Tags:
Node Thumbnail

ก่อนหน้านี้มีข่าวมานานแล้วว่าทาง FCC ของอเมริกาพยายามที่จะเพิ่มข้อบังคับใหม่ให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่เรื่องก็เงียบหายไปเพราะไม่สามารถตกลงกันได้แต่สองสามวันที่ผ่านมาผมเห็นข่าวของ Google และ Verizon ที่ประกาศขอตกลงเรื่อง net neutrality ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและผมยังไม่เห็นทาง กทช. ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้เลยผมเลยอยากจะนำบทสรุปของข้อตกลงระหว่าง Google กับ Verizon ที่ทาง Engadget ทำสรุปไว้มาแปลเพื่อสอบถามความเห็นของทุกๆท่านครับ

เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยาวและมีรายละเอียดมากผมจึงตัดสินใจแปลและปรับคำพูด ให้เข้าใจง่ายขึ้นแต่ไม่ตัดทอนเนื้อหาลง เพราะอาจจะทำให้่เข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ แต่ถ้าทุกท่านเห็นว่ายาวและไม่จำเป็นก็คอมเมนต์ได้เลยครับผมจะปรับปรุงตามที่ทุกท่านแนะนำครับ

อนึ่งข้อตกลงนี้ใช้บังคับสำหรับการเชื่อมต่อผ่านระบบสายเท่านั้น ไม่รวมถึงการเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายนะครับ

  • การให้ความคุ้มครองผู้บริโภค : ภายใต้ข้อตกลงนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่สามารถปิดกั้นการเชื่อมต่อใดๆ ที่ไม่ผิดกฏหมายได้ไม่ว่าผู้ใช้บริการจะส่งหรือรับข้อมูลใดๆก็ตาม ถ้าข้อมูลนั้นไม่ส่งผลเสียหายแก่เครือข่ายหรือผุ้ใช้บริการายอื่น

  • ไม่แบ่งแยกผู้ใช้ (Non-discrimination) : ไม่อนุญาตให้ผู้ให้บริการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดที่หนึ่งมากกว่าปกติได้ ข้อนี้อธิบายง่ายๆ ก็คือไม่อนุญาตให้ผู้ให้บริการจัดลำดับความสำคัญของ traffic นั่นเองเช่น ทรูอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเลือกที่จะให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องการเข้าถึงเว็บไซต์ของทรูก่อน และทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจากทรูได้รับข้อมูลเร็วกว่าผู้ที่ต้องการข้อมูลจากเว็บของคู่แข่งเป็นต้น

  • ความโปร่งใส : ถ้าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องอธิบายเรื่องความแน่นอนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ ในลักษณะที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายเช่น การที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการทำการดาวน์โหลดแบบ Peer to peer (BitTorrent) ในระบบของตนจะต้องอธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ใช้บริการทราบก่อนล่วงหน้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการรู้ถึงข้อจำกัดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละรายก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการโดยมีข้อมูลที่ครบถ้วน

  • การจัดการโครงข่าย : ข้อนี้จะเชื่อมโยงกับข้อที่ผ่านมาเรื่องของความโปร่งใส เพราะข้อนี้จะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถบริหารจัดการโครงข่ายของตน เพื่อลดการติดขัดของข้อมูล (Congestion), ความปลอดภัย, จัดการกับการเชื่อมโยงที่ไม่ประสงค์ดี และทำให้คุณภาพการใช้บริการของผู้ใช้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยสรุปก็คือในเมื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ชี้แจงเรื่องความสามารถและข้อจำกัดอย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงสามารถจัดการกับโครงข่ายได้ตามที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเห็นว่าจะทำให้ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้รับบริการที่ดีขึ้น ตราบเท่าที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ชี้แจงเรื่องข้อจำกัดและวิธีการจัดการล่วงหน้า

  • การให้บริการออนไลน์เพิ่มเติม : อนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถสามารถสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ที่ไม่ใช่บริการอินเทอร์เน็ตและคิดค่าบริการเพิ่มได้ ถ้าบริการนั้นแตกต่างจากบริการอินเทอร์เน็ตทั่วไปยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอระบบที่สอง (second network) ที่ทำหน้าที่เฉพาะสำหรับการเข้าถึงข้อมูลบางประเภทเท่านั้น ข้อนี้ค่อนข้างเข้าใจยากซักนิดเพราะปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการในรูปแบบดังกล่าวครับ

  • อำนาจการควบคุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและกรอบของการควบคุม : จริงๆ มันเป็น 2 เรื่องแต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน โดยสรุปก็คือการลดอำนาจของ FCC ลงให้เหลือแค่การควบคุมให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทำตามข้อตกลงเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขข้อบังคับเองได้อีก แต่ต้องทำผ่านคณะกรรมการร่วมที่มีภาคเอกชนรวมอยู่ด้วย และลดจำนวนเงินค่าปรับสูงสุดที่ FCC จะปรับผู้ให้บริการเหลือเพียง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยอมให้ FCC เข้ามาดูแลในเรื่องของ broadband access แต่ไม่อนุญาติให้ควบคุมส่วนของเนื้อหา

ผมมองว่าข้อตกลงนี้หลายข้อดีและน่าสนใจในการนำมาปรับใช้กับบ้านเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค, ไม่แบ่งแยกผู้ใช้และเรื่องความโปร่งใส แต่หลายๆ ข้่อผมมองว่าเป็นการลดอำนาจการควบคุมของรัฐที่มีต่อบริษัทเอกชน ซึ่งส่วนนี้ผมไม่เห็นด้วย เพราะถ้าคุณบริสุทธิใจจริง คุณจะกลัวการควบคุมทำไม และในทางกลับกันทางผู้ควบคุมเองก็จะโดนสังคมตรวจสอบอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องลดอำนาจขององค์กรอิสระที่มาควบคุมผู้ให้บริการครับ

ที่มา : Engadget.com

Get latest news from Blognone

Comments

By: mk
FounderAndroid
on 10 August 2010 - 16:16 #200453
mk's picture

ลืมใส่ลิงก์ที่มานะครับ

By: s4535065
ContributorSymbian
on 10 August 2010 - 16:26 #200454

แก้ไขเรียบร้อยครับ

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 10 August 2010 - 19:22 #200481 Reply to:200454
nuntawat's picture
  • ช่วยแท็กข่าวด้วยครับ
  • ที่หัวข่าว
    • net neutrality ที่หัวข่าว ตัวขึ้นต้นคำตัวใหญ่ได้, เว้น 1 เคาะหน้า FCC
  • ที่เนื้อข่าว
    • ก่อนย่อหน้า "อนึ่งข้อตกลงนี้ใช้บังคับ..." ช่วย ENTER ขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยครับ
    • หลังไม้ยมก (ๆ) เว้น 1 เคาะ, หน้าหลังคำว่า FCC, คำว่า เช่น และหน้าหลังตัวเลข เว้น 1 เคาะ
    • คอมเม้นต์ ตัดไม้โทออก, อนุญาติ ตัดสระอิออก, รายละเอีด ตกตัว ย, engadget.com แก้เป็น Engadget
By: s4535065
ContributorSymbian
on 10 August 2010 - 20:41 #200497 Reply to:200481

แก้ไขเรียบร้อยครับ
ส่วนแท็กผมไม่แน่ใจว่าจะแท็คว่าอะไรดีครับ
แท็คแค่ Telecom ได้ไหมครับ

By: mk
FounderAndroid
on 10 August 2010 - 20:39 #200496 Reply to:200454
mk's picture

ผมปรับการเว้นวรรคระหว่างประโยคอีกหน่อย (ดูใน revision) ตอนนี้เอาขึ้นให้แล้วครับ

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 10 August 2010 - 20:35 #200494
Perl's picture

"การที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการทำการดาวน์โหลด แบบ Peer to peer (BitTorrent) ในระบบของตนจะต้องอธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ใช้บริการทราบก่อนล่วงหน้า"

ถ้าเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของบ้านเรา คงต้องใส่ตัวหนังสือตัวใหญ่เบ้งๆไว้ด้วยว่า
เราจำกัด Bandwidth Torrent 50% นะจ๊ะ ก่อนสมัครระวังให้ดี..

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง มันไม่บอก แต่เล่นจำกัดไปเลย.. -*-

By: s4535065
ContributorSymbian
on 10 August 2010 - 20:44 #200499

ขอบคุณคุณ mk มากครับ
ต่อไปจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

By: um007
AndroidUbuntuWindows
on 11 August 2010 - 01:14 #200552
um007's picture

@Pearl จริงหรอครับที่บ้านเราเขาจำกัด Bandwidth Torrent 50%
ของอะไรมั่งอะครับ พอดีผมใช้3BB ปล.แต่ก่อนเป็นtt&t เข้าใจว่าไม่จำกันนะครับตอนนั้น แต่ก็ปีนึงได้แล้ว

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 11 August 2010 - 12:18 #200644

"เข้ามาดูแลในเรื่องของ broadband access แต่ไม่อนุญาติให้ควบคุมส่วนของเนื้อหา"

อนุญาต ต้องไม่มีสระอิ นะครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว