Tags:
Topics: 

ปัจจุบันรัฐสภาภูฏานกำลังประสบปัญหาส.ส.ติดเกมและชอบดูรูปภาพระหว่างการประชุม จึงได้มีมาตรการสั่งห้ามใช้โน้ตบุ๊ครวมถึงอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ เหล่าบรรดาส.ส.จึงได้ออกมาประท้วงคำสั่งนี้โดยอ้างว่าการใช้โน้ตบุ๊คนั้นให้ความสะดวกสบายมากกว่าการต้องแบกเอกสารกองโตมาประชุม

ตอนนี้ภูฏานเริ่มเปิดรับวัฒนธรรมจากโลกภายนอกแล้ว น่าจับตามองจริง ๆ ว่าประเทศนี้จะยังคงความเป็นอนุรักษ์นิยมไว้ได้นานสักแค่ไหนกันเชียว

ป.ล. คุ้น ๆ ว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อนประเทศสารขัณฑ์ก็มีข่าวในทำนองนี้เช่นกัน

ที่มา - Reuters ผ่าน Gizmodo

Get latest news from Blognone

Comments

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 2 July 2008 - 21:23 #57165
pittaya's picture

ไม่มีโน้ตบุ๊คก็พับนกเล่นไปพลางๆ ละกัน

pittaya.com


pittaya.com

By: mk
FounderAndroid
on 2 July 2008 - 21:55 #57170 Reply to:57165
mk's picture

ทำอะไรก็ได้ อย่ากินน้ำแดงเป็นพอ

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 2 July 2008 - 22:30 #57177 Reply to:57170

น้ำแดงอย่างเดียวไม่มีปัญหา

อย่ากินน้ำแดงกับเค้กพร้อมกันเป็นพอ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 2 July 2008 - 22:36 #57179 Reply to:57177
tekkasit's picture

ไม่เก็ทอ่ะ

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 3 July 2008 - 00:24 #57197 Reply to:57189
veer's picture

กินก็ไม่ได้ T_T

By: ABZee on 3 July 2008 - 02:45 #57210 Reply to:57189

ฮาสุดๆ ข่าวมันตัดมาส่วนเดียวหรือมันเป้นแบบนี้จริงๆเนี่ย?

PoomK

By: 9AuM on 2 July 2008 - 23:08 #57185 Reply to:57177

เค้ายกมาให้ ผมก็รับไว้ เดี๋ยวก็หาว่าเป็นคนเรื่องมากอีก

ฮา ฮา ฮา

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 2 July 2008 - 23:16 #57186 Reply to:57170

กินยาแดงแทน (red pill)

iPAtS


iPAtS

By: fujitarc on 2 July 2008 - 22:28 #57175

..?

By: Table
SymbianUbuntu
on 2 July 2008 - 22:29 #57176

ว่าแต่เด็กติดเกม แล้วประเทศเราเป็นแบบนี้หรือเปล่าเนี่ย?

By: rocketbomb on 2 July 2008 - 23:18 #57187

สรุปผิดที่เกมส์อีกแล้วเหรอเนี่ย :P

By: wildseed on 3 July 2008 - 00:24 #57196

เคยดูสารคดีภูฏาน ประเทศเขาเป็นประเทศที่เท่ห์มากนะ เป็นส่วนผสมที่ลงตัวมาก คือมีวัฒนธรรมของตัวเองและเขาก็รักมากด้วย ทุกคนแต่งตัวในชุดประจำชาติ มีประเพณีน่ารักๆ มีกีฬาของตัวเอง คือยิงธนู ขี่ม้า แล้วเขาทำอย่างนั้นเวลาว่างจริงๆนะ เป็นที่นิยมมาก เขาไม่บ้าตืกอลฟแบบบ้านเรา ความเจริญทางวัตถุเขาก็มี อาจจะมากกว่าเราถ้าเทียบคุณภาพ คือเขาอาจจะยังไม่มี 3G แต่ผมเชื่อว่าเขาแทบจะติด internet กันทุกบ้าน เพราะเขาเข้าใจว่า information สำคัญ ไม่ใช่ 3G เขาให้ความสำคัญทางการศึกษาไปพร้อมๆกัน ผมเห็นเด็กตัวเล็กๆเป็นเณรในวัดนี่ให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษเลยนะ ไม่ได้เห่อนะ แต่แสดงว่าเขามีโอกาสทางความรู้มากกว่าคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษแน่นอน ดูแล้วมันเหมือนประเทศในฝันเลย ผมอาจจะโดนหลอกอะนะ ความจริงประเทศเขาอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างในสารคดี แต่ผมว่าเขามีอะไรเข้่่่าเค้า และดูเหมือนเขากำลังจะไปถูกทาง

ส่วนจากข่าว ผมว่าเขาก็ทำถูก บางครั้งปัญหาเล็็กๆ ก็ต้องยกให้มันเป็นประเด็นขึ้นมาบ้างจะได้ทบทวนจุดยืนว่าตกลงเราใช้เทคโนโลยีเป็นหรีือเปล่า บ้านเรานี่น่าจะทำบ้าง ผมเห็นประชุม ครม. เห็นมี notebook วางไว้ให้รัฐมาตรีใช้ ไม่รู้ว่าใช้จริงหรือวางไว้ให้โก้ๆ แถมโฆษณายี่ห้อให้อีก บางทีเอามาบริจากให้เด็กแถวบ้านผมอาจจะคุ้มกว่า

เห้ย ผมยังรักประเทศไทยนะ แต่ถ้ามีโอกาสจะไปกิ๊ก "ภูฏาน" ซักครั้ง

By: shelling
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 3 July 2008 - 00:28 #57199 Reply to:57196
shelling's picture

+1 ครับ
เห็นด้วยว่า สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ 3G แต่เป็น information

By: mehn
iPhone
on 3 July 2008 - 01:25 #57204 Reply to:57199
mehn's picture

"สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ 3G แต่เป็น information" ชอบคำนี้จัง

By: euclidian on 3 July 2008 - 14:21 #57255 Reply to:57204

information => knowledge => wisdom

By: wildseed on 3 July 2008 - 16:58 #57272 Reply to:57255

สูตรผม data => information => knowledge => imagination => wisdom

By: ABZee on 3 July 2008 - 03:12 #57211 Reply to:57196

แต่ผมสงสัยว่า ถ้าประชาชนเขาเลือกได้ เขาจะอยากเป็นอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้จริงๆหรือ หรือเขาอยากจะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันกับเรา

ผมไม่มั่นใจว่าภูฐานในปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่เท่าที่ได้อ่านในบทความต่างๆมาตลอดผมคิดว่าประเทศเขาก็มีปัญหาหองวัฒณธรรมที่ถูกแทรกซึมมา ประชากรสมัยใหม่เริ่มตั้งข้อสงสัยกับประเทศของตนเอง ในขณะที่ผู้มีอำนาจบางกลุ่มก็พยายามที่จะกดความคิดเหล่านั้นไว้ด้วยค่านิยมแบบอนุรักษณ์นิยม ปัญหาหลายๆอย่างถูกโยงเข้าไปในว่าเป็นปัญหาจากสื่อต่างชาติ

ผมเชื่อว่าความสุขที่แท้จริงนั้นน่าจะเป็นความสุขที่เจ้าตัวสามารถเลือกได้ และการรับสื่อนั้นก็เป็นหนึงในกระบวนการเรียนรู้ความสุขตรงนี้ ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นอะไรที่ภูฐานยังต้องใช้เวลาพัฒนาอีกสักพัก

PoomK

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 July 2008 - 08:26 #57227 Reply to:57196
lew's picture
  • เรื่องภาษาอังกฤษนี่ ผมเพิ่งดู Lonely Planet Six Degree@Bangkok ผมก็นึกว่าคนไทยพูดอังกฤษได้ทั้งประเทศเหมือนกันครับ เอาเข้าจริงแล้วเราไปมองตรงนั้นเป็นดัชนีทางการศึกษาไม่ได้ เพราะเณรคนนั้นอาจจะเป็นลูกรัฐมนตรีที่มีโอกาสเรียนมากกว่าคนอื่นเป็นต้น
  • มีเหตุผลอะไรถึงเชื่อว่าเขาติดอินเทอร์เน็ตแทบทุกบ้านหรือครับ?

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 July 2008 - 08:35 #57228 Reply to:57196
lew's picture

เพิ่มเติมเรื่องการสื่อสารในภูฏาน เทียบดูจากประชากรหกแสนกว่าคนครับ

  • โทรศัพท์บ้าน 25,200 เลขหมาย
  • โทรศัพท์มือถือ 82,000 เลขหมาย
  • วิทยู 37,000 เครื่อง
  • โทรทัศน์ 11,000 เครื่อง
  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 15,000 คน

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: wildseed on 3 July 2008 - 16:55 #57271 Reply to:57228

เรื่องภาษาผมเชื่อว่าไม่ปกติครับ ผมบอกแล้วว่าผมอาจจะโดนหลอก แต่ที่ผมเห็นมีหลายคนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และนักการเมือง(ซึ่งน่าจะพูดได้อยู่แล้ว) และหนังก็ถ่ายทำเฉพาะในเมืองหลวง ที่กรุงเทพ ผมก็เจอบ่อยๆบนรถไฟฟ้า เด็กๆนินทากันพูดภาษาอังกฤษด่ากันท่าทางเชี่ยวชาญ แต่ภูฎานดูต่างออกไปมาก(วัฒนธรรม, ชาตินิยม, อนุรักษ์นิยม)จนน่าสังเกต หากไม่จริง ก็นะ ผมก็ไม่รู้ แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้ชี้วัดอะไรเลยจริงๆครับ มันช่วยสร้างโอกาส

เรื่อง internet "ผมคงเวอร์ไปแหละ" ขอโทษด้วยครับ ผมเลยไปค้นมาจาก Factbook ของ CIA

https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/bt.html
Internet users: 30,000 (2006)
Population: 682,321
(ผมคิดเองว่าประมาณ 4.4%)

https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html
Internet users: 8.466 million (2006)
Population: 65,493,298
(ผมคิดเองว่าประมาณ 12.9%)

แต่ดูจากตัวเลขผมคิดว่าก็ไม่ได้น่าเกลียด ประเทศเล็กๆเงียบๆ แต่ก็แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้าน ผมผิดเอง

ผมคงไม่พยายามมาเน้นว่าจะวัดกันอย่างไรหรือมากแค่ไหน(ผมด้อยเรื่องนี้แหละ ผมไม่รู้และผมไม่ได้ไปหาความรู้หรือตรวจสอบเรื่องนี้เพิ่ม ผมเชื่อและโง่จนกว่าจะปล่อยไก่แล้วมีคนมาช่วย :) จับไก่) แต่"ภาพที่ผมเห็น"น่าจะถ่ายทำมาสองสามปีแล้ว เขาไม่ได้ดูเป็นประเทศที่ด้อยกว่าเลย คือเขาไม่ได้ร่ำรวยและมีทุกอย่างครบพร้อม แต่กลับพยายามเข้าใจความเจริญก่อนที่จะรับเอามาใช้ดูจากข่าวก็ได้เขาเพิ่งจะเริ่มรับเทคโนโลยีเข้ามาแต่ก็สังเกตเห็นปัญหา แลัวก็พยายามแก้ แม้จะเล็กๆน้อยๆแต่ก็น่าชื่นชม ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาเป็นตัวของตัวเองมาก ไม่ต้องลองผิดลองถูก หรือบ้าไปกับเทคโนโลยีแบบเราหรือชาวตะวันตก บ้านเดิมๆแต่งตัวเดิมๆ ทั้งที่มี internet มี TV ดู "ภาพที่ผมเห็นเป็นแบบนั้น" ดูเขาจะเน้นและส่งเสริมเฉพาะใจความสำคัญ นโยบายของประเทศเขาคือ "ปกป้อง"วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมซี่งเท่มากๆ แนวอ่ะ เป็นเด็กแนวไปเลย เอาเฉพาะที่จำเป็นแบบพอเพียง

ผมเดาเอาว่าผมคงทำให้เข้าใจผิดไปมาก จริงๆแล้วผมอยากสื่อว่าประเทศเขาน่าสนใจมาก เขามีวัฒนธรรม(คล้ายๆเรา)และวิธีคิดที่ต่างออกไปจากเรา แต่ก็ได้ผลลัพท์ที่ไม่เลว(ออกจะน่าชื่นชม) ซึ่งต่างออกไปจากอารมณ์เวลาที่อ่านข่าว ข่่่าวดูจะเสียดสีและเอาใจช่วยให้มาร่วมวงวัตถุนิยมเร็ว เลิกงี่เหง้าที คนเขาจะเล่มเกมส์ก็เป็นสิทธิของเขา ผมทนไม่ได้ หมั่นไส้ เพราะมันกระทบเรา แล้วก็ย้ำว่าเราถูกแล้ว ซึ่งคุณเชื่อหรอจนถึงวันนี้ยังเชื่อว่าเรามาถูกหรือ โทรศัพท์มือถึอที่คุณซื้อและส่งเงินออกนอกประเทศลดอำนาจการต่อรองของคุณเอง มีมูลค่าจากการใช้งานคุ้มหรือไม่(มันมือหน่อยนะ) คุณอาจจะคุ้มแต่คนรอบข้างที่พยายามไล่ตามโฆษณากันให้ควักละ คนสนใจน่าจะได้ idea ถ้ามีโอกาสหรือเห็นข่าวภูฎานผ่านหูผ่านตาน่าจะหยิบขึ้นมาดูแล้วก็คิดวิเคราะห์

อย่าเชื่อผมมากนะผมก็แค่ดูสารคดีของคนอเมริกันมา แล้วก็ว่างมาก ค่อนข้างฟุ้งซ่าน
Video ผมหาไม่เจอครับ ถ้าเจอแล้วจะมา post เก็บๆไว้เผื่อจะมีคนแวะมาดู

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 July 2008 - 18:27 #57287 Reply to:57271
lew's picture

จริงๆ แล้วผมก็มองประเทศนี้ค่อนข้างทึ่งนะครับ แค่ตัวเลขคนใช้โทรศัพท์มือถือแปดหมื่นกว่านี่นับว่าสูงมาก ในขณะที่ขนาดของศรษฐกิจบ้านเค้าเล็กมาก อาจจะเป็นเพราะบ้านเค้าเป็นภูเขา เลยไม่สามารถลากโทรศัพท์บ้านได้

ถ้าคำตอบของผมทำให้เข้าใจผิดว่าผมพยายามบอกว่าคุณโง่ ผมก็ขอโทษด้วยครับ ผมแค่สนใจว่ามันมีอะไรในสารคดีนั้นที่คุณไม่ได้บอกมาแล้วทำให้คุณเชื่ออย่างนั้น

จริงๆ แล้วผมเองก็สนใจแนวคิดการอนุรักษณ์วัฒนธรรมของภูฏานนะครับ แต่ผมยังสงสัยว่าด้วยกระแส Globalization ที่โหมแรงขึ้นทุกวัน และดูเหมือนไม่มีใครหนีไปจากมันได้ เพราะไม่อย่างนั้นประเทศจะก้าวหน้าไม่ทัน ภูฏานจะเลือกเดินทางต่อไปอย่างไร ถ้าเด็กรุ่นต่อไปของภูฏานเข้าอินเทอร์เน็ตทุกวัน และเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาแล้วไปรับวัฒนธรรมของต่างชาติที่มากับอินเทอร์เน็ต โดยที่เศรษฐกิจของภูฏานไม่ได้เติบโตตามไปด้วยอย่างนี้ ประเทศของเค้าจะเป็นอย่างไรกัน?

เรื่องวัตถุนิยมนี่คงพูดกันยากครับ สมัยเรียนผมเองก็อยากทำนาอยู่เหมือนกัน อยากมีไร่สักสี่ห้าไร่ แล้วไปทำนาสงบๆ อยู่ตามชนบท แล้วก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าการอยากได้ที่นามันไม่ใช่วัตถุนิยมหรือ??? และสุดท้ายแล้วแม้เราจะอยากใช้ชีวิตที่สงบๆ อย่างนั้น แต่เราก็อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เราอยากได้การขนส่งที่สะดวก เราอยากได้บริการทางการแพทย์ที่ทั่วถึงและเพียงพอและมีคุณภาพและราคาถูก เราอยากได้.... ฯลฯ เหล่านี้มันเรียกวัตถุนิยมรึเปล่า จุดไหนที่เราเรียกว่าคุณภาพชีวิตที่ดี จุดไหนที่เราจะบอกว่าเป็นความฟุ้งเฟ้อ ผมยังไม่มีคำตอบให้ตัวผมเองจนวันนี้

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: tee on 18 July 2008 - 03:17 #58942 Reply to:57287

ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อยากได้ที่นาเพราะต้องการสิ่งจำเป็นในชีวิตอย่างอาหารหรืออยากได้เพราะอยากได้อยากมีหรือกิเลศพาไป ถ้าเป็นอย่างแรกไม่น่าจะใช่วัตถุนิยมครับ เพราะคนเกิดมาต้องกินไม่ใช่กิเลศชักนำ ส่วนจะฟุ้งเฟ้อหรือไม่ให้ดูที่ภาพรวมของคนๆ นั้นว่าใช้ทรัพยากรไปเกินกว่าโลกจะรองรับหรือเปล่า ถ้าอยากได้เป็นตัวเลขประเมินไปทดสอบกับตัวเองได้ที่

http://www.myfootprint.org/en/about_the_quiz/what_it_measures/

http://www.epa.vic.gov.au/ecologicalfootprint/calculators/personal/introduction.asp

น่าจะมีของไทยจะได้เข้ากันกว่านี้

By: Devman on 3 July 2008 - 00:27 #57198

ไม่มีรายละเอียดว่าใช้ OS อะไรเนอะ อิอิ

By: audy
AndroidUbuntu
on 3 July 2008 - 11:35 #57243
audy's picture

แสดงว่าพับนก ระหว่างการอภิปราย ดีกว่า?

By: HyBRiD
ContributoriPhoneSymbianUbuntu
on 3 July 2008 - 14:30 #57256
HyBRiD's picture

อ่านแล้วรู้ว่า ไทยแก้ปัญหาได้ระดับเดียวกะที่นั่น

NERD GOD