Tags:
Topics: 

ตามวาระที่รางวัล Nobel กำลังจะประกาศในช่วงนี้ (จริงๆ แล้วของการแพทย์ประกาศแล้วนะครับ) รางวัล Ig Nobel หรือ Nobel สำหรับงานวิจัยที่(ดูเหมือน)น่าขำ ก็ได้ประกาศออกมาแล้วครับ

  • การแพทย์ ให้งานวิจัยที่สรุปว่า ยาหลอก (Placebo) ราคาแพง มีประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอกราคาถูก โดย RL Waber, B Shiv (สหรัฐ), Z Carmon (สิงคโปร์)
  • ชีววิทยา ให้กับงานวิจัยที่พบว่าเห็บที่อาศัยอยู่บนสุนัขสามารถกระโดดได้สูงกว่าเห็บที่อาศัยอยู่บนแมว โดย M Cadiergues, C Joubert, M Franc (ฝรั่งเศส)
  • ฟิสิกส์ ให้แก่งานวิจัยที่ใช้คณิตศาสตร์ในการพิสูจน์ว่าเส้นลวด เส้นผม หรือเส้นอะไรก็ตามสามารถพันกันได้เองจนเป็นปม โดย D Raymer และ D Smith (สหรัฐ)
  • เคมี มีผู้ได้รับสองกลุ่มครับ คือ SA Umpierre, JA Hill, DJ Anderson (สหรัฐ) ในการค้นพบว่าโค้กสามารถฆ่าสเปิร์มได้ และอีกกลุ่มคือ CY Hong, CC Shieh, P Wu และ BN Chang (ไต้หวัน) ในการค้นพบว่าจริงๆ แล้วโค้กไม่สามารถฆ่าสเปิร์มได้หรอก

(มีต่อ)

  • โภชนาการ ให้แก่ M Zampini (อิตาลี), C Spence (สหราชอาณาจักร) ในการค้นพบวิธีเปลี่ยนเสียงของการเคี้ยวมันฝรั่งทอดกรอบเพื่อที่จะทำให้คนที่เคี้ยวรู้สึกว่ามันกรอบใหม่กว่าปกติ
  • สันติภาพ ให้งานวิจัยที่ศึกษาจริยธรรมของพืช และแสดงให้เห็นว่าพืชก็มีเกียรติเหมือนกัน โดย Swiss Federal Ethics Committee on Non-Human Biotechnology (สวิสเซอร์แลนด์)
  • โบราณคดี ให้งานวิจัยที่ศึกษาว่าการขุดดินของตัวนิ่มสามารถทำให้พื้นที่ที่ทำการศึกษาทางโบราณคดีเปลี่ยนแปลงได้ โดย AG Araujo, JC Marcelino (บราซิล)
  • วิทยาการปัญญา (Cognitive Science) ให้กับการศึกษาที่ศึกษาการแก้ปัญหาเขาวงกตโดยตัวอะมีบา โดย T Nakagaki, H Yamada, R Kobayashi และคณะ (ญี่ปุ่น)
  • เศรษฐศาสตร์ ให้กับการศึกษาที่บอกว่ารอบประจำเดือนของคนเต้นอะโกโก้สัมพันธ์กับทิปที่เธอจะได้ โดย G Miller, J Tyber, B Jordan (สหรัฐ)
  • วรรณกรรม ให้กับงานวิจัยอันแสนยาวเกี่ยวกับ "ไอ้ตัวแสบ: การศึกษาเชิงบรรยายพรรณนาเกี่ยวกับความขุ่นเคืองในองค์กร" โดย D Sims (สหราชอาณาจักร)

ก็ขอแสดงความยินดี (รึเปล่า) กับผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวนะครับ

ที่มา: Improbable Research via MedGadget

Get latest news from Blognone

Comments

By: rerngrit
Android
on 7 October 2008 - 01:22 #67364

ทีมวิจัยโค้กนี่เจ๋งแฮะ

Rerng®IT

By: Not on 10 July 2010 - 20:13 #67392 Reply to:67364

.

By: ZooRider on 7 October 2008 - 01:29 #67365

มันจะไม่มีความน่าสนใจอะไรเกิดขึ้นเลย หากเราแค่มองมันว่า เป็นเรื่อง "ไร้สาระ"

By: meekob on 7 October 2008 - 04:05 #67382 Reply to:67365

บางทีเรื่องที่มันดูไม่ค่อยจะเกี่ยวกันเลย กลับมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่น่าเชื่อนะครับ ฝรั่งเอาไปเขียนเป็นหนังสือขายดีมาแล้วหลายเล่ม เช่น freakonomics และ a brief history of nearly everything เป็นต้น :-)

By: ZooRider on 7 October 2008 - 12:24 #67394 Reply to:67382

นั่นแหละครับ ประเด็น ไอ้คำว่าไร้สาระ มันทำให้เราพลาดโอกาสที่จะเรียนรู้หลายๆ อย่างเลย
และอะไรหลายๆ อย่างที่เราเห็นกันอยู่ มันก็เคยโดนดูถูกว่าไรสาระ มาไม่น้อย :)

By: enormityboy
iPhone
on 7 October 2008 - 01:31 #67367
enormityboy's picture

ผมว่าน่าสนใจออกนะ คือคิดไ้ด้ยังไง เก่งจริงๆ 5555

By: Slimy
AndroidUbuntu
on 7 October 2008 - 01:32 #67368

พยายามคิดตามอยู่ แต่อืม......ม

By: KnightBaron
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 7 October 2008 - 01:34 #67369
KnightBaron's picture

นักวิจัยเมืองนอกเค้าทุนหนาดีแฮะ มีเวลาวิจัยอะไรสนุกๆ เยอะแยะ

Yume Nikki

By: isunsunsun on 7 October 2008 - 01:35 #67370

คนทำวิจัยเขาคิดอะไรอยู่นะ ...
อยากรู้จัง :-)

คิดได้ไงเนี่ย ?

By: au8ust
AndroidSymbianWindows
on 7 October 2008 - 01:41 #67372

เขาคิดได้นะเนี่ย...

au8ust.org

By: Nice
ContributorAndroidWindows
on 7 October 2008 - 01:59 #67373

แต่ละการวิจัย สึโก้ยจริงๆ

Nice - SE7ENize.com


@NiceThai

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 7 October 2008 - 02:29 #67378

สรุปว่า ถ้าเอาโค้กราดจะท้องไหม?

iPAtS


iPAtS

By: cwt
AndroidRed Hat
on 7 October 2008 - 03:31 #67380 Reply to:67378

ราด อาจจะไม่ แต่ถ้า ล้าง อาจจะใช่

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 7 October 2008 - 03:50 #67381 Reply to:67378

ถ้าโค้กแข็งก็มีสิทธิ์นะ ... :P

By: Arthuran
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 7 October 2008 - 04:29 #67383
Arthuran's picture

น่าสนใจทุกปีเลย
เวลาอ่านหัวข้องานวิจัยจะมีคำถามขึ้นมาทันทีว่า คิดได้ไง - -a

arthuran.net :: my tools

By: akeji
iPhone
on 7 October 2008 - 06:49 #67385

เขาว่ากันว่า คนทำวิจัย เอาทุนมาจากเป็นคนขับ Taxi

แป่ว..

Yahoo!!!

By: sdh on 7 October 2008 - 09:24 #67388

เศรษฐศาสตร์ ให้กับการศึกษาที่บอกว่ารอบประจำเดือนของคนเต้นอะโกโก้สัมพันธ์กับทิปที่เธอจะได้

อันนี้น่าจะสลับกัน คือใช้คำว่า"สัมพันธ์กับ"มันอาจไม่บอกทิศทางความสัมพันธ์ แต่ที่นี้ถ้าบอกว่าทิปสัมพันธ์กับรอบเดือนดูจะดีกว่าเพราะ imply ว่าอะไรเป็นเหตุและผล ที่มาข่าวยังใช้คำว่า affect

เฉพาะหัวข้อนี้ได้ยินมานานแล้ว เกี่ยวกับฮอร์โมนหรือฟีโรโมนอะไรทำนองนั้น แต่พอได้ Ig Nobel มันดูเหลวไหลไปเลย (หรือเปล่า)

By: pawinpawin
Writer
on 7 October 2008 - 15:02 #67402 Reply to:67388

ผมว่ามันเป็นการศึกษาแบบ cross-sectional ไม่น่าจะสามารถบอกถึง cause-effect relationship ได้นะครับ

Abstract

To see whether estrus was really “lost” during human evolution (as researchers often claim), we examined ovulatory cycle effects on tip earnings by professional lap dancers working in gentlemen's clubs. Eighteen dancers recorded their menstrual periods, work shifts, and tip earnings for 60 days on a study web site. A mixed-model analysis of 296 work shifts (representing about 5300 lap dances) showed an interaction between cycle phase and hormonal contraception use. Normally cycling participants earned about US$335 per 5-h shift during estrus, US$260 per shift during the luteal phase, and US$185 per shift during menstruation. By contrast, participants using contraceptive pills showed no estrous earnings peak. These results constitute the first direct economic evidence for the existence and importance of estrus in contemporary human females, in a real-world work setting. These results have clear implications for human evolution, sexuality, and economics.
No Description

By: ikkyu
Windows PhoneAndroid
on 7 October 2008 - 18:42 #67421 Reply to:67388

ผมกลับไม่รู้สึกว่างานที่ได้ Ig Nobel มันเหลวไหลนะครับ
กลับรู้สึกว่า คิดได้ไงเนี่ย เท่สุดๆ

ที่แน่ๆ คือฮาทุกอัน

สังเกตได้ว่า คนได้รางวัล ไปรับรางวัลกันจริงๆ แทบทุกคน
ไม่เหมือน Oscar & Raspberry Award

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 7 October 2008 - 12:48 #67395
gotobanana's picture

ไอ้ตัวแสบ ===?หรอเหอๆๆ

By: pawinpawin
Writer
on 7 October 2008 - 15:05 #67403 Reply to:67395

You Bastard ครับ ข้างในมีแต่คำว่า bastard

You Bastard: A Narrative Exploration of the
Experience of Indignation within Organizations.
David Sims

Abstract

Our patience with forming interpretations and reinterpretations of others’ behaviour
is not unlimited. The time comes when we lose interest in trying to understand, and
conclude that another person is behaving in a way that is simply unacceptable. This
paper explores the narratives that go with immoderate indignation, even for those best
versed in the idea that they should attempt to understand the perspective of the other.
The paper offers a reflexive comment on the difficulty of analysing such a topic, on
the grounds that the phenomenon under discussion can debilitate analytic writing.
Three narratives are discussed in which one person was seen as behaving in a
despicable way by others. The description and analysis of the narratives are used to
offer a narrative understanding of the process by which some people become indignant
with others. It suggests a narrative construction of how sense is made of indignation,
particularly in cases where two narratives come up against each other. It concludes
by considering how the process of being indignant can produce conflicting emotions
of joy and guilt for those involved.

By: ikkyu
Windows PhoneAndroid
on 8 October 2008 - 17:50 #67490 Reply to:67403

Bastard = ลูกนอกสมรส (ใช้เป็นคำด่ากัน)
มันฮาตรงที่เอาคำด่ามาขึ้นไว้หน้า subject ของ Paper นี่แหละ ทำไปได้

คนรีวิวคงจะอึ้ง เฮ้ย โผล่มาคำแรกก็ด่ากันเลย

พิเรนท์ถึงขั้น เหมาะสมกับ Ig Nobel สาขาวรรณกรรมจริงๆ

By: evo_toon
ContributorAndroid
on 7 October 2008 - 20:15 #67425

Cross sectional เป็นการศึกษาความชุกของการเกิด สามารถที่จะหาเหตุและผลได้ในเวลาเดียวกัน

By: pawinpawin
Writer
on 7 October 2008 - 22:26 #67432 Reply to:67425

การที่เราจะบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล มีหลักง่ายๆ (จริงๆ ไม่ง่าย) ตาม Hill's Criteria of Causation ดังนี้

  • Temporality สาเหตุ มาก่อนผล การศึกษาที่ได้เปรียบคือการศึกษาที่มีเวลามาเกี่ยวข้อง (เช่น Randomized Clinical Trial/Cohort) โดยการศึกษาที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเวลา (เช่น cross-sectional) ไม่สามารถอธิบายเหตุและผลได้ เพียงแต่พบว่ามัน "สัมพันธ์กัน"
  • Strength หากเกิดนิดเดียว สามารถทำให้เกิด effect มาก
  • Dose Response หากต้นเหตุเยอะ แล้ว Effect เยอะตามก็น่าจะเป็นเหตุเป็นผล
  • Consistency คนอื่นทำงานวิจัยแบบเดียวกันแล้วได้ association แบบเดียวกัน
  • Biologic Plausibility มีหลักฐานทางชีววิทยา
  • Reversibility หากเอาต้นเหตุออก Effect ควรจะหายไป
  • Specificity ความสัมพันธ์ทำให้เกิด Effect เพียงอย่างเดียว
  • Analogy ความสัมพันธ์เป็นไปในทางเดียวกับต้นเหตุอื่นๆ
  • Experimental Evidence คือทดลองกำหนดสาเหตุ แล้วดูว่าผลเกิดตามจริงหรือไม่

อย่างไรก็ดี เรื่อง Causation นี้เถียงกันยังไงก็เถียงไม่จบครับ เพราะเถียงมาตั้งแต่ปี 1950 โน้นๆ บัดนี้ก็ยังเถียงกันอยู่

Reference:

Hill, A. B. (1965). "The environment and disease: association or causation?". Proc R Soc Med 58: 295–300. (pdf)

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 7 October 2008 - 23:10 #67435 Reply to:67432
Kerberos's picture

citation แน่นปึ้ก น่าเชื่อถือครับ

ไม่ตายไม่เลิก

By: Thaina
Windows
on 8 October 2008 - 11:27 #67461

ผมว่า สาขาสันติภาพ กับวิทยาการปัญญา มันน่ารักดีนะ ^^

แต่เคมีมันบ้าโคตร >_<.b