Tags:
Node Thumbnail

[update] มีคนท้วงมาเรื่องคำว่า น่าเชื่อถือ ขอแทรกหมายเหตุว่าต้นฉบับใช้คำว่า authenticity นะครับ ประมาณน่าเชื่อถือว่าเป็นของจริง

Christopher Poole หรือ "Moot" ผู้ก่อตั้งชุมชนออนไลน์นิรนามชื่อดัง 4Chan.org พูดใน keynote ที่งาน SXSW 2011 ถึงความเป็นนิรนามของการแสดงความคิดเห็นว่า ความคิดเห็นที่คนแสดงออกมาโดยที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนนั่นแหละ คือความเห็นที่จริงใจและน่าเชื่อถือ

Poole ยังกล่าวอีกว่าการต้องเปิดเผยตัวตนนั้นเป็น "ราคาที่สูง" ของการแสดงความคิดเห็น

ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องตัวตนกับการแสดงความคิดเห็นนั้นเริ่มเป็นที่ถกเถียงมากขึ้นเมื่อเว็บไซต์ดัง ๆ ต่างก็หันมาใช้ระบบความคิดเห็นที่เชื่อมโยงกับตัวตนบน Facebook ซึ่งบ้างก็บอกว่าช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ บ้างก็บอกว่าทำให้คนไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา

ที่มา - ReadWriteWeb และ The Guardian

Get latest news from Blognone

Comments

By: xenogew
ContributorAndroidWindows
on 14 March 2011 - 17:45 #268696
xenogew's picture

ผมว่าเป็นช่องทางให้คนได้แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ลึก ๆ ออกมามากกว่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงมากกว่านะ

By: tewson
WriterUbuntu
on 14 March 2011 - 17:59 #268701 Reply to:268696

หมายความว่า "พฤติกรรมแปลก ๆ ลึก ๆ" นั่นไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงหรือครับ

By: wichate
Android
on 14 March 2011 - 18:16 #268708 Reply to:268701

+1

By: pd2002 on 14 March 2011 - 20:43 #268774 Reply to:268701

+100

By: AlninlA
ContributorAndroidUbuntu
on 14 March 2011 - 19:36 #268739 Reply to:268696
AlninlA's picture

น่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของคนมากกว่าครับ ทั้งความหยาบ เถื่อน รุนแรง หื่น น่ารัก อ่อนโยน เห็นอกเห็นใจ ฯลฯ ที่สามารถฝ่าด่านการป้องกันตัวเองออกมาให้เห็นได้มากขึ้น ความน่าเชื่อถือในตัวตนนี่เห็นชัดขึ้น แต่เนื้อหาผมว่าเนื้อหาน่าจะกำกวม หรือมีคะแนนน่าเชื่อถือน้อยลง (โดยรวมๆ นะครับ)

By: kohsija
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 14 March 2011 - 18:08 #268704
kohsija's picture

ได้แสดงความชั่วในจิตใต้สำนึกออกมาได้อย่างเต็มที่มากกว่าครับ
เพราะไม่มีความรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบอะไรในผลที่ตามมา

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 14 March 2011 - 18:11 #268707 Reply to:268704
put4558350's picture

พร้อมกันก็ไม่ต้องโกหก เพราะกลัวผลกระทบที่จะตามมา

... เรื่องแบบนี้มันเป็นปัญหาโกลแตกครับ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: SuPPy
AndroidWindows
on 14 March 2011 - 18:34 #268717 Reply to:268704

+1
สอดคล้องกับจิตวิทยาการสื่อสาร เขาบอกว่าการสื่อสารของคนในโลก IT จะใช้ภาษาที่รุนแรงกว่าปกติ

By: tewson
WriterUbuntu
on 14 March 2011 - 18:36 #268720 Reply to:268704

"ผลที่ตามมา" ที่คนแสดงความคิดเห็นต้อง "รับผิดชอบ" นี่มันมีตัวอย่างยังไงบ้างหรือครับ

By: lancaster
Contributor
on 14 March 2011 - 23:09 #268859 Reply to:268720

นี่ถามจริงๆหรือแค่ย้อนอะครับ

ยกตัวอย่างพวกตอบกระทู้เรื่องการแพทย์มั่วๆ นี่พอเห็นภาพไหมครับ

By: tewson
WriterUbuntu
on 15 March 2011 - 01:16 #268910 Reply to:268859

ใครจะถือเอาความเห็นทางการแพทย์จากใครก็ไม่รู้บนเว็บไซต์เป็นจริงเป็นจังบ้างครับ

By: lancaster
Contributor
on 15 March 2011 - 02:45 #268925 Reply to:268910

งั้นผมยกตัวอย่างใหม่ละกัน

ถ้ามี anonymous คนนึงมา post ใน blognone forum ว่าโดน tewson ไปทำเค้าท้องแล้วไม่รับผิดชอบ แล้วดันมีคนเชื่อจริงจัง ถึงกับไปขุดประวัติ tewson มาประจานกันตั้งแต่บรรพบุรุษรุ่นทวด

แบบนี้ anonymous ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองเขียนลงไปไหม? แล้วถ้าต้องรับผิดชอบจะเอาผิดกับใคร? แบบนี้เป็น counter example ได้ไหมว่า anonymous ไม่ได้มีแต่ข้อดีอย่างที่คิด?

แค่ยกตัวอย่างน่ะครับ อย่าซีเรียสนะ

By: tewson
WriterUbuntu
on 15 March 2011 - 19:16 #269173 Reply to:268910

ไม่รู้ทำไมกด reply อันข้างบนนี้ของ lancaster ไม่ได้ ขอตอบตรงนี้แทนละกัน

ถ้ามี anonymous คนนึงมา post ใน blognone forum ว่าโดน tewson ไปทำเค้าท้องแล้วไม่รับผิดชอบ แล้วดันมีคนเชื่อจริงจัง ถึงกับไปขุดประวัติ tewson มาประจานกันตั้งแต่บรรพบุรุษรุ่นทวด

ถ้าคนอื่นทั่วไปที่ไม่รู้จักผมจะเชื่อเอาจริงเอาจังกับข้อมูลนิรนามเกี่ยวกับผมนี่มันก็ไม่ใช่เรื่องน่าใส่ใจอะไรหรือเปล่าครับ ในทางกลับกัน ถ้าคนที่รู้จักผมเชื่อเอาจริงเอาจังกับข้อมูลนิรนามเกี่ยวกับผม มันก็น่าจะแปลว่าตัวผมเองมีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างที่ข้อมูลว่า มันถึงได้น่าเชื่อ แล้วก็คงเป็นธุระของผมเองที่จะแก้ต่างหรือไม่กับคนที่ผมใส่ใจอะนะ

นอกจากนี้ ถ้านิรนามคนนี้จะอุตส่าห์มาโน้มน้าวคนอื่นให้เชื่อข้อมูลตนเอง มันก็น่าจะมีอะไรที่ทำให้น่าเชื่อ ถ้าเป็นข้อความลอย ๆ แล้วมีคนเชื่อ มันจะเป็นเรื่องที่น่าใส่ใจหรือ?

แบบนี้ anonymous ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองเขียนลงไปไหม? แล้วถ้าต้องรับผิดชอบจะเอาผิดกับใคร? แบบนี้เป็น counter example ได้ไหมว่า anonymous ไม่ได้มีแต่ข้อดีอย่างที่คิด?

ผมว่านิรนามคนนั้นก็มีสิทธิ์พูดสิ่งที่อยากพูด (ตราบเท่าที่ระบบมันเอื้อให้มีการพูดอย่างนิรนามอะนะ) แน่นอนมันก็เป็นสิทธิ์ของผมที่จะขอให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ลบออก แน่นอนที่เราต่างก็มีสิทธิ์เลือกใช้เว็บไซต์ที่มีนโยบายจัดการกับข้อความหมิ่นประมาท และแน่นอนที่เว็บไซต์ก็มีสิทธิ์กำหนดนโยบายไม่สนับสนุนความเห็นนิรนาม

By: tewson
WriterUbuntu
on 15 March 2011 - 19:35 #269179 Reply to:268921

ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้น และก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะประณามพวกแกล้งไม่เข้าท่าอย่างนี้ แต่สุดท้ายแล้วปัญหาคืออะไร ในเมื่อระบบแบบนี้จำเป็นต้องอนุญาตการแสดงความเห็นนิรนาม เพราะการสมัครสมาชิกก็ไม่ได้ช่วยยืนยันตัวตนอะไร อาจจะช่วยสร้างความลำบากให้พวกอยากป่วนได้บ้าง

ถ้าปัญหาคือ การอนุญาตการแสดงความเห็นนิรนามจะทำให้มีข้อความไม่พึงประสงค์ ในเมื่อเราไม่สามารถตรวจจับ ก่อน ที่คนจะโพสต์ได้ ก็มีแค่วิธีที่เห็นชัดอยู่แล้วคือมีการตรวจดูความเห็นหลังโพสต์ จะด้วยวิธีให้คนช่วยกันแจ้งลบ (flag) แบบที่ Google ทำอยู่ หรือจะคอยอ่านก่อนแสดงผลก็ว่าไป

แต่ถ้าปัญหาคือเรื่องข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคนที่สูญหาย ผมว่าเราอาจจะแบ่งความเห็นในเว็บได้คร่าว ๆ ตามนี้คือ (1) ข้อมูลจากคนปรารถนาดี (ที่อาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง) (2) ข้อมูลจากคนไม่ปรารถนาดีที่แสร้งทำเป็นปรารถนาดี (และอาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง) และ (3) ข้อมูลจากคนไม่ปรารถนาดีที่แสดงตัวว่าไม่ปรารถนาดี (บอกชัดเจนว่าเข้ามาป่วนเฉย ๆ)

เราก็จะเห็นว่าเราตัดความเห็นแบบ (3) ออกไปได้ทันที แน่นอนมันอาจจะทำร้ายความรู้สึกอย่างมาก ก็เป็นเรื่องของระบบว่าจะช่วยจัดการลบความเห็นแบบนี้ออกไปได้เร็วแค่ไหน แต่ผมคิดว่าเราไม่น่าจะแยกออกระหว่างข้อมูลแบบ (1) กับ (2)

สุดท้ายสำหรับกรณีนี้ เราคงไม่ตัดสินว่าคนคนหนึ่งสูญหายจากแค่ข้อมูลนิรนามในหน้าเว็บ? หรือเชื่อข้อมูลที่คนที่แสดงความคิดเห็น (ซึ่งน่าจะรู้จักคนที่สูญหายน้อยกว่าเรา) บอก ผมว่ามันต้องประเมินหลายอย่างนะ และผมคิดว่าคนที่มาป่วนนั้นมีความตั้งใจน้อยกว่าคนที่ปรารถนาดี อาจจะเป็นเรื่องของการออกแบบระบบเพื่อจำกัดพวกตัวป่วนออกไปให้มากที่สุดในกรณีนี้ มากกว่าจะตัดสินว่าไอเดียของความเห็นนิรนามโดยทั่วไปนั้นไม่ดี

By: puri on 16 March 2011 - 01:37 #269252 Reply to:269179

ข้างบนถามหา "ผลที่ตามมา" ที่คนออกความเห็นแบบนิรนามควรจะ "รับผิดชอบ" นิครับ ผมเห็นว่าในกรณี Person Finder นี่ คนป่วนความเห็นพวกนั้นควรจะต้องรับผิดชอบ

ที่พูดมาข้างบนเหมือนบอกว่าความรับผิดชอบอยู่ที่คนที่เชื่อข้อความดังกล่าว หรือระบบมากกว่าคนป่วนนะครับ (แม้ว่าน่าจะจริงที่อาจจะลดการป่วนลงไปได้ ถ้าความเห็นไม่ได้เป็นนิรนาม แม้จะเป็น ID หลอก ๆ อย่าง IP)

อาจจะเปรียบเทียบไม่ตรงเท่าไร แต่เหมือนกับบอกว่ามีผนังสาธารณะอยู่ที่นึง คนก็เข้าไปบ่นสีขีดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบน่ะครับ

By: tewson
WriterUbuntu
on 16 March 2011 - 02:49 #269260 Reply to:269179

เอ๊ะ กด reply ไม่ได้อีกแล้ว ทำไมหว่า

ก็ในเมื่อความเห็นมันนิรนาม จะไปหาคนโพสต์ความเห็นมารับผิดชอบได้ยังไงอะครับ ถ้าต้องการรู้จริง ๆ ว่าใครโพสต์ความเห็นไหน ก็ต้องทำให้ระบบมันระบุได้

เรื่องพ่นสีผมว่าเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ไม่ได้เสียทีเดียวนะ ค่าใช้จ่ายในการลบและความง่ายในการลดกำลังใจพวกตัวป่วนมันต่างกัน สถานที่ต่าง ๆ ก็มีกล้องวงจรปิด

By: puri on 16 March 2011 - 03:52 #269264 Reply to:269179

ผมว่าความนิรนามมีสองแบบนะครับ แบบแรกคือนิรนามจริง ๆ ไม่เก็บข้อมูลอะไรของผู้โพสต์ไว้เลย อีกแบบคือเก็บไว้แต่ไม่เปิดเผย ซึ่งก็ทำให้ตามคนมารับผิดชอบได้แต่ก็ยังให้แสดงความคิดเห็นได้แบบอิสระ

แต่อย่างไรก็ตาม การตามคนมารับผิดชอบไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าคนนั้นไม่ต้องรับผิดชอบหรือไม่ใช่คนผิดนิครับ ตกลงว่าอย่างในกรณีข้างต้น ถ้ามีคนเชื่อว่าผู้สาบสูญตายไปจริง ๆ คิดว่าความผิดอยู่ที่คนโพสต์ (แม้จะไม่รู้เลยว่าเป็นใคร ตามก็ไม่ได้) คนเชื่อ หรือผู้สร้างระบบครับ?

By: tewson
WriterUbuntu
on 16 March 2011 - 17:44 #269504 Reply to:269179

ในเรื่องผู้สาบสูญนี่ "ความผิด" คืออะไรครับ ผิดที่โน้มน้าวให้คนที่ไม่รู้จักเชื่อว่าเพื่อน/ญาติเขาตายแล้ว? ถ้าจะผิดก็ผิดแค่ทำร้ายจิตใจคนอื่นนั่นล่ะครับ คิดว่าเป็นไปได้ไหมว่าถ้าผมไปพูดพล่อย ๆ ลอย ๆ ว่าคนนั้นคนนี้ (ที่ผมไม่รู้จักสักนิดเดียว) ตายแล้ว แล้วญาติเขา (ที่ก็ไม่รู้จักผมเนี่ย) จะเชื่อเอาจริงเอาจัง เลิกค้นหาเลิกพยายามติดต่อ หรือคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่ใครจะอุตส่าห์สร้างหลักฐานปลอมไปโน่มน้าวให้คนที่ไม่รู้จักเชื่อว่าญาติเขาตายแล้ว

By: puri on 17 March 2011 - 00:44 #269605 Reply to:269179

ผมเข้าใจว่าในทางกฏหมาย (ซึ่งก็มาจากความเชื่อในสังคม) เค้าดูผลลัพธ์เป็นหลักก่อน แล้วค่อยดูว่าตั้งใจหรือไม่ ขนาดไหน ส่วนตัวผมเห็นว่าคนเชื่อไม่จะน่าเชื่อ คนทำระบบน่าโดนต่อว่า แต่คนผิดก็คือคนโพสต์ และอาจจะต้องรับผิดครอบคลุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คิดไว้ก่อน

By: THM
iPhoneAndroidWindows
on 14 March 2011 - 18:09 #268705
THM's picture

น่าคิดเหมือนกัน คล้ายๆพยานในคดีความจะยอกให้ความร่วมมือในขั้นต้น แต่ถ้าต้องไปขึ้นศาลบางรายก็ยอมที่จะกลับคำให้การ

By: RYUTAZA
Contributor
on 14 March 2011 - 18:20 #268712

เช่นเว็บ p เป็นต้นสินะ สินะ

By: wichate
Android
on 14 March 2011 - 18:21 #268713

ผมคิดว่ามันไม่เกียวอะไรกับน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือนะครับ

น่าจะเกี่ยวแค่จริงใจ หรือไม่จริงใจแค่นั้นเอง

By: tewson
WriterUbuntu
on 14 March 2011 - 18:29 #268716 Reply to:268713

ต้องขออภัยด้วยครับ เป็นความบกพร่องในการแปลของผม คือผมพยายามแปลจากคำว่า authenticity ให้กระชับ ความหมายมันน่าจะประมาณ ความแท้จริง น่าเชื่อถือ (ว่าเป็นของจริง)

By: Thaina
Windows
on 14 March 2011 - 19:06 #268724 Reply to:268713

แล้วทำไม ความจริงใจ ถึงไม่น่าเชื่อถือ

ความไม่จริงใจ ถึงจะน่าเชื่อถือ

ได้ ล่ะครับ?

By: wichate
Android
on 15 March 2011 - 08:54 #268970 Reply to:268724

เพราะว่าความจริงใจ ไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าข้อมูลที่โพส มันจริงหรือไม่จริงน่ะซิครับ

เพราะคนที่โพสอาจจะไม่รู้ตัวว่าข้อมูลที่โพส เป็นข้อมูลที่ตัวเองรู้มาผิดๆ

ดังนั้นต่อให้จริงใจแค่ใหนก็ไม่ได้แปลว่าข้อมูลนั้นจะน่าเชื่อถือ

สรุปว่า ความจริงใจกับความน่าเชื่อถือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกันเลยครับ

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 15 March 2011 - 09:20 #268982 Reply to:268970

เออวุ้ย :D

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 14 March 2011 - 18:36 #268719

มันเป็นการแสดงจิตใต้สำนึก(สันดาน)ออกมาได้โดยที่ไม่ต้องกลัวการเผชิญหน้าเต็มที่น่ะครับ
จึงเป็นที่มาของดราม่าสารพัดสารเพให้เราๆท่านๆได้เสพ

By: zotix
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 14 March 2011 - 18:38 #268722

มันก็แล้วแต่หัวขัอที่พูดคุยกันอยู่ด้วย มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนเราบ้างทีต้องการเป็นคนนิรนาม เพื่อที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดของตนเองอย่างเต็มที โตยไม่ต้องการให้มีผลกระทบกับชีวิตในปัจจุบัน เช่น การเมือง... ความเชื่อ...

By: empuppy
AndroidUbuntu
on 14 March 2011 - 18:54 #268723
empuppy's picture

ความเห็นที่เป็นนิรนาม ข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ เราสามารถอ่านและตัดสินข้อความนั้นได้จากเนื้อหาสาระจริงๆ ของความเห็นนั้น โดยไม่ต้องถูกชักจูงด้วยตัวตน ตำแหน่ง ความนิยมเด่นดัง หรืออื่นๆ ของผู้โพสต์ และสามารถแสดงความเห็นแย้งได้โดยไม่ต้องงุงิๆ จ๊ะจ๋า

By: fatro
ContributoriPhoneAndroid
on 14 March 2011 - 19:18 #268730
fatro's picture

อินเทอร์เน็ต ที่มีส่วนในการวิพากษ์สังคมร้อนแรงอย่างทุกวันนี้คือความเปนนิรนาม คือการไม่จำกัดโดยกรอบสถานะทางสังคม ส่วนตัวผมชอบความเห็นที่เปนนิรนาม เพราะมันระงับอคติของผู้อ่านหรือผู้รับฟังที่มีต่อผู้แสดงความเห็น ทั้งนี้การแสดงความเห็นอย่างไร้รับผิดชอบก็เปนสิ่งที่มาคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คงไม่ยากนักในการแยกแยะ

อย่างคดีวอเตอร์เกต กว่าจะได้รู้ว่าใครเปน Deep Throat ก็ปาไป 33 ปี ซึ่งถ้าไม่ปิดก็คงไม่มีใครพูด

By: Thaina
Windows
on 14 March 2011 - 19:22 #268734

เห็นหลายท่านพูดถึงสันดาน ผมว่ามันก็คือเหรียญด้านหนึ่งของคำว่าความจริงใจนะ

การแสดงความจริงใจออกมา ถ้ามีความรุนแรงหยาบคาย มันก็เรียกว่าสันดานไปโดยปริยาย
ในที่นี้เขาก็เน้นให้เห็นถึงความจริงใจ เปนหลัก ไม่ว่าจะหยาบคายรุนแรงก้าวร้าวหรือไม่

ผมคิดว่า เขาพยายามที่จะเสนอว่า การที่คนเราไม่ต้องใช้ความกล้าในการเปิดเผยตัวตน ก็ทำให้คนเราสามารถออกความเห็นที่ผิดปกติ ผิดธรรมเนียมสังคม แต่สามารถจะยืนยันให้เหตุผลว่าตัวเองถูกโดยไม่ต้องโดนไล่ล่าจากขบวนการคลั่งลัทธิ คือสิ่งสำคัญ

อย่างเช่น ถ้ามีพูดคุยแลกเปลี่ยน โต้เถียงกันเรื่องประเภท "ศาสนาอิสลามจำเปนต้องให้ผู้หญิงใส่ฮิญาบจริงๆหรือ" ในประเทศอิสลาม
หรือ ประเภท "จักษุธาตุมีจริงหรือไม่" "ชาตินิยมดีจริงหรือไม่" ในประเทศไทย
ถ้าฝ่ายคัดค้านต้องเปิดเผยตัวตน ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกฝ่ายที่คลั่งไล่ล่าเอาได้ แม้ว่าจะให้เหตุผลแลกเปลี่ยนกับฝ่ายสนับสนุนตามธรรมดาก็ตาม

By: illusion
ContributorAndroid
on 14 March 2011 - 21:00 #268784 Reply to:268734
illusion's picture

Like อย่างแรง!!

"การที่คนเราไม่ต้องใช้ความกล้าในการเปิดเผยตัวตน ก็ทำให้คนเราสามารถออกความเห็นที่ผิดปกติ ผิดธรรมเนียมสังคม แต่สามารถจะยืนยันให้เหตุผลว่าตัวเองถูกโดยไม่ต้องโดนไล่ล่าจากขบวนการคลั่ง ลัทธิ คือสิ่งสำคัญ"

ทุกวันนี้ ในชีวิตจริง รวมถึง facebook ผมแสดงออกทางความคิดแบบ "เซฟที่สุด" และทำตัว "คลั่งเหมือนเขา" "ว่าไงว่าตามกัน" "ซาบซึ้งตามกัน" ดูแล้วไม่น่ามีความคิดที่แตกต่างไปจากสังคมไทยกระแสหลักเป็นกันเลย

ซึ่งนั่น น่าอึดอัดที่สุด และขัดแย้งกับความรู้สึกนึกคิด แต่จำเป็นต้องทำเพราะจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันในสังคมที่ถูกตีกรอบให้คิดแบบเดียวกันหมด ไม่ต่างอะไรกับการใส่หน้ากากเข้าหากัน

ไม่น่าแปลกใจ ที่บนเน็ตมีแต่คนออกมาระบายตามที่ตนเองเชื่อหรือนึกคิดไว้ เพราะในชีวิตจริงมันไม่สามารถแสดงออกได้เลย หรือมันก็ได้ล่ะแต่ผลไม่คุ้มกัน... ย้อนกลับมาที่ข่าวนี้ล่ะครับ แล้วแต่มุมมองแต่ละท่านละ ว่า บุคคลนิรนาม น่าเชื่อถือหรือไม่ เมื่อเขาพูดออกมาจากความรู้สึกนึกคิดจริงๆ ไม่ใช่ใส่หน้ากากในชีวิตจริงอย่างที่หลายคนต้องทำ

By: porple on 15 March 2011 - 13:45 #269110 Reply to:268784

เห็นด้วยตรงที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง

อย่างในเวบP ถ้าให้สังเกตการแสดงความคิดเห็น
ถ้า 10 ความเห็นแรก เห็นด้วยกับจขกท
แล้วดั๊นมีความที่ 11 บอกว่าไม่เห็นด้วย พร้อมยกเหตุผล
ให้สังเกตว่า ความเห็นที่ 12 ต่อๆมา จะมีข้อความที่เห็นด้วย กับความเห็นที่ 11

แล้วกระทู้ก็จะเปลี่ยนแนว

บางที เราก็ต้องการใครสักคนกล้าที่จะพูดออกมา แล้วเราเห็นด้วย ก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่บางทีมันไม่กล้าที่จะเริ่มก่อนด้วยตัวเอง

By: 17November
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 15 March 2011 - 17:32 #269158 Reply to:269110
17November's picture

+1

By: emptyzpace on 14 March 2011 - 19:45 #268741

เรื่องนี้ทำไห้นึกถึงประโยคนึงขึ้นมาในหัว
"จงจดจำแนวความคิด ไม่ใช่ตัวบุคคล เพราะบุคคลล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้"

By: aeke88
iPhoneAndroid
on 14 March 2011 - 20:23 #268763
aeke88's picture

ส่วนตัวผมสนับสนุนการเปิดเผยตัวตนในการแสดงความคิดเห็นครับ

แม้ว่าจะต้องกระมิดกระเมี้ยนบ้างในการแสดงความคิดเห็น

แต่ถ้าปกปิดตัวตนไปเลย บางทีมันก็ทำให้คนเรามันห่ามกันมากขึ้นครับ

แล้วมันทำให้ผู้ดูแลเว็บทำงานกันลำบากมากขึ้นอีกในการดูแลความเรียบร้อย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 14 March 2011 - 20:54 #268782

หัวโขนทำให้เราต้องจำกัดการแสดงออกครับ บางทีเราก็ต้องไว้หน้าคู่สนทนา ไม่กล้าแย้งหรือโต้เถียงกันตรงๆ เพราะเกรงใจความสัมพันธ์บ้าง กลัวการแก้แค้นผ่านระบบอุปถัมภ์บ้าง ฯลฯ

นิรนาม จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เรากล้าพูดเรื่องในใจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านดี หรือด้านร้าย(สันดานดิบ) แต่มันก็คือตัวตนที่แท้จริงไม่ใช่หรือ?

By: LuvStry
ContributorAndroid
on 14 March 2011 - 21:28 #268803
LuvStry's picture

สนับสนุนการแสดงความคิดเห็นแบบไม่เปิดเผยตัวตนครับในบางสถานที่ เพราะจะทำให้ไม่เกิดการชี้นำ ไม่เกิดอุปทานหมู่ ความคิดเห็นนั้นๆสะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างของความคิดที่มีกับเรื่องนั้นๆได้อย่างตรงไปตรงมา หากเรายืนอยู่ในฐานะผู้อ่านแล้วเราจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ด้วยกฏหมายแบบนี้มันไม่อำนวยครับ บีบกันเป็นทอดๆไป

อิสระภาพมีโทษมหันต์แต่ก็มีคุณอนันต์เหมือนกัน


Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ

By: geumatee
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 14 March 2011 - 21:48 #268808

ส่วนตัวแล้วมองว่า
นิรนาม ดีในแง่ของการแสดงความคิดเห็น เพราะไม่จำเป็นต้องปิดบังหรือกลัวสิ่งใด แต่ไม่ดีในแง่ที่ต้องแสดงข้อเท็จจริง เพราะมันเลี่ยงความรับผิดชอบได้

By: MN on 14 March 2011 - 21:58 #268820 Reply to:268808

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

By: bankkung
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 14 March 2011 - 22:18 #268830

คนเราต้องการการยอมรับในสังคมครับ ในหลายๆครั้งภาพลักษณ์ที่สั่งสมมานานในโลกความเป็นจริงก็ทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเช่น(ยกตัวอย่างนะ) 'AV คนนี้เจ๋งสะบัดช่อไปเลยย หื่นได้สุดๆ' เพราะภาพลักษณ์ที่สั่งสมมาทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ได้
ค่อนข้างเห็นด้วยกับแบบ @kohsija ว่าสุดท้ายแล้วการเปิดเผยตัวตนทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่พูด และการพูดบนอินเทอร์เน็ท (กล่าวคือการเขียน) เป็นหลักฐานที่อยู่ยาวนาน มี Log บันทึก ทำให้เราต้องรับผิดชอบมากกว่าการพูดในโลกความเป็นจริง (ที่เราสามารถเนียนว่าไม่ได้พูดได้)

By: boykeng on 14 March 2011 - 22:56 #268854
boykeng's picture

ไปดูเวป m สิครับ สุดยอดเวปข่าว แสดงความเห็นกันแบบไม่กลัวตกนรกกันเลยทีเดียวเชียว

By: lancaster
Contributor
on 14 March 2011 - 23:10 #268862

การเป็นนิรนาม สามารถพูดเรืองจริงได้โดยไม่ต้องกลัวใครมาตามคิดบัญชี และก็สามารถใส่ไฟหลอกลวงคนอื่นโดยไม่มีทางจับตัวได้

By: tewson
WriterUbuntu
on 15 March 2011 - 01:19 #268912 Reply to:268862

ผมสงสัยว่าทำไม "การหลอกลวง" โดยคนนิรนาม ถึงจะถูกเชื่อในระดับที่น่ากังวลอะครับ ไม่ใช่คนที่ดูมีประวัติดี น่าเชื่อถือหรอกหรือ ที่น่าจะประสบความสำเร็จกับการหลอกลวงมากกว่า

By: lancaster
Contributor
on 15 March 2011 - 02:46 #268928 Reply to:268912

ผมสมมุติว่าเนื้อข่าวข้างบนเป็นจริงน่ะครับที่ว่า anonymous น่าเชื่อถือและจริงใจกว่าการโพสแบบเปิดเผยตัวตน

By: tewson
WriterUbuntu
on 15 March 2011 - 19:39 #269180 Reply to:268928

ผมใส่หมายเหตุไว้ข้างบนในข่าวอยู่แล้วนะครับว่า น่าเชื่อถือ นี่คือ authenticity ทำนองว่าน่าเชื่อถือว่าเป็นความเห็นจริง ๆ ของผู้อ่าน ไม่ใช่ว่าน่าเชื่อถือว่าเป็นข้อเท็จจริง เรื่องนั้นมันแล้วแต่คนจะประเมินกันเอง

By: Funbari on 15 March 2011 - 13:40 #269108 Reply to:268912
Funbari's picture

แสดงว่าไม่รู้จักเว็บดราม่า

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 15 March 2011 - 01:11 #268907
zerocool's picture

สนับสนุนการเปิดเผยตัวตนครับ ถ้ากล้าคิดแล้วก็ควรกล้าพูดและกล้ารับผิดชอบด้วย


That is the way things are.

By: Thaina
Windows
on 15 March 2011 - 06:46 #268943 Reply to:268907

ทำไมเราต้องบังคับให้คนมีความกล้า เวลาที่จะต้องแสดงเหตุผลในเรื่องที่ถูกต้องล่ะตรับ

สมมุติว่าผมเชื่อว่าโลกกลม ในยุคที่สังคมและศาสนาบังคับให้คนเชื่อว่าโลกแบน ทำไมผมต้องแสดงตัวตนให้โดนพวกคลั่งลัทธิตามล่าตามรังควาน เพื่อที่จะบอกความจริงแก่คนทั่วไป

By: HMage
AndroidWindows
on 15 March 2011 - 01:12 #268908

ประเด็นเรื่อง "การแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องแสดงตัว" นี่เราทุกคนเคยเห็นความสำคัญกันมาตั้งนานแล้วครับ

ก็การหย่อนบัตรเลือกตั้งไง

ไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างไกลตัวหรอก

By: KNPKT
AndroidUbuntuWindows
on 15 March 2011 - 10:38 #269028 Reply to:268908
KNPKT's picture

+1 ชัดเจนครับ

By: emptyzpace on 15 March 2011 - 16:20 #269142 Reply to:268908

+1000
ถ้ามีข้อมูลไห้ดู ว่าคนใหน ชื่ออะไร เลือกหมายเลขใหน ไม่อยากจะคิดเลย ว่าจะเป้นยังใง หุหุ

By: wichate
Android
on 15 March 2011 - 09:18 #268981

อ่านๆดูแล้ว ความคิดของคนเรานี่มันซับซ้อนมากเลยฮะ

มากเสียจน supper computer ทำไม่ได้อย่างคนแน่ๆ

เช่นคนเราสามารถโกหก เพื่อรักษาน้ำใจ (computer โกหกไม่เป็น ตรงไปตรงมา)

คนเราเลือกที่จะยอมแพ้คู่ต่อสู้ เพื่อตอบแทนบุญคุณ (computer ไม่ยอมแพ้ ผมเล่นเกมหมากฮอส มันชนะผมตลอดเลย จะแกล้งแพ้ซักตาให้ผมดีใจหน่อยก็ไม่ได้)

สรุป.. ความซับซ้อนในการการประมวลผลของ computer ยังห่างชั้นกับสมองเล็กๆของมนุษย์อยู่มาก

By: khajochi
WriteriPhoneIn Love
on 15 March 2011 - 10:12 #269015
khajochi's picture

อืม .. คงเหมือนกับเปิดโชว์ id กับใช้บัตรผ่านกระมัง


แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com

By: pines
Blackberry
on 15 March 2011 - 10:27 #269020

การปาหินใส่รถนั่นก็เป็นนิรนามนะครับ ไหวไหมนั่น ลองคิดดู

By: bean3g
Windows PhoneUbuntu
on 15 March 2011 - 16:00 #269141 Reply to:269020

ปกติ Hacker ก็ทำตัวนิรนามอยู่แล้ว การพิมพ์ข้อความในโลกออนไลน์ไม่ใช่การปาหิน

By: fatro
ContributoriPhoneAndroid
on 17 March 2011 - 04:33 #269631 Reply to:269141
fatro's picture

อาจเปนไปได้ว่าข้อความที่พิมพ์จะทำให้กระจกรถแตก .. ไม่ใช่ล่ะ (ขำๆ นะฮ้าฟ)

By: EThaiZone
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 15 March 2011 - 13:25 #269103
EThaiZone's picture

อ่านความเห็นรวมๆ ทั้งหมดแล้วมันก็มีทั้งดีทั้ง 2 แบบแหละครับ แต่ผมว่าต้องใช้ให้ถูกเวลาและสถานที่มากกว่า
ใช่อย่างที่หลายคนพูด ว่าการระบุตัวตนได้นั้นดีกว่า เพราะมันจะมีเรื่องความรับผิดชอบเขามา
แต่ลองมองถึงในด้าน "ตู้แสดงความคิดเห็น" ผมว่า 4Chan ก็เหมือนตู้แบบนั้น
มันมีสิ่งที่คนปกติเขาจะไม่พูดกันเยอะ และตู้นี้ดีตรงคุณไม่ต้องเดินไปหยอดจดหมายลงตู้ด้วยตัวคุณเอง
เพราะคุณอาจโดนเจ้านายมีแอบติดกล้องถ่ายว่าใครมาหยอดบ้าง
และ "ตู้แสดงความคิดเห็น" นั้นก็จะไม่เป็นนิรนามจริงๆ ไป


มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB

By: bean3g
Windows PhoneUbuntu
on 15 March 2011 - 15:59 #269140

Facebook ทำให้โลกประชาธิปไตยสั่นคลอน คอมมิวนิสต์เฟื่องฟู?

By: Thaina
Windows
on 16 March 2011 - 05:26 #269266

ผมว่าปัญหาของความนิรนาม ที่หลายคนพูดไว้ มันไม่ใช่ปัญหาของความนิรนามนะ
ปัญหาคือ ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่ หากพูดสิ่งใดขึ้นมาลอยๆ โจมตีบุคคลอื่น ไม่มีหลักฐานอ้างอิง ไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะ มันก็ไม่ควรเชื่อถือแต่แรกอยู่แล้ว

ตรงนี้ยิ่งแย่กว่าเสียอีก หากว่าอีกฝ่ายมีตัวตน ก็อาจอาศัยชื่อเสียง พูดโน้มน้าวโจมตีบุคคลที่ไม่ชอบ
ในทางหนึ่งคือเราลากคอคนๆนั้นมารับผิดชอบได้จริง แต่บางครั้งอาจมีคนเชื่อไปแล้วเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือสำหรับสังคมนั้นๆ และการเรียกร้องให้รับผิดชอบอาจถูกกระแสกลบหมดสิ้น ดังที่เคยเห็นบ่อยๆในดราม่าพันธิป

สรุปคือ ที่ถูก ผมคิดว่า เราควรเชื่อถือแต่ข้อความที่มีเหตุผลหรือมีหลักฐาน ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่ และไม่เชื่อถือข้อความที่ไม่ใช่เหตุผลหรือหลักฐาน ไม่ว่าคนโพสท์จะมีตัวตนหรือไม่

ด้วยหลักการนี้ คนที่ไม่มีตัวตน จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะการมีตัวตน อาจทำให้คนไม่กล้าพูดอะไรที่คิดจากใจจริง

ครับ

ป.ล. แน่นอนว่าความเปนจริงไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น การใช้ความนิรนามเผยแพร่ข่าวลือบางทีก็มีคนเชื่อ และการมีตัวตนทำให้คนเราเซฟตัวเอง
แต่อย่างที่บอกน่ะครับ ถ้าการแลกเปลี่ยนความคิดเปนไปอย่างถูกต้อง ตามหลักการ ผมคิดว่าความนิรนามดูจะดีกว่า

By: absulation
AndroidWindows
on 16 March 2011 - 08:35 #269282
absulation's picture

จะมีคนเอาแนวความคิดนี้ไปทำเหมือน facebook ไหมน่ะ
จากการเอาคนที่เรารู้จักกันมาเชื่อมโยงกันเปลี่ยนเป็น
เอาสิ่งที่ชอบหรือเอาสิ่งที่สนใจมาเชื่อโยงกันโดยไม่เปิดเผยตัวตน
คิดเล่นๆ น่ะอิๆๆ

By: holyddog on 18 March 2011 - 15:20 #270067 Reply to:269282
holyddog's picture

+100 ไอเดียนี้เลฺิศสุดๆครับ

By: Thaina
Windows
on 18 March 2011 - 16:05 #270091 Reply to:269282

+99 น่าทำมากครับ

By: jp
iPhoneAndroidBlackberry
on 17 March 2011 - 01:39 #269612

จิต

By: pines
Blackberry
on 19 March 2011 - 02:21 #270191

ผมว่าการไม่รับรู้ตัวตนแบบนิรนามไปเลยมันสุดโต่งไป ในทางปฏิบัติเราไม่จำเป็นต้องปิดบังหรือเปิดเผยอะไรแบบหมดเปลือก อย่างที่รู้กันถ้าปล่อยให้อยู่ในที่มืดคนก็มักจะทำอะไรในด้านมืด