Tags:
Node Thumbnail

ประเด็นเรื่องของไอพีดูเหมือนจะใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นเช่นการฟ้องจากหลักฐานด้านไอพีเริ่มมาจากตั้งแต่การฟ้องร้องจาก RIAA ในสหรัฐที่ไล่ฟ้องผู้ใช้ตามบ้านที่ดาวน์โหลดเพลงผ่านเครือข่ายบริการแชร์ไฟล์จำนวนมาก จนมาถึงการบุกจับค้นที่ผิดพลาดเมื่อไม่นานมานี้

คดีในต่างประเทศที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือคดีของ Holger Voss ที่ถูกฟ้องเนื่องจากการแสดงความเห็นในอินเทอร์เน็ต ผลจากคดีนั้นทำให้มีการฟ้องร้องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ และในวันนี้คดีดังกล่าวก็มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อศาลฏีกาเยอรมันประกาศคำตัดสินว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีสิทธิเก็บไฟล์ log โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้

ผู้ถูกฟ้องในตดีนี้คือ T-Online ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอันดับหนึ่งของเยอรมัน ทำให้นับจากนี้ไป ผู้ใช้สามารถยื่นคำร้องไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อไม่ให้เก็บข้อมูลการใช้งาน

เรื่องนี้เมืองไทยก็เพิ่งมีประเด็นกัน ไปดูได้ใน Biolawcom.de เจ้าของเว็บอยู่เยอรมัน น่าจะให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ได้ดีกว่าผมเยอะ

ส่วนเมืองไทย ไม่รู้รัฐธรรมนูญใหม่จะให้สิทธิความเป็นส่วนตัวกับประชาชนกันแค่ไหน ใครรู้เรื่องนี้กันบ้างครับ?

ที่มา - TorrentFreak

Get latest news from Blognone

Comments

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 7 November 2006 - 14:38 #11621

อีกหน่อยพวกเว็บต่างๆ ก็จะ trace คนเข้าไม่ได้แล้วซิเนี่ย

แล้วเว็บที่ให้แสดงความคิดเห็นหลายแห่งก็คงห้ามการโพสแบบ anonymous เพราะหาคนรับผิดชอบคำพูดไม่ได้ (ทั้งที่ปัจจุบันก็หายากแล้วอ่ะนะ)?


iPAtS

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 7 November 2006 - 15:56 #11623
put4558350's picture

แบบนี้เยี่ยมเลย RIAA มาไล่กัด p2p ไม่ใด้แล้ว ^^


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Gmz
Windows PhoneAndroid
on 7 November 2006 - 16:23 #11626

ยากครับ ของเมืองไทยนั้น ขึ้นอยู่กับตำรวจ cyber แทบทั้งนั้น แล้วกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็พึ่งคลอด ยิ่งเป็นรัฐบาลทหารด้วยแล้ว โอกาสจะตามไปแก้ก็คงยากอีก ต้องอาศัยรัฐบาลที่เข้าใจเรื่องสมัยใหม่ ว่าแต่ต้องการรัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือ 2540 ล่ะครับ ถ้าอยากให้คุ้มครองก็ช่วย ๆ กันเรียกร้องมันกลับมาซะนะ เพราะของชั่วคราวมันไม่ให้ความคุ้มครองอะไรคุณทั้งนั้นแหละ

By: deans4j on 7 November 2006 - 19:38 #11630

ipats - เกี่ยวกันหรอครับ? เวลาเราสมัครสมาชิกเว็บไหนมันจะมี agreement & condition ให้เรายอมรับ เค้าก็ออกกฎอนุญาตบันทึกข้อมูลการใช้งานในนั้น

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 7 November 2006 - 20:24 #11632
veer's picture

dean4j log ip ได้แต่ในเว็บ ก็อาจจะมีประโยชน์อะไร มากมาย เพราะก็กลับไปดูที่ isp ก็ไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ดี ถ้าไม่ log ไว้ ... มั้ง

By: jittat
Writer
on 8 November 2006 - 01:31 #11641

กฏหมายไทย (ฉบับที่ทำท่าจะออก) สั่งให้ isp เก็บ ip log ไว้อีกตะหาก

By: พี่ไท้ on 8 November 2006 - 09:34 #11646

Gmz - พรบ.อาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์ออกแล้วเหรอครับ อยากอ่านเนื้อความจัง เอ แต่ผมก็พอจำได้ว่ามันยังเป็น "ร่าง พรบ." อยู่เลยนี่นา คงต้องรอต่อไปครับ

----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 8 November 2006 - 13:13 #11658

ของไทยเคยอ่านฉบับร่างเมื่อนานมาแล้ว ก็บังคับให้ log ครับ ไม่ใช่เฉพาะ isp ด้วย ตามร้านเน็ต หรือศูนย์คอมพ์ฯ มหา'ลัย ก็ต้อง log

ต่อไปเข้าร้านเน็ตอาจจะต้องแสดงบัตรประชาชนให้ทางร้านเก็บข้อมูลไว้ - -''

-- lucky 7


--

By: lancaster
Contributor
on 8 November 2006 - 20:46 #11666

ยังไงผมก็ว่าเก็บ log ไว้ดีแล้ว ไม่งั้นเวลาใครทำผิด จะตามตัวกันยังไง

ที่ควรใส่ใจคือ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ของ ISP มากกว่า ที่ถูกควรจะต้องมีหมายศาลเป็นอย่างน้อย ไม่ใช่ใครรู้จักกับ Admin ก็โทรถามได้ แบบนี้เกินไปครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 8 November 2006 - 22:49 #11674
lew's picture

lancaster - ตรงนี้มันเคยมีคดีมาแล้วครับ ว่าเจ้าหน้าที่สามารถ "ร้องขอ" ข้อมูลในส่วนนี้ได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล

บ้านเรานี่ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวยังอ่อนแอกันมากๆ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw