Tags:
Node Thumbnail

ค่ายรถยนต์ออดี้ ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำลองการชนของรถ (crash simulation) เพื่อการออกแบบรถยนต์ที่มีความปลอดภัยสูง และด้วยจำนวนโปรเซสเซอร์อินเทลถึง 608 หน่วยจากเซิร์ฟเวอร์เอชพี 320 เครื่อง ทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีพลังในการคำนวณถึง 29 เทราฟลอป และถูกจัดให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ อีกทั้งยังได้ตำแหน่งคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงอันดับที่ 81 ของโลกอีกด้วย

ออดี้เปิดเผยว่า ก่อนจะผลิตรถยนต์ต้นแบบหนึ่งรุ่นออกมานั้น นักพัฒนาต้องทำการทดสอบรถยนต์ด้วยโปรแกรมจำลองสถานการณ์การชนที่มีประมาณ 1,000 งานต่อสัปดาห์ เพื่อวินิจฉัยและหาจุดบกพร่องของรถยนต์ โดยระยะเวลาในการคำนวณของแต่ละงานช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของอุบัติเหตุที่จำลองขึ้นมา ซึ่งระยะเวลาคำนวณมีตั้งแต่ 30 นาที จนถึงหนึ่งสัปดาห์เลยก็มี ทั้งนี้ ก่อนที่รถต้นแบบหนึ่งคันจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจริง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต้องคำนวณงานมากกว่าหนึ่งแสนงานเลยทีเดียว

ที่มา - The Auto Channel

Get latest news from Blognone

Comments

By: orbitalz
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 7 November 2008 - 12:20 #70823

ค่ายนี้มีความรับผิิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ตัวเองดีจัง

By: chris123 on 7 November 2008 - 12:36 #70827

ดีครับยี่ห้อนี่ดีจริงๆ

By: นายขโมย on 7 November 2008 - 13:23 #70833

หน้าเป็นห่วงจริงๆ ยี่ห้อนี้

By: obtheair on 7 November 2008 - 14:56 #70839 Reply to:70833

เป็นห่วงยกกำลัง 4 เลยด้วย

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 8 November 2008 - 22:32 #70906 Reply to:70833
tomyum's picture

555 \(@^_^@)/ M R T O M Y U M

By: audy
AndroidUbuntu
on 7 November 2008 - 15:04 #70841
audy's picture

อยากรู้จริงๆครับ ว่าเค้าเขียนสมการยังไงบ้าง

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 7 November 2008 - 23:21 #70859 Reply to:70841
dangsystem's picture

server ตั้งกี่ตัว โปรแกรมเมอร์ คงเขียนกันหัวปั่นเลย

By: javaboom
WriteriPhone
on 8 November 2008 - 10:33 #70878 Reply to:70859
javaboom's picture

ปกติเขียนโปรแกรมแบบขนาน เราออกแบบให้เป็น process สำหรับ SDK บางตัว เราแค่ระบุจำนวน process ที่จะรันระหว่างเครื่อง เราไม่ต้องคำนึงเลยว่ามี processor หรือ server กี่ตัวเลยครับ เดี๋ยวระบบเบื้องหลังกระจายงานไปให้เอง

โดยสรุป โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องหัวปั่นกับการเขียนโปรแกรมบน server หลายตัวหรอกครับ มันจะมีกี่ตัวก็ตาม ความยากง่ายในการเขียนโปรแกรมก็ไม่ได้ต่างกันเลย แต่อาจจะหั่วปั่นตอนออกแบบและเขียนโปรแกรมแบบขนาน อย่างไรก็ดี ถ้าหากมีประสบการณ์มาแล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาครับ

สำหรับเรื่อง simulation โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมครั้งเดียวให้เสร็จเลย อาจจะมีปรับแต่งเพิ่มเติมเพื่อให้คลุมกรณีใหม่ๆ,โมเดลใหม่ๆ,หรือสมการใหม่ๆ ส่วน parameter มันจะมีเครื่องมือ (เช่น พวก CAD) สำหรับออกแบบสถานการณ์ จากนั้นก็สร้างเป็น input file ครับ อันนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ก็ได้ ควรให้พวกนักวิจัยด้านอุบัติภัยวิทยาในการจำลองครับ

แม้โปรแกรมไม่ใช่ขนาน แต่เป็นแบบ parameter-based หรือ data-intensive คือ โปรแกรมเดียว แต่ parameter มีเยอะแยะ เราจะใช้พวก batch scheduler (เช่น SGE, Condor)สำหรับกระจาย process ของโปรแกรมพร้อมส่ง parameter ไปให้ process เหล่านั้น ซึ่งขั้นตอนนี้ วิธีการเขียนโปรแกรมก็เหมือนกับเขียนบน server ตัวเดียว แต่เวลารัน ตัว batch scheduler จะจัดการเรื่องนี้ให้เองครับ

แม้กระทั่งในฝั่งผู้ดูแลระบบหรือ admin เวลาเราติดตั้งหรือควบคุม server หลายๆตัว เขาก็มี software สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ อย่างที่ใช้กันกว้างขวางก็เช่น Rocks Cluster เป็นต้น เราสามารถติดตั้ง server ร้อยกว่าเครื่องให้พร้อมใช้งานได้ภายใน 1 วันเลยครับ (จริงๆอยากบอกว่าน้อยกว่า 3 ชั่วโมงด้วยซ้ำ) แต่ถ้ามีปัญหาทางด้าน hardware ที่แก้ไขลำบาก อันนี้ก็ต้องเรียก support น่ะครับ ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากการดูแล server ทั่วๆไป

ปล. ถึงคุณ audy เรื่อง "สมการเขียนอย่างไร" อันนี้ผมไม่ชำนาญครับ แต่ผมเคยเห็นนักศึกษาที่เขาเขียนโปรแกรมพวก crash หรือ collsion แบบขนานครับ เขามีสมการการชนของวัตถุอยู่ครับ สำหรับเรื่องทดลองรถชน สมการมีอยู่หลายตัวด้วยกัน และก็ซับซ้อนมากๆ มันอยู่ที่ input file และ prob distribution ด้วยครับ เขาจะใช้ parameter หลายๆแบบ เพื่อดูหลายๆกรณีว่ากรณีไหนที่มันทำให้เกิดอันตรายได้

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: PaePae
WriteriPhoneAndroidWindows
on 8 November 2008 - 10:57 #70881 Reply to:70878
By: audy
AndroidUbuntu
on 8 November 2008 - 12:18 #70886 Reply to:70878
audy's picture

ถ้าผมอยากเขียนโปรแกรมจำลองอะไรซักอย่าง ผมควรเริ่มศึกษาวิชาสถิติก่อน อันนี้ผมคิดถูกมั๊ยครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 8 November 2008 - 14:01 #70890 Reply to:70886
javaboom's picture

จากประสบการณ์ที่เคยเขียน simulation มา มันก็แล้วแต่ application ที่เราจะจำลองครับ รวมไปถึงความน่าเชื่อถือของโปรแกรมเราด้วยว่า เราจะให้มันน่าเชื่อถือแค่ไหน แต่การมีพื้นด้าน math/stat ที่แข็งแรง ย่อมเป็นเรื่องดีของการทำวิจัยอย่างยิ่งครับ

ปล. ใน blognone มีคนให้แนะนำเรื่องนี้ได้ดีมาก อย่างเช่นพี่ sugree พี่เขาชำนาญด้าน simulation เอาการครับ (จริงๆก็ไม่ใช่แค่เรื่อง simulation)

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 9 November 2008 - 00:15 #70919 Reply to:70886

queuing theory

By: javaboom
WriteriPhone
on 9 November 2008 - 00:26 #70922 Reply to:70919
javaboom's picture

สุดยอด...

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 9 November 2008 - 00:30 #70924 Reply to:70919
lew's picture

+1 เทอมที่แล้วเพิ่งเรียนไป

จริงๆ เข้าใจว่าจะมีวีดีโอบนเว็บ เดี๋ยวไปสืบเสาะมาให้ครับ

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: javaboom
WriteriPhone
on 9 November 2008 - 00:43 #70927 Reply to:70924
javaboom's picture

​+1 เยี่ยมเลยครับ กำลังหาที่พึ่งพอดี ผมเคยเลี่ยงวิชานี้จาก KU มาแล้ว แต่เทอมหน้าผมต้องเจอ T_T ยิ่งหนียิ่งเจอ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: pawinpawin
Writer
on 9 November 2008 - 02:06 #70930 Reply to:70886

สถิติเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งครับ อิอิ

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 8 November 2008 - 20:34 #70893

29 เทราฟลอป ... ใช้การ์ดจอ Radeon 4870 จำนวน 29 ตัว ก็ได้ 29 เทราฟลอป เหมือนกันนะเนี่ย เอิ้กๆ :P

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 8 November 2008 - 21:23 #70895
tekkasit's picture

เค้าใช้ลักษณะ finite element โดยจำลองจุดต่างๆบนวัตถุ (คล้ายภาพ wireframe) ซึ่งมีคุณสมบัติ ตำแหน่งในสามมิติ, ความเร็ว, อัตราเร่ง แล้วโปรแกรมค่าคุณสมบัติของวัตถุ ความยืดหยุ่น จุดแตก แล้วก็คำนวณตามกฎนิวตัน F=ma นี่แหล่ะครับ

แต่ความสนุกสนานอยู่ที่จำนวนจุดอนุภาคที่ใช้คำนวณ เป็นระดับล้านจุดขึ้นไป