Tags:
Topics: 

ในวารสารวิชาการ Microbial Biotechnology เล่มล่าสุด(PDF) มีรายงานถึงการใช้แบคทีเรีย E. coli ที่ เคยสร้างปัญหาด้านความปลอดภัยกันมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง มาใช้ในการผลิตพลังงานแหล่งใหม่ โดยทีมงานวิจัยพบว่าเชื้อ E. coli นี้สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี หลังผ่านการคัดและดัดแปลงพันธุ์มาแล้ว

เชื้อ E. coli ที่ได้รับการดัดแปลงนี้จะใช้พลังงานจากน้ำตาลมาสร้างไฮโดรเจน ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะสร้างความเรียบง่ายให้กับการผลิตไฮโดรเจนได้มาก เนื่องจากไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือความร้อนอื่นๆ ในการผลิตไฮโดรเจนตามกระบวนการแบบเดิมๆ ทำให้เราอาจจะสามารถผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนใช้งานกันเองในบ้านได้ในที่สุด

อีกหน่อยกินขนมไม่หมด ก็โยนใส่ถังน้ำมัน อาจจะวิ่งได้อีกหลายกิโล

ที่มา - PhysOrg

Get latest news from Blognone

Comments

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 30 January 2008 - 10:28 #41708
molek's picture

น่าจะเข้าใจผิดนะ เพราะการผลิตน้ำตาลใช้เชื้อเพลิงมากกว่าตอนผลิตพลังงานด้วยแบคอีก ตอนนี้ที่แลบมหิดลเค้าเล็งๆ แบคทีเรียที่คล้ายสาหร่ายชนิดหนึ่งใช้การสังเคราะห์ด้วยแสงหรือเลี้ยงด้วยน้ำเสียจากโรงงานอาหารมาผลิตเซลล์เชื้อเพลิงเอา

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: theoneox
Android
on 30 January 2008 - 12:16 #41724 Reply to:41708

อาจใช้น้ำตาลจำนวนน้อยแล้วสร้างได้เยอะ ก็ได้ ถ้าได้จริงก็ดี

By: elixer
WriteriPhoneAndroidWindows
on 30 January 2008 - 12:46 #41728 Reply to:41708
elixer's picture

หมายถึงขั้นตอนการสร้างไฮโดรเจน ที่ปกติต้องใช้พลังงานสูงในการแยกออกมาจากน้ำ ดังนั้นการให้น้ำตาลที่ใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าไฮโดรเจนกับแบคทีเรียเพื่อผลิตไฮโดรเจน น่าจะคุ้มกว่าหรือเปล่าครับ

Little RX


My Twitter

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 30 January 2008 - 12:55 #41731 Reply to:41728
molek's picture

ผมไม่ได้เทียบวิธีการใช้ไฟฟ้าแยก ไฮโดรเจนออกมาจากออกซิเจนครับ แต่พูดถึงว่ากระบวนการผลิตต้ำตาลต้องใช้พลังงานสูง เมื่อเทียบกลับในการนำน้ำตาลมาเลี้ยง E.coli แล้วอาจจะไม่คุ้มกับที่เสียไปก็ได้ ผมเคยทำโปรเจคนี้มา พบว่าหลายๆปัญหาทางเทคนิคยังแก้ไม่ได้ เช่นขนาด fermenter, hydrogen yield, rate of production และ สาร by product ที่เกิดระหว่างการให้ไฮโดรเจนซึ่งจะไปยับยั้งเอมไซม์ nitrogenase และ Hydrogenase ให้หยุดทำงาน ซึ่งยังไม่คุ้มที่จะลงทุนทำโรงงาน และยังไม่มีโมเดลซึ่งมีชีวิตไหนที่สมบูรณ์ในการผลิตไฮโดรเจน แต่ที่นักจุลชีววิทยามองกันคือการหาแบคทีเรียนที่มีอัตราการสังเคราะห์ไฮโดรเจนสูง ใช้กากของเสียจากโรงงานหรือสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นอาหารได้ และมีอัตราการผลิตไฮโดรเจนสมำ่เสมอ

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: m3rlinez on 30 January 2008 - 17:24 #41754 Reply to:41731

ผมแอบสงสัยนิดนึงครับ ว่าถ้าตัว E.Coli ในข่าวที่โดนดัดแปลง DNA โดยลบยีนออกไป 6 ตัว มันจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคที่คุณบอกมาได้รึเปล่าครับ?

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 30 January 2008 - 21:23 #41772 Reply to:41754
molek's picture

ปัญหาไหนครับ ต้องระบุมา เพราะ ลบยีนแค่ 6 ตัวต้องรู้ว่ายีนไหนด้วยครับ ตามคำ jurassic park ชีวิตย่อมมีหนทางของมันเองครับ

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: moniguna on 30 January 2008 - 11:08 #41716

ใช้สิ่งมีชีวิต กำเนิดพลังงานมาให้เราใช้!! ... ถ้าทำได้สำเร็จจริงๆ อีกหน่อยคงเลี้ยงเป็นฟาร์มเลย เพื่อที่จะได้พลังงานจำนวนมหาศาล

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 30 January 2008 - 11:18 #41718 Reply to:41716
molek's picture

Matrix!?

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: KnightBaron
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 30 January 2008 - 12:44 #41727 Reply to:41718
KnightBaron's picture

คิดเหมือนผมเลย!

By: smilelovehappiness on 30 January 2008 - 13:45 #41736 Reply to:41718

+1

By: AdmOd
iPhoneWindows
on 30 January 2008 - 12:55 #41730

หวังว่าคงไม่มีเด็กๆซน ตักทรายใส่ช่องอาหารแบคทีเรียเล่น

By: DoubleHelix on 30 January 2008 - 13:48 #41737

คงจะเป็นอย่างที่คุณ molecularck ว่า
แบบที่ใช้ได้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจคงยังไม่เห็นในเร็วๆนี้
ว่าแต่ E. coli ทั่วไปนี่มันอันตรายตรงไหน ถ้าสายพันธ์ุปกติมีอยู่แล้วในลำไส้ของทุกๆคน (นอกจากสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค)

ปล. ผมนึกถึง Back to the future มากกว่า

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 30 January 2008 - 13:53 #41739 Reply to:41737
molek's picture

E.coli O157H7 is dangerous

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 31 January 2008 - 02:26 #41813

แล้วพวกนี้มันต้องดูแลขนาดไหนครับ ... ใช้งานได้หนักจริงหรือเปล่าครับ ? แล้วก็มันตายได้หรือไม่ ? มันแปลงตัวเองให้ดูดสารอาหารมากขึ้น + น้อยลงได้หรือไม่ ?

น่ารู้ครับ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

:: Take minimum, Give Maximum ::

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 31 January 2008 - 08:12 #41829 Reply to:41813
molek's picture

อดัมครับ พวกนี้ไม่ต้องดูแล ประคบประหงมมาก มันทรหดอดทน พอดู มันตายได้แต่ก็เกิดใหม่เร็ว เกิดแบบ 2 ยกกำลัง n เลย ส่วนแปลงตัวเองให้ดูดสารอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงนั้นได้คงที่ครับ ส่วนใช้งานหนักนั้น ถ้าแก้ปัญหาด้าน substrate & by product inhibition ได้ก็ใช้ได้จริงเลยครับ

Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 31 January 2008 - 09:27 #41843
lew's picture

งานนี้คนเขียนข่าวขออ่านเก็บข้อมูลครับ คนรู้จริงมาแล้ว.... :D

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw