Tags:
Node Thumbnail

ผมมีโอกาสได้ไปงาน Google Developer Day 2008 ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทัวร์ Google Developer Day นอกสหรัฐอเมริกาประจำปีนี้ งานจัดที่สนามกีฬา Wembley เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา

alt="Google Developer Day 2008"

ตารางสัมมนาดูได้จากหน้า agenda ครับ งานนี้กูเกิลทุ่มทุนสร้าง จ้างคนมาอัดวิดีโอเก็บไว้ทุกห้อง และทยอยอัพโหลดขึ้น YouTube ให้คนไม่ได้ไปได้ดูกัน

สำหรับตอนแรกของรายงานนี้ จะพูดถึง Keynote และวิสัยทัศน์ของกูเกิล ส่วนรายละเอียดของแต่ละ session ย่อยที่ผมเข้าฟัง จะตามมาในตอนต่อๆ ไป

วิดีโอของ Keynote ออนไลน์ให้ดูกันแล้ว ถ้าใครอยากดูเวอร์ชันเต็มก็ดูกันได้เลย

แต่ถ้าขี้เกียจดู อันนี้เป็นสรุปเวอร์ชันของผมเอง

เนื้อหาในงานจะใกล้เคียงกับงาน Google I/O 2008 ที่จัดไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่สำนักงานใหญ่ของกูเกิล เพียงแต่อัพเดตเทคโนโลยีให้ทันสมัยตามสายผลิตภัณฑ์ (เช่น Chrome)

วิสัยทัศน์ของกูเกิลยังคงเดิม

Client, Connectivity, Cloud

ใน Keynote คนของกูเกิลได้ขยายความประโยคข้างต้นไว้ดังนี้

  • Make the client more powerful
  • Make the cloud more accessible
  • Keep connectivity pervasive

Client

client ในที่นี้ไม่มีอื่นใดนอกจาก "เบราว์เซอร์" กูเกิลบอกว่าตัวเองนั้นโตมาจากเว็บ เว็บจึงเป็นแพลตฟอร์มเพียงอันเดียวที่กูเกิลรู้จัก นอกจากนี้ข้อดีของเว็บยังมีเรื่อง deployment ซึ่งทุกคนมีเบราว์เซอร์อยู่แล้ว ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มให้ยุ่งยาก (เหมือนกับ Silverlight หรือ AIR)

alt="The Browser is the Client"

แต่เบราว์เซอร์ก็มีข้อเสียในเรื่องฟีเจอร์ โดยเฉพาะถ้านำไปเทียบกับแอพพลิเคชันแบบ native หรือ Flash/AIR/Silverlight ซึ่งที่ผ่านมา เบราว์เซอร์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีแนวคิด CSS เพิ่มเข้ามา หรือมี XMLHttpRequest เป็นต้น ปัญหาคือมันยังพัฒนาเร็วไม่พอ เทคโนโลยีรุ่นต่อไปคือ HTML 5 นั้นยังมาไม่เร็วนัก

alt="Make the Client More Powerful"

ดังนั้นทางออกของกูเกิลจึงต้องหันไปจับฝั่งเซิร์ฟเวอร์แทน ซึ่งก็คือ cloud computing นั่นเอง แต่การช่วยให้ cloud ทำงานได้ราบรื่น ฝั่งไคลเอนต์ก็ต้องดีด้วย จึงเป็นเหตุผลให้พัฒนา Chrome

alt="Chrome - Core"

รายละเอียดของ Chrome คิดว่าทุกคนคงรู้กันหมดแล้ว ไม่เขียนซ้ำนะครับ (ถ้าไม่รู้อ่าน รีวิว Chrome ให้ดูกัน)

จิ๊กซออีกชิ้นของกูเกิลคือพัฒนาเทคโนโลยีเว็บในส่วนที่ไม่ใช่ HTML ให้พัฒนาขึ้น (เพราะ HTML ต้องรอ W3C) ซึ่งมันออกมาเป็น Gears

alt="Gears"

สิ่งที่ Gears เพิ่มความสามารถให้กับเว็บคือ

  • เว็บแอพพลิเคชันสามารถเก็บข้อมูลแบบออฟไลน์ได้
  • มีฐานข้อมูลให้ใช้
  • ระบบการ sync ข้อมูลระหว่างเครื่องของเรากับเซิร์ฟเวอร์

ใน Gears 0.4 ยังมีของเล่นใหม่ๆ เพิ่มมาให้อีกจำนวนหนึ่ง

alt="Gears 0.4"

ปัญหาที่สำคัญที่สุดของ Gears คือมันไม่เป็นมาตรฐานเหมือนกับ HTML ปกติครับ เราอาจมองได้ว่ามันเป็น "ส่วนขยาย" ของ HTML เวอร์ชันของกูเกิลเอง (เหมือนกับ Adobe มี Flash หรือ Microsoft มี Silverlight) ถึงแม้ว่ามันจะโอเพนซอร์ส มันก็ไม่ใช่มาตรฐานกลาง และผู้ใช้ต้องติดตั้ง Gears ก่อนจึงจะใช้งานได้ นักพัฒนาจึงต้องคิดหนักพอสมควรว่าควรพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Gears หรือเปล่า เพราะคนยังใช้น้อย

กูเกิลจึงต้องทำทุกทางให้คนใช้ Gears เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้ใช้หรือฝั่งนักพัฒนา ตอนนี้ 4 ใน 5 เว็บเบราว์เซอร์หลักของโลกสนับสนุน Gears คือ IE, Firefox, Safari (Gears เพิ่งออกเวอร์ชัน Safari) และแน่นอน Chrome ส่วน Opera นั้นบอกว่ากำลังทำ

แต่เบราว์เซอร์ที่มาพร้อมกับ Gears มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นคือ Chrome ก็ต้องดูว่ากูเกิลจะทำอย่างไรให้คนมาใช้ Gears เยอะๆ จะได้เป็นแรงจูงใจให้เกิดแอพพลิเคชันที่สนับสนุน Gears มากขึ้น

สรุป: Client = Chrome + Gears

Cloud

alt="Make the Cloud More Accessible"

เว็บแอพพลิเคชันได้รับความนิยมสูงมากในระยะหลัง แต่ปัญหาก็คือการสร้างเว็บแอพพลิเคชันที่รองรับโหลดได้มากนั้นต้องลงทุนสูง ทั้งในแง่เม็ดเงินและความเชี่ยวชาญ
ในเมื่อกูเกิลมีโครงสร้างด้านเซิร์ฟเวอร์สำหรับ cloud พร้อมอยู่แล้ว ยุทธศาสตร์ของกูเกิลจึงเป็นการช่วยให้นักพัฒนารายย่อย "เข้าถึง" cloud ของกูเกิลได้ง่ายขึ้น

ยุทธศาสตร์ Cloud จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรกคือทำให้นักพัฒนา เข้าถึงเว็บแอพพลิเคชันของกูเกิล ได้ง่ายขึ้น ซึ่งทางออกของมันคือ API นั่นเอง ปัจจุบันกูเกิลมี API 2 แบบคือ Google Data API (read/write) กับ Google AJAX API (read only) จำนวนคนใช้ก็ตามภาพ โตขึ้นอย่างรวดเร็ว

alt="Google API Traffic Growth"

ส่วนที่สองคือทำให้นักพัฒนา สร้างแอพพลิเคชันของตัวเองบนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล ได้ง่ายขึ้น มันคือ App Engine นั่นเอง

alt="Google App Engine"

รายละเอียดของ App Engine ดูในตอนเก่าๆ นะครับ งานนี้ไม่มีประกาศอะไรใหม่เพิ่ม แถมหลายคนแถวนี้ใช้ App Engine กันไปเยอะแล้วคงคุ้นเคยกันดี

สรุป: Cloud = Google API + App Engine

Connectivity

ในเมื่อโลกของกูเกิลนั้นเป็นโลกของเว็บ เว็บรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ (cloud) ปัญหาที่ตามมาคือ ทำอย่างไรผู้ใช้จึงจะสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน (pervasive connectivity) คำตอบคือ มือถือ!!

alt="Keep Connectivity Pervasive"

กูเกิลมองว่า แพลตฟอร์มมือถือที่มีอยู่นั้นมีส่วนที่ไม่โอเพนซอร์สอยู่มาก จึงต้องการสร้างแพลตฟอร์มมือถือที่เป็นโอเพนซอร์สอย่างแท้จริงขึ้นมา ซึ่งก็คือ Android

(รายละเอียดของ Android ผมเคยเขียนไว้แล้วใน Android Developer Challenge - โอกาสทองของเด็กไทย)

จากนั้นคนของทีม Android ก็ขึ้นมาพูดบนเวที และโชว์เครื่อง Android ของจริง ซึ่งเขาบอกว่าเป็นครั้งแรกที่กูเกิลโชว์ต่อสาธารณะชน (ไม่รวมภาพหลุด) ผมเขียนเป็นตอนแยกไว้แล้วใน ภาพชุด: มือถือต้นแบบ Android

สรุป: Connectivity = Android

เทคโนโลยีอื่นๆ

นอกจากนี้ใน Keynote ยังพูดถึงเทคโนโลยีเสริมอื่นๆ อีก 2 ตัวที่จะช่วยให้ฝัน 3C ของกูเกิลเป็นจริง

อย่างแรกคือ GWT (เค้าอ่านว่า "กวิท" ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกัน) ซึ่งมันจะช่วยให้การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันที่เป็น AJAX/JavaScript ทำได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือของฝั่ง Java ที่พัฒนาไปมากแล้ว (เช่น IDE หรือ Debugger) เข้ามาช่วย เป็นการลดระยะเวลาในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันให้สั้นลง

alt="Google Web Toolkit"

อย่างที่สองคือ OpenSocial

alt="OpenSocial"

OpenSocial มีความสำคัญต่อกูเกิลคือ ทำให้เว็บแอพพลิเคชันที่ (กูเกิลหรือเรา) จะสร้าง มีความเป็น "social" มากขึ้น โดยนักพัฒนาไม่ต้องมาเสียเวลามานั่งพัฒนาฟีเจอร์ด้านนี้เอง แต่อาศัย API ของ OpenSocial ซึ่งมีพันธมิตรเป็น social network ดังๆ หลายราย (ยกเว้น Facebook) มาให้เรียบร้อยแล้ว

alt="OpenSocial Growth"

นอกจากนี้ OpenSocial ยังมี implementation ต้นแบบชื่อ Shindig ซึ่งเป็นโครงการลูกของ Apache Incubator

alt="OpenSocial"

กูเกิลจะได้อะไร?

วัฎจักร 3C: Client, Connectivity, Cloud นี้ ช่วยให้กูเกิลรวยขึ้นครับ คนพูดตอบแบบตรงไปตรงมา

alt="Open Web, Economic Incentives"

เป้าหมายของกูเกิลคือถ้าเว็บแอพพลิเคชันพัฒนาขึ้น มีคนเข้าเว็บเยอะขึ้น เข้าได้จากทุกที่ทุกเวลา โฆษณาของกูเกิลก็จะถูกแสดงมากขึ้น และกูเกิลก็จะรวยขึ้น

แต่กูเกิลสัญญาว่าเมื่อรวยขึ้น จะเอาเงินเหล่านี้มาจ้างนักพัฒนา สนับสนุนวงการให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไปอีก ผู้ใช้ก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อมไปด้วย ตรงนี้ก็ขึ้นกับเราแล้วว่าจะเชื่อคำกล่าวของกูเกิลสักแค่ไหน

ปิดท้ายด้วยภาพเทคโนโลยี "เรือธง" ของกูเกิล รายละเอียดของแต่ละตัวไปว่ากันตอนหน้า

alt="Client Cloud Connectivity"

Get latest news from Blognone

Comments

By: 9AuM on 18 September 2008 - 20:22 #65247

ใน Keynote คนของกูเกิลได้ขายความประโยคข้างต้นไว้ดังนี้

น่าจะเป็น ขยาย ครับ

By: mk
FounderAndroid
on 18 September 2008 - 21:12 #65254 Reply to:65247
mk's picture

แก้แล้ว ขอบคุณครับ

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 18 September 2008 - 21:26 #65256
gudgee's picture

Chrome อาจจะไม่ใช่พระเอก แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

OpenSocial ตกลง facebook ไม่เอากับเค้าใช่มั้ยเนี่ย

GWT “กวิท” นี่พยางค์เดียวเลยรึเปล่าครับ พึ่งรู้เหมือนกัน

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 18 September 2008 - 21:43 #65260 Reply to:65256
lew's picture

ในเมืองนอกใช้กัน 8% นี่นับว่ามีผลอย่างรุนแรงมากครับ เทียบกับ firefox ที่กว่าจะทำได้เล่นเอาหืดขึ้น

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: mk
FounderAndroid
on 18 September 2008 - 21:55 #65261 Reply to:65256
mk's picture

Facebook ได้เปรียบอยู่นิครับ ถ้าลงมาเล่นด้วยก็ไม่มีประโยชน์อันใด

GWT ลองฟังเค้าพูดในวิดีโอละกันครับ

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 18 September 2008 - 21:55 #65262
By: anu
Contributor
on 18 September 2008 - 22:15 #65266

แค่กูเกิ้ลรวยขนาดนี้ ผมว่าก็เป็นประโยชน์กับคนทั้งโลก โดยอ้อมๆ มากๆ แล้วนะครับ...

เริ่มต้นจากเพนกวิ้นแรงค์ มาได้ถึงขนาดนี้ก็สุดยอดแล้ว อีกสิบปีหันมามอง ถัดจากยุคประวัติศาสตร์ อาจจะเป็น ยุคกูเกิ้ลก็ได้....

By: evo_toon
ContributorAndroid
on 18 September 2008 - 22:47 #65268

แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นครับ ถ้าว้นหนึ่ง Google คิดที่จะเก็บตังค์คนที่ใช้สิ่งต่างๆที่ Google เป็นเจ้าของอยู่ ซึ่งคนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดใช้มันในชีวิตประจำวัน เช่น Google Search ซึ่งถ้าจะเปลี่ยนไปใช้ของเจ้าอื่นก็ห่วยเต็มทน ผมว่ามันคงวุ่นวายน่าดูนะครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 September 2008 - 21:49 #65417 Reply to:65268
tekkasit's picture

คนหยุดใช้ Google Search ทันที แล้วหันไปใช้คู่ของแข่งขันทีแบบไม่ต้องหยุดคิด Yahoo, MS Live Search

เชื่อผมสิ เอาง่ายๆ เกมส์ออนไลน์บ้านเราก็เป็นตัวอย่างทีดีตัวหนึ่ง

By: lancaster
Contributor
on 20 September 2008 - 13:42 #65490 Reply to:65268

Search Engine อื่นก็ไม่ได้แย่กว่ากันมากนักครับ :)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 21 September 2008 - 00:11 #65550 Reply to:65268
lew's picture

ทุกวันนี้ hotmail เองพื้นที่ก็ให้เยอะมาก หน้าตาก็ดีกว่าเมื่อก่อนเยอะนะครับ live search เองก็พัฒนาไปเยอะ และดีขึ้นทุกวันๆ

ส่วนเรื่องพื้นที่เก็บภาพนี่ผมว่า Picasa พอๆ กับ Flickr ไม่ได้ห่างอะไรกันมาก มีดีมีแน่คนละแบบ ผมเองก็ใช้ทั้งสองอย่าง

วีดีโอนี่หลังๆ หลายที่ก็ใช Vimeo กัน ในเมืองไทยช้าไปหน่อยแต่ก็ใช้ดีไม่มีอะไร

เก็บตังค์ที คู่แข่งเหนื่อยเลยครับ ต้องเพิ่มเซิร์ฟเวอร์

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: HudchewMan
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 18 September 2008 - 23:52 #65280
HudchewMan's picture

ถ้าเมื่อไหร่ google เก็บเงินทุกบริการ ก็สะเทือนกันทั้งโลกล่ะครับ กว่าจะปรับตัวได้ :)

เว็บพจนานุกรม แปลภาษาจีน-ไทย ไทย-จีน
http://www.zhongtai.org


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~

By: p-joy on 19 September 2008 - 01:21 #65303 Reply to:65280

คนย้ายไม่เกินสามวัน

By: wiennat
Writer
on 19 September 2008 - 12:35 #65349

ผมมองว่าภาษาต่อไปที่จะไปอยู่ใน gae น่าจะมาจากทาง gwt ล่ะ

ส่วนเรื่องมือถือนี่นับว่า บิล เกตส์วิสัยทัศน์กว้างไกลมาก เพราะผมได้ยินแว่วๆมาว่าลุงเคยเปรยๆว่าต่อไปมือถือจะทำได้ทุกอย่าง


onedd.net

By: bankkung
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 20 September 2008 - 00:03 #65435 Reply to:65349

ขอแซวนิด
ตอนที่บิล เกตส์ทำนายว่า 640kb เพียงพอสำหรับทุกคนล่ะครับ? อีหรอบนี้ลืมกันสนิท

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 20 September 2008 - 11:01 #65480 Reply to:65435
lew's picture

ผมว่าคนในนี้คุยกันเรื่องนี้หลายทีอยู่เหมือนกันนะครับ ว่าสุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครรู้เค้าไปพูดไว้เมื่อใหร่

พูดต่อๆ กันไปมาจนเชื่อกันจริงๆ จังๆ ไปทั้งโลกเอง

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: javaboom
WriteriPhone
on 19 September 2008 - 14:49 #65367
javaboom's picture

ข่าวนี้เยี่ยม ขอบคุณที่เก็บตกภาพกับเนื้อหาดีๆมาให้ดูครับ

Google มียุทธศาสตร์เด็ดๆสำหรับ Cloud Computing และที่น่าสนใจที่สุดคือผู้ใช้ ผมคิดว่าน่าจะเป็น Cloud Provider ที่มีลูกค้ามากที่สุดก็ว่าได้ นับว่าเป็นแผนกินส่วนแบ่งตลาด Cloud จากทั่วโลกผ่านบริการพื้นฐานที่หลายคนพอใจ คงไม่ต่างอะไรกับยุค IBM PC เลย แม้อนาคต Google จะมีคู่แข่งมากน้อยขนาดไหนก็ตาม เชื่อว่าอีกหลายต่อหลายปี เราก็ยังจดจำได้ว่า Google เองก็เป็นเจ้าพ่อด้าน Cloud Computing

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog