Tags:
Node Thumbnail

William H. Grover จากภาควิชา Bioengineering มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เสนอ CandyCode แนวทางการแจกหมายเลขประจำตัวให้กับยาทุกเม็ดด้วยการเคลือบน้ำตาลสีระหว่างการผลิต ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าเป็นยาที่ออกมาจากโรงงานจริงหรือไม่

แนวทางการใช้หมายเลขประจำสินค้าเพื่อสืบย้อนกลับไปถึงผู้ผลิตมีมานาน และหลายครั้งผู้ผลิตก็เปิดให้ตรวจสอบสินค้าว่าเป็นของจริงหรือไม่บนตัวกล่อง แต่แนวทางนี้ก็มีข้อจำกัดเพราะบางครั้งผู้ผลิตสินค้าปลอมใช้กล่องจริงที่ใช้แล้ว หรือในกรณียาบางครั้งผู้ซื้อได้รับยาจากร้านยาโดยไม่ได้รับกล่องจากผู้ผลิตโดยตรง ขณะที่ก่อนหน้านี้มีการเสนอให้พิมพ์ QR ลงบนยาทุกเม็ดมาก่อนแล้ว แต่ QR ที่พิมพ์ลงไปมีขนาดเล็กมากจนต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการอ่าน

Grover เสนอแนวทางด้วยการเคลืบน้ำตาลสีที่เราเห็นกันในของหวาน โดยน้ำตาลสีเป็นลูกบอลกลมขนาด 1 มิลลิเมตร มี 8 สี ที่สำคัญคือราคาถูกมาก ต้นทุนค่าน้ำตาลในการเคลือบคิดเป็น 1 ดอลลาร์ ต่อเม็ดยา 29,000 เม็ด

ในการทดลอง Grover ซื้อช็อกโกแล็ตที่เคลือบน้ำตาลสีอยู่แล้วมาทดสอบ โดยช็อกโกแล็ต 1 เม็ดมีน้ำตาลสีอยู่ในช่วง 72-108 เม็ด เขาแปลงภาพเม็ดน้ำตาลที่อยู่ติดกันในสีต่างๆ ให้กลายเป็นสตริง โดยแทนที่จะพยายามใช้สตริงเดียวแทนที่เม็ดยาทั้งเม็ด เขาตรวจจับกลุ่มน้ำตาลสีกลุ่มเล็กๆ แล้วแปลงเป็นสตริงสั้นๆ เม็ดยาหนึ่งเม็ดจะได้สตริงประมาณ 52.8 ชุด กระบวนการค้นหาข้อมูลยาจากฐานข้อมูล ใช้การค้นสตริงเหล่านี้แล้วหาเม็ดยาที่บันทึกไว้และมีสตริงตรงกันจำนวนมากพอ

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของน้ำตาลสีในท้องตลาดคือมันมีเพียง 8 สี และปริมาณน้ำตาลแต่ละสีก็ไม่เท่ากัน โดยสีขาวมีเกือบครึ่งหนึ่ง หากเป็นน้ำตาลสีที่ผลิตมาเฉพาะก็จะทำให้จำนวนสตริงที่ต้องเทียบเพื่อค้นหาข้อมูลหมายเลขเม็ดยาโดยไม่ชนกับเม็ดอื่นๆ มีจำนวนน้อยลง เช่น น้ำตาล 15 สี ที่โปรยลงบนเม็ดยารวมแสนล้านล้านเม็ด จะมีสตริงซ้ำกันไม่เกิน 10 ชุด แต่หากเป็นน้ำตาลสีตามตลาดจะมีโอกาสซ้ำกันถึง 21 ชุด

ที่มา - Nature

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 3 July 2022 - 15:30 #1253962
tekkasit's picture

แคลิฟอร์เนีย, ด้วยการเคลือบน้ำตาลสี, จะมีสตริงซ้ำกันไม่เกิน 10 ชุด

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 3 July 2022 - 15:44 #1253963
tekkasit's picture

ไอเดียดีนะ แต่เคลือบมิดแบบนี้ คนจะงงไหมเวลาต้องกินยาหลายๆตัว ว่ากินตัวไหนไปแล้ว ตัวไหนยังไม่กิน เพราะปกติจะดูรูปรางและสีเม็ดยารวมถึงสัญลักษณ์ แต่โดนเคลือบมิดแบบนี้ ก็อาจจะไม่รู้แล้วว่าที่เทมาเป็นตัวไหนบ้าง

By: john dick
iPhone
on 3 July 2022 - 16:39 #1253965 Reply to:1253963
john dick's picture

ไม่น่าจะงงนะ ตอนเทออกมาก็เทียบจากในซองยาได้อยู่ว่าเป็นตัวไหน

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 3 July 2022 - 19:13 #1253972 Reply to:1253965
Noblesse's picture

ในลิงก์ต้นทางเขาให้ใช้กล้องถ่ายแล้วแปลงภาพไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลออนไลน์อีกที แต่ถ้าต้องถ่ายทุกเม็ดก่อนกินก็นะ...

By: pepporony
ContributorAndroid
on 4 July 2022 - 06:42 #1253991 Reply to:1253965

ถ้ามันใช้ทุกสีที่มีขนาดนี้ผมว่าเทียบยากนะ ยิ่งถ้าสตริงมันคล้ายๆกันแล้ว...

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 4 July 2022 - 09:50 #1254014 Reply to:1253991
lew's picture

พวกนี้เป็น PoC ถ้าทำจริงผมว่าอาจจะเคลือบครึ่งเดียวพอครับ ใน paper เขาพูดถึงการใช้งานกับ package อื่นๆ ก็โรยไว้แค่บางส่วน


lewcpe.com, @wasonliw

By: ECOS
Windows
on 3 July 2022 - 16:20 #1253967
ECOS's picture

ตอนอ่านหัวกระทู้: เคลือบเป็นขีดสีรอบๆเหมือนตัวต้านทานล่ะมั้ง
ตอนเห็นรูป: มาเป็นเม็ดเลย!!!

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 3 July 2022 - 23:23 #1253987 Reply to:1253967

ฮาา ผมก็นึกคล้ายๆกัน

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 3 July 2022 - 23:50 #1253988 Reply to:1253967

คิดเหมือนกันเลยครับ

วิธีที่เค้าคิดนี่มันคล้ายๆ ทำ PCR เทียบสตริงของ DNA เลยนะ 555


iPAtS

By: xyz123 on 3 July 2022 - 16:23 #1253968
xyz123's picture

มันจะไม่หลุดใช่ไหมครับ?

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 3 July 2022 - 17:09 #1253970 Reply to:1253968

ผมกลัวคีโตหลุดมากกว่า 😂

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 July 2022 - 20:10 #1253977 Reply to:1253968
lew's picture

จริงๆ เขาคิดถึงตอนมันหลุดแล้วครับว่าหลุดบ้างก็ยังเทียบได้อยู่


lewcpe.com, @wasonliw

By: Floating Rotten Dog
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 4 July 2022 - 01:10 #1253990
Floating Rotten Dog's picture

“จะมีสริงซ้ำกันไม่เกิน”
สริง -> สตริง

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 4 July 2022 - 21:15 #1254118
PH41's picture

พวก package ถ้ามี QR ก็ให้ scan ผ่านคตรั้งเดียวจะได้มั้ยนะ
ถ้าครั้งที่สองก็ให้แสดงว่าครั้งแรกถูก scan เมื่อไหร่ etc.
แล้วเป็น package แบบ แกะกินก็ไม่น่าจะ reuse ได้อยู่แล้ว

หรือต้นทุนเคลือบน้ำตาลจะต่ำกว่า

อ่อ... ถ้าไม่ scan ก็ปลอมได้ครั้งนึงนี่นา 555