได้ใช้มากที่สุดในการประกอบอาชีพ มาจากความเข้าใจในวิชาพื้นฐานทั้งนั้นครับ เช่น Programming I/II , Data structure , Algorithm และ OOP , Database

    วิชา Workshop เช่น Java หรือ Database workshop อะไรพวกนี้ผมมองว่าก็มีส่วนทำให้เหมือนมีประสบการณ์ก่อนทำงานจริงด้วย แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย คิดว่าไม่ครับ ความเข้าใจจริงในวิชาพื้นฐานสำคัญกว่า นอกนั้นไปเรียนรู้ตอนทำงาน หรือ ศึกษาเพิ่มตามสถานการณ์ได้

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    ผมจบโทสายเดิม (Computing) ที่ประเทศอังกฤษมาครับ แต่ถ้าเลือกใหม่ได้จะไม่เลือกเรียนสายนี้ตอนโทแล้วครับ เพราะความตั้งใจคืออยากเป็น Software Engineer ซึ่งลำพังความรู้ที่ได้จาก CS ตอน ป.ตรี ที่บางมดถือว่าถมถืดแล้ว ที่เหลือคืออ่านเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต และ ฝึกเอาจากการทำงานได้หมดครับ

    By: koalaz
    ContributorAndroid
    on 1 November 2012 - 05:04 #499600
    koalaz's picture

    ไม่ใช่ IT โดยตรงแต่ พอมาทำงานจริงๆ แล้วได้ใช้ IT อย่างคาดไม่ถึง

    จบ Civil Eng มหาลัยเล็กๆ กลางเมือง... มาต่อโทตอนนี้ Transport Engineering เน้นด้าน Safety กับ Traffic (จริงๆงานหลักอะ Safety แต่ทื่นี่ดันเน้นด้าน Traffic) อยู่ University of Florida ที่เขตชนบน Gainesville

    อย่างหนึ่งที่อยากจะบอกคือ ตอนนี้ ITS (Intelligent Traffic System) กำลังมาแรงครับ พวกนี้ ผมบอกได้เลยว่าโอกาสฝ่าย IT ก็ค่อนข้างเยอะ แน่แหละว่างานหลักเป็น พวกผมทำแต่บางอย่างก็ต้องใช้พวก IT เยอะครับ (โดยเฉพาะ พวก งาน Signal งาน Detector)


    Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ

    By: earthchie
    AndroidUbuntuWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 06:01 #499603

    1. กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรนานาชาติ

    2. เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    ตอนนี้รุ่นน้องหลักสูตรเปลี่ยนไปแล้ว แต่ตอนรุ่นผมเรียนแบบนี้ครับ

    • ตัวนอก math 4 ตัว (cal 1-2,stat,discrete), bio, phys, chem, psyc, law อย่างละตัว (ตอนนี้รุ่นน้องเหลือ calc ตัวเดียว พวก bio, phys, chem ก็ไม่ได้เรียนแล้ว)

    • เรียนโปรแกรมมิ่งพื้นฐาน C, เรียนภาษา assembly ใน com org นิดหน่อยให้พอรู้จักหน้าตา (ถึงพวก brance condition) รวมไปถึง เรียน algo ด้วย

    • เรียนโปรแกรมมิ่งแบบ OOP ด้วย JAVA

    • เรียนพวก SE ต่างๆ (se, requirements, ooad, design pattern, component-based, web service, software testing, software metric etc.) โดยเน้นหนักไปด้านการทำเอกสารซะมากกว่า

    • เรียนเน็ตเวิร์ค 2 ตัว ทั่วไป กับ ไวร์เลส

    • เรียนการจัดการความรู้ (KM), e-business

    • โปรเจคต์ 2 ตัว ตัวแรก 4 เดือน ตัวที่สอง (โปรเจคต์จบ) 8 เดือน โดยจะมีบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ มาร่วมประเมินผลงานด้วย มีการแจกรางวัลด้วยนะ ตั้งแต่ของแพงอย่าง tablet ต่างๆ, smart phone รุ่นท็อป ยันไปถึงพวก ipod, ext. hdd ก็มีมากันให้พรึ่ม

    ทั้งหมด เรียนเป็นภาษาอังกฤษ สอบเป็นภาษาอังกฤษ อาจารย์ผู้สอนมีปนกันทั้งไทย ทั้งต่างชาติ (ครึ่งๆ อ่ะ แต่ปีหลังๆ จะเป็นอาจารย์ต่างชาติมากกว่า) โดยอาจารย์ต่างชาติ มักเป็นอาจารย์ที่เชิญมาจากมหาลัยที่มีชื่อเสียง เช่น strathclyde, lumiere lyon

    และเนื่องจากอาจารย์ต่างชาติเป็นอาจารย์ที่เชิญมา เราเลยมีการเรียนที่ประหลาดนิดหน่อย เพราะอาจารย์อยู่ได้ไม่นาน
    นั่นก็คือการเรียนแบบโมดูล...

    โดย 1 วิชา เรียนกันทั้งวัน เช้ายันบ่าย ติดกันทุกวัน ประมาณสองอาทิตย์ สอบมิดเทอม และปลายภาคให้เสร็จในสองอาทิตย์นี้เลย ดีเหมือนกัน ไม่ต้องอ่านหนังสือสอบเยอะๆ เหมือนสาขาอื่น แต่ตอนเรียนจะล้า เพราะโดนแบบเต็มวันติดกันทุกวัน

    • ภาพรวมเน้นการทำงานในเชิง enterprise คือเข้าใจทั้งธุรกิจ เข้าใจทั้งเทคนิค
    • แปลง business requirement เป็น software requirement ได้ อ่าน diagram ต่างๆ ออก
    • ทำเอกสารซอฟต์แวร์ได้ อย่างน้อยๆ ก็ให้ครบตาม ISO29110
    • ทำพวก project management ต่างๆ ได้ จัดการบริหารทรัพยากร บริหารความเสี่ยง
    • เรียนรู้บทบาทในการทำงานเป็นทีม ตามบทบาทต่างๆ ทั้ง PM, BSA, SA, DEV, QA etc.

    3. คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้.

    • หลักสูตรจะอ่อนด้าน programming ต้องขวนขวายกันเอง ทำให้ส่วนมาก จบมาแล้วเหนื่อยหน่อย เพราะสกิลด้านนี้จำเป็นมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำงาน (step การโตของงานสายนี้ มักเริ่มจาก dev หลีกเลี่ยงการเขียนโปรแกรมไม่ได้) คนที่ไม่ไหว มักเลี่ยงไปเริ่มงานสาย QA แทน (หรืออีกชื่อคือ tester)

    • แต่จะแข็งในแง่ภาพรวมการทำงาน เด็กสาขานี้ มักเป็นที่ชื่นชอบของบริษัท เนื่องจากเราจะมองภาพรวมออก และทำงานเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้ดี เพราะสาขานี้สอนให้เรารู้บทบาทของตัวเอง รู้บทบาทของคนอื่น ทำให้ไม่ต้องเรียนงานเยอะ เริ่มงานได้ไว

    • คนที่ไม่หัดเขียนโปรแกรมจริงจังช่วงเรียน จะมีปัญหาตอนหางานมากๆ ถ้าคิดจะเรียนที่นี่ ต้องมีวินัย บังคับตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    • ตรงครับ งานมีเยอะมาก พอปีสี่ก็มีรายชื่อบริษัทมาแปะเต็มบอร์ดให้ไปยื่นสมัครได้ตามสบายเลย ถ้าไม่เหลวไหลเกินไป ไม่ตกงานแน่นอน

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    • ผมเป็น PM + Dev ควบสองตำแหน่ง ที่เรียนมาแล้วได้เอาไปใช้จริงๆ ก็งานในส่วน PM เป็นหลัก
    • คนอื่นมักได้งานตำแหน่ง DEV ไม่ก็ QA ครับ
    • ความรู้ที่เรียน มักได้ใช้ตอนที่มีเอกสาร software ต่างๆ มาเกี่ยวข้อง plan, srs, design รวมไปการเลือกใช้และเป็นส่วนหนึ่งของทีม ใน software development methodology ที่ต่างๆ กันออกไป

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    • ยังไม่มีแพลนเรียนต่อ อยากทำงานอีกซักปีสองปีค่อยคิด
    • แต่อยากเรียนใหม่ สอบใหม่ได้คงอยากลอง เศรษฐศาสตร์ ไม่ก็ หมอ -_-" 55
    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 09:09 #499623 Reply to:499603
    PaPaSEK's picture

    มีคนที่สนใจการเรียนมากๆ ถึงระดับที่จบออกมาแล้วยังจำได้เลยว่าเรียนอะไรไปบ้าง // อย่างละกี่ตัว

    ผมอ่านแล้วโคตรละอายครับ ผมเรียนอะไรไปบ้างเนี่ย จำไม่ได้เลย (ไม่ชอบเรียน)

    By: -Rookies-
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 10:31 #499658 Reply to:499623

    +1 มาอ่านเฉย ๆ เพราะจำไม่ได้นี่แหละ -*-


    เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

    By: earthchie
    AndroidUbuntuWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 14:48 #499741 Reply to:499623

    เพิ่งจบครับ ยังไม่ได้รับปริญญาเลย 55

    By: dangsystem
    iPhoneAndroidBlackberryWindows
    on 1 November 2012 - 17:13 #499821 Reply to:499623
    dangsystem's picture

    +1 ไปซะ เหมือนกันไม่มีผิด แต่ผมพอจะจำได้ว่าเรียน ประเภทอะไรบ้าง รายละเอียดจำไม่ได้

    By: gassaz
    AndroidUbuntuWindows
    on 2 November 2012 - 06:07 #500230 Reply to:499603
    gassaz's picture

    S/W Eng วิเคราะห์และก็วิเคราะห์ๆ เป้นไดอะลอก โฟรชาร์ต และหาตอบสนองความต้องการของลูกค้า เรียนวกไปวนมา ซ้ำๆซากๆ ms sql .net java phpปฏิบัติไม่ลึกพื้นๆ เกรดปานกลางเลยลาออกจากมอ.ภูเก็ต ตอนนี้ซิ่วมาเรียนเศฐษศาสตร์การเงินแระ จะได้รู้การเคลื่อนไหวของโลก การบริหารชีวิต จะได้รุ้ทันโลก ศาสตร์ที่ไม่ธรรมดา บางทีกระดาษเช็ดก้น(วุฒิ)ไม่สำคัญเท่าประสบการณ์

    By: gift099
    Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 08:22 #499609

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    -->จบวิศวฯคอมฯ สงขลานครินทร์ ราวๆ 10 กว่าปีล่ะ

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    -->(ปัจจุบันที่ภาควิชาได้เปลี่ยนหลักสูตรใหม่)

    เนื้อหาที่เรียนในสมัยนั้น น่าจะคล้ายๆที่มหาลัยอื่นๆ

    ปี1 ก็จะเรียนเหมือนกันทุกภาควิชา ก็มีคณิต ฟิสิกส์ Shopวิศวะ เขียนแบบ แล้วก็ ภาษา C

    ปี2 ก็จะเริ่มมีวิชาพื้นฐานของภาควิชา Advance C, Software Eng, Digital, Circuit, Elec
    ซึ่งตอนนั้น ผมเพิ่งรู้จักการเขียนโปรแกรมแบบ OOP รวมถึง UML เป็นครั้งแรก ==" งงอยู่ตั้งนาน

    ปี 3 ก็ Computer Network(เรียน 3 รอบกว่าจะผ่าน), Data com, Control, Java, Assembly

    ปี 4 ก็เป็นวิชาเฉพาะมากขึ้น ลงวิชาเลือกที่สนใจ ตอนนั้นสนใจระบบมือถือ ก็เลยลงวิชาที่เกี่ยวกับ Telecom นิดหน่อย ทำให้ตอนนั้นได้รู้จัก มือถือ 3G เป็นครั้งแรก(ในระดับของงานวิจัย) ล่วงเลยมา 10 ปี เพิ่งจะมาเห็น 3G ตัวเป็นๆ
    ทำโปรเจ็คที่เกี่ยวข้องเป็นภาษา PHP

    ปี 5 เก็บตกวิชาที่ไม่ผ่าน โดยเฉพาะวิชา Computer Network ครั้งนี้เป็นการลงทะเบียนครั้งที่ 3 ความรู้ที่สะสมมีมากพอ ที่ทำให้ได้เกรด A

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    --> สั้นๆง่ายๆ คือ ใจรัก สามารถอยู่กับมันได้ตลอด ตาม technology ให้ทัน แต่ไม่ต้องซื้อทุกๆ technology(ไม่งั้นกระเป๋าแฟ๊บ)

    ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ทำงานเป็น SAP Consultant เขียนภาษา Abap
    ก็ถือว่าตรงกับที่เรียนมา แต่เพียงเป็น technology ที่เราไม่คุ้น ภาษาที่เราไม่เคยเขียน
    ก็ต้องมาเรียนรู้กันใหม่

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรา move ไปมา ระหว่างโปรแกรมภาษาต่างๆได้
    น้องๆที่กำลังเรียนอยู่หรือเพิ่งจบ
    ควรจะเพิ่มเติมความรู้ทางด้าน Business ไว้ด้วย

    เช่นพื้นฐานบัญชี ระบบการซื้อขาย ระบบคลังสินค้า logistics ต่างๆ
    ถ้าออกมาทำงานบริษัท หรือเปิด Software house ของตัวเอง ยังไงก็หนีเรื่องพวกนี้ไม่พ้น

    ตอนออกมาทำ SAP ใหม่ๆ ผมยังไม่รู้เลยว่า Debit , Credit ในทางบัญชีมันคืออะไร เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกตอนทำงานนี้แหละ เวลาคุยงานทำให้เราเข้าใจยากขึ้น

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    คงไม่เรียนต่อ
    แต่ถ้าเรียนจริงๆ คงจะออกไปทาง MBA มากกว่า

    ปล. ตั้งแต่ผมเรียนด้านคอมฯมา จะเจอคำถามสุดฮิต อย่างนึง
    -ซื้อคอมฯยี่ห้ออะไร รุ่นไหนดี
    -คอมฯ ยี่ห้อนี้ดีหรือเปล่า
    -มือถือ รุ่นนี้เป็นยังไงบ้าง

    ผมนึกในใจ (--> กรูก็ไม่รู้เหมือนกันโว้ย)

    By: narong.sa
    iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
    on 1 November 2012 - 18:50 #499903 Reply to:499609

    โดนครับโดนใจ ผมก็เปนเหมือนกัน เขียนโปรแกรมอยู่แรกๆงงอยู่ตั้งนานว่า Debit & Credit มันจะอะไรของมันนักหนา จนตอนนี้ทะลุปรุโปร่งเพราะได้ไปคุยกับคนที่ต้องใช้ของที่เราเขียนด้วยตัวเอง

    By: gift099
    Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 23:51 #500030 Reply to:499609

    ทำไม edit ไม่ได้เนี่ย
    ว่าจะแก้นิดๆหน่อยๆ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:01 #500262 Reply to:500030
    PaPaSEK's picture

    ถ้ามีคน reply คห.นั้นๆ จะแก้ไขไม่ได้ครับ

    By: Zaneter on 1 November 2012 - 08:32 #499611
    Zaneter's picture

    น่าสนใจจังเลยครับ
    แต่ยาวจัง อ่านไม่ไหวไม่หมด
    5555+

    By: JPorsh
    iPhoneWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 09:23 #499628
    JPorsh's picture

    เข้ามาเก็บข้อมูลครับ :)

    By: นักโทษประหาร
    Windows PhoneAndroidRed HatSUSE
    on 1 November 2012 - 09:37 #499634
    นักโทษประหาร's picture

    ผม จบ ปวช. ไฟฟ้า

    ตอนนี้ทำงานเป็นแบบ part time Consult Senior Director System Management & Data Business Process ณ บริษัทแห่งนึง ทั้งใน และ ต่างประเทศ

    งานประจำ เป็น ผู้ช่วยผู้จัดการ ด้าน Sale Business Solution I.T. ครับ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 11:08 #499685 Reply to:499634
    PaPaSEK's picture

    ขอแซวตำแหน่งหน่อยครับ

    ยาวเป็นผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์เลยครับ

    By: games2532
    ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
    on 1 November 2012 - 10:59 #499681

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด
    จบ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรนานาชาติ พระจอมเกล้าลาดกระบังครับ (ตอนนี้ปิดสาขานี้ไปแล้ว)

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง
    ก็จะคล้ายๆกับทางภาคปกติ ของวิทยาการคอม ภาคภาษาไทยเลยนะครับ แต่ว่าจะลงในเรื่องทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ซะมากกว่า ทั้งในเรื่องโปรแกรมมิ่งเบื้องต้น ภาษาคอมต่างๆ OS Network และอื่นๆ

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้
    ตั้งใจสถานเดียวครับ จริงๆเป็นเรื่องที่ไม่ยากครับ ถ้าหากเราตั้งใจจะเรียนรู้กับมันครับ

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า
    ได้ครับ ทำงานเป็น Functional Specialist ดูแลเรื่อง functional Business workflow ของลูกค้าด้าน HR ครับ

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง
    ก็จะได้ในเรื่องของ Logic โปรแกรมมิ่ง และก็เรื่อง Database ส่วนที่เหลือก็เป็นเรื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละอย่างครับ

    และที่เพิ่มเติมก็คือในเรื่องของ business workflow เพราะลูกค้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราก็ต้องมีไหวพริบในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยครับ (ซึ่งมันเรียนรู้ได้)

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่
    ใจอยากไปสายใหม่นะครับ อยากไปด้าน Sys admin ไม่ก็ Network Admin ประมาณนั้น แต่ตอนนี้สนุกกับงานอยู่ครับ

    By: เดวิลแมน on 1 November 2012 - 11:16 #499686

    อยากตอบนะ แต่มันเลยมาไกลแล้ว T_T

    By: natthavat28
    iPhoneWindows PhoneAndroidIn Love
    on 1 November 2012 - 11:23 #499690

    Q.จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า
    A. จะว่าตรงก็ตรงแต่ไม่ทีเดียวครับ ผมตบ IT คณะวิทยา จาก ม.กรุงเทพ เน้นเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีหลายๆอย่างมาผนวกกันเพื่อให้ได้ Solution ที่ต้องการ เป็นสายที่ไม่เน้นการเขียนโปรแกรม หรือ กราฟฟิค แต่จะให้เรียนแบบกว้างๆ พื้นฐานเขียนโปรแกรมเป็นยังไง พื้นฐายกราฟฟิค เป็นยังไง Network พื้นฐานเป็นยังไง ให้รู้ทุกอย่างแบบกว้างๆไว้ แต่ไม่เจาะลึกครับ

    Q.ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง
    A. ทุกวันนี้ผมทำเป็น Programmer อยู่ CSI Groups ความรู้ที่เรียนมาก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ครับ
    - ผมรู้ด้าน กราฟฟิค, ออกแบบ ทำให้รู้ว่า การโคงานกับคนออกแบบ ต้องคุยอะไร เขาอยากได้อะไร เราอยากได้อะไร
    - ผมรู้ด้าน Network ทำให้สามารถวิเคราะห์ในงานได้หลายๆอย่าง เช่น ระบบที่ผมเขียน มันช้า ช้าเพราะ Network หรือช้าเพราะระบบผมเขียนไม่ดีเอง หรืออยู่ดีๆ ระบบผมแจ้งว่า ติดต่อ Server ไม่ได้ อาจเพราะ Server เขาอยู่ดีๆ Lan หลุด Network ล่ม อะไรแบบนี้
    - รู้ด้าน Hardware ทำให้สามารถ บอกได้ว่า Spec คอมขั้นต่ำในการทำ Server/Client ต้องใช้ระดับไหนมั่ง

    โดยรวมคือ การนำมาใช้งานอยู่ที่ตัวคนมากกว่า ว่าจะนำมาใช้ได้แค่ไหนด้วยครับ อยู่ที่ประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่ แต่พื้นฐานตอนเรียนจากมหาลัยก็สำคัญเพราะถือเป็นการตั้งต้นว่า เราจะเก็บประสบการณ์เน้นด้านไหนก็ดูจากสิ่งที่เรารู้ และเข้าใจในด้านนั้นเป็นหลักครับ

    Q.คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่
    A. สำหรับผม ผมเรียนด้านนี้มาแล้ว ก็ต้องถามกันต่อว่าอนาคตผมอยากต่อด้านนี้หรือไปด้านใหม่ๆบ้าง สำหรับผม ผมอยากไปเรื่องอื่นๆมั่งครับ ผมติดนิสัยอยากรู้อะไรกว้างๆ อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้อง รู้ไว้ อาจจะเอามาใช้งานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเลยครับ เพราะงั้นคำตอบข้อนี้คือ ไปสายใหม่ แน่นอนครับ

    By: EngineerRiddick
    iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
    on 1 November 2012 - 11:33 #499697
    EngineerRiddick's picture

    เป็นComEngineer

    skillไปทาง Programming+Network / ก่ะงานศิลปะ

    ......ช่วงแรกที่จบมาใหม่ๆไปเป็น System Engineer ออกแบบระบบbandwidth แต่หลังๆค้นพบว่า เวลาไปsiteลุกค้ามันต้องเอาเงินตะเองสำรองจ่ายไปก่อนแล้วผมหมุนเงินม่ะทันจ่ายค่าฟิตเกอร์เลยหันเหกลับไปcodeแทนเพื่อจะได้ม่ะต้องไปสำรองจ่ายเงินค่าเดินทางก่อนอีก...

    ....ต่อมาstop อายุตัวเองไว้ที่ 23ขวบปี.....หันมาจับงานdesignก่ะcodeing ซึ่งเอาความรู้ที่สะสมมาข้างต้นไปสร้างstudioเล้กๆของตัวเองไว้ทำงานที่ชอบที่รัก หลักเลิกงานไว้รับลูกค้่าที่ งงๆหลงเข้ามา.

    ส่วนเรื่อง เรียนต่อ ก็ต้องสาขาเดิมตัวเองอยู่แล้ว=v=)b

    [ถ้าstudioมีเงินเข้าเยอะๆอยากเอาไปเปิด Maid Cafeจัง.....]

    By: jeno
    iPhone
    on 1 November 2012 - 11:42 #499699
    jeno's picture

    Comment นี้อาจจะยาว(มาก) แต่อยากให้น้องๆ ทั้งที่อยู่ระดับชั้นมัธยม หรือแม้กระทั่งสายอาชีวะ และที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย พยายามอ่านให้จบ เนื่องจากผมเองเคยอยู่ในฐานะของผู้สมัครงาน ไปจนถึงเป็นผู้ที่สัมภาษณ์คัดเลือกบุคลากรเข้ามาในองค์กร จึงอยากฝากข้อคิดของผมซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยเอาไว้ ณ ที่นี้

    1. กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    เรียนจบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)

    2. เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง

    แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ วิชาภาคบังคับทั่วไป (ภาษาอังกฤษ, จิตวิทยา, etc.), วิชาวิศกรรมพื้นฐาน (แคลดูลัส, ไฟฟ้า, เคมี, อิเล็กทรอนิค, แอลเซ็มบลี, เขียนแบบ, etc.) และวิชาด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานไปจนขึ้นสูง

    ในส่วนด้านคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น การเขียนโปรแกรม (ซึ่งมีหลายระดับ หลายภาษา), วิชาด้านฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์ (เน้นพื้นฐาน หากจะลงลึกต้องเลือกเป็นวิชาเลือก), วิชาด้านระบบปฏิบัติการ, วิชาด้านระบบเครือข่าย (เช่นกันเน้นพื้นฐาน หากจะลงลึกต้องเลือกเป็นวิชาเลือก), วิชาด้านระบบฐานข้อมูล (Database) และสุดท้ายคือวิชาโครงงานโปรเจค

    วิชาที่ผมใช้ความสนใจและลงวิชาเลือกเพิ่มคือวิชาด้านระบบเครือข่าย เนื่องจากตอนชั้นปีหนึ่ง (ช่วงรับน้อง) ได้มีรุ่นพี่แนะนำว่าเป็นสายวิชาที่ดีที่สุดที่สถาบันนี้เปิดสอน ซึ่งก็ไม่ผิดหวังเพราะได้ให้พื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในสายงานนี้ต่อไป

    3. คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    เรื่องแรกไม่เกี่ยวกับการเรียน แต่คือการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย อยากให้คบเพื่อน คบรุ่นพี่ สนิทสนมกันไว้ วงการไอทีนั้นแคบมาก และเพื่อนพี่น้องนั้นจะช่วยเกื้อหนุนกันอย่างดียิ่ง
    ผมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อนึ่งเนื่องจากความคิดส่วนตัวที่เคยผิดพลาดมาก่อน (สอบเอ็นทรานส์ไม่ติด) จึงอยากเรียนให้จบไวๆ ทำงานไวๆ จึงพยายามเร่งลงวิชาทั้งหลัก ทั้งรองเพิ่มเติมแบบไม่รอเพื่อนฝูง ทำให้เมื่อจบออกมาแล้วแทบจะไม่ได้เพื่อนฝูง หรือรุ่นพี่ รุ่นน้องมาจากมหาวิทยาลัยเลย

    เรื่องที่สองคือการเลือกสาย ในคณะ/สาขาไอทีนั้นสามารถแบ่งสายได้ง่ายๆ ตามสายอาชีพการทำงาน เช่น Programmer, System Analysis, System Engineer, Network Engineer และอื่นๆ ที่ผมไม่ได้กล่าวถึง
    ทั้งนี้ แต่ละสายอาชีพ ใช้ขีดความรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และความรู้เสริมรอบตัวแตกต่างกัน
    เช่น Programmer แน่นอนว่าต้องการความเชี่ยวชาญ และแม่นยำในการเขียนโปรแกรม อื่นๆ ที่แนะนำคือเป็นคนอดทน มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบทำงานนั่งโต๊ะ และภาพในฝันคือเป็นเจ้าของกิจกรรม Develop ระบบ software ขายเอง เช่นนั้น สายนี้เหมาะกันคุณ (ขอข้าม SA นะครับ)

    System Engineer และ Network Engineer นั้นเป็นสายที่คล้ายกัน ควรเน้นความรู้พื้นฐานในมหาวิทยาลัยคล้ายกันที่ต่างก็คือ ต้องเป็นนักล่า Certificated อย่ารอจนเรียนจบแล้วค่อยไปสอบ Cert เพราะคนที่คิดแบบผม คือสอบ Cert ได้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษามีอยู่มาก และบริษัทมีเกณฑ์ที่จะพิจารณารับผู้สมัครที่มี Cert ค่อนข้างมาก
    ดังนั้น ผมที่อยากจบแล้วทำสาย SE และ NE จึงควรออกตัวเร็ว อย่ารอช้า

    เรื่องที่สามคือการฝึกงาน ตรงนี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากตัดสินใจเลือกสายที่อยากทำอาชีพไว้ตั้งแต่แรก การฝึกงานจะช่วยเสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ยังไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง
    ผมได้ลงฝึกงานแบบสหกิจศึกษา (ฝึกงาน 1 เทอมเต็ม) เนื่องมาจากเรียนเร็วและไม่อยากลงเรียนวิชาเลือกเสรี ในการฝึกงานนั้นเป็นประโยชน์ต่อผมอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน
    ในการเลือกสถานที่ฝึกงาน น้องๆ มักจะเลือกจากหลายปัจจัยแตกต่างตามรสนิยม เช่น เลือกตามเพื่อน เลือกไปฝึกที่ๆ มีคนรู้จักอยู่แล้ว เลือกบริษัทใหญ่ เลือกใกล้บ้าน เป็นต้น

    ความคิดเห็นส่วนตัว ผมให้ความสำคัญของการฝึกงานๆ รองลงมาจากการเรียนรู้วิชาสายคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นเวลาที่คุณจะได้รู้ไว้ สิ่งที่เรียนมาทั้งหมดอะไรบ้างที่ใช้ประโยชน์ได้จริง อะไรบ้างที่จะไม่ได้ใช้

    ฉะนั้นจะฝึกงานที่ไหน ก็ขอให้เป็นสถานที่ๆ ได้เรียนรู้ ส่งเสริมประสบการณ์ต่อสายงานที่จะเลือกทำอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งตัวคุณ และ Resume/CV ในการสมัครงานนั้นจะสวยงามก็ต่อเมื่อคุณได้อธิบายว่าฝึกงานอะไรมา มากกว่าจะโชว์ชื่อบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น

    สิ่งที่ผมภูมิใจคือได้มีโอกาส Training และให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่น้องๆ ที่เคยเข้ามาฝึกงานกันผมในอดีต เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะยังอยู่ใน Blognone เพราะได้แนะให้อ่าน Website แห่งนี้ด้วย

    4. จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ได้ทำงานตรงสายครับ จุดเริ่มต้น ขอย้ำว่ามาจากการฝึกงานอีกครั้ง เนื่องจากช่วงฝึกงานนั้นสามารถทำได้ดี บริษัทจึงรับเข้าทำงานต่อเนื่องในทันที

    ตรงนี้อยากให้ความรู้เพิ่มเติม เรื่องประเภทของบริษัท IT ครับ แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น บริษัทเอกชนทั่วๆ ไป ถ้ามีแผนก IT จะเรียกว่าทำงานสายผู้ดูแลระบบ ซึ่งมีชื่อเรียกตำแหน่งหลายแบบ เช่น System Admin, System Engineer บริษัทในประเภทนี้มีหลายแบบมาก ตั้งแต่ภาคเอกชน และภาครัฐ ไปจนถึงธนาคารต่างๆ

    บริษัทประเภทขายระบบ IT หรือที่เรียกกันติดปากว่า SI (System Integrator) มักจะรับบุคลากรตรงสายที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว แต่ก็มีไม่น้อยที่รับเด็กจบใหม่ อย่าที่เคยแนะนำ ถ้ามี Cert จะเป็นตัวช่วยได้ครับ ตำแหน่งมีตั้งแต่ Network Engineer, Specialist ด้าน ต่างๆ เช่น Microsoft Specialist, Database Specialist ไปจนถึง Pre-sales Engineer

    บริษัทประเภท Distributor คือผู้นำเข้า และขายของต่อให้ SI อีกทีหนึ่ง มีน้อยมากที่รับเด็กจบใหม่ เนื่องจากนอกเหนือไปจากการทำงานกับระบบ IT แล้วยังต้องมีงานเอกสาร และงาน Training ควบคู่ไปด้วย จึงต้องการคนที่มีประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญที่สุดคือ Distributor จะต้องการผู้มีเรียนรู้ได้เร็ว
    ตำแหน่งงานจะเหมือน SI แต่เพิ่ม Presales และ Consultant เข้าไปในชื่อตำแหน่งครับ

    บริษัทประเภท Vender คือผู้ผลิตหรือพูดง่ายๆ คือเจ้าของแบรนด์ เช่น Google, Microsoft, IBM, HP, Cisco, Oracle และอื่นๆ ซึ่งมีทั้งใหญ่ กลาง เล็ก แต่ส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ skill ภาษาอังกฤษ ส่วนอื่นๆ ที่เหลือ คือประสบการณ์ล้วนๆ ครับ

    ผมได้มีโอกาสเริ่มต้นจากการเป็น System Engineer ในแผนก IT ทำงานดูแลระบบทั่วๆ ไป จากนั้นผันไปเป็น Network Engineer ในบริษัท SI ตามความชอบและความถนัด จากนั้นย้ายไปเป็น Pre-sales Network Consultant ซึ่งเจาะจงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเป็น Country Manager ประจำเป็นประเทศไทย ของ Vender เล็กๆ แห่งหนึ่งครับ

    5. ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    ความรู้ด้านระบบเครือข่าย ที่ผมสนใจมาตั้งแต่ปีหนึ่งนั้นช่วยได้มาก นอกจากนั้นความรู้เสริมที่หาได้เพิ่มเติมจากโลกอินเทอร์เน็ต ก็สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ร่วมงานได้เช่นกัน อาทิเช่น ความรู้ในการค้นหา Google ได้คล่องแคล่ว, ความรู้ด้าน Linux LAMP MySQL, ความรู้ด้าน Photoshop และความรู้ด้านการใช้งาน MS Visio

    สิ่งสำคัญคือ เราหาความรู้ในโลกไอที นอกรั้วมหาวิทยาลัย ได้มากกว่าสิ่งที่หลักสูตรมีหลายเท่านั้น หากคุณรู้ว่าต้องการจะไปทำงานสายไหน บริษัทประเภทอะไร คนที่เริ่มต้นก่อน เก็บความรู้สั่งสมไว้ก่อน ย่อมได้เปรียบ

    6. คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    ส่วนตัวแล้ว ไม่สนับสนุนให้รีบเรียนต่อในช่วง 3 ปีแรก เนื่องจากอาจยังไม่ค้นพบตนเอง
    หากคุณเก่ง เชี่ยวชาญในสายงานแล้ว ทำงานไป 3 ปีจะเริ่มมองเห็นเส้นทางในการก้าวหน้าในอาชีพการทำงานสายนั้นๆ ทำให้แต่ละคนใช้โอกาสในการเรียนต่อได้แตกต่างกัน

    อาทิเช่น หากเทพแล้ว เก่งแล้วในสายที่ตนทำ อาจเลือกต่อโท เพื่อเพิ่มความรู้ให้กว้างขึ้น แต่กลับกันหากว่ายังไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ แล้วไปต่อโท ต่อยอดสายวิชาเดิมๆ นั้นก็เป็นสิ่งที่ดีมี่ควรทำ

    เนื่องจากเด็กๆ ยุคใหม่เก่งขึ้นเรื่อยๆ คนยุคเก่าๆ อย่าผมก็ต้องขวนขวายเช่นกัน การเรียนต่อนั้นจึงเป็นทางลัดที่หลายๆ คนเห็นว่าจะช่วยให้เพิ่มฐานเงินเดือนได้สูงขึ้น

    ในฐานะที่เป็นคนพิจารณารับสมัครงาน อยากแนะนำด้วยความเห็นส่วนตัวว่าไม่จริงเลยครับ ผมให้เงินเดือนตามขีดความสามารถและประสบการณ์ของคุณ ไม่ใช่ใบปริญญา ในหลายๆ โอกาส การถือ Certificated ที่ยากๆ นั้นยังมีน้ำหนักมากกว่าใบปริญญาเสียอีก ดังนั้น การเลือกจะเรียนต่อควรพิจารณาให้รอบคอบนะครับ

    สุดท้ายนี้อยากฝากถึงน้องๆ ทุกคนว่า สายไอทีเป็นวงการที่มหัศจรรย์ ซึ่งมาจากการที่ผมเรียนรู้ว่า สถาบันฯ ไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง แต่เป็นตัวคุณเองและสิ่งที่คุณมีความสามารถต่างหาก คือสิ่งที่องค์กรอยากจะเห็น และจะยอมรับคุณเป็นส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะได้เรียนที่ไหน เล็ก ใหญ่ ชื่อเสียงนั้น ไม่ใช่ปัจจัยครับ ถ้าอยากก้าวหน้าในวงการไอที ต้องสู้ครับ เรียนรู้ครับ แล้วผลลัพธ์นั้นจะเกิดขึ้นกับคุณแน่นอน

    ขอบคุณครับ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 15:12 #499751
    PaPaSEK's picture

    ขอลุงบ้าง

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    จบมานานแล้วจากบางมดครับ คณะ IT สาขา IT management (ต่อเนื่อง)

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    ปีหนึ่งก็มีเรื่องโครงสร้างข้อมูล สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ปีสองก็แยกสาย ผมไปอยู่ในสายบริหาร ก็มีเรื่องเกี่ยวกับการจัดการโปรเจ็ค และการประยุกต์ใช้ไอทีกับองค์กร ... ขออภัย จำได้แค่นี้

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    คุณควรเรียนอย่างผู้ต้องการความรู้ อย่าเรียนแบบผู้ต้องการใบปริญญา ไอ้พวกที่ลอกการบ้านเพื่อน เรียนแล้วไม่เข้าใจอะไรเลย เขียนโปรแกรมทำไม ตั้งค่าตัวแปรทำไม ติดตั้งโปรแกรมก็ยังไม่เป็น ฯลฯ มันน่าละอายครับ

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    จะว่าตรงก็ตรง จะว่าไม่ก็ไม่ เพราะผมทำงานจับฉ่ายมาก แต่หน้าที่หลักคือเขียนโปรแกรมครับ

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    ถ้าพูดถึงเรื่องงานตรงสาย ก็คงมีแค่เรื่องการทำแผนต่างๆ แค่นั้น ... อย่างผมศึกษาเทคโนโลยี และการเขียนโปรแกรมสัก 90% ด้วยตัวเอง ผมก็จะเอาสิ่งที่ผมมีมาใส่ในเนื้องาน ด้วยความที่บริษัทผมเป็นบริษัทที่ใหม่ปลายๆ ไม่มีใครมาจับเรื่อง IT ที่สนับสนุนการทำงานอย่างจริงจัง ผมก็เลยมีโอกาสได้ "ทดลอง" บ่อยๆ

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    บอกตรงๆ ว่าเกลียดการเรียนแบบในห้องเรียนมากครับ จริงๆ อยากไปเรียนโทเกี่ยวกับอะไรที่มันลึกๆ อย่างระบบปฏิบัติการ หรือไม่ก็ทางด้านเน็ตเวิร์คอะไรแนวนั้นมั้ง แต่อยากได้ความรู้ ไม่อยากเข้าห้องเรียน ไม่อยากได้ใบปริญญา ที่สำคัญคือไม่อยากเสียเงิน

    ขอฝากน้องๆ ที่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ว่า กรุณาทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างข้อมูลให้แน่น อีกอย่างคือเรื่องของ OOP ระดับพื้นฐาน

    เบื่อมานั่งเปิดคอร์สวันเดียวสอน OOP มากๆ /// collection คืออะไรคะ ตัวแปรแต่ละชนิดต่างกันยังไงคะ ทำไม index เริ่มที่ 0 คะ

    By: -Rookies-
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 16:27 #499787 Reply to:499751

    นั่นสิ ทำไม index เริ่มที่ 0 จะเริ่มที่ 1 ให้ปวดหัวน้อยลงไม่ได้รึไงฟระ ผมไม่รู้จริง ๆ นะ


    เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

    By: figgaro
    ContributorAndroidWindows
    on 1 November 2012 - 16:47 #499797 Reply to:499787
    figgaro's picture

    เมื่อก่อนหน่วยความจำมันแพงครับ เลยต้องใช้ให้คุ้มค่า ^ ^


    Texion Business Solutions

    By: Perl
    ContributoriPhoneUbuntu
    on 1 November 2012 - 16:46 #499798 Reply to:499787
    Perl's picture

    1 มันก็ Select ไปแล้วสิครับ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 19:31 #499925 Reply to:499787
    PaPaSEK's picture

    สาเหตุคือเวลาที่เราอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำที่ address แรก มันเป็น address ที่ 0 ไงครับ

    แล้วทำไม address แรกของหน่วยความจำไม่เป็น address ที่ 1?

    หึหึหึ

    /me: ล้มโต๊ะใส่ตัวเอง

    By: neizod
    ContributorTraineeIn Love
    on 2 November 2012 - 00:13 #500045 Reply to:499925
    neizod's picture

    เพราะ pointer เวลาชี้ไปที่ array มันจะไปจิ้มโดน element ตัวแรกพอดีครับ เช่น

    int someList[] = {4, 8, 15, 16, 23, 42};
    int someValue = *someList;
    printf("%d\n", someValue);
    

    ตอนเรียกดูค่าของ someValue จะได้ 4 ออกมา ซึ่งก็คือตัวแรกของ array นั่นเอง

    ส่วนไอ้ตรงที่เราเรียกกันว่า index นั้น ที่จริงมันคือการเลื่อน pointer ไปในตามขนาดของ element แต่ละตัวใน array ครับ ลอง

    int someValue = *someList + 2 * sizeof(int);
    printf("%d\n", someValue);
    

    จะเห็นว่าได้ค่าออกมาเหมือนกับ someList[2] นั่นเอง

    By: narok119
    ContributoriPhone
    on 2 November 2012 - 00:19 #500072 Reply to:500045

    ผมจำได้ว่าคุณเนยสดเรียน math มา แต่ไหงรู้เรื่อง programming ลึกมากขนาดนี้ละ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:05 #500266 Reply to:500072
    PaPaSEK's picture

    เนยสดเป็นอีกคนนึงที่ผมนับถือในความเป็น "ผู้ใฝ่ศึกษา" ครับ

    /me: 1 จอกแด่เนยสด

    By: -Rookies-
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 02:24 #500168 Reply to:500045

    คิดว่าผมจะเข้าใจเหรอครับ ประเมินผมสูงเกินไปแล้ว!!

    /me ล้มโต๊ะใส่ PaPaSek อีกตัวนึง


    เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:13 #500274 Reply to:500045
    PaPaSEK's picture

    ขออธิบายต่อจากเนยสดอีกนิดนึง

    คือในมุมมองของคนมักมองว่าเลข 0 มันไม่มีค่า เคยหัดนับแต่ 1 เป็นต้นไป แต่ขอให้เข้าใจว่า

    ตำแหน่งที่ 0 กับค่า 0 เป็นคนละเรื่องกัน

    ต้องอธิบายต่อด้วยภาษาอังกฤษ ถ้าใช้ภาษาไทยแล้วจะสับสนกับคำว่า "หนึ่ง"

    First memory address pointer is 0 ซึ่ง First memory address pointer มีชื่อเล่นว่า index

    ถ้าใช้ภาษาไทยแล้วเพื่อนๆ ผมจะงง -> ตำแหน่งที่หนึ่งคือศูนย์ ....... หนึ่งคือศูนย์ -> งง

    ถ้าจะให้ดูดีอีกนิดนึงคงแปลได้ประมาณว่า index ตัวแรกคือ 0

    อธิบายได้ดีแค่นี้ /me: วิ่งปาดน้ำตาออกไป

    By: -Rookies-
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 10:16 #500324 Reply to:500274

    จริง ๆ ผมก็เข้าใจแล้วล่ะครับ นึกว่ามีเหตุผลอะไรลึกซึ้งมากกว่านี้อีก (เช่นมันถูกบังคับด้วยกลไกทางฟิสิกส์ของฮาร์ดแวร์อะไรแบบนี้) ขอบคุณทั้งสองท่านที่พยายามอธิบาย

    /me วิ่งไปตาม PaPaSek กลับมา


    เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

    By: mr_tawan
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 2 November 2012 - 11:02 #500370 Reply to:500324
    mr_tawan's picture

    เอางี้ละกันครับ ... (โค๊ดอาจจะไม่คอมไพล์นะ เอาแค่ดูรู้เรื่อง)

    ถ้าเรามี

    int[] arr = {1,2,3,4,5};

    int* ptr = arr;

    • arr[0] จะเท่ากับ *(ptr+0)
    • arr[1] จะเท่ากับ *(ptr+1)
    • arr[2] จะเท่ากับ *(ptr+2)
    • arr[3] จะเท่ากับ *(ptr+3)

    ก็ประมาณว่าเป็นการลดการทำงานของตัวคอมไพล์เลอร์ ไม่ต้องมานั่ง -1 หรืออะไรก็แล้วแต่

    ปล. ผมมั่วนะ บอกก่อน ไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้ 555


    • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
    By: deaware
    iPhoneAndroidRed HatUbuntu
    on 2 November 2012 - 11:34 #500387 Reply to:500045
    deaware's picture

    int someValue = *someList + 2 * sizeof(int);
    printf("%d\n", someValue);
    จะเห็นว่าได้ค่าออกมาเหมือนกับ someList[2] นั่นเอง จากที่คุณ neizod กล่าวไว้

    ผมว่าตรงนี่น่าจะผิดนะครับ ค่าที่ออกมาได้จะเท่ากับ 12 ค่าไม่ใช่เท่ากับ someList[2] ซึ่งเท่ากับ 15

    เนื่องจากที่เขียนมา *someList + 2 * sizeof(int); มันไม่ใช่การเลื่อน address ครับ

    เป็นการนำค่าในตำแหน่งที่ someList อยู่มาบวกด้วย 2 * sizeof(int) ดังนั้นจะเป็น 4 + (2 * 4) = 12

    เพิ่มหน่อยนะครับ

    ถ้าจะเลื่อนน่าจะต้องเป็นแบบนี้มากกว่าครับ

    int someValue = *(someList + 2);
    จะเป็นการเลื่อน index ครับและขนาดของการเลื่อนก็เท่ากับ integer อยู่แล้ว

    By: mr_tawan
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 2 November 2012 - 11:55 #500408 Reply to:500387
    mr_tawan's picture

    ครับ สำหรับ ptr เวลาที่ทำการเพิ่ม/ลดค่า มันจะเพิ่ม/ลดด้วยจำนวน*ขนาดของ type อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องคูณด้วย sizeof ครับ


    • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
    By: neizod
    ContributorTraineeIn Love
    on 2 November 2012 - 13:52 #500482 Reply to:500387
    neizod's picture

    จริงด้วยครับ ผมเบลอเอง 55+

    By: neizod
    ContributorTraineeIn Love
    on 1 November 2012 - 23:43 #500017 Reply to:499787
    neizod's picture

    หลายภาษาก็เริ่ม index ที่ 1 ครับ อย่างเช่น VB, blockly

    หลายภาษา แทบจะไม่มี index (หรืออาจจะมี แต่การเรียก index มันไม่ encourage เอาเสียเลย) เช่น haskell ครับ -- เวลาจะใช้ตัวแรกก็สั่ง head someList แทน ถ้าต้องการใช้ตัวในๆ หน่อยก็ต้องวนเข้าไปแบบนี้หลายรอบเอา

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:06 #500267 Reply to:500017
    PaPaSEK's picture

    ห้ามนับ VB6 กับ QBASIC นะ -*-

    By: mr_tawan
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 2 November 2012 - 11:08 #500373 Reply to:500017
    mr_tawan's picture

    ภาษาสมัยใหม่ ถ้าไม่ได้เป็นการพัฒนาจากภาษาเก่า ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ 1-index ครับ (บน C จะเรียกว่า zero index) ซึ่งมันช่วยให้ไม่มือใหม่ไม่งง (แต่มือเก่ากลับงงแทน)

    คุ้น ๆ ว่า python ใช้ 1-index นะ จำไม่ได้


    • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
    By: -Rookies-
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 15:39 #500543 Reply to:500373

    Python ก็ใช้ 0-index ครับ


    เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

    By: arare
    iPhoneWindows
    on 2 November 2012 - 04:14 #500210 Reply to:499787

    edited comment เก่าทิ้ง

    ขอตอบใหม่ ไปอ่านเจอมาว่าเป็นเพราะการนับindexใช้การoffset array เพราะงั้น index ตัวแรกจะมีoffsetเท่ากับ0

    By: kswisit
    ContributoriPhoneAndroidIn Love
    on 1 November 2012 - 19:49 #499935 Reply to:499751

    ต่อเนื่องโคตรหล่อ ต่อเนื่องโตรหล่อ
    โคตรหล่อ มาอยู่ต่อเนื่อง ใครว่าก็ไม่เคือง
    เพราะต่อเนื่องโคตรหล่อ

    เพลงเดียวป่าวเอ่ย ลูกพระจอมฯ


    ^
    ^
    that's just my two cents.

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:14 #500278 Reply to:499935
    PaPaSEK's picture

    คณะผมไม่เห็นใครร้องเพลงนี้นะ ... อาจเป็นเพราะไม่มีจริงๆ หรืออาจเป็นเพราะวันๆ ผมเอาแต่นอนอยู่ริมบ่อน้ำก็เป็นได้

    By: kswisit
    ContributoriPhoneAndroidIn Love
    on 2 November 2012 - 13:45 #500474 Reply to:500278

    สงสัยมีที่ลาดกระบังที่เดียว


    ^
    ^
    that's just my two cents.

    By: McKay
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 18:06 #500629 Reply to:500474
    McKay's picture

    ต่อเนื่องมีพวกเชียร์ Hey Hey Ha Ha กับ เพลงสถาบัน หรือเปล่าครับ


    Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
    someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 18:34 #500648 Reply to:500629
    PaPaSEK's picture

    ของผมมีบ้างครับ เพราะรุ่นพี่ตอน ป.ตรี มันก็รุ่นพี่ตอน ปวส นี่แหละ

    By: torpedo on 2 November 2012 - 15:33 #500540 Reply to:499935

    เอ๊ะเพลงนี้คุ้นๆ เหมือนเคยได้ยินสมัยหนุ่มๆ

    By: kswisit
    ContributoriPhoneAndroidIn Love
    on 2 November 2012 - 21:44 #500739 Reply to:500540

    ไอ่เสืออออ ;)


    ^
    ^
    that's just my two cents.

    By: jinxplay
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 1 November 2012 - 15:55 #499758
    jinxplay's picture

    1.กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    จบตรี Com Sci นานาชาติมหิดล และกำลังต่อโท Com Sci (อีกแล้ว) ที่จุฬาฯครับ

    2.เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    ที่มหิดลจะเรียนวิชาทั่วไปประมาณ 2 - 3 เทอม (ระบบ trimester ก็คือ ปีละ 3 เทอม) และจะเน้นเรียนวิชาคอมฯและคณิตหลังจากนั้นครับ

    วิชาคอมฯ จะค่อนข้างกว้าง มีตั้งแต่ Computer Architechture, Data Structure & Algorithm ไปถึง Mobile Application และ Computer Graphic -- วิชาที่เป็นทฤษฎีมักจะใช้คะแนนสอบ ส่วนวิชาที่เป็นประยุกต์จะเน้นโปรเจ็คครับ

    3.คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    ในสายนี้การค้นคว้าพัฒนาตัวเองเป็นเรื่องสำคัญครับ เพราะว่ายังเป็นสายที่ใหม่และตัวเทคโนโลยีพัฒนาเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ -- และก็ อยากให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารครับ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำงานเป็นทีม และ ติดต่อลูกค้า

    ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ลองทำโปรเจ็คอะไรสักอย่างขึ้นมาครับ เขียนแอป ทำเว็ป ขายของ ฯลฯ ส่วนตัวคิดว่าการมีผลงานไปโชว์ทำให้คนเห็นฝีมือเราได้ง่ายขึ้นครับ

    4.จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    เรียนมากว้าง ก็เลยเรียกว่าตรงได้ครับ เป็น Application Analyst คล้ายๆกับเป็นคนเขียนและดูแลโปรแกรมให้คนภายในบริษัทใช้

    5.ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    อยากบอกว่าทุกด้านเลยครับ เพราะสุดท้ายที่เรียนๆมามันก็ประกอบขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์และตัวระบบ การที่เรารู้ว่าแต่ละชิ้นส่วนทำงานร่วมกันยังไงทำให้ผมเข้าใจถึง impact ของงานที่ทำ และเข้าใจถึงข้อจำกัดครับ

    6.คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    ขณะนี้กำลังต่อปริญญาโทในสายเดิมอยู่ครับ ไม่รู้เหมือนกันว่าตัดสินใจถูกมั้ย

    By: touchy
    AndroidWindows
    on 1 November 2012 - 16:11 #499772
    touchy's picture

    *กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering) ตอนนี้อยู่ปี 3

    (ตอนนี้ได้มีการเปลี่ยนหลักสูตรแล้วนะครับ ที่ผมเรียนเป็นหลักสูตรของปี 52)

    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง * เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด) ถ้ามองจากชื่อของหลักสูตร วิศวกรรมสารสนเทศ ผมว่าทุกคนต้องมีข้อสงสัยแน่นอนว่าไอ้ ภาคนี้มันเรียนเกี่ยวกับอะไร จากการที่ผมได้เรียนมา 1ปีผมพอจะเข้าใจคร่าวๆว่า ภาคผมคือ”ล่าม” ระหว่าง software(SW) และ hardware(HW) หรือ interface การที่สองส่วนจะคุยกันได้มันต้องมีตัวกลางและตัวกลางนั้นก็คือสิ่งที่ผมเรียน

    ในวิชาที่เรียนจะมีทั้ง programming, micro controller, database, software engineering, principle of communication, network,data communication, coding and theory, digital and system design,OS, data structure

    *คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    บางคนคิดว่าภาคนี้คล้ายๆ it แต่จริงๆแล้วมีเรียนด้าน electronic ด้วยนะครับและวิชาทางด้วยวิศวกรรม และ controller

    *จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    อันนี้ยังไม่ทราบครับ เพราะยังเรียนไม่จบ แต่จากที่รุ่นพี่ที่จบไปก็ได้ทำงานหลายรูปแบบนะครับ

    *อื่นๆ ส่วนตัวแล้วไม่ชอบหลักสูตรใหม่เท่าไรนะครับเพราะตัดในส่วนของ hw ออกไปเยอะเน้นไปทาง sw เป็นส่วนใหญ่

    By: dangsystem
    iPhoneAndroidBlackberryWindows
    on 1 November 2012 - 17:38 #499841
    dangsystem's picture

    จบจาก ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์

    เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเดียวกับ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีเรียน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ วิทยาศาสตร์ แต่มีเรียนวิชาครู และบริหารการศึกษาแทน

    มีเรียน เขียนโปรแกรม 1 turbo c++ | เขียนโปรแกรมชั้นสูง vb6, c#, java | ฐานข้อมูล dbase, access, mysql | ไมโครคอลโทรเลอร์ single board (จำ CPU ไม่ได้), MCS51(ฝึกสอน) | แคลคูลัส ฯลฯ

    สำหรับคนที่ ไม่เก่ง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่ชอบเรียน คอมพิวเตอร์ แนะนำครับ

    ได้งานไม่ตรงสายครับ เพราะไม่ได้เรียนเพื่อจะเป็นครูอยู่แล้ว

    ได้ใช้ความรู้ในด้านที่เรียนมายกเว้นความเป็นครู แต่มีบ้างในวิชาด้านบริหาร ประยุกต์ใช้กันได้

    คิดว่าต้องเรียนต่อสายเดิมที่เป็นสาย คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ีใช่ สายครู

    ดูแล้วไม่เหมือนใครเลยเขียนครับ

    By: arare
    iPhoneWindows
    on 1 November 2012 - 18:22 #499878

    ไม่ได้เรียนสาย IT ไม่ได้ทำงานสาย IT แต่อยากเขียน เพราะเป็นวิศวกรที่จับฉ่ายเอามากๆ อยากให้น้องๆรู้ว่าคนเราถ้าความชอบเปลี่ยนไป ตัวเราเองก็หาทางเปลี่ยนสายไปได้เรื่อยๆเหมือนกัน ไม่จำเป็นจะต้องอยู่กับที่

    ป.ตรี - วิศวะไฟฟ้า ธรรมศาสตร์ ปี1-2 เรียนวิชาพื้นฐานวิศวะทั้งหมด ตั้งแต่ เลข ฟิสิกส์ เคมี แคล Signal&System CAD thermodynamic mechanics (static and dynamic) Microprocessor เรียนบ้าบอจับฉ่ายมากๆ programming ก็เรียนพื้นๆพวก C Java(วิชาเลือก) บลาๆ จำไม่ได้ละ ปี3-4 เริ่มเลือกวิชาได้เยอะขึ้น ก็เรียนเน้นมาทางโทรคมนาคม senior project ทำด้านศึกษา Zigbee protocol แต่จบมาได้กว.ไฟฟ้ากำลัง 555 เพราะว่าวิชาเรียนครบ ขนาดอาจารย์โปรเจคยังพูดว่า "ผมนึกว่าคุณเรียนtelecomซะอีก" ชีวิตสับสนในตัวเอง

    ป.โท - Electronics Design
    ยังวนเวียนอยู่แถวไฟฟ้า เพราะว่าจริงๆแล้วชอบด้าน Electronics มาตั้งแต่ป.ตรี แต่อาจารย์ไม่หนับหนุนบอกว่ามันไม่รุ่ง พอป๊าม๊าบอกว่าเรียนโทเหอะ ก็เลยได้ใจต่อรองว่า เรียนก็ได้ แต่ขอเลือกสายเอง เลยได้เรียนสมใจ ป.โทเน้นไปทาง IC design มีวิชาตั้งแต่ optical comm, microwave engineering, nanotech, VHDL, signal processing อืมม จำได้เท่านี้ จบด้วยความงงๆ อีกละ

    ป.เอก - photonics engineering (กำลังศึกษา)
    ด้วยความที่เรียนป.โทมาทำให้รู้ว่า Moore's law กำลังใกล้ถึงlimitแล้ว และรู้ว่าถ้าจะทำด้านICต่อไป เราก็ดัดแปลงได้แค่ในระดับ system เพราะตัว cmos ซึ่งเป็น fundamental component มันห่วยด้วยตัวของมันเอง และเปลี่ยนแปลงไม่ได้มากแล้ว ที่สำคัญมันscaleซะเล็กจนใกล้ถึงlimitแล้ว เลยหันเหความสนใจมาทางเลือกอื่น ซึ่งก็คือแสงนั่นเอง จับพลับจับผลูได้โปรเจคเกี่ยวกับทำdeviceสำหรับoptical communicationในอนาคต และยังสามารถพัฒนาให้ไปใช้บนICได้ด้วย

    อยากแนะนำอะไร

    ชีวิตวุ่นวายอ่ะ อยากแนะนำสั้นๆว่า คนเราไม่จำเป็นต้องรวมตัวเองไปอยู่ใน mass production ด้านการศึกษาก็ได้นะคะ สร้างความแตกต่างให้ตัวเองอาจจะทำให้เราเป็นที่น่าสนใจมากกว่า

    ได้งานตรงสายมั้ย

    ถ้าอยากให้ตรงมันก็ตรง ก็เคยทำงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิคส์ กับ เคยเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ตรงมั้ง ก็ได้ใช้ความรู้ที่เคยเรียนมาทั้งหมด และหาความรู้เพิ่มเติมด้านอื่นๆด้วย

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมมั้ย

    ก็บอกเลยได้ว่าชีวิตคงวนเวียนอยู่แถวๆนี้แหละ ไม่ไปไหนไกล แต่ก็ไม่ได้เป็นเส้นตรงซะทีเดียว

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 19:34 #499929 Reply to:499878
    PaPaSEK's picture

    ผจก.ฝ่ายไอทีบริษัทผมจบบัญชีมา รองฯ ท่านอื่นๆ ก็มีชีวะฯ, สถิติ, เศรฐศาสตร์ ทำนองนี้

    แต่ทุกคนมีความเข้าใจในไอทีพอตัว เพราะความสนใจส่วนตัวของแต่ละคนครับ

    By: EngineerRiddick
    iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
    on 1 November 2012 - 20:04 #499941 Reply to:499878
    EngineerRiddick's picture

    วุ่นวายด้ายใจ. วุ่นจนได้เอกเลยอ่ะเพ่น้อง อิจฉา^_^)/

    By: arare
    iPhoneWindows
    on 2 November 2012 - 07:01 #500122 Reply to:499878

    ป.ตรีเรียนเพิ่มอีกวิชาเดียวก็ได้กว.สื่อสารแล้ว อาจารย์ก็ยุให้ลงเพิ่มนะ แต่ไม่รู้จะเอามาทำไม ไม่ได้นิยมสะสมใบกว.

    ส่วนความชอบด้าน IT มีมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว แต่รู้ตัวว่าหัวไม่ไป ขอเรียนนอกห้องเรียนที่ไม่ต้องถูกบังคับด้วยเกรดดีกว่า ส่วนตัวคิดว่าเด็ก IT ต้องหาความรู้ตลอดเวลาเพราะเป็นสายงานที่เปิดกว้างทำให้มีเด็กคณะอื่นๆมาแย่งงานได้ด้วย เด็กภาคไฟฟ้ามีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมกันทุกคน แม้แต่นักวิทยาศาสตร์อย่างน้อยก็ต้องเขียน scripting languageเป็นเพราะจำเป็นต้องใช้งาน ดังนั้นจะพัฒนาต่อยอดเอาเองทีหลังก็ไม่ยาก อย่างดิฉันก็ศีกษา php for database C# C++ python หลังจากเรียนจบด้วยตัวเองทั้งนั้น ดังนั้นสำหรับเด็กไอทีอยากให้นึกไว้เสมอว่าเขียนโปรแกรม อย่าตั้งเป้าหมายแค่ให้มันทำงานได้ แต่ต้องให้มันเร็วด้วย ไม่งั้นคู่แข่งบาน

    By: narong.sa
    iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
    on 1 November 2012 - 18:26 #499882

    จบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์ สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์

    เรียนกันตั้งแต่พื้นฐานวิทยาศาสตร์ทั้งหมด

    สอนให้วิเคราะห์ระบบต่างๆ เป็น

    ทั้งแนวทางการเขียนโปรแกรม ไม่ได้เน้นตัวภาษา(เพราะอยู่ที่ว่างานแต่ละงาน ตัวภาษาอะไรเหมาะกับงานใดๆมากกว่า)

    สอนให้รู้วิธีการสร้างซอฟท์แวร์ การสร้างและวิเคราะห์ฐานข้อมูล

    รวมทั้งความรู้พื้นฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพ IT

    เอาเป็นว่าเรียนจบมาแล้วใครถนัดอะไรก็ไปทางนั้นได้

    อันนี้ความคิดผมเองนะ (จบมาใช่ว่าจะทำงานได้เลยทั้งหมดตามที่เรียนมา สุดท้ายก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมทุกสาขาอาชีพ)

    By: coolll
    Android
    on 1 November 2012 - 20:10 #499924

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด
    จบแล้วครับ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร   ถึงจะไม่ใช่ ม.ดัง แต่ก็ภูมิใจครับ

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)
    หลักๆ ที่เรียนมา ได้แก่

    สายคณิตศาสตร์ที่ถูกบังคับให้เรียน ได้แก่

    • Introductory Mathematics
    • Calculus
    • Discrete Mathematics
    • Linear Algebra 1
    • Statistical Analysis

    สายคอมพิวเตอร์ที่เรียน ได้แก่

    • Introduction to Computer Information Science  (ได้เขียนภาษา Basic เป็นตัวแรกในชีวิต)
    • Introduction to Programming  (เรียนด้วย C++)
    • Object Oriented Programming (เรียนด้วย Java ทั้งที่ยังเขียน Java ไม่เป็น อิอิ แต่พอเข้าใจมันก็รู้ว่ามันมีประโยชน์มากกว่าการนำไปใช้ในงาน Programming )
    • Database system (ชื่อวิชาบ่งบอกอยู่แล้วว่าเรียนอะไร)
    • Internet Programming (หรือ Web Programming นั่นล่ะ เรียนด้วย ASP รุ่นเก่า T-T)
    • Data Structures (โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม อิอิ วิชานี้ผ่านมาได้แบบหืดขึ้นคอ แต่ก็มีประโยชน์มากเลยนะ ถึงงานที่ทำจะไม่ค่อยได้ใช้แบบลึกซึ้ง จริงจังก็เถอะ)
    • Computer Architecture (วิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ หนุกที่สุดก็ Assembly นี่ล่ะ หนุกหรือเครียดกันแน่)
    • Visual Basic  Programming (ชื่อวิชาบอกตรงๆ อยู่แล้วว่าเรียนอะไร อิอิ)
    • System Analysis and Design (เรียนจบมาได้นำแนวคิดมาใช้เยอะพอสมควร)
    • Computer and Data Communication (วิชาสายสื่อสารกึ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาที่ชอบมวาก)
    • Operating Systems (วิชาระบบปฏิบัติการ ในวิชานี้ที่ชอบที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับอัลกอรึทึมในการจัดการ การเข้าใช้ทรัพยากรในระบบ อิอิ)
    • Compiler Construction (เรียนเพื่อให้รู้ว่า Compiler ทำงานอย่างไร มีแนวคิดอย่างไร ออกไปทางคณิตศาสตร์พอสมควร
    • Java Programming (เรียนเขียน Java กันอย่างเดียว)
    • Software Engineering (วิศวกรรมซอฟแวร์ครับ เป็นที่รู้กันว่าเรียนเพื่ออะไร)
    • Programming Languages (เรียนเขียนโปรแกรมหลายๆ ภาษาที่มีในโลก ที่ชอบมากที่สุดคือ Python ครับ)
    • Computer Graphics (เลือกมาเรียนแบบงงๆ นึกว่าจะได้ทำ Photoshop กับเขาบ้าง ที่ไหนได้มานั่งเขียน C++ เรียกใช้ OpenGL เรนเดอร์ 3D กันซะอย่างนั้น)

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้
    เรียนอะไรก็ได้ ถ้าใจรัก มันรุ่งทั้งนั้นล่ะ.. (แต่ตอนนี้ ผมรุ่งริ่งอยู่ 555)

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า
    ตรงสายแบบจับฉ่ายครับ ตอนนี้ทำงานเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง
    ตำแหน่งงานที่ผมทำมันออกแนว IT ในหน่วยงานราชการ ออกแนวจับฉ่ายเพราะต้องแปลงร่างเป็น Super IT ที่สามารถเป็นได้ทั้ง Programmer, System Engineer และ Network Admin และ IT Support  ระบบราชการ..อะไรง่ายๆ มันก็ทำให้ยากไปได้ทุกอย่าง ส่วนใหญ่งานที่ได้รับมอบหมายจะตรงสายกับที่เรียนมา จะมีก็แต่ Compiler Construction ที่ยังไม่รู้ว่าจะเอามาใช้กับงานที่ทำอย่างไร อิอิ  

    ครั้งหนึ่ง ผอ. ที่เป็นนายแพทย์ ถามผมว่า Error ที่เกี่ยวกับ Deadlock ที่ระบบ E-Learning ของสำนักงาน ก.พ. มันแสดงออกมา หมายถึงอะไร?  เท่านั้นล่ะ ผมนึกถึงหน้าอาจารย์ที่สอนวิชา OS ทันที

    บางครั้งก็มีงานที่ไม่เคยจับหรือได้เรียนรู้มามาก่อนเลยก็คือเรื่องเกี่ยวกับ GIS เพราะต้องไปประสานกับ Outsource  เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการ Implement ระบบฐานข้อมูลการระบาดของโรคเชิงพื้นที่ และเข้าไปสนับสนุนทีมพัฒนาระบบ อะไรประมาณนี้

    เรียน 4 ปี สิ่งที่ได้นอกเหนือจากความรู้พื้นฐานในสายงานนี้ ก็คือ ความกล้าแสดงออกในการพรีเซนต์งาน เรียนสาขานี้ต้องทำงานส่งและพรีเซนต์ผลงานหน้าชั้นเรียนบ่อยมาก เวลาพรีเซนต์แรกๆ โดนอาจารย์ถามเยอะๆ หรือพยายามแสดงความคิดเห็นในแง่ลบกับแนวคิดของเรา ก็เกิดอารมณ์ประหม่า และไปไม่เป็น แต่หลังๆ รู้สึกใจมันด้าน มากขึ้น(หรือหน้าด้าน) นิ่งมากขึ้น (เวลาโดนจวก) คิดหาเหตุผลมาอธิบายคำถามของอาจารย์ได้ดีขึ้น เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า "ไม่ใช่มนุษย์โลกทุกคนที่จะคิดเหมือนเรา หรือเข้าใจสิ่งที่เราทำ" รู้สึกว่ามันเป็นประโยชน์มากเวลามาทำงานในองค์กรแล้วต้องพรีเซนต์งานต่อหน้าผู้บริหารหลายๆ คน ที่ไม่ค่อยเข้าใจแนวคิดของงานสาย IT (- -") แต่ถึงกระนั้นรู้สึกว่ายังอารมณ์ขึ้นเวลาต้องรับความคิดเห็นแปลกๆ ทุกที อิอิ

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่
    ถ้าเรียนต่อคงจะเปลี่ยนสายไปเรียนต่อสาย Network มากกว่าครับ

    By: Be1con
    ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
    on 1 November 2012 - 20:12 #499943 Reply to:499924
    Be1con's picture

    ละเอียดมากเลย เห็นแล้ว น่าเรียนสายนี้จริง ๆ

    ปล. ผมยังมีเวลาอีก 1 ปี สู้ ๆ


    Coder | Designer | Thinker | Blogger

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:17 #500280 Reply to:499924
    PaPaSEK's picture

    "ถึงจะไม่ใช่ ม.ดัง แต่ก็ภูมิใจครับ" คราวหลังห้ามพูดแบบนี้นะครับ มันทำให้คนอื่นมองว่าคุณยังห่วงกับชื่อเสียงของสถาบันที่ตัวเองจบมา คือฟังแล้วมัน "ซึนฯ" มาก

    ต่อไปนี้ยืดอกเลยครับ ผมจบจาก สถาบัน....... มา ผมทำนี่/นั่น/โน่น ฯลฯ ได้ครับ

    แนะนำเฉยๆ ครับ

    By: coolll
    Android
    on 2 November 2012 - 14:29 #500504 Reply to:500280

    ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ ผมยอมรับว่าผมห่วงเรื่องชื่อเสียงสถาบันจริงๆ กลัวคนไม่รู้จัก ไม่เชื่อถือ ถึงได้โพสต์ตอบไปแบบนั้น

    ข้าน้อยผิดไปแล้วต้องขออภัยจริงๆ ครับ

    หลังจากนี้ไปผมจะยืดอก พกถุง! เอ้ย ยืดอกพูดได้เต็มปาก ว่าจบจากสถาบันไหนมาครับ ส่วนคอมเมนต์ที่โพสต์รายละเอียดไป มันแก้ไขอะไรมิได้แล้วครับ หมดโควต้าแล้วครับ อิอิ

    By: thaitanatana
    iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
    on 2 November 2012 - 22:22 #500754 Reply to:500280
    thaitanatana's picture

    +1 คุณ(ลุง) PaPaSEK แนะนำดีมากเลยครับ :-)

    By: coolll
    Android
    on 2 November 2012 - 08:38 #499948

    เสริมครับ รู้สึกว่าตอนนี้รุ่นน้องผมได้เรียน Mobile Application Development ด้วย รุ่นผมนี่ตกเทรนด์ไปแล้วครับ

    By: neizod
    ContributorTraineeIn Love
    on 2 November 2012 - 02:22 #500164
    neizod's picture
    • เรียน: คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • รายละเอียดเรื่องที่เรียน: บอกเป็นสายๆ ละกันนะครับ
      • Logic, Proof อันนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สุดของคณิตศาสตร์เลย เราจะได้เรียนรู้วิธีการให้เหตุผลที่ฟังขึ้น อย่างเช่น induction หรือการพิสูจน์แบบข้อขัดแย้ง รู้ว่าทำไม p -> q ถึงไม่สมมูลกับ q -> p
      • Real/Complex Analysis จะได้รู้ว่าตัวเลขมาจากไหน นิยามยังไง ทำไม 1 + 1 = 2 ทำไม 1/0 ไม่ได้ อะไรแนวๆ นี้
      • Abstract/Linear Algebra พวกข้อมูลชุดอย่าง vector, matrix ค่าตัวแทนของข้อมูลชุดเช่น det, eigenvalue การแก้ปัญหาสมการหลายตัวแปร ปูทางสู่ Computer Graphic ได้
      • Set Theory เซ็ตของตัวเลขแบบต่างๆ เราจะรู้ว่าเซ็ตของจำนวนนับกับเซ็ตของจำนวนตรรกยะมีขนาดเท่ากัน แต่เซ็ดของจำนวนอตรรกยะนั้นใหญ่กว่ามาก
      • Number Theory ศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม (โดยเฉพาะจำนวนนับ) จำนวนเฉพาะ การหาร การแยกตัวประกอบ ปูทางสู่ Cryptography
      • Geometry เรขาคณิต สองมิติ สามมิติ และมิติที่สูงกว่านั้น
      • Calculus, Differential Equation แก้ปัญหาจุดสูงสุด/ต่ำสุด หาความเปลี่ยนแปลง/แนวโน้มของฟังก์ชัน
      • Numerical Method เรียนวิธีการประมาณค่าคำตอบให้อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ เพราะการหาคำตอบแบบ exact นั้นช้าและไม่มีประโยชน์ในโลกความจริง
      • Discrete, Cominatoric, Graph อันนี้เรียนเกี่ยวกับความไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานของสายคอมเยอะพอสมควร อย่างเช่น big-O สมการสำหรับจำนวนนับ การเรียงสับเปลี่ยน กราฟ
      • Statistic, Propability สถิติและความน่าจะเป็น รูปแบบการกระจายของข้อมูล
      • Game Theory การตัดสินใจที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่มีให้เลือก
      • Coding Theory พื้นฐานการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณตัวเลข การ recovery error จาก parity bit ปูทางสู่ Data Communication
      • Wavelets พื้นฐานสัญญาณคลื่นแบบดิจิตัล ปูทางสู่ DSP (พวก edge detection, noise reduction)
      • Neuron Network พื้นฐานของเซลประสาท ปูทางสู่ AI, CI ต่อไป
      • Math Software เรียน software ที่ออกแบบมาเพื่อการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ เช่น mathematica, maple, matlab และเรียนวิธีใช้ latex ทำเอกสาร
    • เรียนคณิตศาสตร์เพื่อปูทาง/ต่อยอดจากสาย IT ดีมั้ย
      • ดี

        • เรียนแล้วเอาไปลด big-O ลงได้มหาศาล เช่นถ้าต้องการหาค่าสูงสุด แทนที่จะ iterate ผ่าน sample จากฟังก์ชันไปเรื่อยๆ ก็เปลี่ยนมาใช้การดิฟฟังก์ชันเอาได้
        • จัดระเบียบความคิด เพราะนักคณิตศาสตร์ชอบอะไรที่สั้นๆ แต่ยังตรงประเด็น เวลาเอาไปเขียน logic flow ของโปรแกรมแล้ว step จะลดลง condition จะครอบคลุมขึ้น
      • ไม่ดี
        • ปัญหาทาง computer ทุกวันนี้ กว่า 90% เป็นปัญหาที่ง่าย ถ้าไม่ได้สนใจจะแก้ปัญหายากๆ อย่างการเข้ารหัส, เพิ่มความเร็ว algorithm ก็ไม่จำเป็น
        • ส่วนปัญหาในโลกความจริงนั้น ต้องการคณิตศาสตร์แค่บวกลบคูณหารก็พอแล้ว
        • เรียนคณิตศาสตร์ตรงๆ จะทำให้สนใจเรื่องของ abstraction มากกว่า application (คือไม่ค่อยสนโลกความเป็นจริงเท่าไหร่)
        • passive skill หลายๆ อย่างสามารถ approach ได้จากทางอื่น เช่น เล่นเกม ออกกำลังกาย ไปเที่ยว ทำอาหาร ฯลฯ ไม่จำเป็นต้อง approach จากทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
    • คำแนะนำ
      • ถ้ามาจากสาย IT แล้วจะไปคณิตศาสตร์ ให้ถามตัวเองดีๆ ว่าต้องการอะไรจากคณิตศาสตร์ ถ้าต้องการแค่บางอย่าง เรียนสาย IT ต่อไปแล้วลงเฉพาะตัวที่สนใจพอ แต่ถ้าจะมา pure ก็ยินดีต้อนรับครับ
      • ถ้ามาจากสายคณิตศาสตร์แล้วจะไป IT หัดเขียนโปรแกรมให้เป็นซักภาษาแล้วลุย แนะนำให้ไปเริ่มที่สาย Computation Theory, Algorithm แล้วค่อยดูว่าจะต่อยอดด้านไหน
      • ถ้ามาจากสาย IT และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นยาขม ไม่ต้องลงเรียนคณิตศาสตร์ในห้องครับ แต่ควรศึกษาเองในส่วนที่สำคัญต่อการเขียนโปรแกรม อย่าง Linear Algebra, Number Theory (แล้วแต่งานที่ทำว่าควรใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้านไหนเข้าช่วย)
      • ถ้าอยากเรียนคณิตศาสตร์อยู่แล้ว หัดตั้งคำถามกับสิ่งพื้นฐานรอบตัวเยอะๆ เข้าไว้ แล้วก็พิสูจน์ความเชื่อตัวเองเป็นงานอดิเรกครับ
    By: HyBRiD
    ContributoriPhoneSymbianUbuntu
    on 2 November 2012 - 02:24 #500167 Reply to:500164
    HyBRiD's picture

    อ่าวไม่ได้เรียนคอมหรอ ;p

    By: BLiNDiNG
    AndroidUbuntuWindowsIn Love
    on 3 November 2012 - 00:50 #500814 Reply to:500167
    BLiNDiNG's picture

    อ่าวเนยสดเรียนอยู่เหรอ เห็นวันๆเอาแต่ทวีต นึกว่าเป็นเจ้าของกิจการ :P

    By: narok119
    ContributoriPhone
    on 2 November 2012 - 03:33 #500207 Reply to:500164

    +1 ตั้งแต่อ่านมาชอบ comment นี้ที่สุดละ

    By: coolll
    Android
    on 2 November 2012 - 08:39 #500253 Reply to:500164

    หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.ผม แกเรียนจบคณิตศาสตร์มาก่อนครับ ผมทำโปรเจคกับแกเรื่อง Data Mining ในการพยากรณ์อากาศ เจอหลักการคิดหาความสัมพันธ์ที่เป็นคณิตศาสตร์และสถิติจากแกเข้าไป เกือบจะไม่จบแล้วล่ะ

    รุ่นพี่หลายคนขอย้ายสาขาจากคณิตศาสตร์มาเรียน วิทยาการคอมแล้วก็ส่วนใหญที่มาเรียนก็จะทำพวก Programming เก่งด้วย แต่ถ้าวิทยาการคอมอยากเปลี่ยนสายไปคณิตศาสตร์คงตายแหน่ ถ้าไม่เก่งจริงดับแน่ๆ อิอิ

    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:25 #500283 Reply to:500164
    PaPaSEK's picture

    อยากให้เนยสดเล่าความเห็นที่มีกับตัวเอง และมุมมองดังนี้ครับ

    • เรียนคณิตศาสตร์แล้วทำไมเขียนโปรแกรมเก่ง

    • นักคณิตศาสตร์เก่งคอมฯ เก่งเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องแปลกหรือไม่?

    ผมเชื่อว่ามุมมองของเนยสดจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อสมาชิกครับ ส่วนตัวแล้วเนยสดเป็นเหมือนเชื้อไฟชั้นดีครับ

    By: superballsj2
    iPhoneWindowsIn Love
    on 2 November 2012 - 09:47 #500303 Reply to:500283
    superballsj2's picture

    เอาของผมมั่งมะ ผมเรียนคอมไซน์ แต่เก่งคณิต (เฉพาะในกลุ่มตัวเอง 55555)

    By: neizod
    ContributorTraineeIn Love
    on 3 November 2012 - 03:58 #500839 Reply to:500283
    neizod's picture

    ตอบแบบสลับที่คำถามนะ

    • แปลกมั้ย: ถ้าไปถามนักคณิตศาสตร์รุ่นเก่าๆ หน่อยอาจจะแปลก (เพราะติดดินสอกระดาษกันซะมากกว่า) แต่ถ้าถามนักคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ก็ไม่ควรจะแปลกแล้ว
    • ทำไมควรจะเขียนโปรแกรมเก่ง: เพราะปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมันเพิ่มความซับซ้อนขึ้นเกินกว่าที่จะคำนวณมือได้แล้ว ถ้าไล่ลำดับให้ดูจะเห็นว่า

      • สมัยโบราณที่ใช้เลขโรมัน แค่บวกลบได้ก็บุญแล้ว นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการคูณเลย ใครทำได้ตอนนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะเลยทีเดียว
      • หรืออย่างตอนที่รู้จักวงเวียน ก็เป็นยุคทองของวิชาเรขาคณิต คิดดูว่าความรู้ง่ายๆ อย่าง "สามเหลี่ยมมุมฉากจะสามารถใส่ในวงกลมได้พอดี โดยที่มีด้านตรงข้ามมุมฉากเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมนั้น" การค้นพบแค่นี้ก็ทำให้ปิดหมู่บ้านฉลองกันแล้ว
      • ถัดมาสมัยใหม่หน่อยที่มีระนาบและสมการให้พล๊อตกราฟได้ ก็ถึงเวลาเฟื่องฟูของแคลคูลัส

      ซึ่งทั้งหมดนี้ถ้าไปทำในสมัยนั้นอาจเสียเวลาเยอะโขอยู่ (ตอนที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ จะพล๊อตกราฟทีต้องนั่งคำนวณค่า sampling ที่จะเอาไปพล๊อตเป็นร้อยๆ ตัว) แต่คอมพิวเตอร์ทำให้การแก้ปัญหาพวกนี้ง่ายลงมาก ดังนั้น

      • ถึงแม้นักคณิตศาสตร์แผนปัจจุบันจะสนใจแต่ปัญหาเก่าๆ อย่างที่ว่ามา ก็ควรต้องรู้วิธีโปรแกรมไว้บ้าง เพราะมันช่วยทุ่นเวลาคำนวณมือได้โขเลย
      • ส่วนพวกที่สนใจปัญหาใหม่ๆ นี่ยิ่งควรจะเขียนโปรแกรมเป็นเลย เพราะเรื่องนั้นๆ มักไม่มี tools รองรับ เพราะคนที่สนใจกลุ่มแรกๆ คือนักคณิตศาสตร์เนี่ยแหละ ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์

      imo คอมพิวเตอร์คือกระดาษทดของนักคณิตศาสตร์สมัยใหม่นั่นเอง

      อย่างไรก็ตาม มันก็มีนักคณิตศาสตร์ขั้นเทพอยู่ดี ที่สามารถ deal กับปัญหายากๆ เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งการเขียนโปรแกรมครับ

    By: mr_tawan
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 5 November 2012 - 13:03 #501697 Reply to:500839
    mr_tawan's picture

    ถ้าตอบแบบนักคณิตศาสตร์ .. ผมว่า คอมพิวเตอร์เป็นคณิตศาสตร์แขนงนึงนะครับ ;-)


    • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
    By: PaPaSEK
    ContributorAndroidWindowsIn Love
    on 5 November 2012 - 13:11 #501702 Reply to:501697
    PaPaSEK's picture

    มาละครับ

    "นักคณิตศาสตร์เก่งคอมฯ เก่งเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องแปลกหรือไม่?"

    คำตอบในใจผม คือ ... พวกบิดาแห่งวงการคอมฯ ส่วนมากก็นักคณิตศาสตร์ทั้งนั้น จะบอกว่าคนที่คิดค้นคอมเป็นนักคณิตฯ นี่แหละ

    เดาว่าคงเป็นแบบที่เนยสดบอก ... คือมันแก้ปัญหาในกระดาษยาก อยากได้เครื่องช่วยคำนวณ (compute = คำนวณ, computer = เครื่องคำนวณ)

    By: torpedo on 2 November 2012 - 15:40 #500545 Reply to:500164

    ข้อดี ข้อเสีย คำแนะนำ
    ทำให้เห็นภาพชัดเจนเลยครับ

    By: coolll
    Android
    on 2 November 2012 - 23:04 #500767 Reply to:500164

    อ่อ มันคือ Real/Complex Analysis นี่เอง เคยอ่านหนังสือของพี่รหัสที่เรียนสาขาคณิตศาสตร์ งงมานานว่าจะพิสูจน์ทำไมว่า 1+1 จึงเท่ากับ 2 ตอนนั้นผมคิดว่าจะพิสูจน์ไปไมเนี่ย หะๆ

    By: infinity
    iPhoneAndroid
    on 2 November 2012 - 09:01 #500261

    น่าจะมีกระทู้แบบว่า ผู้ใดที่ไม่ได้เรียนสาย IT แต่มาทำงานด้าน IT บ้าง

    ทำไมถึงผันตัวมาทำงานสาย IT ได้ แล้วแหล่งการค้นคว้ามาจากไหน

    แล้วก็ความรู้ความสามารถที่ใช้หลักๆ คืออะไร

    ทำไมถึงได้เอาตัวรอดจากกลุ่มผู้ที่มีเรียนสายตรงมาได้

    ผมว่าคนกลุ่มนี้ก็มีไม่น้อยนะครับ

    By: pe3z
    Writer
    on 2 November 2012 - 11:23 #500388 Reply to:500261

    ถ้าสงสัยลองตั้งหัวข้อเองเลยครับ

    ผมตั้งใจจะให้ครอบคลุมแค่เด็กมัธยมปลายที่ไม่รู้จะเรียนที่ไหนดี เพราะผมเองก็พึ่งปี 1 เหมือนกัน ถ้าจะให้ไปทำหัวข้อที่ตัวเองไม่รู้ก็คงจะแปลกๆ น่ะครับ

    By: zerntrinos
    ContributorAndroidWindows
    on 2 November 2012 - 11:50 #500396
    zerntrinos's picture

    1.กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    วันพุธที่จะถึง(10/11/12) กำลังจะไปรับ ปริญญาครับ

    เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ (วิทยาเขต ภูเก็ต)

    2.เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    IT ของ มอผม โดยปรกติจะเรียนรวมๆครับ กลางๆ ไม่ได้ลงลึกไปเนื้อหาด้านใดด้านหนึ่ง แต่พอที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้

    ยกเว้นเราจะเลือกวิชาเลือก(ผมวิชาเลือกเป็น programming ให้มากที่สุดเท่าที่พอจะทำได้)

    หรือไปลงวิชาเรียนกับ สาขาอื่นที่เค้ามีวิชาที่ลึกกว่า

    ยกตัวอย่างวิชาที่ผมเรียนนะครับ ( เท่าที่จำได้ )

    - วิชาที่ไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี

    Bio, Physics, Stat,ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร,Eng(3-4 ตัว), math(2ตัว),จิตอาสา, บัญชีเบื้องต้น,management,การตลาด

    - วิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

    ด้าน Programming

    C , OOP ( JAVA ) , Algorithm , WEB Programming (PHP)

    ASP.NET (เลือก) , SOA (เลือก) , JSP(เลือก) , Mobile App (เลือก)

    ด้าน Network

    Network, Database , Data Mining , network security

    ด้าน Multimedia

    Flash,PhotoShop,illustrator, 3d max, ตัดต่อเพลง,vdo , studio

    ทั้งหมดรวมกันอยู่ใน Multimedia 2 ตัว

    อื่นๆ

    UI,Math for IT,Electronic Bussiness,Project Manger,SA and Design

    3.คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    ไม่จำเป็นต้องเก่งครับ แค่ใจรัก ขยันหาความรู้นอกห้องเรียน

    เพราะไม่มีทางที่มหาลัยจะสอนเราได้ทั้งหมด

    สาขาผมเป็นสาขาที่ดี หากเรายังไม่รุ้ตัวเองว่าเราชอบอะไรกันแน่

    เพราะมีวิชาเลือกให้ลงหลากหลาย Programming , Network , Multimedia , Management ก็ยังมีเลย

    แต่หาก เรามีจุดมุ่งหมายแล้ว รู้แล้วว่าตัวเองชอบอะไร เช่น เราอยากเป็น programmer แน่ๆ ผมว่าเน้นไปลง สาขาที่เกี่ยวกับ การ code ตรงๆเลยครับ เช่น Software Engineer ไปเลยครับ

    4 จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ตอนนี้ตรงครับ ผมเป็น Android Developer อยู่

    5 ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    ใช้เกือบเกือบหมดเลยครับ แต่ที่หนักๆเลยคือ programming (ก็เป็น programmer เนี่ยเนอะ)

    6 คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่ ถ้าต่อ ผมลงเลือกบริหารอะครับ

    เพราะผมคิดว่า ทุกๆสิ่งที่จะทำเงินได้ เราต้องเอา Bussiness เข้ามาจับ

    เรามีโคตร product แต่ไม่รู้วิธีเอาไปทำเงิน ก็ไม่ได้เงินครับ


    เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"

    Twitter : @Zerntrino
    G+ : Zerntrino Plus

    By: WhtChk
    Android
    on 2 November 2012 - 14:15 #500498
    WhtChk's picture

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    • เนื้อหาด้านการบริหารการจัดการและธุรกิจ (การจัดการ,การเงิน,การบัญชี,การตลาด,การบริหารบุคคล)
    • เนื้อหาด้านคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการนำมาประยุกต์กับการใช้ภายในองค์กร
      • พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วๆไป
      • พื้นฐานการเขียนโปรแกรมจะมุ่งเน้นหลักๆ 2 ตัวครับ คือ OOP และ Business Programming
      • Network พื้นฐาน
      • การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (SA/SD จะออกแนวด้านธุรกิจนะครับ เนื้อหาที่เรียนก็จะมีเอาหลักการจัดการและบริหารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) โดยอาจารย์บอกว่า จุดเด่นของนักศึกษาสาขาเราคือตัวนี้น่ะครับ
      • การประยุกต์นำ IT เข้ามาใช้กับธุรกิจ (MIS)
      • วิชาเลือกอื่นๆเช่น E-Commerce , Web Development, Data Mining, MultiMedia

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    ในมหาลัยจะมีสาขาคอมอยู่ 4 สาขานะครับ โดยจากมุมมองผมนะครับ ในวจก.เนื้อหาที่เรียนจะเป็นแนวเลคเชอร์ซะส่วนใหญ่ เว้นแต่บางวิชาที่มี Lab เสริมให้บ้าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้จากตรงนี้จะเป็นความรู้มากกว่าการได้ทำครับ หากอยากเก่งต้องต่อยอดเอง อาจารย์จะปูเป็นพื้นฐานมาให้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นเอง ส่วนเนื้อหาก็จะมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับธุรกิจซะมากกว่า เราจะได้จากตรงนี้ในรูปแบบแนวเชิงวิเคราะห์และวางแผนน่ะครับ เมื่อจบมา อาชีพมันจะกว้างกว่าสายคอมตรงๆทั่วๆไปน่ะครับ(แต่อาจจะเก่งคอมไม่เท่า เพราะสาขาคอมอื่นในมหาลัย เนื้อหาจะเจาะลึกมากกว่าสายของผม)

    จบมาแล้วได้ทำงานตรงสายที่เรียนรึเปล่า

    ผมขอบอกตรงๆว่าหากเป็นคนที่ไม่ต่อยอดจากที่อาจารย์สอนเอง ก็ยากนะครับที่จะได้ทำงานตรงๆสาย เพราะเราเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานเข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆยาก ส่วนตัวผมก็ได้งานตรงๆสายเลย เป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนจบมา

    ถ้าตรงสายแล้วได้ใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง

    งานหลักของผมคือ วิทยากรในการอบรมทั้งการใช้ S/W และด้าน Programming เป็นหลัก เพราะฉะนั้นเปรียบเสมือนว่าการเรียนของผมยังไม่จบ ผมต้องศึกษาทุกสิ่งกว้างๆไว้ แล้วค่อยจับมาลงลึกเป็นตัวๆไป โดยตอนนี้กำลังมุ่งไปที่ด้าน Multi Media น่ะครับ
    ส่วนงานสายรอง คือพัฒนาโปรแกรมต่างๆให้กลุ่มงานที่ผมอยู่ใช้โดยไม่ต้องไปจ้างโปรแกรมเมอร์ที่ไหน ความรู้ทุกวิชาที่ได้มาจำเป็นต้องเอามาใช้ทั้งหมด อีกทั้งผมยังทำงานอยู่ในแหล่งของชาว IT ก็จะมีการทำ KM เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะความรู้ในด้านต่างๆอยู่เรื่อยครับ

    คิดว่าจะเรียนต่อสายเดิมหรือไปสายใหม่

    ปัจจุบันผมศึกษาสาขาเดิมอยู่ในระดับปริญญาโทครับ ในสายประมวลผล(เขียนเว็บ,Programming) และคิดว่าจะต่อปริญญาเอกในสายของ Data Mining อะครับ

    By: snowbellza
    iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
    on 3 November 2012 - 00:14 #500796
    • จบวิศวะไฟฟ้าสื่อสาร ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ครับ
    • รายละเอียดเนื้อหาที่เรียนก็ เรียนวิชาพื้นฐานตอนปี 1, ปี 2 เรียนไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่, ปี 3-4 เรียนเนื้อหาที่เกี่ยวการสื่อสาร/network ทั้งหมด เช่น มือถือ, ดาวเทียม, วิทยุ, computer network system และรายละเอียดเชิงเทคนิคต่างๆ
    • คำแนะนำก็ไม่มีไรมากครับ แค่เป็นคอมพิวเตอร์หน่อย ถ้าเขียนโปรแกรมได้จะดีมาก เพราะส่วนใหญ่จะไปตายที่วิชา Embedded System(ปี 2) และ Computer Programming(ปี 1)
    • ทำงานไม่ค่อยตรงสายที่เรียนมาเท่าไหร่ งานที่ทำจะเกี่ยวกับไฟฟ้ากำลังและคอมพิวเตอร์ แต่พอดีผมมีความสนใจเรื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นการเขียนโปรแกรมและ database แล้วตอนสมัครงาน เขาเห็นผมได้ database เขาเลยรับ (หัวหน้าบอกมา) ^^
    • ถ้าทำตรงสาย ส่วนใหญ่จะใช้ความรู้เกี่ยวกับ Computer Network System (จากที่สอบถามเพื่อนที่ทำงานตรงสาย)
    • เรื่องเรียนต่อยังไม่คิดครับ แต่ถ้าจะเรียนต่อคงเรียนเกี่ยวกับ software engineering ครับ
    By: 0FFiiz
    Windows PhoneAndroidWindows
    on 3 November 2012 - 17:58 #501044
    0FFiiz's picture

    กำลังศึกษาอยู่ในคณะ/สาขาใด มหาวิทยาลัยใด

    วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    เนื้อหาที่ได้ศึกษานั้นมีด้านไหนบ้าง (กรุณาอธิบายอย่างละเอียด)

    สายแมทกับ stat นี่ โดนเข้าไปหนักหน่วงเหมือนกัน ประมาณ 10 ตัวได้ - -''''

    สาย Programe

    ช่วงแรกที่เจอจะเป็นพื้นฐาน ปี 1 เจอ c# กับ Assembly ปีสองจะเจอ Java ที่เหลือจะเป็นหลักการต่างๆ Network พื้นฐาน พอขึ้นปี 3 จะลงวิชาเลือกที่เราต้องการเรียน มีวิชาที่น่าสนใจเยอะมากครับ แต่ส่วนมากจะพากันลงวิชาเซฟกัน เพราะงั้นส่วนใหญ่พวกที่ได้เกรดดีๆ ตอนจบออกมา จะไม่ค่อยมีความรู้กันเท่าใหร่ เพราะวิชาที่มันน่าสนใจและทำให้มีความรู้ จะได้เกรดค่อนข้างยากเลยทีเดียว

    คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านนี้

    คำแนะนำของผมจะมี 2 ด้าน คือเรียนเอาจบ กับเรียนเพื่อจะไปต่อจริงๆ

    - เรียนเอาจบ : คุณไม่ต้องมีความรู้ด้าน IT อะไรเลย แค่ขยันเข้าเรียน ส่งงานครบ ประจบอาจารย์เก่ง รู้จักวิชาให้เกรดง่ายๆ แค่นี้ก็จบด้วยเกรด 3.xx แบบสบายๆ

    - สาย Hardcore ที่เรียนจบมาแล้วได้ความรู้ : อับดับแรก คุณต้องมีความชอบในด้านนี้จริง เพราะมันต้องใช้เวลาในการหัดทำ และศึกษาเพิ่มเติมตลอดเวลา เพราะถ้าคุณชอบจริงๆ ตอนที่อ่านมันก็สนุกไปด้วยในตัว และต้องมีความอดทน เพราะอนาคตต้องเจอกับลูกค้างี่เง่าหรือไม่ก็หัวหน้างี่เง่าแน่นอน

    By: GooEng
    ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
    on 3 November 2012 - 22:06 #501125
    GooEng's picture

    ถ้าอยากรู้ว่าสาขาที่เรียนทางคอมพิวเตอร์แบบไหนตรงกับตัวเองมากที่สุด ให้ดูที่ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา / สาขาวิชา (มคอ.1) ที่ สกอ. ทำเอาไว้ครับ

    ทุกสาขาทางคอมพิวเตอร์ ต้องเขียน Program เป็นครับ ไม่เขียนไม่ได้ เพราะ Project จบ ทุกที่ต้องเขียนโปรแกรมหมด


    คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

    By: GooEng
    ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
    on 5 November 2012 - 01:49 #501439 Reply to:501150
    GooEng's picture

    เห็นอะไรบ้างครับ


    คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

    By: mr.zatanx
    Android
    on 5 November 2012 - 10:34 #501582
    mr.zatanx's picture

    แต่ล่ะท่านมีแต่ เทพๆๆๆ ทั้งนั้น....

    By: mr_tawan
    ContributoriPhoneAndroidWindows
    on 5 November 2012 - 13:06 #501699
    mr_tawan's picture

    ไม่มีรุ่นน้องมาเขียนเลย แอบน้อยใจ 55 อยากเขียนเองแต่หลักสูตรเปลี่ยนไปเยอะเหมือนกัน (ผมเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนเปลี่ยนหลักสูตร และหลังจากนั้นรู้สึกจะมีเปลี่ยนอีก) เอาเป็นว่าแวะมาช่วยตอบข้อสงสัยแทนดีกว่า :-)


    • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
    By: Virusfowl
    ContributorAndroidSymbianWindows
    on 9 November 2012 - 05:48 #503700

    เข้ามาดู ... (เพื่อ?)


    @ Virusfowl

    I'm not a dev. not yet a user.