Tags:
Forums: 

ผลการวิจัยอิสระชี้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลล้าสมัย

ประเด็นข่าว:

· 83% ขององค์กรต่างๆ ไม่ค่อยมั่นใจมากนักว่าจะสามารถกู้คืนระบบและข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หลังจากที่เกิดภัยพิบัติ ตามข้อมูลจากผลการสำรวจความคิดเห็นของ 1,250 บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

· 74% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายและ/หรือระบบหยุดทำงานเมื่อปีที่แล้ว

· อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ(60%), ข้อมูลเสียหาย (47%) และไฟฟ้าดับ (44%) คือสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบหยุดทำงานและข้อมูลสูญหาย

· 39% ขององค์กรระบุว่าผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากกรณีข้อมูลสูญหายและระบบหยุดทำงานก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน

· 38% ขององค์กรที่จัดเก็บข้อมูลสำรองไว้นอกสถานที่สำหรับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติยังคงใช้เทปสำหรับการกู้คืนข้อมูล และ 38% ยังคงใช้ซีดีรอม (แต่ปัจจุบัน 59% ใช้ระบบดิสก์สตอเรจ)

· 83% ขององค์กรเหล่านี้ต้องการเปลี่ยนจากระบบเทปบันทึกข้อมูลทั้งหมด และหันไปใช้ระบบแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลรุ่นอนาคต

อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น (NYSE: EMC) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติประจำปี 2555: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Disaster Recovery Survey 2012: South East Asia) โดยพบว่า 83% ของบริษัทในภูมิภาคนี้ไม่ค่อยมั่นใจมากนักว่าจะสามารถกู้คืนระบบและข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หลังจากที่เกิดภัยพิบัติ และ 74% ขององค์กรทั้งหมดเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงระบบแบ็คอัพข้อมูลจากเดิมที่ใช้เทคโนโลยีล้าสมัย ไม่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องความพร้อมใช้งานของข้อมูล การเปลี่ยนไปใช้โซลูชั่นการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลรุ่นล่าสุดจะช่วยรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ การโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี หรือปัญหาระบบไอทีหยุดชะงักที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น ที่จริงแล้ว ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสาเหตุของการที่ระบบหยุดทำงานมักจะเกิดจากการหยุดชะงักของระบบไอที เช่น อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีข้อบกพร่อง หรือข้อมูลได้รับความเสียหาย แทนที่จะเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ

บริษัทวิจัยอิสระ แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ได้รับมอบหมายจากอีเอ็มซีให้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติประจำปี 2555: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Disaster Recovery Survey 2012: South East Asia) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสำรวจตรวจสอบสถานการณ์ของการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลในภูมิภาคนี้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความพร้อมของบริษัทต่างๆ ในการรับมือกับปัญหาข้อมูลสูญหายและระบบหยุดทำงาน

ข้อมูลจากการสำรวจ:

การหยุดชะงักที่เกิดขึ้น: ปัญหาระบบหยุดทำงานและข้อมูลสูญหายเป็นผลมาจากปัญหาในระบบไอทีมากกว่าภัยธรรมชาติ

ผลการวิจัยชี้ว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาไม่ใช่เรื่องพิสดารแต่อย่างใด แต่มักจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างกว้างขวาง เช่น ข้อมูลบางส่วนได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ สาเหตุหลัก 3 ข้อที่ทำให้ข้อมูลสูญหายและระบบหยุดทำงานมากที่สุดได้แก่:

  1. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชำรุด: 60%

  2. ข้อมูลได้รับความเสียหาย: 47%

  3. ไฟฟ้าดับ: 44%

ขณะเดียวกัน มีเพียง 18% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่ระบุว่าภัยธรรมชาติเป็นสาเหตุของปัญหาระบบหยุดทำงานหรือข้อมูลสูญหาย และ 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความบกพร่องของพนักงานส่งผลให้ระบบหยุดทำงานหรือข้อมูลสูญหาย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม 59% ขององค์กรได้ทบทวนและเปลี่ยนแปลงกระบวนการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลหลังจากที่เกิดปัญหา

นอกจากนี้ 46% ขององค์กรธุรกิจได้เพิ่มงบประมาณสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลหลังจากที่เกิดภัยพิบัติ ในทางตรงกันข้าม 29% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าตนเองมีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล และโดยเฉลี่ยแล้ว ผลการวิจัยชี้ว่าองค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ใช้จ่าย 11.2% ของงบประมาณด้านไอทีไปกับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ: ปัญหาระบบหยุดทำงานส่งผลให้บริษัทสูญเสียรายได้

ผลการศึกษาระบุว่า ปัญหาระบบหยุดทำงานก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ โดยผลกระทบที่สำคัญที่สุด 3 ข้อได้แก่:

ความล่าช้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ: 43%
การสูญเสียรายได้: 41%
พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน: 39%
ปัญหาระบบหยุดทำงานส่งผลให้องค์กรต้องสูญเสียวันทำงานโดยเฉลี่ยถึง 2 วัน ซึ่งหากคำนวณจากอัตราการทำงานโดยเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง ก็เท่ากับว่าบริษัทที่มีพนักงานราว 2,000 คนจะต้องสูญเสียชั่วโมงทำงานสูงถึง 32,000 ชั่วโมงเลยทีเดียว นอกจากนี้ แต่ละองค์กรยังสูญเสียข้อมูลโดยเฉลี่ย 425GB ในช่วงเวลา 12 เดือน ซึ่งถ้าหากข้อมูล 1MB มีขนาดเท่ากับอีเมล 25 ฉบับ ข้อมูลที่สูญหายไป 425GB ก็จะเท่ากับการสูญเสียอีเมล 10.9 ล้านฉบับ

แม้ว่าการสูญเสียรายได้จะถูกระบุว่าเป็นผลกระทบหลักของปัญหาระบบหยุดทำงาน แต่ผลการวิจัยยังเปิดเผยเช่นกันว่าบริษัทหลายแห่งไม่ได้ดำเนินมาตรการที่เพียงพอสำหรับการปกป้องข้อมูลสำคัญของลูกค้า โดย 65% ขององค์กรไม่มีแผนการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติสำหรับระบบ CRM และ 22% ขององค์กรที่มีแผนการกู้คืนระบบต้องการให้แอพพลิเคชั่น CRM เริ่มต้นทำงานเป็นแอพพลิเคชั่นแรกสุดหลังจากที่ระบบหยุดทำงาน

นอกจากนั้น องค์กรธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนลดหย่อนพิเศษสำหรับเบี้ยประกันภัย สาเหตุเพราะไม่ได้จัดทำแผนกู้คืนระบบอย่างครบวงจร โดย 53% ของบริษัทในภูมิภาคดังกล่าวจำเป็นต้องจัดทำแผนกู้คืนระบบตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือกฎระเบียบ และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ 40% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามได้รับข้อเสนอส่วนลดหย่อนเบี้ยประกันโดยพิจารณาจากความแข็งแกร่งของกลยุทธ์การแบ็คอัพ/กู้คืนระบบไอที อย่างไรก็ดี 18% ขององค์กรไม่ทราบว่าบริษัทประกันเสนอส่วนลดหย่อนพิเศษดังกล่าวหรือไม่ หรือไม่ได้สนใจส่วนลดที่ว่านี้เลย ซึ่งประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจหลายๆ แห่งต้องสูญเสียโอกาสในการปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

โซลูชั่นล้าสมัย: 38% ยังคงพึ่งพาเทปบันทึกข้อมูล และ 38% ยังคงใช้ซีดีรอมสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล แต่สถานการณ์นี้กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

38% ขององค์กรยังคงพึ่งพาเทปบันทึกข้อมูลในการแบ็คอัพและกู้คืนระบบ และเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเทป องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 58,920 ดอลลาร์ ทั้งในส่วนของการขนส่ง การจัดเก็บ การทดสอบและเปลี่ยนทดแทนเทปเพื่อการกู้คืนระบบนอกสถานที่ตั้ง ขณะเดียวกัน 38% ของบริษัทต้องพึ่งพาซีดีรอมที่ล้าสมัยสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแบ็คอัพ และที่น่าประหลาดใจก็คือ 15% ขององค์กรมอบหมายให้พนักงานนำข้อมูลแบ็คอัพกลับไปเก็บไว้ที่บ้านเพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ดี 59% ขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ใช้โซลูชั่นการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลบนดิสก์ที่ทันสมัยอยู่แล้ว แนวโน้มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 83% ขององค์กรที่ใช้เทปมีแผนที่จะเลิกใช้เทปบันทึกข้อมูลในอนาคต ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ได้แก่:

  1. การแบ็คอัพข้อมูลรวดเร็วขึ้น: 36% 
    
  2. ความเร็วในการกู้คืนข้อมูลและระบบ: 34% 
    
  3. ความทนทาน (วิธีการแบบใช้ดิสก์มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า): 29% 
    

การเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาการหยุดชะงักที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือเหตุการณ์ที่สำคัญกว่านั้นเริ่มต้นด้วยแนวทางการแบ็คอัพข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งใช้ดิสก์และเทคโนโลยีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน (Data Deduplication) และเทคโนโลยีการรีพลิเคตข้อมูล (Replication) บนเครือข่าย ผลการสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่าหลังจากที่เกิดปัญหาการหยุดชะงัก องค์กรต่างๆ ก็แก้ไขด้วยการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มมากขึ้นสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล แต่ก็ก่อให้เกิดความเสียหายในแง่ของเวลาและค่าใช้จ่ายระหว่างที่ระบบหยุดทำงาน รวมถึงความเสียหายระยะยาวต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ด้วยการปรับปรุงความสามารถในการตรวจสอบปัญหาทั่วไปที่บริษัทต้องเผชิญในปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง องค์กรต่างๆ จะสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนเองสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

อาคัช คานธี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินโฟเพล็กซ์ (Infoplex) กล่าวว่า

“งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล โดยองค์กรธุรกิจต่างๆ จำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อให้ระบบสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะเกิดปัญหา จากที่เราเคยประสบพบเจอ เห็นได้ชัดว่าแนวทางการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลโดยใช้ดิสก์รุ่นใหม่นับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกู้คืนแอพพลิเคชั่นให้เริ่มทำงานอีกครั้งได้ทันที เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและการลงทุนอย่างถูกต้องเหมาะสม เราเชื่อมั่นว่าเรามีความพร้อมสำหรับการรับมือกับปัญหาระบบหยุดทำงาน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม”

ไมเคิล แอลป์ รองประธานส่วนธุรกิจระบบแบ็คอัพและกู้คืนประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของอีเอ็มซีกล่าวว่า

“ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราพบว่าองค์กรจำนวนมากไม่สามารถกู้คืนข้อมูลที่แบ็คอัพไว้ได้ หรือพึ่งพาเฉพาะการรีพลิเคตข้อมูลสำหรับการกู้คืนระบบเท่านั้น ปัจจุบัน กฎระเบียบในประเทศส่วนใหญ่มีความเข้มงวดมากขึ้น อีกทั้งยังมีภัยคุกคามเพิ่มสูงขึ้น และข้อมูลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเป็นผลมาจากช่องทางออนไลน์ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทต่างๆ จะต้องมีกลยุทธ์การกู้คืนระบบที่เหมาะสม บริษัทที่ขาดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพย่อมเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลลูกค้าและอาจต้องเสียค่าปรับจำนวนมากให้แก่หน่วยงานกำกับดูแล ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยขจัดข้อผิดพลาดของบุคลากร ทั้งยังขจัดความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูล (เช่น เทปบันทึกข้อมูลแบ็คอัพ) รองรับการเข้ารหัสข้อมูล และสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับการตรวจสอบติดตามและรายงานบนสภาพแวดล้อมของการปกป้องข้อมูลทั้งหมด โซลูชั่นเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าของเราประหยัดค่าใช้จ่าย ควบคู่ไปกับการลดความเสี่ยง รายงานนี้สำรวจตรวจสอบความเสี่ยงในด้านต่างๆ และแสดงให้เราเห็นว่ามีงานอีกมากมายที่เราจะต้องทำ”

เชน มัวร์ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบแบ็คอัพและกู้คืนประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของอีเอ็มซีกล่าวว่า

“เอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นไม่มีภูมิคุ้มกันสำหรับการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและไม่แน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรธุรกิจจะต้องดำเนินมาตรการป้องกันปัญหาระบบหยุดทำงานและข้อมูลสูญหาย มิฉะนั้นก็จะต้องได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องของการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานและรายได้ ด้วยการกำหนดแนวทางที่ละเอียดรอบคอบสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล โดยใช้โซลูชั่นรุ่นใหม่ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจะสามารถรับมือกับผลกระทบจากปัญหาระบบหยุดทำงานในแต่ละวัน รวมถึงเหตุการณ์ที่ร้ายแรง พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบแบ็คอัพข้อมูล”

ข้อมูลสำหรับแต่ละประเทศ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 83% ของบริษัทในภูมิภาคนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 74% ขององค์กรในเกาหลีเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 60% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 39% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 39% ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 59% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 83% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

ญี่ปุ่น

ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 89% ของบริษัทในประเทศนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 50% ขององค์กรในญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 55% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 38% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 58% ขององค์กรในญี่ปุ่นยังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 66% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 68% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

เกาหลี

ในส่วนของประเทศเกาหลี ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 93% ของบริษัทในประเทศนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 55% ขององค์กรในเกาหลีเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 55% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 42% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 38% ขององค์กรในเกาหลียังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 61% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 92% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

ออสเตรเลีย

ในส่วนของประเทศออสเตรเลีย ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 70% ของบริษัทในประเทศนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 72% ขององค์กรในเกาหลีเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 62% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 49% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 58% ขององค์กรในออสเตรเลียยังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 61% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 84% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

จีน (แผ่นดินใหญ่)

ในส่วนของประเทศจีน ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 74% ของบริษัทในประเทศนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 85% ขององค์กรในเกาหลีเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 80% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 48% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 32% ขององค์กรในจีนยังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 64% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 99% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

อินเดีย

ในส่วนของประเทศอินเดีย ผลการวิจัยนี้เปิดเผยว่า 72% ของบริษัทในประเทศนี้ไม่มั่นใจอย่างเต็มที่ว่าจะสามารถกู้คืนระบบ/ข้อมูลได้หลังจากที่ระบบหยุดทำงาน ที่จริงแล้ว 80% ขององค์กรในเกาหลีเคยประสบปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 65% ระบุว่าปัญหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานคือสาเหตุหลัก และในกรณีที่เกิดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือระบบหยุดทำงาน 48% ระบุว่าผลกระทบหลักที่ตามมาก็คือ พนักงานสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ 76% ขององค์กรในอินเดียยังคงใช้เทปสำหรับการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล ขณะที่ 72% กำลังใช้ระบบบนดิสก์ และ 84% ของผู้ใช้เทปต้องการเปลี่ยนจากเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบอื่น

วิธีการสำรวจ

สำหรับการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติประจำปี 2555: เอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น (The Disaster Recovery Survey 2012: Asia Pacific and Japan) ภายใต้การมอบหมายจากอีเอ็มซี บริษัทแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอที 2,500 คนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนในออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยแต่ละองค์กรมีพนักงาน 250 ถึง 3,000 คนขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น การผลิต ค้าปลีก บริการด้านการเงิน โทรคมนาคม ฯลฯ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

· ลิงค์เชื่อมโยงไปยังรายงานสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

· เว็บเพจโซลูชั่นการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูลของอีเอ็มซี

ข้อมูลเกี่ยวกับอีเอ็มซี

อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น (NYSE: EMC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาและจัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งช่วยให้องค์กรทุกขนาดปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากข้อมูลที่มีอยู่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของอีเอ็มซี คลิกไปที่ www.thailand.emc.com

เกี่ยวกับ แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne)

แวนสัน บอร์น บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยเฉพาะด้าน ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้ภายในบริบทของเทคโนโลยี โดยบริษัทฯ ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจในการตัดสินใจจากหลายๆ สายงาน โดยครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่องค์กรขนาดเล็กที่สุดไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดในทุกตลาดทั่วโลก ลูกค้าของแวนสัน บอร์น มีหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่บริษัทที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นไปจนถึงบริษัทที่มีชื่อเสียงซึ่งต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดยนำเสนอข้อมูลวิเคราะห์ที่อ้างอิงงานวิจัยที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้

Get latest news from Blognone