Tags:
Node Thumbnail

นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี วิจารณ์โครงการห้องสมุดเสมือนของ Google ว่า ละเมิดลิขสิทธิ์และทำการปลอมแปลง

โครงการดังกล่าวโดย Google ได้สแกนหนังสือแล้วกว่า 10 ล้านเล่มในโลก โดยในบางประเทศ อาทิ ในฝรั่งเศส สำนักพิมพ์บางแห่ง เช่น Seuil ก็อยู่ระหว่างฟ้องศาลให้ตัดสินว่า Google ปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สามวันก่อนงานเทศกาลหนังสือเมืองแฟรงก์เฟิร์ตครั้งที่ 61 นาง Merkel ได้เผยว่า เธอต้องการให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้สร้างเนื้อหาและผู้ประพันธ์หนังสือ โดยกล่าวว่า "รัฐบาลเยอรมนีมีท่าทีที่ชัดเจน : ลิขสิทธิ์ต้องได้รับการคุ้มครองในโลกอินเทอร์เน็ต และด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ยอมรับการสแกนหนังสือที่ไม่เคารพหลักการดังกล่าว อย่างที่ Google เป็นผู้ทำ และรัฐบาลเยอรมนีจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนักเขียนของตน"

ที่มา นสพ. Le Monde ภาษาฝรั่งเศส และคำแปล Google Translate ภาษาอังกฤษ

Get latest news from Blognone

Comments

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 13 October 2009 - 06:06 #130932
nuntawat's picture

ย่อหน้าแรก "ละเมิดลิขสิทธิ์และทำการปลอมแปลง" ดูเหมือน "กรรม" ของประโยคหายไป

By: beum
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 13 October 2009 - 07:53 #130936 Reply to:130932

ละเมิดลิขสิทธิ์และทำการปลอมแปลง (แทนที่จะใช้ "ปลอมแปลง" เฉยๆ) ผมใช้เป็นอกรรมกริยา หรือ intransitive verbs ครับ

By: tomazzu
AndroidUbuntu
on 13 October 2009 - 08:52 #130941

แล้วของไทยมีใครสนไหม?

By: sunback
Contributor
on 13 October 2009 - 14:43 #131033 Reply to:130941
sunback's picture

เริ่มจากตัวเราเองครับ

จากนั้นก็ ... --> ... ---> ... ---> ... (เติมคำกันเอาเอง นึกไม่ออกเหมือนกัน)

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 13 October 2009 - 09:25 #130952
lingjaidee's picture

ถ้าบริษัทกูเกิ้ลเป็นของเยอรมัน ท่าทีคงไม่ออกมาอย่างนี้ ;P

จริงๆพี่กูก็ต้องลุยทำไปก่อนแหล่ะ ใครไม่เห็นด้วยค่อยแย้งแล้วเอาออกไป
ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้เริ่มซะที จริงๆหนังสือดีๆมีความรู้เยอะเนี่ย ควรจะเอาไปซ่อนไว้ลึกๆนะครับ
เดี๋ยวคนหาเจอ ;(

ปล.น่าจะนำเสนอ และคิดหาวิธีการไปเจรจากับกูเกิ้ล เพื่อให้ได้ Model ใหม่ๆ
ในการให้บริการที่สามารถเอื้อประโยชน์แก่นักเขียน หรือผู้ที่คิดว่างานของตน
จะถูกละเมิดได้ จะดูสร้างสรรค์กว่านะครับเนี่ย


my blog

By: pines
Blackberry
on 13 October 2009 - 10:02 #130963

น่าจะมีวิธีการจัดการที่ลงตัวกว่านี้ เพราะผมเข้าใจว่าองค์ความรู้บางอย่างกว่าจะได้มาอาจใช้เวลาทั้งชีวิต ก็ต้องมองกันหลายๆมุม

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 13 October 2009 - 11:50 #130992
zerocool's picture

ตราบใดที่ยังไม่มี Model ที่เหมาะสม ไม่มีใครสมควรละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด ๆ ก็ตามแม้กระทั่งเพื่อประโยชน์ของชาวโลก หากจะอ้างเหตุผลเช่นนี้เรามิต้องยกเลิกลิขสิทธิ์ทุกอย่างที่มีอยู่แล้วเปิดให้เป็นของสาธารณะเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างนั้นหรือ?


That is the way things are.

By: sunback
Contributor
on 13 October 2009 - 14:46 #131034 Reply to:130992
sunback's picture

ลองดู ข้อตกลง ของกูเกิลก่อนได้ครับ ว่าพอไหวไหม

By: John
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 13 October 2009 - 12:25 #131003
John's picture

มองตรง ๆ มันก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นี่ครับ จะเอาสารพัดข้ออ้างมาว่ามีประโยชน์ยังไง แต่มองโดยตรงมันก็ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดี

By: sunback
Contributor
on 13 October 2009 - 13:46 #131016
sunback's picture

คงต้องดูเป็นเล่มๆ ไป ว่าติดสัญญาอนุญาติหรือเปล่า ถ้ามีอยู่กูเกิ้ลก็สมควรโดนฟ้อง (หากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ)
แต่เล่มไหนที่ไม่ติดสัญญาอะไร ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ (ที่รักการอ่าน)

By: sunback
Contributor
on 13 October 2009 - 14:02 #131019
sunback's picture

เพิ่มเติมครับ ผมทดสอบค้นหาหนังสือของคุณมาลา คำจันทร์ เจออยู่เล่มหนึ่ง แต่มาคลิกเข้าไปอ่านก็ถูกรีไดเร็กท์มาหน้านี้ครับ

เหตุใดฉันจึงไม่สามารถอ่านหนังสือทั้งเล่มได้

หนังสือ จำนวนมากใน Google Book Search มาจากผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์ที่เข้าร่วมในโครงการ Partner Program สำหรับหนังสือที่อยู่ในโครงการดังกล่าว พันธมิตรของเราจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะสามารถเรียกดูหนังสือได้มากน้อยเพียง ใด ตั้งแต่หน้าตัวอย่างสองสามหน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่ม

สำหรับหนังสือที่เข้าสู่การค้นหาหนังสือผ่านทางโครงการห้องสมุด ข้อมูลที่คุณเห็นจะขึ้นอยู่กับสถานะลิขสิทธิ์ของหนังสือ เราเครารพในกฎหมายลิขสิทธิ์และความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้แต่งที่ มีให้กับงานเขียน หากหนังสือดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติ และเมื่อลิขสิทธิ์สิ้นสุดแล้ว คุณสามารถเปิดดูหนังสือทั้งเล่มได้ หรือแม้กระทั่งดาวน์โหลดเพื่ออ่านในขณะออฟไลน์ได้ แต่หากหนังสือดังกล่าวยังอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ และผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งไม่ได้เข้าร่วมในโครงการ Partner Program เราจะแสดงเพียงแค่ข้อมูลเบื้องต้นของหนังสือเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับข้อมูลในบัตรรายการ และในบางกรณี จะมีเนื้อหาบางส่วน เช่น ประโยคตัวอย่างเพื่อแสดงคำค้นหาภายในบริบทของหนังสือ วัตถุประสงค์ของ Google Book Search คือเพื่อช่วยคุณสืบค้นสถานที่ขายและสถานที่ให้ยืมหนังสือ แต่มิได้มีเพื่อให้บริการด้านการอ่านทางออนไลน์สำหรับหนังสือทั้งเล่มแต่ อย่างใด ซึ่งก็เหมือนกับการไปร้านหนังสือ และค้นหาหนังสือผ่านทาง Google แทน

สรุปสั้นๆ จากข้อความนี้ แสดงว่ากูเกิลก็เคารพเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ไม่น้อย (อ้อ กูเกิลครับ พิมพ์ผิดนะครับ เครารพ - เคารพ)

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของผม ผมเอียงๆ ไปทางกูเกิลครับ เพราะเชื่อว่ากูเกิลคงคิดไว้ล่วงหน้าไว้บ้างแล้วกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์

ส่วนความคิดเห็นผ่านคำพูดของนักการเมือง (ที่หลายๆ ครั้งพูดเพื่อให้ได้คะแนนความนิยม) ผมเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แล้วแต่สถานการณ์

และฝากเพื่อนๆ สมาชิก ว่า ลองหาข้อมูลของทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบกันก่อนแล้วค่อยแสดงความคิดเห็น จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านครับ ส่วนคุณจะเีอียงไปทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณ

By: Vuddy
Android
on 13 October 2009 - 14:29 #131027 Reply to:131019

+1
ชอบคอมเมนต์แบบนี้ มากๆ

By: illusion
ContributorAndroid
on 13 October 2009 - 18:34 #131063 Reply to:131019
illusion's picture

ชอบคอมเมนท์นี้เช่นกันครับ ชัดเจน

By: ABZee on 13 October 2009 - 20:37 #131071 Reply to:131019

แต่อย่างไรก็ตาม Google นั้นไม่ได้รับอนุญาติให้เปิดเผยแม้จะส่วนใดส่วนหนึ่งนะครับ ตรงนี้กฏหมายลิบสิทธิ์ก็ยังต้องคุ้มครองอยู่ นอกเสียจากว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ทันสมัยเหมือนกันทั่วโลก

เยอรมนีพึ่งมีรัฐบาลใหม่มาได้ประมาณหนึ่งเดือน โดยที่พรรคที่รณรงค์ต่อต้านกฏหมายลิขสิทธิ์ (พรรคโจรสลัด) นั้นไม่ได้เก้าอี้สมาชิกสภาเลย นอกจากนั้นพรรคอื่นๆไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแก้กฎหมายนี้ ตรงกันข้ามกลับต้องการควบคุมอินเตอร์เน็ตโอยใช้กฎหมายปัจจุบัน(ที่ล้าหลัง)เช่นเดียวกับแนวทางของประเทศไทย

ในเมือผลโหวตออกมาเป็นเช่นนี้ มันหมายความว่าประชากรทั่วโลกโดยเฉพาะเยอรมนีเองนั้นยังไม่ตื่นตัวด้านนี้ สิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ตอนนี้คือการพูดถึงและบอกกล่าวให้คนรอบข้างเข้าใจปัญหาของกฏหมายลิขสิทธิ์ที่ล้าหลัง ถ้ายังไม่มีใครทำอะไรหรือยังไม่มีนักคิดนักเขียนที่ทรงอิืทธิพลรุ่นใหม่ๆออกมา มันก็ยากที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง

By: prugsadee on 13 October 2009 - 22:04 #131093

ผมเชียร์กูเกิลเต็มที่ครับ บางทีมันอาจจะไม่เกิดผลกับช่วงอายุของเราแต่อาจจะเกิดในช่วงอายุของลูกหลานเราก็ได้ ผมว่าสุดท้ายแล้วทุกอย่างมันก็ต้องอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่ดี ผมหมายถึงเมื่อถึงยุคนั้นทุกอย่างอาจจะอยู่บนอินเทอร์เน็ตจนเกือบหมด และทุกคนคงยอมรับ model ของกูเกิลมากขึ้นเรื่อย ๆ

By: goldcity on 14 October 2009 - 23:35 #131347 Reply to:131093

+1 ถ้าวันนึงคนที่ค้นพบไฟคนแรกจดลิขสิทธ์ ไว้คงเป็นเรื่อง แต่เห็นด้วยที่ว่าต้องมีโมเดลที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ เป็นเรื่องของคน ณ ปัจจุบันกับคน ณ อนาคต

By: Thaina
Windows
on 13 October 2009 - 23:20 #131106

ผมว่าสแกนไว้ก่อนก็ดี แล้วเก็บไว้ไม่เผยแพร่ จนกว่าเจ้าของจะอนุญาต
ออกเผยแพร่แล้วค่อยมาว่ากันเรื่องลิขสิทธิ์ แบบนี้จะดีกว่ามาก