Announcement

ในฐานะผู้ดูแลเว็บ Blognone ผมก็ได้รับการติดต่อจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านไอที (รวมถึงบริษัท PR ที่ดูแลการประชาสัมพันธ์ให้บริษัทเหล่านี้) ให้ไปร่วมงานแถลงข่าว/เปิดตัวผลิตภัณฑ์/สัมมนา/Blogger Day อยู่เรื่อยๆ ดังที่ผู้อ่าน Blognone ได้เห็นมาตลอด ทั้งหมดนี่ไปฟรีนะครับไม่มีการจ้างแต่อย่างใด (ถ้ามีจะโพสต์บอกว่าเป็น advertorial/sponsored ดู นโยบายการรับโฆษณา ประกอบ)

งานต่างๆ ที่ไปร่วมก็มีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไปครับ มีบริษัทที่จัดงานได้เยี่ยมๆ อย่างไม่น่าเชื่อ และบริษัทที่ห่วยจนเกิดคำถามว่ามาอยู่ในวงการนี้ได้อย่างไร วันนี้ผมคิดว่าได้เวลาแล้วที่จะบอกผู้จัดงานเหล่านี้ว่าบล็อกเกอร์อย่างเราๆ ต้องการอะไรบ้าง

เกริ่น

ก่อนเข้าเรื่องขอเล่าถึงเหตุการณ์ต้นเรื่องก่อน

วันนี้ผมได้รับการติดต่อจาก PR ของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่แห่งหนึ่ง (ขอไม่เอ่ยชื่อ) ให้ไปร่วม "งานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่" ในสัปดาห์หน้า โดยไม่บอกว่าเปิดตัวอะไร

จริงๆ ผมได้รับเมลเชิญไปร่วมงานก่อนแล้ว ซึ่งในเมลก็ไม่บอกรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เช่นกัน และผมก็ไปหาข้อมูลเพิ่มเองจนรู้ว่าจะเปิดตัวอะไรกันแน่ (ซึ่งก็หาได้ง่ายมาก โพสต์กันใน Twitter กันเปิดเผย)

เมื่อถาม PR ที่โทรมาว่าตกลงเป็นงานอะไรกันแน่ ก็ได้รับคำตอบว่า "บอกไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นอะไร"

ผมเลยบอกไปว่ามีงานประจำต้องทำ และไม่สามารถไปร่วมงานแถลงข่าวที่บอกไม่ได้ว่าจะแถลงอะไร เพราะไม่คุ้มค่าเสียเวลา

เหตุการณ์นี้บอกอะไรเรา? มันบอกว่าบุคคลากรที่อยู่ในวงการ PR (โดยเฉพาะ PR สายไอซีที) จำนวนไม่น้อยยังขาดความเข้าใจโลกออนไลน์ ชุมชนออนไลน์ บล็อกเกอร์และสื่อใหม่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลักอยู่มาก อันนี้ไม่ว่ากันครับเพราะคนเราก็มีเรื่องที่ไม่รู้กันได้

และผมจะบอกให้ในโพสต์นี้ว่า บล็อกเกอร์และคนออนไลน์อยากได้อะไรจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ และ PR ที่ทำงานประชาสัมพันธ์ให้บริษัทเหล่านี้

บล็อกเกอร์ต้องการอะไรจากงานแถลงข่าว

หมายเหตุ: คุณ @fordantitrust หนึ่งในสมาชิกของเราเพิ่งเขียนบล็อกถึงเรื่องนี้ รวบรวมรายละเอียดไว้ดีพอสมควร ดังนั้นขอยืมบางอย่างมาเขียนถึงซ้ำ รายละเอียดอ่านกันเองใน เชิญ Blogger ไปงาน Press

อย่างแรกที่สำคัญที่สุด คนทำ PR ต้องจดจำไว้ในใจอย่างลึกซึ้งว่า บล็อกเกอร์ไม่ใช่นักข่าว จะเอาตรรกะหรือธรรมเนียมปฏิบัติแบบเดียวกันมาใช้ มันเป็นไปไม่ได้

บล็อกเกอร์และสื่อออนไลน์เกือบทั้งหมดไม่ได้ทำเว็บเป็นงานหลัก มีงานประจำอย่างอื่น และทำเว็บเป็นงานที่รัก ตรงข้ามกับนักข่าวที่ถูกจ้างมาให้ตามหาข่าวเต็มเวลา ดังนั้นบล็อกเกอร์จะมีข้อจำกัดมากมายในการเข้าร่วมงานแถลงข่าว/มีตติ้ง

สถานที่-เวลาในการจัดงาน

ถ้าบริษัทหรือ PR อยากจัดงานแถลงข่าวใดๆ ควรคำนึงถึงสถานที่-เวลาดังนี้

  • วันธรรมดาตอนกลางวันที่พนักงานบริษัทต้องเข้าออฟฟิศ เลี่ยงได้จงเลี่ยง ไม่มีบล็อกเกอร์คนไหนอยากลางานเพื่อไปงานแถลงข่าวแน่ๆ
  • ดังนั้นถ้าต้องจัดงานที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบล็อกเกอร์และคนออนไลน์ ควรจัดตอนเย็นวันธรรมดาหรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ผมเข้าใจดีว่า PR ไม่อยากจัดงานในช่วงเวลาเหล่านี้เพราะอยู่นอกเวลางานปกติ แต่นั่นเป็นปัญหาของ PR ไม่ใช่ปัญหาของบล็อกเกอร์
  • ถ้าจัดงานเย็นวันธรรมดา ควรเผื่อเวลาเลิกงานและเดินทางด้วย เวลาที่เหมาะสมควรเป็น 19.00 เป็นต้นไป
  • ถ้าจัดงานวันหยุดสุดสัปดาห์ การเลือกวันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป วันเสาร์อาจมีบล็อกเกอร์บางคนทำงาน ในขณะที่วันอาทิตย์บางคนก็อยากพักผ่อนไม่ไปไหน อันนี้ไม่มีหลักการตายตัว เลือกเองตามกลุ่มเป้าหมายของท่าน ส่วนเวลาก็เป็นหลังเที่ยงเป็นต้นไปเพราะไม่มีใครอยากตื่นเช้าวันหยุดแน่ๆ
  • สถานที่จัดงาน ควรอยู่ในแนวรถไฟฟ้า-รถใต้ดินเท่านั้น เพื่อให้เดินทางสะดวก โดยเฉพาะตอนเย็นวันธรรมดา
  • สถานที่ที่ผมไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมชอบจัดกันคือ ร้านอาหาร-ผับในซอยทองหล่อ-เอกมัย (สงสัยจัดแล้วภาพมันดีมั้ง) เพราะเดินทางยาก BTS เข้าไม่ถึง และรถติด เลี่ยงได้ควรเลี่ยง
  • สถานที่ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงแรมหรู ความหรูมีค่าน้อยกว่าความสะดวกสบายในการเดินทางหลายเท่า

หัวข้อ-เนื้อหาของงาน

  • ข้อแรกสำคัญที่สุด ถ้าหัวข้อมันไม่น่าสนใจจริงๆ ก็อย่าจัดเสียเลยดีกว่าครับ ไม่มีใครอยากไปงานที่ไม่มีประโยชน์ เสียทั้งเวลาและเงินทอง กลับมาโดยที่ไม่ได้อะไรหรอกครับ
  • จงพึงระลึกไว้ว่า ประเทศไทยไม่เคยเป็นประเทศแรกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ไอที (ยกเว้นคุณจะเป็นแบรนด์ไทยอย่าง Wellcom หรือ Spring) ดังนั้นอย่าทำตัวตื่นเต้นประมาณว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์สุดยอดที่ไม่มีใครรู้จักหรือเคยได้ยินมาก่อน ผลิตภัณฑ์ 99% ที่ PR ต้องโปรโมทและประชาสัมพันธ์เนี่ย บล็อกเกอร์เขารู้ข่าวมาก่อนคุณแล้ว 3 เดือน 6 เดือนทั้งนั้น
  • ถ้าเป็นการแถลงข่าวผลประกอบการ ยุทธศาสตร์ประจำไตรมาส รายงานภาพรวมของวงการใดๆ ไม่ต้องจัดแถลงข่าวให้บล็อกเกอร์เพราะไม่มีใครสนใจ (และอย่าเอามารวมในงานแถลงข่าวอื่นๆ สำหรับบล็อกเกอร์ด้วย)
  • ถ้าเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ก็ควรเตรียมตัวผลิตภัณฑ์ไว้ให้ทดลองเล่น ทดลองจับ ด้วย__จำนวนที่มากพอ__สำหรับผู้ร่วมงานด้วย ไม่ใช่เชิญมา 50 คนมีของให้เล่น 2 ตัว
  • สิ่งที่บล็อกเกอร์อยากรู้เมื่อไปร่วมงานมี 3 อย่างคือ มีของให้ลองจับ, ราคาเท่าไร, ขายเมื่อไร ดังนั้นถ้าจะแถลงข่าวควรมีข้อมูลเหล่านี้ให้พร้อม (มีครบ 3 อย่างจะเพอร์เฟ็คต์) งานที่บอกว่าจะเอาผลิตภัณฑ์นี้เข้ามาขาย ไม่มีของให้ลอง ไม่บอกว่าเมื่อไรเท่าไร แบบนี้ไม่ต้องจัดครับ
  • ถ้าไม่มีประเด็นอะไรเด่นๆ ที่ต้องแถลงหรือจัดงาน แต่โดนบีบมาจากนายจ้างหรือ KPI ของงาน ให้อีเมลมาคุยกับผม แล้วผมจะเมลไปคุยกับนายจ้างของคุณให้อย่างดีและไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ กรุณาอย่าจัดงานที่ไม่มีประเด็นแล้วหลอกผมไปงานอีกเลย

รูปแบบการจัดงาน

  • สำคัญที่สุดอีกเช่นกัน กรุณาตรงต่อเวลา เริ่มงานตามเวลาที่ประกาศเอาไว้ อย่างที่บอกไปแล้วว่าบล็อกเกอร์ไม่ใช่นักข่าวอาชีพ ไม่มีเวลามานั่งรองานแถลงข่าวที่ไม่รู้จะเริ่มเมื่อไร
  • พิธีการไม่ต้องมาก ไม่ต้องมีโชว์ประกอบเพลงก่อนเริ่มงาน (ผมเคยเจอมาแล้ว) เข้าประเด็นให้เร็ว กระชับอย่าเวิ่นเว้อ ไม่ต้องโม้โชว์คุณสมบัติมาก เพราะบล็อกเกอร์ที่เข้าร่วมงานรู้หมดแล้วว่ามันทำอะไรได้บ้าง พูดประเด็นหลักๆ ให้ครบแล้วแจกของจริงให้ลองจับดีกว่า
  • ระดมคนที่มีความรู้ทางเทคนิคขององค์กรมาร่วมงานให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร เทคนิคเชียน ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ฯลฯ สิ่งที่บล็อกเกอร์ต้องการคือคนเทคนิคที่ตอบคำถามทางเทคนิคได้ ส่วนคนสาย PR ที่ถามว่า USB เวอร์ชันอะไรแล้วทำหน้างงก็ไม่ต้องเอามาเยอะมาก ต้อนรับหน้างานนิดหน่อยก็พอ
  • แนวทางการจัดงานสำหรับบล็อกเกอร์ขอให้ง่ายๆ ตรงไปตรงมา เป็นกันเอง มีคนที่ให้ข้อมูลในเชิงลึกได้ แค่นี้ก็พอแล้ว
  • จงอย่าจัดงานที่มีทั้งเซเล็บและบล็อกเกอร์ (เพราะบล็อกเกอร์ไม่รู้จักและไม่สนใจเซเล็บ)
  • จงอย่าเชิญบล็อกเกอร์ไอที ไปงานเชิงไลฟ์สไตล์ (ผมเคยถูกบริษัทพรินเตอร์เจ้าหนึ่งเชิญไปงานวาดภาพบนเสื้อยืด)
  • พริตตี้ อันนี้ความเห็นของแต่ละคนคงต่างกัน สำหรับผมว่ามีก็เป็นสีสันบ้าง แต่ไม่มีก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร ถ้าคิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องมี เอาเวลามาเน้นในจุดที่ควรเน้นจะดีกว่า
  • งานเลี้ยง เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เหล้ายาปลาปิ้ง การปิดผับฉลอง ฯลฯ ไม่ใช่สาระสำคัญ จะมีหรือไม่ก็แล้วแต่สะดวก บางคนอาจชอบงานแบบนี้ จะมีก็ได้ แต่ย้ำว่าไม่ใช่สาระสำคัญ

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในงาน

  • Wi-Fi สำคัญมาก สิ่งที่บล็อกเกอร์มักจะทำในวันงานคือทวีต ทวีต ทวีต ดังนั้นถ้ามี Wi-Fi บริการ การทวีตจะทำได้ง่ายขึ้น ถ่ายรูปถ่ายวิดีโอลงทวีตได้ทันที ข่าวของบริษัทจะปรากฏผ่านสายตาของผู้ใช้ทวิตเตอร์หลักพัน (หรือมากกว่านั้น) ที่ติดตามบล็อกเกอร์เหล่านี้ เป็นการลงทุนเล็กๆ แต่ผลตอบรับกลับมาดี
  • อาหารการกิน ไม่จำเป็นต้องหรู ไม่จำเป็นต้องเป็นดินเนอร์ฟูลคอร์ส ขอแค่มีน้ำให้กินดับกระหาย อาหารหรือของว่างรองท้อง หยิบง่ายเสิร์ฟเร็ว มีปริมาณพอสำหรับแขก (งานบล็อกเกอร์หนึ่งที่ผมประทับใจมาก แจกโค้กกระป๋องกับพิซซ่าโทรสั่งเดี๋ยวนั้น)
  • ของแจก ของที่ระลึกต่างๆ ไม่ใช่สาระสำคัญ จะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าอยากแจกก็ควรเลือกสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ (อย่างผมไปงานเยอะๆ ได้ของแจกบางอย่างมาก็รกบ้านเหมือนกัน)
  • Press release ไม่ต้องแจกก็ได้ครับ เปลืองกระดาษเปล่าๆ เมลเอาก็ได้ ควรเอาเวลาพิมพ์เอกสารไประดมของมาให้ลอง ระดมคนที่รู้เรื่องมาให้ถาม จะคุ้มค่ากับเวลามากกว่า
  • ซีดีที่ใส่ข้อมูลในงาน ไม่ต้องแจกเช่นกันครับ คอมผมตอนนี้ไม่มี optical drive สำหรับอ่านแผ่นซีดีแล้ว และคนจำนวนมากก็คงเป็นแบบเดียวกัน ดังนั้นได้มาก็ปาทิ้ง เปลืองของเปล่าๆ

การแจ้งข่าวสารก่อน-หลังงาน

  • สถานที่จัดงานควรบอกพิกัดของ Google Maps ประกอบด้วย รวมถึงเว็บไซต์ของสถานที่ (ถ้ามี)
  • อีเมลไม่ต้องใส่รูปมาเยอะ โลโก้บริษัทไม่ต้องมี (หาดูบนเว็บก็ได้) เอาเฉพาะข้อความในประเด็นสำคัญๆ ที่สำคัญอย่าใส่มาเป็นไฟล์ Word เพราะมันเปิดยาก (ทำกันแทบทุกราย) โดยเฉพาะการเปิดบนมือถือ-แท็บเล็ต บล็อกเกอร์ไม่มีใครพิมพ์ข้อมูลลงกระดาษเพื่อดูว่างานที่ไหนเมื่อไร เขากดดูกันบนมือถือหมดแล้ว ส่งมาเป็นข้อความธรรมดาจืดๆ ในอีเมลนี่ล่ะครับ ดีที่สุดแล้ว
  • การแจ้งข่าวทางอีเมลเพียงพอแล้ว ถ้าอยากรู้ว่าแขกจะไปร่วมงานหรือไม่ก็ควรบอกในเมลให้ชัดว่าควรตอบกลับทางเมลก่อนวันที่เท่าไร ไม่ต้องโทรตามก็ได้เพราะถ้าเห็นแล้วว่าไม่ควรค่าแก่การไป โทรตามยังไงก็ไม่ไปอยู่ดี รบกวนกันเปล่าๆ
  • การปิดรายละเอียดของข่าวไว้เพื่อให้สื่อกระแสหลักนำไปลงสื่อของตัวเองก่อน (embargo) แล้วค่อยเอามาบอกบล็อกเกอร์ ไม่มีประโยชน์อะไร ควรกลับความคิดเสียใหม่ ผลิตภัณฑ์ลับสุดยอดที่ PR รักษาความลับไว้ยิ่งชีพ บล็อกเกอร์เขาดูวิดีโอ Will It Blend นำผลิตภัณฑ์พวกนี้ไปปั่นกันนานแล้ว เห็นไส้เห็นพุงหมดแล้ว (ก่อนเลือกปิดข้อมูลลับอะไร ควรไปเช็คว่า Engadget ลงข่าวเดียวกันนี้ไปหรือยังก่อน ผมเคยได้เมล press จาก PR ไทยรายหนึ่ง หลัง Engadget ลงข่าวไปประมาณสามเดือน เป็น press อันเดียวกันแถมแปลไทยไม่ได้เรื่องเลยด้วย)
  • ภาพถ่ายหลังงาน ไม่ต้องเมลมา เปลืองที่เก็บ (PR บางเจ้าเมลรูปเดิมมา 3 รอบ) เอาไปไว้บนเว็บบริษัทหรือเว็บฝากรูป แล้วส่งมาเป็น URL ดีกว่า
  • บล็อกเกอร์ส่วนมากไม่มี Fax สื่อสารอะไรควรทำผ่านอีเมลเท่านั้น
  • ข่าวประเภท "ก็อซซิป" ว่าบริษัทไหนจะขายอะไร ดาราคนไหนใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ แบบนี้ไม่ต้องส่งมาครับ อันนี้ต้องเขียนถึงเพราะผมได้เมลแบบนี้เยอะมากจาก PR ของโอเปอเรเตอร์รายหนึ่ง ซึ่งผมรู้สึกว่ามันไม่มีความเป็นมืออาชีพมากๆ
  • การเขียน press ที่ใช้ถ้อยคำประเภท "ดีที่สุด" "สุดฮ็อต" "อินเทรนด์" "สุดชิค" "สุดฮิป" "ล้ำสมัย" "สุดเก๋" แบบนี้ไม่ต้องเขียนมาครับ ถ้าบริษัทไหนส่ง press แบบนี้มาอีก เดี๋ยวจะมาแปะประจานไว้หน้าแรกเป็นตัวอย่าง (บริษัทเดียวกับข้อที่แล้วนั่นแหละ)

สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด

  • อย่าจ่ายเงิน แจกของ มอบผลประโยชน์ในทางลับแก่บล็อกเกอร์เพื่อให้เขียนเชียร์บนเว็บ ถ้าถูกจับได้ ภาพลักษณ์ขององค์กรจะเสียหายอย่างหนัก เคยมีกรณีมาแล้ว (โดยเฉพาะมือถือยี่ห้อหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจ่ายหรือเปล่า แต่บล็อกเกอร์นำไปทำเสียใหญ่โต)
  • การปั่นแท็กเพื่อหวังการประชาสัมพันธ์ เคยมีกรณีคอนโดเจ้าหนึ่งพยายามโปรโมทให้คนใส่ hashtag ในทวิตเตอร์เพื่อชิงรางวัล ผลที่ได้คือกระแสตีกลับแอนตี้คอนโดเจ้านี้ โปรดจริงใจกับชาวเน็ต ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณดีจริง คนจะพูดถึงเองโดยธรรมชาติ ถ้าผลิตภัณฑ์ห่วยแล้วยังโปรโมทโอเวอร์ คนจะหมั่นไส้และสาบส่งแทน
  • การเขียนถึงผลิตภัณฑ์ย่อมมีข้อดีข้อเสีย ถ้าคิดจะโปรโมทผลิตภัณฑ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องยอมรับเสียงวิจารณ์ให้ได้ และจะให้ดี ฝ่าย PR ควรเข้ามาตอบหรือชี้แจงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา แบบนี้ผู้ใช้จะยอมรับได้ (เผลอๆ จะเชียร์โดยรู้ว่ามีข้อเสียด้วยซ้ำ) ผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ฉลาดนะครับ ถ้าบล็อกหรือเว็บเขียนแต่ข้อดีอย่างเดียว ก็รู้กันหมดแล้วว่ารับงานมา
  • การจ้างคนมาโพสต์ข้อดีหรือข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดกระแสเป็นเทคนิคชั้นเลว ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ คือสองโพสต์นี้
  • ผมไม่รู้หรอกว่าใครเป็นคนทำ แต่ทุกคนคงดูออกว่ารับงานมา และแบบนี้ก็เป็นผลเสียต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์เอง ฝากเรื่องให้ซัมซุงประเทศไทยในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์กลับไปดูแลทีมงานของตัวเองด้วยครับ

สรุปว่าจัดงานกับบล็อกเกอร์ขอให้จริงใจ ตรงไปตรงมา น้ำอย่าเยอะ มีของให้ลองจับ มีคนรู้จริงให้พูดคุย แค่นี้ก็ได้ใจบล็อกเกอร์แล้วครับ

สมาชิกท่านอื่นอาจเคยเจอปัญหา-กรณีที่แตกต่างออกไป ถ้าใครมีไอเดียเพิ่มเติมก็เสนอไว้ได้ในคอมเมนต์ครับ ผมรับรองว่าบริษัท PR ในเมืองไทยได้อ่านโพสต์นี้กันแน่ๆ (ดังนั้นเราต้องช่วยกันส่งต่อด้วย จริงไหม? เพื่อวงการ PR ในประเทศไทยที่พัฒนายิ่งๆ ขึ้น)

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ไม่ต้องบอกป่าหรอกเค้าก็รู้กันละ แต่ขาเนี้ย อ่านเจอบทความเค้าทีไร ก็อดคิดว่ารับงานไม่ได้สักที
แต่ พรุ่งนี้ "STARBUCKS" ลด 50% ก๊ากๆๆ

อีตา หลงป่า เค้าตอบมาแล้วนะฮ้าฟฟฟฟฟฟ

ตะกี้มี Agency นึง ส่ง Link มาให้ผมอ่าน, ว่าด้วยเรื่อง “การจัดงานที่ Blogger อยากไป”

ผมอ่านได้ 2 จึ๊ก ต้องรีบตอบ Facebook เค้าทันทีว่า “ถ้าจัดงานแบบที่เขียนนี่ละก็ อย่าชวนผม ขอร้อง = =”

งาน Blogger ที่ผมชอบคือ… มีเหล้า + เบียร์ + Wine ไม่อั้น / จัดใน Pub จะดีมาก [เอกมัย & ทองหล่อ เยี่ยมสุด - -v] / ไม่ต้องการ Guru มาอธิบาย [หม่ำๆ] / อาหารดีๆ เป็นสิ่งสำคัญเท่าชีวิต / ต้องการ Celeb & Pretty !

งานล่าสุดที่ไป.. บอกตามตรง ผิดหวังนิดๆ คือเหล้าหมด Y-Y (คือถ้าไม่ได้บอกแต่แรกก็ไม่หวังอะนะ.. แต่แบบ ผ่านไปสามสี่แก้วแล้ว ดันขาดตอน... เลยจำต้องไปจัด route ต่อกันเลยทีเดียว)

แต่คือ.. เค้าเชิญคุณมา เสนอว่าอยากมาไหม มาดูอะไรที่เราจะบอกนี่ซิ.. โอเค คุณรู้แล้วเราจะบอกอะไร แต่คุณอยากมาอ๊ะเปล่า มามีทติ้ง มาเจอเพื่อนๆ แนวเดียวกัน .. ถ้าคุณอยากไป ก็ไป ไม่อยากไป ก็ไม่ต้องไปซิ

PR ที่ตามง้อนี่.. ผมว่าเกินไปนะ เอาเหล้ามาล่อ เอาอาหารมาล่อ .. บ้านผมเรียก ติดสินบนครับ!! งานขายสินค้านะครับ ไม่ได้ขายเหล้า ขายไวน์ (เอ่อ.. แต่ถ้าบุญรอด หรือ สิงห์อ่านอยู่ จะเชิญผมไปงาน เมาไม่อั้น ผมก็ไปนะ ฮ่าๆ..)

เรื่องอาหาร, ของที่ระลึก ผมคิดว่ามันเป็นแค่ ผลพลอยได้ครับ สิ่งที่เค้าเสนอเรามา เค้าเชิญเรามา มันคือ opportunity เราอยากได้โอกาสเข้าไปงานนั้นไหม ถ้าอยาก ก็ไปครับ ถ้าไม่อยากก็ผ่านครับ

ผมมีเพื่อนคนนึง ถือว่าเป็นมีเดียหนึ่งในด้านงานหนังละกัน (ไม่อยากเอากรณีตัวเอง เพราะผมไม่ได้ดังขนาดนั้น เป็นเพียงปุถุชนต๊อกต๋อย).. ค่ายต่างๆ ก็เชิญเค้าไปดูหนังอยู่เรื่อยๆ ซึ่ง.. เค้าก็เลือกได้ อยากดู ไม่อยากดู ก็แล้วแต่ เค้าไม่ได้บังคับให้ไปดู.. เค้าแค่ "เปิดโอกาส" ไม่ใช่ว่า อุ๊ย เชิญชั้นไปดูหนังนะ ต้องเลี้ยงเหล้าชั้นด้วยนะ

มันใช่เรื่องไหม!!

ipats
พ.ค. 27th 2011:แปลว่า.. คำพูด รวมถึง รีวิว ความคิดเห็น ฯลฯ ต่างๆ ของคุณ ก็มีค่าพอๆ กับ … เหล้า ใช่ไหมครับ?

[Admin : ลบเกรียนครับ อย่าไปต่อปากต่อคำกับเค้าเลย]

เหมือนคุณ ipats จะโดนดูถูกว่าเป็นเกรียนไปแล้วครับ

แต่ก็นะ อีกสี่นิ้วมันก็ชี้กลับไปทางนั้นนั่นแหละ

ผมยอมรับนะ ว่าบางครั้งผมก็หลังชนฝาผ่าซากเหมือนกันครับ (เป็นการฟิวชั่นกัน มิได้พิมพ์ผิด) ถ้าได้เคยอ่านๆ ความเห็นผม คงจะเคยเห็นมาบ้าง แต่ผมก็รู้สึกสงสัยว่าทำไม พอผมถามตรงๆ ทื่อๆ ไปเนี่ย แทนที่จะเคลียร์ กลับแถ หรือไม่ก็หลบไปซะอย่างนั้น

เราจะซื้อสินค้าแบรนด์ที่มี blogger คอยเขียนว่าได้เลี้ยงเหล้าเลี้ยงเบียร์รึเปล่า?

(ถ้านั่นไม่ใช่แบรนด์ของเหล้าเบียร์น่ะนะ)

blackdemon Thu, 05/26/2011 - 22:39

ฝ่าย Marketing มักคิดต่างจากฝ่าย IT อยุ่เสมอๆ

ปล. บล็อกเกอร์รายนั้นหมายถึงคนหลงป่าป่ะครับ?

นึกถึงพี่ บ. กับบริษัท MLM รายใหญ่บางค่าย ที่ไม่บอกอะไร สุดท้ายค่อยมาเฉลยพร้อมกับเงินที่เราอาจจะจ่ายค่าเบี้ยล่าง

อ่านจบแล้วรู้สึกเห็นด้วยเลยครับ

ผลิตภัณฑ์ลับสุดยอดที่ PR รักษาความลับไว้ยิ่งชีพ บล็อกเกอร์เขาดูวิดีโอ Will It Blend นำผลิตภัณฑ์พวกนี้ไปปั่นกันนานแล้ว

ชอบอันนี้สุดๆ :D

โดนใจหมดทุกข้อครับ หวังว่าหลังจากนี้งานอีเวนต์ไอทีบ้านเราคงดีขึ้นเรื่อยๆ ( เสียงจาก blognone ดังมาก... ) :)

ภาพถ่ายหลังงาน ไม่ต้องเมลมา เปลืองที่เก็บ

ผมเคยเจอ ส่ง video มา เป็นสิบเมก ซึ่ง สุดท้าย ผมก็ต้องเอาไปอัพ youtube อยู่ดี .. ส่งมาทำไม -*-

ต้องยอมรับว่า Marketing ในหลาย ๆ ที่ยังมีปัญหาลักษณะนี้จริง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขาดความเข้าใจสินค้าของตัวเองที่แท้จริง อยากจะบอกว่าถ้าจะทำการตลาด โดยที่ไม่รู้จักตัว Product ดีพอ เอาพริตตี้มาทำเองอาจจะขายดีกว่านะครับ :)

สิ่งที่อยากเห็นที่สุดคือ PR มาพูดคุยหรือ comment ที่ข่าวนี้ครับ ผมเชื่อว่าบางอย่างท่าน PR น่าจะพอบอกเหตุผลที่เราๆ อาจจะไม่เข้าถึงโลกพนักงาน PR บริษัทก็เป็นได้

sarapuk Thu, 05/26/2011 - 23:34

บริษัท PR คงลืมไปว่าบล็อกเกอร์เขาเชียวชาญในเรื่องนั้นๆที่เขาสนใจ เขาเขียนถึงเรื่องนั้นมานานจนมีคนติดตามอ่าน เห็นด้วยกับจดหมายนี้ครับ โดยเฉพาะเรื่องที่บล็อกเกอร์อยากจับของจริง อยากรู้ราคาและวันขาย บางทีสเปคเครื่องไม่ต้องบอกด้วยซ้ำ ยังไงก็มาค้นต่อในเว็บ ยกเว้นเครื่องที่ขายในไทยสเปคต่างจากประเทศอื่น

lazywahwah Fri, 05/27/2011 - 12:35

In reply to by sarapuk

จริงครับ แต่ผมว่าก็มีผู้บริโภคอีกไม่น้อยนะ ที่ไม่ได้อยากจะลงไปสนใจเรื่องเทคนิคอะไรมากมาย

เค้าต้องการแค่ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมันตอบโจทย์ในแง่ "ความรู้สึก" ได้แค่ไหนมากกว่า

ซึ่งไอ่เด็กหลงป่า (ไม่อยากเอ่ยชื่อมันจริงๆ ให้ตาย) เค้าอาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคในด้านนี้ได้ดีกว่าก็ได้ครับ

แถมให้ขำๆนะประเด็นเรื่อง tag #WYNE หนังสือ Case Study 14.0 สัมภาษณ์ทางทีมการตลาดของคอนโดแล้ว ยืนยันว่าคนไม่พอใจมีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น คนส่วนใหญ่ enjoy กับแคมเปญนี้ดี แต่ก็เป็นกรณีศึกษาที่ดีว่าถ้าเลือกทำอะไรที่คุมคนทั้งหมดไม่ได้ มันจะมีแนวโน้มกระเจิงแบบนี้

เอ็นทรีนี้ดีมากเลยครับ เอาไปแชร์อย่างด่วนเลย

ผมเคยเจอ Marketing บางคนไม่รู้เรื่องไอทีจริง แต่ทำเหมือนกับว่ารู้ เห็นผู้บริโภคโง่ ก็อธิบายส่งๆ
หาได้ทั่วไป เยอะมากด้วย ไอ้เรายืนฟังก็รำคาญ อยากจะเดินออกห่าง
บางทีก็ถามคำถามง่ายๆ โง่ๆ ไป คนรู้ยังไงก็ต้องบอกว่ามันไม่ใช่ ทำไม่ได้ พี่ท่านบอกทำได้เฉยเลย
ไม่รู้มีคนเสียค่าโง่ไปเท่าไหร่แล้ว อยากขายของกันมาก ของไม่ดี ก็หาทางพยายามขาย

ปล.
อันนี้หลายค่ายเป็นกันนะครับ คนใกล้ตัวที่ไม่รู้ ถูกหลอกให้ซื้อ แล้วมาให้เราดูให้เจ็บใจเล่น
ไม่เว้นแม้แต่ร้านในเครือที่ขายของ Apple (เมื่อก่อนนะครับ)

พนักงานขายไม่รู้ควรบอกไม่รู้ หรือหาคำตอบ หาทางตอบโจทย์ลูกค้า ไม่ใช่โชว์เทพ จะขายอย่างเดียว
เพราะนอกจากมันทำให้คนที่รู้หลายคนเขาไม่ซื้อแล้ว เขาจะหมดความเชื่อถืออีกตังหาก
สินค้าประเภทไอที นักขายน่าจะมีวิจารณญาณบ้าง มีความรู้จริงอยู่บ้าง ตอบลูกค้าได้ตรงไปตรงมา และถูกต้อง
ไม่ใช่อยากเป็นสุดยอดนักขายมากเกินไป คิดถึงแต่ยอดขาย ไม่คิดถึงความต้องการของลูกค้าเลย
แต่อันนี้พูดถึงเป็นรายคนนะครับ :)

So.whaT Fri, 05/27/2011 - 00:13

ดูๆแล้ว สิ่งที่ต้องการก็ไม่ต่างจากนักข่าว (ไอที-เทเลคอม) ส่วนใหญ่หรอกครับ

ไม่ได้มีใครอยากได้น้ำ เพราะก็ตามข่าวต่างประเทศกันหมด

หลายๆข้อ เป็นสิ่งที่เคยคอมเมนต์พีอาร์กันไปแล้ว แต่บางค่ายก็ไม่มีการพัฒนาครับ

โดยรวมแล้ว จดหมายเปิดผนึก นี้ เชื่อว่า นักข่าว-บล็อกเกอร์ หลายคนกด like กันเต็มที่

แต่ถ้ามองกลับในมุมของพีอาร์ ไม่ใช่ว่าไม่อยากทำตามนี้แต่ติดที่ ลูกค้า-องค์กร

ยังมีความคิดเก่าๆอยู่ จึงไม่สามารถทำให้ได้ตามนี้ทั้งหมด

อยากเพิ่มว่าอะไรที่อะลุ่มอล่วยกันได้เล็กๆน้อยๆ มันจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย "วิน-วิน" ครับ

พยายามคิดเหตุผลในมุมของ PR บ้างนะครับ

สถานที่-เวลาในการจัดงาน

  • นักข่าวทั่วไปทำงานกลางวัน ถ้ามางานเปิดตัวสินค้าเท่ากับได้ทำงานและไม่อยู่นอกเวลางาน ทำให้ PR จัดแต่งานกลางวันจนชิน
  • นักข่าวทั่วไปเบิกค่ารถได้ (และไปกลางวัน) ถ้าได้ไปร้านหรูๆ เท่ๆ ย่อมชอบมากกว่า

หัวข้อ-เนื้อหาของงาน

  • นักข่าวทั่วไปไม่รู้ว่าหัวข้อไหนน่าสนใจหรือเปล่า ได้คำสั่ง (หรือมีแรงจูงใจอื่นๆ) ให้เขียนข่าวไหนก็ต้องเขียนทั้งนั้นแหละ
  • นักข่าวทั่วไปไม่ได้ตามข่าวเทคโนโลยีต่างประเทศ การบอกว่าเปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยย่อมน่าตื่นเต้น มีประเด็นเขียนข่าว
  • การแถลงข่าวผลประกอบการ ทำให้ข่าวดูมีอะไรดี
  • นักข่าวทั่วไป ถึงได้จับผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ค่อยวิเคราะห์วิจารณ์อยู่ดี (เพราะทำให้เสีย Connection เปล่าๆ) ดังนั้นไม่ต้องมีตัวจริงให้ดูก็ได้

รูปแบบการจัดงาน

  • นักข่าวทั่วไปมาทำข่าวเป็นการทำงาน ถ้าได้เร่ิมงานช้าๆ ก็ทำให้ไม่ต้องรีบมาก/ได้พัก/ได้หา Connection ฯลฯ ดังนั้นงานทั่วไปไม่ควรเริ่มตรงเวลา
  • ดังนั้นพิธีการจะมากนิดก็ไม่เป็นไร พักผ่อนๆ ไม่เครียดๆ
  • นักข่าวทั่วไปไม่รู้เรื่องเทคนิค เอาคนเทคนิคมาก็ไม่อยากคุย เอาเซเล็บมาดีกว่า หรือทำให้พิธีการดูยุ่งยากซับซ้อน คนเข้าร่วมจะได้รู้สึกยิ่งใหญ่
  • มีพริตตี้ก็ทำให้ภาพข่าวสวยดี มีเหล้ายาปลาปิ้ง จะได้น่ามาหน่อย

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในงาน

  • นักข่าวทั่วไปไม่ได้ต่อ Wi-Fi ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เดี๋ยวต้องลงทะเบียนยุ่งยากเปล่าๆ (ไม่งั้นผิดกฏหมายเทพของไทย)
  • นักข่าวทั่วไปย่อมชอบของกินหรูๆ ของที่ระลึกเยอะๆ (เผื่อต้องไปแจกต่อที่ออฟฟิศอีก จะทำให้ดูเป็นคนสำคัญ)
  • Press Release เรื่องใหญ่ เพราะถ้าให้จับประเด็นเอง จะทำให้นักข่าวทั่วไปทำงานหนักเกิน
  • และก็รวมถึงรูป และซีดีด้วย จะได้ส่งโรงพิมพ์ต่อได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเปิดดู

การแจ้งข่าวสารก่อน-หลังงาน

  • พิกัด Google Maps คืออะไร?
  • ขอไฟล์รูป, ไฟล์ vdo, ไฟล์ Word และทุกอย่างพร้อมส่งโรงพิมพ์ดีสุด นักข่าวทั่วไปส่งต่อง่าย ไม่ต้องถ่ายเอง ก๊อบเอง
  • การแจ้งข่าวทางโทรศัพท์ จะทำให้นักข่าวทั่วไปเห็นว่าตนเองมีความสำคัญและดูยิ่งใหญ่
  • นักข่าวทั่วไปไม่ค่อยเช็คข่าว จะปิดรายละเอียดบ้างก็ทำให้ข่าวดูน่าตื่นเต้นดี
  • นักข่าวทั่วไปไม่ได้ใช้อีเมล Fax ก็ดีแล้วนี่นา
  • ข่าวก๊อซซิป เป็นข่าวขายได้ ส่งๆๆๆๆ

ดังนั้น เชื่อว่า PR จำนวนมาก คงไม่กล้ามาคอมเม้นท์ในข่าวนี้ #ท้าด้วยความหวังดีนะเนี่ย :)

ที่เขียนมาอาจจะใช้กันนักข่าวสายอื่นที่ไม่ใช่ไอทีได้ครับ

แต่กับนักข่าวไอที-เทเลคอม รุ่นใหม่ๆ เชื่อว่าไม่ได้เป็นแบบนี้ทั้งหมด

ผมเห็นว่าบางแบรนด์เห็นปัญหา ก็มีการแยกกันนะครับ นักข่าวไปบ่าย เย็นหน่อยจัดอีกรอบเป็นบล็อกเกอร์ ก็แก้ปัญหาได้ไปจุดนึง แต่อาจจะมีปัญหาด้านงบประมาณที่ต้องจัดสองรอบ

เคยพยายามบอกเค้านะ ว่ารอบ Blogger น่ะไม่ต้องอะไรเลย จองร้านอาหารโต๊ะยาวตัวเดียว นั่งกินแล้วเวียนของ ใครที่ของยังไม่ถึงก็คุยไป ใครที่ของถึงแล้วก็เล่นไป อย่างมากก็หลักพัน

ใช่เลย อันนี้เจอหลายงานที่เข้าใจ blogger จัด press ช่วงเช้าหรือบ่าย แล้ว blogger รอบเย็น แยกชัดเจน ได้ข้อมูลช้ากว่า press แต่ทำไมกลายเป็น blogger ลงข่าวหรือข้อมูลก่อนเกือบทุกครั้งก็ไม่ทราบได้ -_-"

อันนี้ก็แล้วแต่คนจัดว่าจะจัดงานให้ตรงกับคนที่มา หรือว่าจะให้คนที่มาตรงกับงานที่จัดก็แล้วแต่สติปัญญาหของผู้จัดว่าจะมีประสิทธิภาพได้อย่างไรก็น่าคิดเพราะว่าทุกท่านมีเหตุผลในมุมมองที่ไม่เหมือนกันจึงทำให้ผู้จัดนั้นน่าจะเอาไปคิดให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง

เท่าที่รู้และสัมผัสมา นักข่าวเดี๋ยวนี้ก็ไฮเทคกันมากครับ หลายค่ายมีซอฟต์แวร์สำหรับส่งข่าว นั่งพิมพ์ในงาน แถลงจบกด enter ส่งผ่าน aircard ได้เลย

อ๊ะ อย่างนี้แปลว่าคนที่หัวโบราณคือ PR เองสินะ

ขอบคุณสำหรับแนวทางที่นำมาขยายต่อครับ ผมว่าเป็นแนวทางที่ดีสำหรับคนที่จะประสานงานกับ new media หรือ social network ในงานต่อๆ ไป ผมมองว่าไม่ได้ยาก เพียงแต่ต้องปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน หาจุดร่วมที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มคนกลุ่มใหม่ที่ไม่คุ้นเคยครับผม

ผมเชื่อว่าถ้า "การทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมาและหวังว่าให้ผลมันเปลี่ยน" มันคงไม่ใช่มั้งครับ เพราะงั้นถ้าอยากได้เนื้อหาต่างๆ ที่เป็นรูปแบบ new media ที่อยู่ในลักษณะที่คนใช้งานทั่วไปอ่านจาก blogger ก็คงต้องเปลี่ยนวิธีคิดน่ะครับ เพื่อที่เราทำงานร่วมกันได้อย่างดีครับผม ออกแนวคิดแบบ press หรือนักข่าว คุณก็จะได้แบบนักข่าว เนื้อหายนิ่งๆ เป็นทางการ น่าเบื่อผู้ใช้อ่านแล้วก็แป็บๆ ก็หมดมุขอะไรแบบนั้น

myung Fri, 05/27/2011 - 00:51

เห็นด้วยครับ แต่บางท่านเค้ามาคนละสายกับเรา(บางท่านทำแบบจำเป็น) ทำให้ไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของเรา

PaPaSEK Fri, 05/27/2011 - 09:39

ผมเข้าใจว่าคุณ mk เขียนแบบมีอารมณ์หงุดหงิดนิดนึง

แต่ผมอ่านไปหัวเราะไปเพราะเขียนตรงดีมากๆ ออกแนวด่าเล็กๆ แต่ถ้าฝ่าย PR เปิดใจอ่าน (และนำไปปรับปรุง) ผมว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกกฝ่าย แบบนี้ผมชอบครับ

ปล.แอบฮากระทู้ Galaxy SII ที่เอาคนที่ไหนมาโพสท์ก็ไม่รู้ สมาชิกเว็บนี้มัน Geek กันทั้งนั้น

เห็นด้วยทุกข้อครับ คนอ่านอย่างใน blognone เองก็อยากรู้ว่าจับเครื่องจริงแล้วเป็นยังไง เพราะนอกนั้น Google ตอบหมดแล้ว และมากกว่าที่อยากจะรู้ว่าคนร่วมงานได้กระเดื้อกอะไรลงท้องไปบ้าง

สิ่งที่หายไปจากสังคมไทยคือ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเป็นมิตรสหายคบหาสมาคม มรรยาทดีๆ ไม่ใช่แค่ลูกค้าที่มาซื้อของ หรือ แค่เรียกเจ้าของเว็บมาช่วยโฆษณาให้ตามที่เจ้าของสินค้า (ทีม marketing) เป็นครั้งๆเมื่อต้องการ

อยากได้สังคมและความรู้สึกแบบสมัยปู่ย่าเรากลับมาอีกครั้ง อยากให้มองจุดดีของโบราณที่หายไปจากสังคมไทย อย่าสักแต่ว่ามองเฉพาะ เทคโนโลยี จำนวนคนมา จำนวนกระทู้ คนอ่าน จำนวน Like ฯลฯ เพียงอย่างเดียว

เสียดายไม่รู้จัก PR ด้านนี้สักคน

ไม่งั้นจะส่งหน้านี้ให้อ่าน อยากรู้ว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไรหลังจากที่ได้อ่าน

ผมเป็นบล็อกเกอร์ + นักดนตรีด้วย งานหรูไปเล่นดนตรี งานไม่หรูไปเจ๋อ ลงดัวดีครับ :P

ผมเองเนื่องจากบล็อกตัวเองค่อนข้างอิงธุรกิจมากกว่า เวลาไปความต้องการก็ยังต่างจาก Blogger IT อีก
นั่นคือผมอยากรู้จักโครงสร้างการทำงานของลูกค้า อยากทั่งคุย case study กับผู้บริหาร และแนวทาง
การตลาดบ้างเล็กน้อย ซึ่งที่ผ่านมามีน้อยมากที่ผมจะได้ข้อมูลดังหวังครับ

ข้อมูลในบล็อกหลายอย่างเลยได้จากการดั้นด้นไปหา Keyman ในภายหลังเองโดยใข้ Party เบิกทางทำความรู้จักก่อนนิดหน่อย

adamy Mon, 05/30/2011 - 23:56

ฮาๆ ... มีเรื่องของผมอยู่ด้วยนะครับนั่นใน Post นี้ : )

เห็นด้วยมากๆครับ ทั้งในฐานะของ Blogger, Celeb แล้วก็ Media เอง ความจริงแล้วก็มีความต้องการคล้ายๆกันนะครับ ผมเชื่อว่าการตลาดรูปแบบเก่าเกิดจากความเข้าใจเก่าๆที่ไม่ได้มีที่มาชัดเจนซะเท่าไหร่นะครับ เพราะงานพวกนี้มันไม่ได้สร้างการรับรู้เท่า Above the line ซะเท่าไหร่เลยครับเทียบกันแล้ว

แต่พวก PR เค้าหากินได้เงินมาหลายแสนตลอด .... ก็ถือว่าลูกค้ายังคงความเชื่อใจแบบนี้ไว้ให้เสียเงินเล่นครับ (บางบริษัทชอบถลุงเงินทิ้งให้ผู้บริหารตัวเองได้ออกสื่อรูปเล็กๆ ... ผู้บริหารเองก็ไม่ได้อ่าน แค่เห็นตากล้องหลอกๆมาถ่ายภาพเยอะๆก็รู้สึกว่ามันมีข่าวแล้ว ผมเองพอดีจ้างบริษัท PR ให้ช่วยเก็บ News Clipping ของที่ผมต้องการจะรู้ ก็เลยรู้ว่าความจริงแล้วมันส่งผลน้อยมากๆทางการตลาดกับงานอะไรเทือกนี้ครับ)

ซึ่งก็น่าเศร้านะครับ .... ถ้าเข้าใจสินค้า + สื่อ + ความต้องการทางการตลาดซักนิดก็คงจะดีครับ

ปล.ผมเองรู้จักพวกบริษัท PR พวกทำ Event แบบนี้เยอะครับ เดี๋ยวจะเอาบทความนี้ไปฝากเรื่อยๆนะครับ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

สรุปBloggerเป็นกลุ่มคนนิสัยจริงใจ เปิดเผยไม่แอบ(แอบก็บอก)ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีอย่างถึงแก่น

ไม่ใช้คนโลภที่จะใช้เงินมาล่อกันได้ง่ายๆ และไม่ใช้คนรักสนุก

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png