Tags:
Topics: 

IEEE แถลงเปิดตัวมาตรฐาน IEEE 802.22 รุ่นสมบูรณ์พร้อมให้ผู้ผลิตนำไปผลิตอุปกรณ์สำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 22mbps ได้ระยะทางสูงสุดถึง 100 กิโลเมตรจากฐาน โดยใช้คลื่นความถี่เดิมสำหรับวิทยุโทรทัศน์

ประเด็นย่านความถี่สีขาว (White Spaces) เป็นย่านความถี่ขนาดใหญ่ที่ครองโดยเทคโนโลยีเก่าเช่นวิทยุและโทรทัศน์ มันกินย่านความถี่กว้างมากตั้งแต่ความถี่ 54MHz ไปจนถึง 698MHz (กว้าง 644MHz) เนื่องจากเทคโนโลยีการส่งข้อมูลวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกนั้นต้องการย่านความถี่ที่กว้างมาก เทียบกับทุกวันนี้ที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออาจจะทำงานด้วยคลื่นความถี่รวมกว้าง 20 ถึง 30MHz เท่านั้น

ทุกวันนี้สหรัฐฯ ยกเลิกโทรทัศน์แบบอนาล็อกอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ยังมีใบอนุญาตท้องถิ่นบางใบถูกใช้งานอยู่ อุปกรณ์เครือข่ายในย่านนี้จึงต้องมีความสามารถในการตรวจสอบตำแหน่งของตัวเอง และปรับกำลังส่งและความถี่ที่ใช้งานได้ให้ตรงกับบริเวณที่ติดตั้ง

FCC ซึ่งเป็นผู้ดูแลความถี่ของสหรัฐฯ นั้นได้ประกาศให้ทุกคนใช้ความถี่ย่านนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า (unlicensed) แต่อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานต้องได้รับการรับรองว่ามีความสามารถในการหลบหลีกไม่ไปรบกวนสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ยังทำงานอยู่

ด้วยระยะทางสูงสุด 100 กิโลเมตรจากสถานีส่ง เราอาจจะได้เห็นการใช้งานแบบใหม่ๆ เช่นมหาวิทยาลัยอาจจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กับทุกอาคารได้โดยไม่ต้องต่อสาย การส่งข้อมูลระหว่างอาคารสำนักงานสาขาต่างๆ ทั้งหมดสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต

อย่างไรก็ดีความถี่ต่ำๆ เช่นนี้มักทำให้เสารับและส่งมีขนาดใหญ่ เราอาจจะต้องรอดูว่าอุปกรณ์จริงที่จะออกมานั้นจะเป็นอย่างไร

ประเทศไทยเองภายใต้กรอบข้อตกลงของ ASEAN ก็จะเริ่มย้ายระบบโทรทัศน์ออกจากระบบอนาล็อกในปี 2015 ถึงปี 2020 ถึงตอนนั้นเราจะเริ่มได้คลื่นความถี่ผ่านนี้กลับคืนมาเช่นกัน น่าสนใจว่า กสทช. ที่กำลังจะเกิดมานั้นจะปล่อยความถี่เหล่านี้ออกมาใช้งานอย่างไร

ที่มา - BusinessWire

Get latest news from Blognone

Comments

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 29 July 2011 - 01:26 #315821
TeamKiller's picture

มาไวๆ นะ

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 29 July 2011 - 01:28 #315824
Perl's picture

100 กม !

โอ้ว AP จะต้องใช้ไฟขนาดไหนเนี่ย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 29 July 2011 - 02:12 #315835 Reply to:315824
lew's picture

กำลังสูงสุดนี่คงไม่ได้รับความนิยมเท่าใหร่ครับ

เอาเข้าจริงแล้วความถี่ต่ำๆ แบบนี้เสาจะใหญ่มาก ผมว่าจะใช้เป็น Point-to-Point กับ Wireless Broadband กันเสียมากกว่า แบบแชร์สายเน็ตเส้นเดียวทั้งหมู่บ้านแล้วกระจายไร้สายเอา


lewcpe.com, @wasonliw

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 29 July 2011 - 01:39 #315828
lingjaidee's picture

ไกลขนาดนี้ รัฐให้ริการเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเลยดีกว่า ^^'


my blog

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 July 2011 - 01:53 #315831
hisoft's picture
  • ด้วยระยะทางสูงสุด 100 กิโลมาตร

กิโลเมตรหรือเปล่าครับ?

ว่าแต่จะได้ความเร็วสักเท่าไหร่เนี่ย แล้วในไทยเริ่มย้ายเป็นดิจิตอลปี ๒๐๑๕ อีกนานเลยกว่าจะได้ใช้ - -"

By: kittipat
ContributorAndroidUbuntu
on 29 July 2011 - 01:53 #315832

Mbps หรือเปล่าครับ?

ระยะทางได้ไกลจริง แล้วอุปกรณ์เล็กๆ จะมีกำลังส่งกลับไปฐานไหมเนี่ย แถมความเร็วต่ำอีก ไม่น่าจะเป็นที่นิยมเท่าไหร่

By: b0ner
iPhoneAndroidUbuntu
on 29 July 2011 - 02:07 #315833
b0ner's picture

ย้ายระบบโทรทัศน์ออกจากระบบอนาล็อกในปี 2015 ถึงปี 2020

ช้าจัง

By: illusion
ContributorAndroid
on 29 July 2011 - 10:19 #315879 Reply to:315833
illusion's picture

ช้าไม่กลัว กลัวโดนเตะถ่วงจนไม่ได้เกิด

อย่างคลื่น 3G 2100 ยังล้มประมูลโดยบริษัทเอกชนธรรมดาที่เสียผลประโยชน์ได้

แล้วคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์ล่ะ..ถูกครองโดยกลุ่มคนเสื้อเขียวกับผลประโยชน์มหาศาล

ผมเชื่อว่าถ้าตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในสถานะโดนเตะถ่วง ตอนนี้เราคงได้พูดถึงการเตรียมย้ายไปทีวี-วิทยุดิจิทัลกันแล้วทั้งประเทศ ไม่ใช่เงียบเป็นเป่าสากแบบนี้ (ก็เพราะ กสทช. ยังไม่เกิดด้วย..ทำไม่มันยังไม่เกิดซักทีคงเดาได้ไม่ยาก)

แบบนี้ข้อตกลงอาเซียนในปี 2020 ดูจะเร็วไปด้วยซ้ำสำหรับประเทศไทย

ดู กรณีประมูล 3G เป็นบทเรียนครับ

By: gab
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 July 2011 - 10:29 #315887 Reply to:315879
gab's picture

โดนเตะถ่วง..พูดถึงแล้วก็ได้แต่หน่ายใจ

By: pizzicato
ContributoriPhoneUbuntu
on 29 July 2011 - 02:20 #315838
pizzicato's picture

ผมยังใช้ ทีวีแบบอานาลอคอยู่เลย T,T


positivity

By: iamwow
Android
on 29 July 2011 - 10:23 #315883 Reply to:315838

วันนี้วันภาษาไทยแห่งชาติครับ รบกวนใช้ภาษาไทยให้ถูกตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดด้วย "แอนะล็อก" ไม่ใช่ "อานาลอค" ครับ หรือจะแทนด้วยคำว่า "เชิงอุปมาน" ก็ได้นะครับไม่ว่ากัน :p (แซวเล่นนะครับ ^^)

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 29 July 2011 - 12:19 #315939 Reply to:315883
joomla's picture

ตอนเรียนผมใช้ อะนาลอค/อะนาล็อค

ยังมึนกับคอมพิวเตอร์วางตักไม่หาย เมื่อเช้าดูตอมแมลงวันยังไม่เคลียร์เหมือนเดิม

By: HMage
AndroidWindows
on 29 July 2011 - 03:42 #315844

จะมีผลกระทบกับวิทยุที่ฟังอยู่ทุกวันมั้ยเนี่ย
ไม่ใช่ว่าสุดท้ายก็เอามาทำคลื่นสำหรับวิทยุอยู่ดี แค่เปลี่ยน protocal

By: serpentc
AndroidWindows
on 29 July 2011 - 04:29 #315847

จะเล่น internet เอาหนวดกุ้งมาตั้ง

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 29 July 2011 - 09:58 #315875 Reply to:315847
gotobanana's picture

+๕๕

By: Elysium
ContributorWindows PhoneSymbianWindows
on 29 July 2011 - 10:29 #315886 Reply to:315847
Elysium's picture

คลาสสิค +1

คนดูไม่ต้องจับ คนจับไม่ได้ดู


คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ

By: neostep
iPhoneAndroidUbuntu
on 29 July 2011 - 11:42 #315914 Reply to:315886
neostep's picture

ที่บ้านทำอยู่ แต่บางทีเอาหนวดกุ้งไปติดกะเคสคอมก็ชัดนะ(แค่บางที)

By: audy
AndroidUbuntu
on 29 July 2011 - 07:49 #315855
audy's picture

"กว้างไกล 100 กม." คงหมายถึงข้างละ 50 กม.ใช่มั๊ยครับ

By: kowittan
AndroidWindows
on 29 July 2011 - 11:11 #315902 Reply to:315855

ได้ระยะทางสูงสุดถึง 100 กิโลเมตรจากฐาน น่าจะหมายถึงข้างละ 100 กม. เพราะโทรทัศน์ทุกวันนี้ก็ไปได้ไกลประมาณนี้อ่ะครับ

By: audy
AndroidUbuntu
on 29 July 2011 - 11:52 #315918 Reply to:315902
audy's picture

พอดีผมนึกถึงเรื่อง Line-of-sight น่ะครับ เลยสงสัยนิดหน่อย

By: jp
iPhoneAndroidBlackberry
on 31 July 2011 - 12:05 #316631 Reply to:315918

ขอบคุณครับ

(เห็นรูปประกอบเป็นวงกลมที่ต่างคิดว่าแค่ Radius(รัศมี) แนวราบสองมิติ พอดู Line-of-sight โอ้! มีมิติความสูงเพิ่มมาเรียกอย่างนี้นี่เอง)

By: sundaycafe on 29 July 2011 - 08:31 #315858

เห็นสวรรค์รำไร

By: blogdone
Windows PhoneSymbian
on 29 July 2011 - 09:51 #315873
blogdone's picture

หวังว่าถึงตอนนั้น คงไม่เป็นแบบตอนนี้ คงไม่ต้องตั้ง กสทช. ภาคสอง ภาคสามนะ

By: TiOnline
Android
on 29 July 2011 - 10:46 #315895
TiOnline's picture

คงใช้ตามบ้านได้ยาก หรือถ้าจะใช้ก็คงต้องเหมือน IPStar ที่ต้องต่อเน็ตผ่านสายด้วยเพื่อเป็นขา Upload
กำลังส่งจากเครื่องรับตามบ้านเรือนคงทำได้ไม่ไกลหรอก

หรือไม่งั้นคงต้องตั้งเสาอากาศสูงๆ เหมือนโทรศัพท์บ้านระบบ 470MHz แต่เหมือนระบบนี้ไปได้ไกล 10กว่า กม. เอง

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 29 July 2011 - 12:06 #315925
mr_tawan's picture

คิดว่าคลื่นความถี่ช่วงนี้ยังใช้ในประเทศไทยอยู่ (อย่างน้อยผมยังฟัง 104.MHz อยู่ทุกวันอยู่ 555)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: joomla
iPhoneUbuntu
on 29 July 2011 - 12:26 #315942
joomla's picture

อยากฟังละครวิทยุคลื่น AM บิดคลื่นไปเจอแต่เสียงซ่าๆ กับภาษาแปลกๆ

By: giogio
Android
on 29 July 2011 - 12:31 #315943
giogio's picture

2015 ผมว่าประเทศเรายังไม่สามารถปรับใช้ได้ทัน (นี่กัดฟันพูดด้วยนะ พูดแล้วเจ็บใจแต่ก็ต้องยอมรับสภาพ T_T)

By: sMaliHug on 29 July 2011 - 18:36 #316109

100 กม ขนาดนั้น ผลิตอุปกรณ์ เพื่อนำมารวมกลุ่มกันหรือตั้งเสาเอง แบ่งกระจายกัน Shared node
สามารถนำไปทำมาหากินได้หลายอย่างโดยไม่ขออนุญาต หุหุ

By: zipper
ContributorAndroid
on 30 July 2011 - 10:38 #316382

เดาว่าถ้าไทยมีศักยภาพทำได้ แต่ก็คงติดปัญหาเรื่องคลื่นเหมือนเรื่อง 3G อีกนั่นแหล่ะ