Tags:
Forums: 

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2561 เวลา 10:30-11:30 น. ณ ห้องประชุมจัดทำขึ้นกลาง ฮอลล์ 8 อิมแพคเมืองทองธานี ในงานแสดงสินค้าและการเจรจาธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล CEBIT ASEAN (https://aiat.or.th/2nd-ai-forum) ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างสมาคมปัญญาประดิษฐ์กับสถาบันการศึกษา 4 แห่งคือ

1.มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
2.มหาวิทยาลัยบูรพา
3.วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4.วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยรังสิต

ในพิธีลงนามครั้งนี้ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ และ สถาบันการศึกษาทั้งสี่ ตกลงร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเชิงวิทยาการ สร้างความรู้และสร้างเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การสร้างและขยายโอกาสการเรียนรู้ทางด้านนี้ ให้กับนิสิตนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป และก่อให้เกิดแนวทางในการร่วมกันในการทำกิจกรรม โครงงาน งานวิจัยและพัฒนา ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติร่วมกัน

No Description

ตัวแทนแต่ละหน่วยงาน คือ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร. ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, รศ.ดร. สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์, ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร. สินชัย กมลภิวงศ์, รักษาการแทนคณบดี วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผศ.ดร. เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน, คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยรังสิต

หลังจากพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ผู้ร่วมพิธีทุกท่านได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นในฟอรัมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยครั้งที่ 2 (The Second AI Forum in Thailand) ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย (Theme: AI Development in Thailand)

ระหว่างเวลา 11:30-12:00 น. ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์และ ผศ.ดร. มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ เลขาธิการสมาคมปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้อธิบายเรื่องแนวทางความร่วมมือพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย (Collaborative AI Development in Thailand) รวมทั้งการแนะนำสมาคม และระหว่างเวลา 12:00-12:30 ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้อธิบายเรื่องการออกแบบเฟรมเวิร์คระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI Framework Design) และ ระหว่างเวลา 14:30-16:00 น. ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ทั้งหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรผู้บริหารและบุคคลทั่วไป และหลักสูตรพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร (Train the Trainers) ด้านวิทยาการคำนวณ วิทยาการข้อมูล การคำนวณระดับกายภาพและปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้สถาบันทั้งห้ายังตกลงจะมีการจัดทำหนังสือตำราเรียนด้านปัญญาประดิษฐ์ฉบับมัธยมปลายและบุคคลทั่วไปร่วมกัน

ผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล: suchathit เว็บไซต์: AIAT

Get latest news from Blognone