Tags:
Forums: 

· ผลการสำรวจของอะโดบีชี้ ครู/อาจารย์ 55% ในเอเชีย-แปซิฟิกเชื่อว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า การนำเสนอหลักสูตรส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอล

· อะโดบีเผย ซอฟต์แวร์ด้านการศึกษาของบริษัทฯ ได้รับการตอบรับที่ดีทั่วเอเชีย-แปซิฟิก

· ผู้บริหารกว่า 100 คนทั่วเอเชีย-แปซิฟิกร่วมหารือเกี่ยวกับอนาคตของการศึกษา

กรุงเทพฯ — บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ เปิดฉากการประชุม Education Leadership Forum ประจำปี 2555 ที่ประเทศสิงคโปร์ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 โดยมีผู้บริหารจากภาคการศึกษากว่า 100 คนจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปทางการศึกษา การผนวกรวมเครื่องมือดิจิตอลสำหรับการสื่อสารและเครื่องมือที่สร้างสรรค์เพื่อให้เข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจและให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับการปรับใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนแห่งอนาคตอย่างเช่น แทบเล็ต ตำราอิเล็กทรอนิกส์ (E-textbook) และคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่คณาจารย์ในการนำเสนอประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่หลากหลาย รวมถึงเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนการสอนแบบดิจิตอลในห้องเรียน

นาย จอน เพเรร่า รองประธานฝ่ายการตลาดด้านการศึกษา (Worldwide) ของบริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ กล่าว “โลกการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงรูปแบบการเรียนการสอน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องขยายขีดความสามารถของครูผู้สอนเพื่อผลิตบุคลากรที่พร้อมสำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในศตวรรษที่ 21 และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ เราช่วยให้พวกเขาก้าวทันเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง”

“อะโดบีมีประสบการณ์อันยาวนานในการพัฒนาเครื่องมือที่ก้าวล้ำเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนในห้องเรียน และเรามุ่งมั่นมาโดยตลอดในการนำเสนอโซลูชั่นที่จะช่วยให้ภาคการศึกษาได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของโลกด้านดิจิตอล” จอนกล่าวเสริม

ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจของอะโดบีด้านการศึกษาดิจิตอล (ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก)

ก่อนหน้าการประชุม Education Leadership Forum อะโดบีได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นทางออนไลน์สำหรับครู/อาจารย์ราว 500 คนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะของการศึกษาด้านดิจิตอล การสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวเผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่น่าสนใจ เช่น 40% ของครู/อาจารย์ในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ตำราอิเล็กทรอนิกส์ และแทบเล็ต ในห้องเรียนอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากการสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ได้แก่:

· 55% ของครู/อาจารย์เชื่อว่าในช่วงระยะเวลา 5 ปี เทคโนโลยีดิจิตอล (เช่น ตำราอิเล็กทรอนิกส์ แทบเล็ต) และเนื้อหาดิจิตอลคอนเทนต์จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในการเรียนการสอนภายในห้องเรียน

· ผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 30% รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมในการปรับใช้แนวทางการสอนในโลกดิจิตอลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครู/อาจารย์ส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องพัฒนาความสามารถด้านดิจิตอล และปรับใช้เครื่องมือดิจิตอลใหม่ๆเพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนพร้อมสำหรับอนาคต

· ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% ระบุว่า มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องผนวกรวมเครื่องมือด้านการสร้างสรรค์ไว้ในหลักสูตร เพื่อช่วยให้นักเรียนนักศึกษามีความพร้อมสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 ครู/อาจารย์ที่ตอบแบบสอบถามมาจากประเทศต่างๆทั่วภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี อินเดีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ

นาย ทิม แอลสตัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Digital Balance Pty. Ltd. บริษัทที่ปรึกษาดิจิตอลชั้นนำ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า “คณาจารย์ทั่วโลกจำเป็นที่จะต้องดำเนินกลยุทธ์ดิจิตอลแบบครบวงจร โดยปรับใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ผนวกรวมเข้ากับพื้นฐานทางด้านวิชาการ ทั้งนี้ อาจารย์ นักศึกษา ผู้บริหาร และผู้กำหนดนโยบายจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมให้ดี ซึ่งการเตรียมพร้อมดีเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังจะเปลี่ยนเป็นดิจิตอล”

สถานการณ์การศึกษาในเอเชีย-แปซิฟิก

ในการประชุม Education Leadership Forum อะโดบียืนยันถึงการตอบรับที่ดีต่อการปรับใช้เครื่องมือด้านการสร้างสรรค์ในประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยอะโดบีเปิดเผยว่า:

· ในออสเตรเลีย มากกว่า 50% ของนักเรียน (ชั้นประถมและมัธยม) ทั่วประเทศราว 4 ล้านคนเข้าใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ของอะโดบีเป็นประจำทุกวัน

· ในสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยท้องถิ่น 4 ใน 6 แห่งกำลังใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ของอะโดบีเพื่อช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันในรูปแบบดิจิตอล นอกจากนั้น สถาบันศิลปะและโพลีเทคนิคทุกแห่งในสิงคโปร์ที่นำเสนอหลักสูตรประกาศนียบัตรกำลังใช้โซลูชั่นด้านครีเอทีฟของอะโดบีเพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)

· ในประเทศจีน นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้ง Adobe Creative University เมื่อปี 2553 นักศึกษากว่า 80,000 คนได้รับใบรับรองคุณวุฒิ และอาจารย์ 480 คนได้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีสถานศึกษา 200 แห่งเข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากนั้น นักศึกษาเกือบ 3,000 คนได้ซื้อซอฟต์แวร์ของอะโดบี (Student Teacher Edition) ภายใต้โครงการนี้

· ในเกาหลี เกือบ 50% ของมหาวิทยาลัยทั้งหมดทั่วประเทศได้ปรับใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ของอะโดบี รวมถึง Creative Suite Design Premium และ Creative Suite Design Standard

· ในฟิลิปปินส์ วิทยาลัย La Salle Greenhills ใช้เทคโนโลยีของอะโดบีเพื่อรองรับการเรียนการสอนบนคอมพิวเตอร์แทบเล็ตเป็นแห่งแรกในประเทศ

นาย ปีเตอร์ แมคอัลไพน์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายขายโซลูชั่นการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซฟิก บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ เปิดเผยถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจด้านการศึกษาในเอเชีย-แปซิฟิก โดยกล่าวว่า “ปัจจุบัน สถาบันการศึกษากำลังมองหาหนทางใหม่ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนนักศึกษาเพื่อรองรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 โดยสถาบันเหล่านี้ตะหนักถึงบทบาทที่สำคัญของเครื่องมือดิจิตอลด้านการสร้างสรรค์ที่อะโดบีนำเสนอ ลูกค้าของเราในภาคการศึกษาให้การตอบรับที่ดีมากต่อซอฟต์แวร์ของอะโดบี ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะช่วยให้สถาบันการศึกษาประสบความสำเร็จในระยะยาว”

นอกจากนั้น ในการประชุม Education Leadership Forum มีการแสดงเทคโนโลยีซึ่งสาธิตให้เห็นถึงศักยภาพของเครื่องมือต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์แทบเล็ต ระบบดิจิตอลพับบลิชชิ่ง และตำราอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในห้องเรียน พร้อมกันนี้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของอะโดบียังสาธิตการใช้งานเครื่องมือที่ก้าวล้ำ โดยสามารถปฏิรูปการเรียนการสอนทั้งหมดภายในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม

วิทยากรสำคัญๆ ในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่:

· ไดแอน มาร์แชล ผู้อำนวยการฝ่ายโรงเรียนรัฐบาล หน่วยงานการศึกษาและชุมชนของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย – ไดแอน มาร์แชล มีประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 27 ปีในการบริหารสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วออสเตรเลีย โดยมีการปรับใช้เทคโนโลยีภายในห้องเรียน รวมถึงเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการ และในปี 2552 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการปฏิรูปการศึกษาดิจิตอล (Digital Education Revolution) ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหาระบบเชื่อมต่อไร้สายแก่โรงเรียนประถมและมัธยม 463 แห่งทั่วรัฐนิวเซาธ์เวลส์ รวมทั้งจัดหาเน็ตบุ๊กมากกว่า 25,000 เครื่องแก่อาจารย์ และ 210,000 เครื่องแก่นักเรียนภายในกลางปี 2555

· ทิม แอลสตัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Digital Balance Pty. Ltd. – ทิมได้ร่วมก่อตั้ง WebFeat เอเจนซี่โฆษณาดิจิตอลชั้นนำในแคนาดา และได้เข้ามาทำงานในออสเตรเลียเมื่อปี 2550 ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายค้าปลีกอีคอมเมิร์ซของ BankWest จากนั้นเขาได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมงานดิจิตอลมีเดียของมหาวิทยาลัย Murdoch University เป็นเวลา 3 ปี โดยเริ่มต้นจากทีมงานที่มีสมาชิกเพียงคนเดียวและขยายขนาดจนมีสมาชิก 11 คน ก่อนที่จะเริ่มก่อตั้งบริษัท Digital Balance ในปี 2554

· จอน เพเรร่า รองประธานฝ่ายการตลาดการศึกษาทั่วโลกของอะโดบี – จอนมีหน้าที่ดูแลกลยุทธ์ด้านการตลาดสำหรับโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาของอะโดบี การปฏิบัติงานภาคสนามและริเริ่มโครงการด้านการศึกษาที่สร้างสรรค์ต่างๆ รวมถีงกระชับความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ การทำตลาดสำหรับโซลูชั่นด้านการศึกษา และการพัฒนาธุรกิจและหลักสูตรด้านการศึกษา

· ปีเตอร์ แมคอัลไพน์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายขายโซลูชั่นการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซฟิกของอะโดบี ซิสเต็มส์ – ปีเตอร์จัดการดูแลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอะโดบีในการจัดทำกลยุทธ์ด้านการศึกษาสำหรับสถานศึกษาและหน่วยงานราชการใน 13 ประเทศ รวมถึงจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และเกาหลี เขาเริ่มต้นการทำงานเป็นครูในโรงเรียนมัธยม และยังคงให้ความสนใจเกี่ยวกับงานด้านการศึกษามาโดยตลอด

สำหรับ ผู้ใช้งานอะโดบีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถติดต่อทีมงานอะโดบี โดยตรงผ่าน Facebook ที่ http://www.facebook.com/AdobeSEA

เกี่ยวกับ บริษัท อะโดบี ซิสเต็มส์ อินคอร์เปอเรทเต็ด

อะโดบีเปลี่ยนโลกใบนี้ด้วย ประสบการณ์ดิจิตอล ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.adobe.com

#

Get latest news from Blognone