Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Google ฉลองอายุ 10 ปี โดยการตั้งโครงการ Project 10100 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาความคิดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพราะว่าการช่วยเหลือกัน ก็เป็นการช่วยเหลือตัวเราเองเช่นกัน

โครงการ Project 10100 เปิดให้ใครก็ได้ เสนอความคิดที่จะทำอะไรเพื่อผู้อื่น แล้วเอาความคิดเหล่านี้มาโหวต เลื่อกอันที่เข้าท่า และสามารถช่วยเหลือผู้คนที่อยู่ในความทุกข์ยากได้มากที่สุด โดยเสนอความคิด (เขียนเป็นภาษาไทยได้ สามารถแนบวิดีทัศน์ความยาวไม่เกิน 30 วินาทีได้) ไปที่นี่

แต่อย่าลืมอ่านบันทึกนี้ให้จบด้วย โดยความคิดที่เสนอ แยกเป็น 8 หมวดหมู่คือ

  • ชุมชน Community: How can we help connect people, build communities and protect unique cultures?
  • โอกาสในชีวิต Opportunity: How can we help people better provide for themselves and their families?
  • พลังงาน Energy: How can we help move the world toward safe, clean, inexpensive energy?
  • สิ่งแวดล้อม Environment: How can we help promote a cleaner and more sustainable global ecosystem?
  • สุขภาวะ Health: How can we help individuals lead longer, healthier lives?
  • การศึกษา Education: How can we help more people get more access to better education?
  • ที่พักที่อยู่อาศัย Shelter: How can we help ensure that everyone has a safe place to live?
  • อื่นๆ Everything else: Sometimes the best ideas don’t fit into any category at all.

ส่วนเกณฑ์การตัดสิน แบ่งเป็น 5 เกณฑ์คือ

  • กระทบต่อผู้คนมากแค่ไหน Reach: How many people would this idea affect?
  • เกิดผลกระทบมากน้อยแค่ไหน Depth: How deeply are people impacted? How urgent is the need?
  • บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ Attainability: Can this idea be implemented within a year or two?
  • ประสิทธิภาพ ถูก-เร็ว-ดี Efficiency: How simple and cost-effective is your idea?
  • ยั่งยืนหรือไม่ Longevity: How long will the idea’s impact last?

กติกา

  1. ให้เสนอความคิด โดยส่งไปที่นี่ ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2551 สามารถเสนอความคิดเป็นภาษาไทยได้
  2. จากนั้น Google จะนำข้อเสนอความคิดต่างๆ มาแสดงทีละ 100 ข้อเสนอ ให้โหวตกัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มกราคา 2552; การโหวตนี้ เป็นไปเพื่อเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย 20 ราย
  3. จากนั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ Google จะเลือกผู้ชนะ 5 ราย จากผู้เข้ารอบสุดท้าย 20 รายนี้ จากเกณฑ์การตัดสินห้าข้อดังที่กล่าวมาแล้ว
  4. ผู้ชนะไม่ได้เงิน! แต่ Google จะเปิดรับข้อเสนอ (RFP) จากผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างบริหารเพื่อนำความคิดเหล่านี้ไปทำใช้จริง

แม้ผู้ชนะไม่ได้เงิน แต่ก็รู้ว่าความคิดของตน มีประโยชน์ต่อผู้อื่น และมีการนำไปใช้งานจริงๆ

ตัวอย่าง

ในทวีปอัฟริกา คนเป็นจำนวนมาก อยู่ห่างจากแหล่งน้ำ ตั้งแต่อดีตกาลมา ชาวบ้านก็หาภาชนะไปตักน้ำ แล้วเอาเทินหัว ทำให้มีปัญหากับกระดูกสันหลัง และคอ ยิ่งกว่านั้น โดยเฉลี่ยก็ไม่สามารถนำน้ำกลับไปบ้านได้เกิน 20 ลิตร (หนัก 20 กิโลกรัม)

โครงการ Hippo Roller เป็นการประดิษฐ์ ต่อแขนเข้าที่แกนของถังพลาสติกที่ใช้บรรจุน้ำ 90 ลิตร แล้วเข็นไปแทนที่จะแบก ดังนั้นคนคนเดียว สามารถนำน้ำกลับไปบ้านได้ 4.5 เท่าของวิธีการเดิม ลดโอกาสของการบาดเจ็บ ใช้ได้แม้พื้นไม่เรียบ

ที่มา - CNN, Lanpanya.com

Get latest news from Blognone

Comments

By: eakmotion on 26 September 2008 - 02:20 #66238

เป็นโปรเจค ที่มีแนวคิดที่ดีมาก แถมยังให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมในโปรเจคอย่างเปิดกว้าง (เขียนเป็นภาษาไทยได้ ภาษาอื่นๆ ก็น่าจะรองรับด้วยเช่นกัน)!!

ถือเป็นการ PR บริษัทไปในด้านที่ดี โดยปริยาย .

ชอบครับ

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 26 September 2008 - 10:33 #66258
gudgee's picture

เข้าไปดู 10 ปีที่ผ่านมาซะอิ่มเลย

By: nonarav
ContributorAndroid
on 26 September 2008 - 11:42 #66267
nonarav's picture

ชอบอเดียอย่างนี้มากๆ ยิ่งทำให้รู้สึกว่าเป็นบริษัทในฝันยิ่งขึ้นไปอีก

By: dafty
AndroidWindowsIn Love
on 26 September 2008 - 11:59 #66268

อยากอยู่ google ^^ ด้วย

By: gab
Windows PhoneAndroidWindows
on 26 September 2008 - 14:39 #66295
gab's picture

ตอนนี้ภาพของบริษัทดูจะเป็นอัศวิน(gedi)ต่างกันสุดขั้วกับบริษัทอื่น...

By: latesleeper
Android
on 26 September 2008 - 22:40 #66327 Reply to:66295

Microsith น่ะเหรอครับ

By: ninja741 on 28 September 2008 - 03:50 #66406 Reply to:66295

การตลาดเค้าดีนะ

สร้างภาพได้เยี่ยม

By: Bongbank
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 26 September 2008 - 22:51 #66328
Bongbank's picture

แล้ว Aplord ล่ะครับ ศัตรูในสงครามโคลนแน่ๆ

By: Gully_ver
Android
on 27 September 2008 - 04:00 #66338

ทำให้นึกถึงบทความเรื่องนึงในหนังสือ 'ต้นไม้ใต้โลก' ของคุณทรงกลด บางยี่ขัน