Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ในการประชุม World Summit on Information Society ณ เมือง Tunis ประเทศตูนีเซีย ที่จะถึงในเดือนหน้านี้ มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปกครอง Internet จากฝั่งประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกา ที่ต้องการจะเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ (Department of Commerce)

ก็เป็นที่แน่นอนหล่ะ ว่า ใครจะยอม นอกจากสหรัฐอเมริกาจะไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนมือของการจัดการไปในระดับนานาชาติแล้ว ยังมีอีกบางประเทศในกลุ่มยุโรปที่ยังไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง

เมื่อประมาณเดือนที่แล้ว คณะทำงานด้านการปกครองอินเตอร์เน็ตของ UN ก็ได้ประชุมและเสนอทางออก 4 วิธี ได้แก่

  • ให้ UN จัดตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า Global Internet Council โดยเอาคนจากรัฐบาลและองค์กรอิสระจากประเทศต่าง ๆ เข้ามาทำงานแทนสหรัฐในการดูแล ICANN
  • ให้สหรัฐดูแล ICANN เหมือนเดิม แต่จัดตั้ง ICANN's Governmental Advisory Committee เพื่อเป็นเวทีกลางในการอภิปรายประเด็นในเรื่องการจัดการอินเตอร์เน็ท
  • ลดบทบาทให้ ICANN ทำงานในเชิง technic เท่านั้น และจัดตั้ง International Internet Council เป็นอิสระออกจาก UN และให้สหรัฐไม่ต้องมาดูแล ICANN อีกต่อไป
  • จัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ 3 องค์กร โดยให้องค์กรแรก take over ICANN และระบบการจัดการ addressing system ทั้งหมด องค์กรที่สองทำหน้าที่เป็นเวทีกลางสำหรับการอภิปรายระหว่างรัฐ ธุรกิจและสาธารณะ และสุดท้ายทำหน้าที่ประสานงานประเด็นทางด้านนโยบายสาธารณะอันเกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต

ซึ่งก็เป็นปรกติที่สหรัฐจะต้องหาข้ออ้างมาเพื่อล้มล้างข้อเสนอทั้ง 4 ประการนี้อย่างแน่นอน ข้ออ้างที่สหรัฐเอามาอ้าง ก็คือ "We will not agree to the UN taking over the management of the internet. Some countries want that. We think that's unacceptable."

ในขณะที่กลุ่มประชาคมยุโรป หรือ EU ก็มีข้อเสนอเช่นกัน ในการจัดทำหลักการทางนโยบายสาธารณะ เช่น การแจกจ่าย IP block ให้เท่าเทียมกัน กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง root zone ของระบบไฟล์ เพื่อรองรับการขยายตัวของ top-level domain นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการจัดตั้ง forum เพื่อถกปัญหาดังกล่าว เรียกง่าย ๆ ก็คือ EU พยายามจะดัน Internet และ ICANN ให้มาอยู่ภายใต้กฏหมายนานาชาติ มากกว่าจะอยู่ใต้กฏหมายของสหรัฐอย่างเช่นทุกวันนี้

ก็เลยดูเหมือนว่าตอนนี้ปัญหาดังกล่าว แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ สหรัฐกับออสเตรเลีย อยู่ฝ่ายหนึ่ง ในขณะที่ UN, EU และประเทศกำลังพัฒนาอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง

ที่มา: ThisDay Online

Get latest news from Blognone

Comments

By: Anonymous on 7 October 2005 - 09:54 #1819

แล้วของไทยอยู่ภายใต้ เงื่อมือใคร