Tags:
Node Thumbnail

BlindElephant เป็นซอฟต์แวร์ command-line โอเพนซอร์สสำหรับดูรายละเอียดเว็บอื่น ๆ ว่าใช้ระบบจัดการเนื้อหาตัวใดและรุ่นไหน และได้มีการทดสอบเรียกใช้งานกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายล้านกว่าตัว ดังผลที่ปรากฏในรายงาน Web Application Fingerprinting and Vulnerability Inferencing และจากการที่เรารู้ว่าใช้ระบบจัดการเนื้อหาตัวใดและใช้รุ่นไหน แล้วถ้าผู้ดูแลระบบไม่มีการปรับปรุงตัวซอฟต์แวร์ไปใช้รุ่นที่ปลอดภัย จะทำให้สามารถสามารถเจาะระบบเข้าไปอย่างไม่ยาก

จากรายงานระบบจัดการเนื้อหายอดนิยมที่สุด 3 ตัว

เว็บที่ใช้ระบบจัดการเนื้อหาดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงระดับฉุกเฉินเป็นเปอร์เซ็นต์คือ Drupal - 69%, Joomla! - 91%, Wordpress - 4%
แต่ผลที่ได้หมายถึงระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์สไม่ปลอดภัย จริงหรือ คำตอบคือไม่แน่ใจ เพราะการอัพเดทไปใช้เวอร์ชันที่ปลอดภัย ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัยจริง ๆ แต่หมายความว่าเรายังหาจุดเสี่ยงในการเจาะระบบไม่เจอต่างหาก ซึ่งผู้ที่เจาะระบบจะได้เปรียบในส่วนนี้ เพราะเจาะระบบแล้วไม่ต้องบอกใคร ซึ่งระบบจัดการเนื้อหาเก็บตังค์ทั้งหลายแหล่ ส่วนใหญ่จะไม่มีจุดเสี่ยงระดับฉุกเฉินเพื่อความน่าเชื่อถือ ประมาณไม่รู้ก็ไม่เจ็บ
ปัจจัยที่ทำให้ระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์สมีความเสี่ยง คือ

  • การเปิดเผยต้นฉบับทำให้ผู้ที่คิดเจาะระบบสามารถค้นหาจุดอ่อนได้สะดวกและรวดเร็ว
  • ระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์สส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ มาประกอบกัน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงกว่าระบบที่รวมมาเป็นการเฉพาะ

แต่ระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์สก็มีจุดเด่นด้านความปลอดภัย คือ

  • ความเร็วในการแก้ไขจุดเสี่ยง จากผลการวิจัยของ Veracode (บริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์) กล่าวว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สใช้เวลาแก้ไขจุดเสี่ยง 36 วัน ซอฟต์แวร์ที่เขียนเป็นการภายในใช้เวลา 48 วัน ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ใช้เวลา 82 วัน เนื่องจากระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์สเมื่อมีจุดเสี่ยงจะมีผู้ช่วยแก้ไขจำนวนมาก เพราะมีการเปิดเผยต้นฉบับ
  • เรื่องรูรั่วของระบบ ที่ผู้ออกแบบหรือผู้ดูแลจงใจทิ้งไว้ จากการวิจัยของ Veracode พบจุดเสี่ยงในลักษณะนี้มีเพียง 1% จากจุดเสี่ยงทั้งหมด เพราะเนื่องจากมีการเปิดเผยต้นฉบับ ทำให้ค้นพบได้ง่าย ในขณะที่ซอฟต์แวร์แบบอื่นจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่ามีจุดเสี่ยงแบบนี้หรือเปล่า

และเพื่อลดจุดเสี่ยงในการเจาะระบบ ผู้ใช้งานระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์ส ควรจะ

  • ปรับปรุงให้เป็นรุ่นที่ล่าสุดตลอด แม้จะไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยแน่นอน แต่ก็ช่วยให้อุ่นใจว่าผู้ที่เจาะระบบได้ต้องเทพจริง ๆ
  • การใช้มอดูลเสริม ควรจะเลือกมอดูลที่เป็นที่นิยม มากกว่ามอดูลที่มีผู้ใช้งานน้อย เพราะหมายถึงมีผู้ช่วยในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • ติดตามหัวข้อเกี่ยวกับความปลอดภัยในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • บริจาคเงินเข้าชุมชนบ้างก็ดีครับ แบ่งปันสักนิด จะได้มีเพื่อนเดินเคียงข้างคุณเยอะ ๆ

สวัสดี
ที่มา - CMSWiRE

Get latest news from Blognone

Comments

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 10 August 2010 - 06:12 #200296
nuntawat's picture
  • โอเพนซอร์ซ แก้เป็น โอเพนซอร์ส, มอดูล แก้เป็น โมดูล, ซอฟต์แวร์แกรม ตัดคำว่า แกรม ทิ้ง
  • หลังย่อหน้า "เว็บที่ใช้ระบบจัดการเนื้อหาดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงระดับฉุกเฉิน..." และย่อหน้า "แต่ผลที่ได้หมายถึงระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์ซไม่ปลอดภัย..." ช่วย ENTER ด้วยครับ ย่อหน้าถัดไปจะได้ไม่ติดกับย่อหน้าดังกล่าว
  • "เนื่องจากระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์ซเมื่อมีจุดเสี่ยงจะมีผู้ช่วยแก้ไขจำนวนมาก เพราะมีการเปิดเผยต้นฉบับ" ไม่น่าใช้คำเชื่อมว่า "เนื่องจาก" ยังไงก็ช่วยเรียบเรียงใหม่ด้วยครับ
  • ไม่แน่ใจว่าบทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเองทั้งหมดหรือเปล่า รู้แต่มีข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจากเว็บลิงก์ที่ได้ระบุในข่าว ถ้าหากบทความชิ้นนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเอง ช่วยบอกที่มาไว้ท้ายบทความด้วยครับ ขอบคุณครับ
By: donga on 10 August 2010 - 09:37 #200328 Reply to:200296
By: overbid
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 10 August 2010 - 12:02 #200378 Reply to:200296

*โอเพนซอร์ซ ถูกแล้วครับ http://th.wikipedia.org/wiki/โอเพนซอร์ซ
*"เนื่องจากระบบจัดการเนื้อหาโอเพนซอร์ซเมื่อมีจุดเสี่ยงจะมีผู้ช่วยแก้ไข จำนวนมาก เพราะมีการเปิดเผยต้นฉบับ" ไม่น่าใช้คำเชื่อมว่า "เนื่องจาก" ยังไงก็ช่วยเรียบเรียงใหม่ด้วยครับ - ผมว่าก็เข้ากับบริบทนะครับ
*ลืมใส่ที่มาจริง ๆ ด้วยครับ

By: mk
FounderAndroid
on 10 August 2010 - 14:12 #200430 Reply to:200378
mk's picture

เราใช้ "โอเพนซอร์ส" ครับ

By: overbid
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 10 August 2010 - 15:15 #200441 Reply to:200430

แก้แล้วครับ

By: mk
FounderAndroid
on 10 August 2010 - 08:17 #200307
mk's picture
  • "BlindElephant เป็นเว็บโอเพนซอร์ซ" เท่าที่ผมเข้าใจจากเว็บต้นทาง BlindElephant เป็น "ซอฟต์แวร์ command-line แบบโอเพนซอร์ส ที่เอาไว้เช็คว่าเว็บแอพพลิเคชันตัวไหนใช้เวอร์ชันอะไร" นะครับ
  • "ดังผลที่ปรากฏดังนี้ Web Application Fingerprinting and Vulnerability Inferencing" ประโยคนี้อ่านแล้วยังงงๆ ไปนิด เข้าใจว่าหมายถึง "ดังผลที่ปรากฎในรายงาน Web App..."
  • ตรงท้ายๆ มีคำนึงเขียน "ซอฟแวร์" ต ตกไป
By: overbid
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 10 August 2010 - 12:06 #200382 Reply to:200307

แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 11 August 2010 - 00:14 #200541
neizod's picture
  • หัวข่าว จริงเหรอ -> จริงหรือ

  • ย่อหน้าแรก (BlindElephant เป็นซอฟต์แวร์...) ต้องการสื่ออะไรเป็นหัวใจสำคัญครับ ตัดบางประโยคที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการสื่อออกไปเพื่อให้ข่าวกระชับอ่านง่ายได้นะครับ (ไม่จำเป็นต้องแปลจากที่มาทั้งหมด)

  • ต่อจากข้อแล้ว คือหัวเรื่องพูดถึงเรื่องระบบจัดการเนื้อหา แต่เริ่มย่อหน้าแรกกลับพูดถึง BlindElephant ซึ่งมันค่อนข้างหาจุดเชื่อต่อยากว่าตกลงข่าวนี้ต้องการสื่อถึงอะไรกันแน่ เรากำลังอ่านข่าวผิดอยู่หรือเปล่าหว่า?
    เนื้อข่าวที่ดีควรเป็นไปในทำนองเดียวกันกับหัวข่าวครับ เช่นพูดเรื่องระบบจัดการเนื้อหา เริ่มมาอาจเกริ่นเกี่ยวกับระบบจัดการเนื้อหานี้ซักหน่อยว่ามันคืออะไร ก่อนที่จะชี้ไปว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนใช้ระบบจัดการเนื้อหาแบบไหน หลังจากนั้นค่อยแนะนำ BlindElephant และกราฟ และเนิ้อหาที่เหลือ
    หรือถ้าไม่ชอบการเขียนรูปแบบนี้ ย่อหน้าแรกจะเขียนอะไรที่ไม่เกี่ยวกับหัวข่าวเลยก็ได้ แต่ควรเป็น hook ที่ดึงความสนใจให้ผู้อ่านอยากอ่านข่าวนี้ต่อจนจบครับ

  • ยกกราฟมาแล้วช่วยอธิบายวิธีดูคร่าวๆ ก็ดีครับ ไม่งั้นถ้าคนอ่านดูกราฟไม่รู้เรื่องจะรู้สึกว่าเอาภาพมาประกอบทำไม

  • หลัง Veracode ก่อนวงเล็บเปิด เคาะด้วยครับ

  • ผู้ที่เจาะระบบได้ต้องเทพจริง ๆ เทพ -> เก่ง หรือคำอื่นดีกว่ามั้ยครับ? คำว่าเทพมันออกแนวภาษาพูดไปหน่อยนะ

By: ninekrit on 11 August 2010 - 11:34 #200633
ninekrit's picture
By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 12 August 2010 - 12:34 #200851

ชอบแฮะ โดยเฉพาะประโยคสุดท้าย ^^


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!