Tags:
Node Thumbnail

ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ "คางุยะ" ของญี่ปุ่นได้ส่งภาพถ่ายโลกความละเอียดสูงระดับ 1920x1080 กลับมาสู่โลกแล้ว โดยภาพถ่ายโลกส่วนมากที่เราเห็นกันมักเป็นภาพถ่ายที่ระดับความสูงหลักร้อยกิโลเมตรเหนือผิวโลกเท่านั้น แต่ภาพถ่ายจากดาวเทียมคางุยะนี้ให้ภาพในมุมไกลจากระยะ 110,000 กิโลเมตร

ข้อมูลที่ดาวเทียมนี้ส่งมา จริงๆ แล้วเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายทุกๆ แปดนาที

อยากรู้ว่าความเร็วในการส่งข้อมูลนี่มันเท่าใหร่กันเนี่ย

ที่มา - The Future of Things, JAXA

Tags:
Node Thumbnail

การแข่งขันสู่อวกาศรอบใหม่กำลังดุเดือดเต็มที่เมื่อทางการจีนผ่านทางสำนักข่าวซินหัวได้รายงานถึงความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้ หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศความสำเร็จในการรับภาพถ่ายจากดาวเทียมของตนไปเมื่อ 13 วันก่อนหน้านี้

ดาวเทียม Chang'e 1 ถูกยิงขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในมณฑลเสฉวน ด้วยจรวด Long March 3A โดยตัวดาวเทียมหนัก 2,350 กิโลกรัม มีภารกิจในการสร้างภาพสามมิติของพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งหมด พร้อมการตรวจจับข้อมูลอื่นๆ อีกหลายประการ โดยคาดว่าภาพแรกที่จะเริ่มส่งกลับสู่โลกจะมาในเดือนพฤศจิกายนนี้

Tags:
Node Thumbnail

หลังการยิงดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ไปเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว ดาวเทียม Kaguya ก็เริ่มส่งภาพพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกแล้วผ่านทางกล้องที่ใช้ในการตรวจสอบการปล่อยดาวเทียมลูกที่ติดไปด้วยกันชื่อว่า Rstar ที่เป็นดาวเทียมช่วยทำแผนที่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์

ดาวเทียม Kaguya เป็นโครงการมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 14 ชนิด และโคจรอยู่ที่ความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

ที่มา - Space.com, Japan Aerospace Exploration Agency

Tags:
Node Thumbnail

มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ประกาศว่าจะร่วมโครงการ Google Lunar X Prize ชิงรางวัล 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข่าวเก่า) โดย ศาสตราจารย์วิลเลียม วิตเทเกอร์ (William Whittaker) ประกาศออกมาวันนี้ ว่าจะรวบรวมทีมและสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานนี้

คาร์เนกีเมลลอนเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯ โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของประเทศในด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) วิศวกรรมศาสตร์ และ กราฟิกส์ดีไซน์ นอกจากนี้มีผลงานหลายด้านในด้านของ virtual reality

ที่มา: TG Daily

Tags:
Node Thumbnail

ต่อจาก Google Sky คราวนี้ Google ไม่ใช่แค่ดูอย่างเดียว แต่จะออกอวกาศจริง ๆ แล้ว

เมื่อปี พ.ศ. 2547 มูลนิธิ X Prize ได้แจกรางวัล $10M ให้กับ Tier One เอกชนรายแรกที่ส่งยานพร้อมมนุษย์ไปโคจรในอวกาศได้สำเร็จไปแล้ว ครั้งนี้จะแจกรางวัลให้กับเอกชนรายแรกที่ส่งยานสำรวจพื้นผิวไปลงบนดวงจันทร์ และทำ Mooncast ถ่ายทอดสัญญาณจากพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ

โดยทีมแรกที่ทำสำเร็จจะได้รางวัล $20M แต่หากพ้นปี พ.ศ. 2555 ไปแล้วจะเหลือเพียง $15M ส่วนทีมที่สองจะได้รางวัล $5M และหากพ้นปี พ.ศ. 2557 ไปแล้วถือว่าสิ้นสุดการแข่งขัน เว้นแต่ทางผู้จัดจะตัดสินใจยืดเวลาออกไป

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ X Prize เป็นโครงการภาคเอกชนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้เกิดการตื่นตัวในการเดินทางไปอวกาศจากเอกชน โดยเมื่อปีที่แล้วโครงการนี้ได้กำหนดให้ผู้ที่สามารถส่งคนออกไปยังอวกาศได้ในเวลาสั้นๆ จะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้ที่ทำสำเร็จ โครงการนี้ได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานในสายอื่นๆ อีกค่อนข้างมาก เช่นการให้รางวัลกับผู้ที่สามารถถอดรหัสจีโนมมนุษย์ได้สำเร็จ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มีใครสนใจจะท่องเที่ยวอวกาศบ้างไหม ใครหลายคนอาจจะเคยความคิดส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในบางช่วงของชีวิตที่จะออกไปสัมผัสอวกาศ มันคงจะไปไม่ได้โดยง่ายถ้าคุณไม่ได้จ่ายเงินบริจาคมหาศาลให้แก่ NASA และไม่ผ่านการฝึกร่างกายจาก NASA

ตอนนี้ได้มีบริษัทหัวใส ชื่อ SpaceAdventures ได้ออกความคิดที่จะนำคนที่ไม่ได้ผ่านการฝึกที่จะท่องอวกาศไปเที่ยวอวกาศภายในปี 2008 ถึง 2009 นี้ ด้วยยานอวกาศ Soyuz โดยมีตั๋วราคาที่นั่งต่ำสุดที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแผนการท่องเที่ยวจะพาผู้โดยสารไปยังอีกด้านของดวงจันทร์

Tags:
Node Thumbnail

ลืมชุดอวกาศตัวใหญ่ๆ แบบเก่าไปได้เลย เพราะ MIT กำลังสร้างชุดอวกาศแบบใหม่ที่รัดรูป กระชับ และเน้นความคล่องตัวมากขึ้น

ศาสตราจารย์ Dava Newman แห่งภาควิชาวิศวกรรมอวกาศ MIT ออกแบบชุดอวกาศที่เรียกว่า BioSuit ที่มีขนาดเล็กและช่วยให้นักบินอวกาศเคลื่อนที่ได้คล่องตัวมากขึ้น Dava กล่าวว่าปัจจุบันชุดอวกาศหนักประมาณ 300 ปอนด์ (130 กิโล) และพลังงานประมาณ 70-80% ของมนุษย์อวกาศสิ้นเปลืองไปกับออกแรงต้านชุดอวกาศเสียเอง

Tags:
Node Thumbnail

องค์การนาซ่าเซ็นสัญญามูลค่า 46 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้ออุปกรณ์พื้นฐานจากบริษัทด้านอวกาศยานในประเทศรัสเซีย โดยสัญญานี้รวมความไปถึงการซื้อเทคโนโลยีสุขาในสถานีอวกาศมูลค่า 19 ล้านดอลลาร์ และเทคโนโลยี Airlock ที่ใช้ในเวลาที่นักบินอวกาศต้องการออกไปด้านนอกสถานีอวกาศ ตลอดจนซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกหลายรายการ

สำหรับสุขามูลค่า 19 ล้านดอลลาร์นี้มีการติดตั้งและใช้งานอยู่แล้วในสถานีอวกาศนานาชาติในทุกวันนี้ โดยติดตั้งอยู่ในโมดูลให้บริการ Zvezda ของทางรัสเซีย และทางนาซ่าต้องการนำไปติดตั้งเพิ่มเติมเนื่องจากจะมีการขยายความสามารถในการรองรับนักบินของสถานีอวกาศนานาชาติเป็นหกคนในปี 2009 นี้

Pages