Tags:

เป็นไงบ้างครับ? มีน้องๆ ญาติๆ ใครดูผลประกาศคะแนนครั้งที่ 3 แล้วยังมีปัญหาอยู่บ้าง? ถ้ามีปัญหาอะไรก็บอกกันได้นะครับ

ปัญหาที่มีที่เกิดขึ้นจบงานนี้เมื่อไหร่ สทศ. คงโดนเฉ่งเละแน่ครับ แต่ ณ วันนี้ ผมเองและคนที่รับรู้เรื่องราวภายในคงต้องอดทนอดกลั้นกับการตามล้างตามเช็ดปัญหาที่เกิด และร่วมมือกันช่วยกันแก้ปัญหาให้เด็กสามแสนกว่าคนมีที่เรียนกันไปก่อน

ถ้าติดตามข่าวสารจากเว็บบอร์ดต่างๆ จะพบว่าท่านเลขาภาวิชโดนเกลียดมากกว่า อ.ประทีป ซะอีก ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนของ สกอ. ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับ สทศ. ผู้ที่ทำให้การสอบครั้งนี้เละแท้ๆ ใจจริงโดยส่วนตัวแล้ว ผมเองก็ไม่ชอบวิธีการให้สัมภาษณ์ข่าวของท่านเลขาหรอกครับ มันดูขี้โม้ขี้คุยจริงๆ แต่ด้วยการที่ต้องผลักดันให้ระบบ admission เกิดให้ได้+ความต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็กๆ และผู้ปกครองลดความตึงเครียดลง การพูดจากระทืบสทศ. ให้จมดินก็ไม่มีประโยชน์อะไร รั้นจะไปทำให้เหตุการณ์มัีนแย่ลงซะเปล่าๆ ถ้าลองสมมติตัวเองเป็นเลขาภาวิช ผมเองก็ไม่รู้จะพูดยังไงให้มันไปต่อได้โดยไม่เจ็บตัวเหมือนกัน

เรื่องราวการเมืองภายในจนทำให้มันวุ่นวายถึงขนาดนี้ ผมคงเล่าไม่ได้ ณ ตอนนี้ แต่ปัญหาเคสต่างๆ ที่แปลกๆ ผมก็พอจะอธิบายให้ฟังได้บ้าง ถ้าใครอยากรู้เป็นวิทยาทานละก็ ลองสอบถามได้นะครับ เรื่องไหนพูดได้ พูดไม่ได้เดี๋ยวผมจะบอกอีกทีละกัน

Get latest news from Blognone
By: keng
WriteriPhoneAndroidIn Love
on 3 May 2006 - 16:05 #6427
keng's picture

ผมว่าปัญหามันผิดตั้งแต่คน design ระบบแล้วนา?

คุณ deans4j รบกวนช่วยเล่าระบบให้อ่านหน่อยสิครับว่าเป็นไงมาไง

เอาเท่าที่เล่าได้น่ะ

By: ม่อน on 3 May 2006 - 17:14 #6431

ใครเป็นคนคิดว่าต้องใช้ การตรวจข้อสอบแบบนี้ ทำไมไม่ใช้การตรวจแบบเดิม

By: deans4j on 3 May 2006 - 17:46 #6432

เอาคร่าวๆ นะครับที่พอรู้ เริ่มจากการรับสมัครนะครับ การสมัครจะทำได้่ผ่านเว็บซึ่งจะมีช่องทางอยู่สองช่องทางหลัก คือสมัครด้วยตัวเอง หรือให้ทาง รร. กรอกข้อมูลการสมัครให้

จากขั้นตอนการสมัครคีย์ที่สำคัญที่สุด จะเป็นเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน รองลงมาก็จะเป็น รร. กับรหัสประจำตัวนักเรียน เลขที่บัตรประชาชนนั้นไม่สามารถที่จะใช้เป็นคีย์เปล่าๆ ได้เนื่องจาก ระบบไม่มี web service ไปเช็คกับทะเบียนราษฎ์ได้ กอปรกับถ้าเจอกรณีเป็นนักเรียนต่างประเทศหรือเป็นพระ หรือสามเณรก็จะไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน

ผมไม่เคยเห็นเว็บที่รับสมัคร ตอนได้เข้ามาดูก็เห็นฐานข้อมูลเข้าแล้วครับ เลยไม่รู้เค้า validate กันมากน้อยแค่ไหน ปัญหาที่พบจากจุดนี้ก็เริ่มตั้งแต่กรณีเด็กสมัครสอบสองครั้งบ้าง อาจเป็นเพราะเด็กใจร้อนสมัครไปเองก่อน แล้วทางรร. มาสมัครให้ซ้ำอีกทีก็เป็นได้ ถ้าสุดท้ายแล้วเด็กจ่ายเงินครบ ระบบก็จะสร้างเลขที่นั่งสอบกับแจ้งศูนย์สอบให้ครับ

จากที่ตามไล่ดูในฐานข้อมูลเบื้องต้นก็พบว่าข้อมูลในนั้นไม่ค่อยสะอาดแล้วครับ บางคนบางช่องไม่กรอกก็ไม่มีข้อมูล ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเค้ายอมปล่อยหลุดมาได้ยังไง หรือเค้ามีนโยบายหรือหลักการอะไรหรือเปล่าถึงยอมให้เป็นเช่นนี้

ข้อมูลทั้งหมดนักเรียนสามารถติดตามได้ผ่านเว็บ ซึ่งก็ไม่ค่อยสะดวกสำหรับบางคนที่อยู่ห่างไกลอินเตอร์เน็ต ไม่ทราบด้วยเหตุใดระบบถึงมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยครั้งมาก จนเป็นเหตุให้เด็กๆ หลายคนไปสอบผิดที่่ผิดศูนย์สอบ วิธีการแก้ปัญหาก็อย่างที่เคยเล่าไปนั่นคือ คนคุมสอบต้องยอมให้เด็กสอบโดยสร้างห้องเสริมขึ้นมา

ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าเช็คไปจะเจอพวกแจมสอบก็เยอะ ไม่ได้จ่ายตังค์ ไม่มีเลขที่นั่งสอบแต่เข้าไปสอบก็มี แค่อ้างว่ามาสอบผิดศูนย์ก็ได้สอบแล้ว คนคุมสอบก็ทำอะไรไม่ได้เพราะหลักฐานยืนยันอะไรก็ไม่มี บางคนสอบก่อนวิ่งไปจ่ายตังค์ย้อนหลังก็มี ที่งงสุดคือเค้าสมัครสองทีแต่มีกระดาษเข้าสอบวิชาเดียวกันทั้งสองที่ ไม่รู้มันมาได้ไงเหมือนกัน

คราวนี้ระบบก็เกิดความยุ่งยากเข้าไปอีก เมื่อนักเรียนไม่ได้ไปสอบตามศูนย์ที่ระบบได้แจ้งไว้ เช็คที่ห้องสอบหลักอาจจะขาด แต่อาจจะมีชื่อไปโผล่อีกศูนย์อีกห้องก็มี แทนที่จำนวนผู้เข้าสอบจะต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับคนที่จ่ายตังค์แต่ไม่ใช่ มีเด็กผีโผล่มาก็มีเยอะกลายเป็นข้อมูลขยะที่ไม่สามารถคัดแยกออกไปได้เลย เนื่องจากความเสี่ยงของการคัดแยกออกนั้นอันตรายมากกว่า

ข้อผิดพลาดมากที่สุดอีกเรื่องนั่นคือระบบจัดการจัดเก็บกระดาษคำตอบ ลองนึกภาพดูเมื่อข้อมูลจำนวนผู้เข้าสอบที่ตัวเองมีอยู่เชื่อถือไม่ได้ วิธีเดียวที่จะหาว่ามีคนเข้าสอบแต่ละวิชากี่คน นั่นคือต้องไปนับจำนวนกระดาษคำตอบที่มีอยู่ แล้วถ้านับพลาด นับหลุดไปละ? ปัญหาความร้ายแรงมันจะมหันต์เพียงใด...

เรื่องแต่ละเรื่องต้องใช้ความละเอียดอ่อนครับ แต่กระดาษคำตอบจำนวนมากกว่า 5 ล้านหน้ากับคนคุมคนจัดการไม่กี่คนย่อมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ และยิ่งการใช้เทคโนโลยีอย่างการทำ OCR แล้ว แน่นอนว่าขั้นตอนที่มีมันจะต้องเพิ่มขึ้นจากวิธีการใช้กระดาษคาร์บอนแบบเดิมๆ แน่

ยิ่งขั้นตอนเยอะ โอกาสที่จะผิดก็เยอะขึ้น ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบความถูกต้องก็เยอะขึ้นจนเป็น ผลให้พบข้อผิดพลาดมากมายในระบบ

เทคโนโลยี OCR ของเค้า เท่าที่เห็นถือว่าดีครับ แต่กับเรื่องระดับนี้ ความเสี่ยงระดับนี้ การให้ยอมรับเทคโนโลยีนี้มันยังเป็นเรื่องที่เป็นคำถามของสังคมอยู่

จากที่เล่ามาทั้งหมดก็น่าจะพอทำให้เห็นภาพได้ว่าถ้าข้อมูลที่เข้าในแต่ละกระบวนการ ไม่เท่ากับข้อมูลที่ออก และถ้าข้อมูลที่ออกไม่ถูกต้องไม่สะอาดพอมันจะมีปัญหาลูกโซ่เพียงใด เพราะข้อมูลขาออกของกระบวนการนึง ก็จะกลายเป็นข้อมูลขาเข้าของกระบวนการถัดไป การไล่กลับเพื่อไปแก้ให้ข้อมูลมันถูกต้องที่ต้นเหตุ มันเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก ทั้งกำลังคนและเวลา

ฟังแล้วสนุกไหมครับ :) กับเรื่องพวกนี้ ตอนนี้เราก็ไล่แก้ข้อมูลให้ถูกต้องพร้อมๆ กับตรวจข้อสอบปรนัยด้วยวิธีของเราเองต่างหาก แล้วเอาคะแนนมาชนกันกับทางสทศ. จึงจะประกาศคะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันก็ปล่อยผ่าน ถ้าคะแนนต่างกันก็แยกมาดู ถ้าเด็กที่ไม่มีปัญหากับการประกาศครั้งแรกกับครั้งที่สอง แต่กลับมีปัญหาในครั้งนี้ ก็สันนิษฐานได้เลยว่า สทศ. ยังไม่ได้ส่งข้อมูลรูปภาพของนักเรียนคนนั้นมาให้ เลยไม่มีคะแนนจะชนกับ สทศ.

อย่าถามนะครับว่าทำไมเค้ายังไม่ส่งมาให้ เดี๋ยวมันจะวนกลับไปที่ปัญหาเดิม...

By: keng
WriteriPhoneAndroidIn Love
on 3 May 2006 - 18:31 #6433
keng's picture

ที่คุณ deans4j เล่ามาให้อ่านนี่ดูแล้วมันผิดตั้งแต่ "การจัดการระบบ" ตั้งแต่ต้นทางแล้ว

เรื่องของ OCR นี่ในฐานะที่เคยเลียบๆ เคียงๆ จนเผลอตัวไปทำมา บอกได้อย่างเีดียวว่า ถึงแม้ความถูกต้องมัน 99% แต่กับระบบ Critical ขนาดนี้ 99% ก็ถือว่า fail

ผมไม่รู้ requirement เบื้องต้นเลยสรุปออกมาได้ดังว่านั่นเอง

By: deans4j on 3 May 2006 - 18:41 #6436

"ใครเป็นคนคิดว่าต้องใช้ การตรวจข้อสอบแบบนี้ ทำไมไม่ใช้การตรวจแบบเดิม" - ม่อน

คำถามนี้ผมคงไม่บังอาจตอบแทน สทศ. นะครับ แต่จากที่เข้าใจส่วนตัว คิดว่ามาจากการอานิสงค์ของการพยายามแก้โจทย์ที่ว่า ระบบอยากให้วัดความสามารถในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาของนักเรียนด้วยคำถามแบบอัตนัย แล้วทำอย่างไรละ จึงจะตรวจได้ง่าย ทันสมัย รวดเร็ว

คำตอบที่เลือก ผมคงไม่บังอาจกล่าวหาว่านี่คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ผิดที่่ผิดเวลาหรอกนะครับ ผมมองว่า ถ้าคำตอบที่ดีที่สุดคือการใช้วิธี OCR จริงๆ แล้วต้องแลกมากับความเสี่ยงที่เยอะมากแล้วละก็ ผมจะมองหาปัจจัยอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงลงดูก่อน เช่นศึกษาความเป็นไปได้ของการควบคุมกระบวนการประมวนผลอย่างละเอียดอ่อนในทุกๆ ขั้นตอน ต้องทำให้ทุกขั้นตอนตรวจสอบได้ และตรวจสอบง่าย สามารถย้อนกลับไปยังจุดที่ปลอดภัยได้ หากเกิดข้อผิดพลาด

ถ้าเราทำให้ความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดลงเหลือไปที่จุดที่น่าพอใจได้ละก็ OCR ก็อาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดก็เป็นได้ แต่ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน นั่นก็อีกเรื่องนึง...

By: deans4j on 3 May 2006 - 18:53 #6437

"เรื่องของ OCR นี่ในฐานะที่เคยเลียบๆ เคียงๆ จนเผลอตัวไปทำมา บอกได้อย่างเีดียวว่า ถึงแม้ความถูกต้องมัน 99% แต่กับระบบ Critical ขนาดนี้ 99% ก็ถือว่า fail" -keng

แล้วถ้าโจทย์คือต้องการตรวจข้อสอบอัตนัย แล้วไม่ใช้วิธี OCR แต่ใช้คนตรวจ โอกาสที่คนตรวจผิดพลาดมันก็มีเช่นกัน โอกาสกรอกคะแนนผิดช่องก็มีเช่นกัน ผมอยากจะชี้ว่า ไ่ม่ว่าเลือกวิธีไหน ถ้าคำถามมันเป็นปัญหาปลายเปิดมันก็มีโอกาสเสี่ยงจากวิธีการตรวจทุกวิธีเหมือนกัน แต่เสี่ยงมากน้อยไม่เท่ากันก็แค่นั้น

ส่วนปรนัยการนำ OCR มาใช้แทนกระดาษคาร์บอนด้วยวิธีการของ สทศ. ส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ทำให้อะไรดีขึ้นจริงๆ ครับ นอกจากจะแย่ลงกว่าเดิม เหตุผลเดียวที่พอจะนึกออกคือ เพื่อให้การตรวจเป็นไปได้ง่าย ก็เลยเลือกใช้เทคโนโลยีเดียวกัน + อาจจะบวกอีโก้อยากโชว์พลังของผลงานวิจัย OCR ของตัวเองก็เป็นได้

ปล. เรื่องพวกนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เกิดจากการคาดคะเนของผมทั้งนั้น คนตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุดน่าจะเป็น คุณหญิงฯ หรือ อ.ประทีป

By: keng
WriteriPhoneAndroidIn Love
on 3 May 2006 - 22:39 #6448
keng's picture

ส่วนปรนัยการนำ OCR มาใช้แทนกระดาษคาร์บอนด้วยวิธีการของ สทศ. ส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ทำให้อะไรดีขึ้นจริงๆ ครับ นอกจากจะแย่ลงกว่าเดิม เหตุผลเดียวที่พอจะนึกออกคือ เพื่อให้การตรวจเป็นไปได้ง่าย ก็เลยเลือกใช้เทคโนโลยีเดียวกัน + อาจจะบวกอีโก้อยากโชว์พลังของผลงานวิจัย OCR ของตัวเองก็เป็นได้

อันนี้เห็นด้วยกับคุณ deans4j เพราะผมเชื่อว่าระบบเดิมนั้นมันเสถียรพอและทำงานได้ดีอยู่แล้ว ยิ่งระบบใหม่นี้มาใช้การกากบาท (?) แทนการฝนดำ ยิ่งทำให้ OCR กลายเป็นการเลือกทางเดินที่ผิดไปเสียฉิบ

ถ้าจะให้ืโทษ คงต้องโทษ SA ที่ออกแบบระบบ?

นี่คงเป็น case study ที่ดี ที่จะยกให้เห็นการจัดการระบบที่ล้มเหลว ไม่ว่าจะที่ system หรือตัว user

ที่ system ผมคงไม่วิจารณ์เพราะไม่ทราบรายละเอียด แต่ที่ user คงเป็นเพราะไม่มี Work Instruction และ Standard Operation Procedure ที่ดี ปัญหาเลยยุ่งอย่างนี้

แต่ว่า Admission นี่มันต่างกับ ent' ปกติตรงไหนอ่ะครับ ??

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 4 May 2006 - 01:16 #6463

งั้นปีหน้าเอาเป็นว่าจ้าง 3 บริษัทพัฒนาโปรแกรมตรวจข้อสอบ 3 ชุด เวลาตรวจก็เอาข้อสอบมาตรวจ 3 รอบ ถ้าคะแนนตรงหมด 3 ชุดก็แล้วไป ถ้าไม่ตรงก็ส่งไปให้คน 3 คนตรวจ

(ว่าแต่ค่าพัฒนาของปีนี้มันซักเท่าไหร่ครับ)

By: deans4j on 4 May 2006 - 02:52 #6470

"แต่ว่า Admission นี่มันต่างกับ ent' ปกติตรงไหนอ่ะครับ ??" -keng

เด็กน่าจะตอบคำถามนี้ได้ดีกว่าผมนะครับ แต่ตามที่ผมเข้าใจคือ ระบบนี้จะทำให้แก้ปัญหาเด็กเข้าไปเรียนแล้วเรียนไม่ไหว เพราะไม่รู้มาก่อนว่าตัวเองเหมาะสมกับภาควิชา หรือคณะนั้นๆ หรือไม่

ส่วนเรื่องเงินๆ ทอง ไ่ม่เอาไม่พูด ...

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 5 May 2006 - 11:24 #6530

มาบ่นครับ เอนท์ปกติเป็นอย่างไร ผมไม่รู้(รู้แค่ว่าสอบสองรอบ ถ้ารอบแรกผ่านก็สบาย) แต่แอตมิดชั่น ต้องสอบ ๒ อย่าง โอเน็ต (วิชาบังคับสอบ ๕ ตัว ไทย-อังกฤษ-สังคม-คณิต๒-วิทยกาย์) และ เอเน็ต (วิชาเลือกสอบ ไทย-อังกฤษ-สังคม-คณิต๑-ฟิสิกส์) โดยข้อสอบโอเน็ตเนี่ย นอกจากจะเอมาใช้สมัครเรียนแล้ว ยังใช้ในการตรวจวัดคุณภาพการสอนของแต่ละโรงเีรียนด้วย(เพื่อจะพัฒนาหรืออะไรก็ตาม) จุดสำคัญหนึ่งๆที่เด็กๆ(ชาวกรุงฯ)โวยก็คือตรงนี้แหละครับ ตอนแรกมีการให้สัญญาเด็กไว้ว่า จะเอาระดับคุณภาพโรงเรียนที่ตรวจวัดมาเทียบกับจีพีเอว่ามีการให้เกินจริงหรือไม่(ปล่อยเกรดหรือเปล่า)แล้วจะถ่วงให้สมดุล เพื่อความยุติธรรมแก่ นร.ทั้งประเทศ จะได้ไม่มาอ้างว่า เรียนหลังเขาแล้วจีพีเอดีกว่า (ตรงนี้ท่านเลขาที่เคารพก็แดกดันเด็กว่า "แล้วทำไมไม่ไปเรียนหลังเขาเล่า" - มันถึงแตกแยกไงครับ) ซึ่งเท่าที่ผมรู้และเข้าใจ ระบบนี้จัดว่าดีที่เดียวที่จะปฏิรูปการศึกษาำไทยให้ดีขึ้น และเข้าใจว่าการใช้ปีแรกปัญหายังไงก็ต้องมี แต่ไม่คิดว่าจะขาดความพร้อมจนปัญหามันเยอะมากขนาดนี้ สำหรับเด็กม.๖ทั่วไป โรงเรียนจะมีการสมัครสอบ โอเน็ต ให้อยู่แล้ว แต่เอเน็ตนั้นต้องสมัครเอง (เพื่อเลือกวิชาที่จะสอบ วิชาละตั้ง ฿๑๐๐) โดยขั้นตอนทุกอย่าง (ยกเว้นจ่ายเงิน) ต้องทำผ่านเว็บ (อีกหน่อยคงเป็น อีคอมเมอร์ส เต็มรูบแบบ รูดการ์ดหน้าเวปเลย - แซวครับ) ตรงนี้ ผมค่อนข้างโชคดี ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่าย กอรปกับมีเพื่อนๆขยันเข้าไปเช็คข่าวในเวบ (ซึ่งนานๆทีจะอัตเดตข้อมูลสักที) ไม่มีข้อความใดๆบอกเลยว่าขณะนี้ขั้นตอนเป็นอย่างไร การรับสมัครเรียบร้อยดีไหม การพิมพ์ใบคำตอบครบจำนวนหรือยัง (ทั้งที่บอกว่าระบบโปร่งใส แต่ก็ไม่เคยเปิดเผย) ไหนจะปัญหางี่เง่าเรื่องที่นั่งสอบ ผมสมัครให้เพื่อน ๕ คน สนามสอบเดียวกัน แต่ปรากฏว่าเพื่อนผมคนหนึ่ง โดนไปสอบเอเน็ตที่ บ.ด.๒ สองวิชา แล้วต้องกลับมาสอบวิชาทีเหลืออีกหนึ่งวิชาที่สนามสอบ จุฬาฯ (มีเวลาพักระหว่างวิชาแค่ครึ่งชั่วโมง จากลาดพร้าวมาจุฬาฯ จะทันไหมนั่น) สุดท้าย รร.ก็ต้องเปิดห้องพิเศษให้ และโชคดีที่ไม่มีปัญหาเรื่องคะแนนหาย ที่จริง ผมไม่ได้รู้สึกหัวเสียกับปัญหาเหล่านี้หรอกครับ แต่ว่า ผมรู้สึกไม่พอใจกับวิธีการตอบคำถามของผู้ใหญ่ที่ซึ่งมีวัยวุฒิกว่า น่าจะมีวิธีพูดให้เด็กสงบได้ดีกว่านี้ แต่นี่กลับมายุยงใส่ไฟมากขึ้น หวังว่า้ปัญหาควจะเรียบร้อยในเร็ววัน เอาใจช่วยคนทำงาน และแก้ไขครับ ปล. นอกจากนี้ ข้้อสอบภาษาอังกฤษยังมีพิมพ์ผิดด้วยนะ จำไม่ได้ว่า โอ หรือ เอ พิมพ์ตารางเวลารถไฟจาก AM ผิดเ็ป็น Pm ทำให้ไม่มีคำตอบ - ไม่รู้ว่าข้อนี้เขาจัดการกันอย่างไร นอกจากนี้ ผมยังเป็นห่วงการตรวจข้อสอบอัตนัยภาษาอังกฤษ แบบว่า ถ้านร. เขียนสะกดคำแบบอังกฤษ แล้วคนตรวจเผอิญว่าเรียนมาแบบอเมริกันละ? อาจดูงี่เง่า แต่ผมเคยนะครับ เขียนเอสเสด้วยการสะกดคำแบบอังกฤษให้คนอื่นตรวจดู รวมถึงครูๆ มีจำนวนไม่น้อยที่เดียวที่บอกว่าผมสะกดคำๆหนึ่งผิด(สุดท้ายผมก็ยอมแก้เป็นแบบอเมริกันครับ คนใช้มากกว่า กลัวส่งไปแล้วเ้ขาไม่ให้ผ่าน อดได้ทุน)

By: deans4j on 5 May 2006 - 15:58 #6539

น้อง pit ผมก็เสียใจกับกรณีที่เกิดขึ้นกับคุณและเพื่อนๆ และน้องๆ อีกหลายแสนชีวิตด้วย จากการทำงานร่วมกับ สทศ. หลายๆ จุด พบว่าสทศ. เองทำงานกันชุ่ยมากๆ ในแต่ละเรื่อง และการให้ความร่วมมือในการตรวจสอบนั้นเป็นไปอย่างขอไปที ทั้งๆ ที่เราพยายามจะช่วยเค้าแท้ๆ ส่วนกรณีการตรวจข้อสอบอัตนัยใหม่รอบนี้ผมไม่ได้รับรู้ข่าวสารเท่าไหร่นัก เพราะยุ่งกับปรนัยก็จะแย่อยู่แล้ว ทางสทศ. เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจอัตนัยทั้งหมด

ถ้าใครตามข่าว อย่างกรณีพิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชน+เลขนร. แล้วยังหาข้อมูลตัวเองไ่ม่เจอหรือคะแนนไม่ครบ แต่ใส่ 00000 ลงในช่องเลขนร. แล้วดันเจอ จริงๆ แล้วในก่อไผ่เรื่องนี้มันไม่ได้มีเวทย์มนต์อะไรมากมาย นอกจากระบบไม่ได้ validate+verify ข้อมูลให้ถูกก่อนบันทึกข้อมูล และพอทราบปัญหาแทนที่จะเลือกแก้ปัญหาโดยการทำให้ถูกต้อง อาการมักง่ายก็เกิดขึ้นโดยเค้าก็ยึดเอาคีย์ผิดๆ นั่นแหละไปใช้เลย ทำให้นักเรียนสองคนมีสองคีย์บ้าง ปวดหัววุ่นวายกันไปใหญ่

การที่มันไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างนี้ทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบเป็นไปได้อย่างทุลักทุเล และลำบากทำให้ขั้นตอนเป็นไปอย่างช้า เพราะเราต้องมากรองข้อมูลทุกครั้งไป กอปรกับระบบที่ทางเราต้องติดตั้งขึ้นมา ก็เกิดจากพละกำลังของคนไม่กี่คนและใช้ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น กว่าระบบอะไรจะเข้าที่ก็กินเวลาไปหลายวันอยู่ แต่วันขีดเส้นตายก็ไม่เคยหยุดรอเราเลยเช่นกัน

ท่านเลขาก็ห้าวหาญเหลือเกิน เวลาอธิบายให้นักข่าวแต่ละที เพื่อสร้างความเชื่อมั่น (จนท่านกลายเป็นคนขี้โม้) ก็ให้สัมภาษณ์แบบไม่มีปัญหา ทันแน่นอน แต่คนทำงานภายในต้องผจญกับเรื่องราวร้อยแปดพันเก้าที่ต้องตามแก้ตามเช็ด

เรื่องของเรื่องคือ ถ้าจะด่าใครก็อยากให้ด่ากันถูกคนหน่อย ถ้าเรื่องสอบ anet-onet แล้ว ก็ต้องสทศ. ท่านเลขาคงกำลังมองตัวเองเหมือนเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยให้ anet-onet มันไปต่อได้ จะให้แกด่าสทศ. ก็ไม่ใช่เรื่องเดี๋ยวจะพลอยทำให้ admission ของแกเจ๊งตามไปด้วย แกเลยเลือกด่าเด็กที่ไม่ทำตาม flow ที่ระบบจัดให้แทน เนื่องจากข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลที่ทำให้เราตรวจสอบยาก และคอยถ่วงงานอื่นๆ ตามไปด้วย ตอนสรยุทธถามแกว่า "จะลาออกไหม?" ท่านบอกว่า ท่านไม่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ท่านลงมาเพื่อช่วยให้อะไรดีขึ้น ซึ่งคำตอบนั้นมันก็จริงของแกครับ

ตอนนี้เราก็พยายามแก้ปัญหาที่ถูกแจ้งและยังไม่ถูกแจ้งเข้ามาตามใบคำร้องที่ถูกส่งมาจากศูนย์รับเรื่องแล้วนะครับ ยังไงถ้ามีเพื่อนน้องๆ ที่ติดปัญหาอะไรก็รีบไปยื่นเรื่องด้วยตัวเองที่ศูนย์นะครับ จะได้ทำให้เรื่องมันเดินหน้าต่อไปได้เร็วขึ้นเยอะครับ

By: pphetra
Writer
on 5 May 2006 - 18:19 #6543

งานนี้นอกจากคำว่าชุ่ยแล้ว การเมืองภายใน ก็น่าจะมีบทบาทสำคัญเหมือนกันนะ? (บ้านเรานี่ โตจนจะเข้าโลงกันหมดแล้ว หลายๆคนยังชอบทำตัวเป็นเด็กๆ ทะเลาะ, หมั่นไส้, ขัดแข้งขัดขากัน)

ผมก็เคย implement ระบบ กับหน่วยงานราชการที่ขัดแย้งทางการเมืองแล้วเหมือนกัน เห็นพฤติกรรมแล้วรู้สึกอยากอาเจียน

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 5 May 2006 - 20:13 #6546

แหะๆ ขอบคุณพี่ deans4j ครับ ที่มาช่วยบอกเล่าเรื่องราวหลังกอไผ่ให้ได้รับรู้กัน แต่ผมว่า ท่านเลขาลงเพื่อเพื่อทำให้เด็กหัวเสียมากขึ้น มากกว่ากระมังครับ

By: deans4j on 6 May 2006 - 05:58 #6552

การเมืองภายในมันก็มีแหละครับ และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระบบนี้ล่มด้วย เนื่องจากทีมงาน OCR ถูกถอนตัวออกจากระบบกลางคัน ปล่อยให้คนของสทศ. ที่ขาดความชำนาญมารับหน้าที่แทนเกือบทั้งหมด ใครผิดใครถูกก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าต่างฝ่ายต่างก็โทษกันเอง พูดมากไม่ได้ครับเดี๋ยวโดนเคาะประตูบ้านตอนดึก

อีกอย่างนึงที่ผมอยากจะรู้ คือผลตอบรับของเด็กแลผู้ปกครอง อยากรู้ว่าเค้ามีความคิดเห็นอย่างไรกับการประกาศคะแนนครั้งที่ 3 นี้ ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับไหน ทั้งปรนัยและอัตนัยครับ เทียบกับ 2 ครั้งแรกด้วยก็ดี

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 6 May 2006 - 15:43 #6563

สำหรับเพื่อนๆผม คะแนนลดนิดหน่อยก็ไปแจ้งตรวจสอบกันเกือบหมดครับ (ส่วนน้อยคือ พวกไม่กระตือรือร้นเท่าไหร่) แล้วเท่าที่คุยดู ไม่มั่นใจในคะแนนกันเลยล่ะครับ เทียบกับครั้งที่หนึ่งครั้งที่สองก็น้อยกว่าครับ แต่ยังไงก็ต้องเอาคะแนนนี้ยื่นละครับ ทำไงได้ เสียเวลามามากแล้ว นี่ผมกลัวว่า เด๋วเปิดเรียนช้า แล้วต้องมาเร่งๆเรียน อีก

By: zotix
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 12 October 2007 - 14:50 #33287

o/a-net 48 (ก.พ. 49) คะแนนหายไป = ='

Cuas.or.th