Tags:

ในฐานะหนึ่งใน speaker ผมไม่อยากให้ไอเดีย ที่โผล่กันมาในวันนี้ หายไปกับการเวลาและคำว่า "ใครจะทำ"

สำหรับผมเอง มีเรื่องให้ต้องเดินต่อ แต่คงต้องขอพลังใน tlug กันหน่อย

อ.สุรเดช มา คุยกับผมเรื่องอยากให้มีอะไรลักษณะนี้ ไปให้ รุ่นน้องปี 2 ที่คณะ ม. ผมฟังบ้าง จะได้ให้เด็กๆ เห็นกันว่าโลกนี้ ยังมีอะไรที่มากกว่า CISCO หรือ Microsoft และโลกจริงๆ เขาทำงานแบบนี้กันได้อย่างไร

ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ดี และน่าสนใจ "อย่างน้อย" ก็ได้ไปสร้างคลื่นให้กระเพื่อมขึ้นมาลูกนึง และโจทย์ต่อไปก็คือ ต้องสร้างคลื่นลูกต่อไปให้กระเพื่อมจะกลายเป็นกระแสน้ำ และไหลได้ด้วยตัวเอง

ผมว่าการปลูกฝังในระดับล่าง และ การชี้นำตั้งแต่ในระบบการศึกษาเป็นอะไรที่ยั่งยืนกว่า การที่จะรอ "คนข้างบน" มาทำอะไรสักอย่าง

กลัวคำถามเดียวเท่านั้นแหล่ะ "แล้วใครจะทำ"

Get latest news from Blognone
By: mk
FounderAndroid
on 26 November 2006 - 00:08 #13570
By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 26 November 2006 - 01:35 #13579
lew's picture

ในงานผมเสนอถึง "จุดเริ่มต้น" ของการเข้าถึงโลกโอเพนซอร์สในเมืองไทย โดยแนวคิดกว้างๆ ที่ผมคิดไว้แล้วมันเป็นไปได้ เริ่มต้นจากการสร้าง กลุ่มพันธมิตรเพื่อรวมตัวกันโดยให้พันธสัญญาว่าจะร่วมกันเพื่อโปรโมทโลกโอเพนซอร์ส โดยที่ผมยังไม่มองถึงเรื่องที่ว่าใครจะทำ แต่มองแค่ว่าใครอยากให้จะร่วมกันทำบ้าง

ผมเชื่อว่าเราต้องการจุดรวมที่มี __ความหนาแน่น__ เพียงพอที่จะทำให้โลกสนใจเรา หากเราต้องการเติบโตในระดับก้าวกระโดดในเมืองไทย

โลกของเว็บทุกอย่างอาจจะง่ายลงกว่าเดิม ด้วยการ Contribute เนื้อหาจำนวนมากเข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อสร้างจุดที่เราทุกๆ คนจะบอกคนทั่วไปได้ว่า ถ้าคุณสนใจโอเพนซอร์ส คุณต้องไปเริ่มที่นี่

การเริ่มต้นครั้งแรก ผมเชื่อว่าคำถามอาจจะไม่ใช่ว่าใครจะทำ แต่เป็นคำถามที่ว่า ถ้ามีคนทำ ใครจะร่วมด้วยบ้าง โดยเราอาจจะร่วมกัน - เป็น pointer เพื่อชี้จุดเรื่มต้นให้กับทุกคนที่สนใจเพื่อสร้างพลังทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการลิงก์ไปยังเว็บศูนย์กลาง หรือการบอกแบบปากต่อปาก - ร่วมกัน Contribute เนื้อหา อาจจะเป็นการปล่อยสัญญาอนุญาตในเนือหาในเว็บ บลอค วีดีโอ ฯลฯ ให้เข้ากันได้ทั้งในทางกฏหมาย และทางด้านความเห็นที่สอดคล้องกัน ตลอดจนร่วมกันสร้างเนื้อหา ตอบคำถามใน Forum ฯลฯ

ถ้ามีคนสนใจร่วมมือกันมากพอ อนาคตเราอาจจะได้คุยกันว่ารูปแบบของความร่วมมือในราบละเอียดจะเป้นอย่างไร ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: Visanu on 27 November 2006 - 13:01 #13639

หัวข้อการเสวนาดูเหมือนไม่ต้องการกำหนดภารกิจต่อเนื่อง แต่ผมเห็นด้วยว่าเรื่องโอเพนซอร์สเป็นภารกิจที่เราต้องทำให้เกิด

การสร้างโปรแกรมโอเพนซอร์ส อาจใช้รูปแบบการพัฒนาแบบไม่รวมศูนย์ได้ ผมสงสัยว่า การทำให้โปรแกรมโอเพนซอร์สได้รับการใช้แพร่หลาย จะทำแบบไม่รวมศูนย์ได้หรือไม่

ถ้ารวมศูนย์ คือใครคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง วางแผนเป็นขั้นตอน แล้วค่อย ๆ ปฏิบัติ หาคนทำแต่ละขั้นตอน

ถ้าไม่รวมศูนย์ คือต่างคนต่างช่วยกันเผยแพร่หรือสร้างสรรค์ในสิ่งที่ตัวเองทำได้

ผมเองชอบแบบรวมศูนย์ ที่จริงต้องบอกว่าชอบแบบมีแผนชัดเจน มีผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ซึ่งหมายความว่า มีการวางแผนแม่บท (SIPA อาจมีอยู่แล้วหรือไม่ ทำได้แค่ไหน) และทำตามแผน

เท่าที่เคยช่วยงานองค์กรอาสาสมัครมาหลายองค์กร เรื่องอย่างนี้ทำได้ ถ้าตั้งใจทำจริง คนไม่ต้องมากหรอกครับ แต่ต้องเข้มข้น สักห้าหกคนก็ไปได้ไกลแล้ว ปัญหาอย่างหนึ่งคือการสืบทอด ทำไปแล้วหาคนแทนไม่ได้ เพราะไม่ได้สร้างชุมชนที่ใหญ่พอ คนส่วนใหญ่เป็นประเภทอยากได้ ไม่อยากทำ

เนื่องจากเคยเกี่ยวข้องกับงาน PR มาบ้าง ทำให้มองว่าควรเริ่มจากการทำให้คนรู้จัก ทั้งในวงการไอทีและในวงกว้างกว่านั้น มีการสาธิตการใช้โปรแกรม และทำคู่มือการใช้ในรูปต่าง ๆ ทั้งหนังสือและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งถ้าทำให้นักพัฒนาใหม่ ๆ เกิดความสนใจขึ้นมาได้ ก็จะได้ชุมชนนักพัฒนาเพิ่มขึ้น และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกถ้าคนที่ยังไม่เคยรู้จักโอเพนซอร์ส เกิดอยากลองใช้มันขึ้นมา

หาก SIPA จะทุ่มงบลงโฆษณาแบบ advertorial - โฆษณาในรูปแบบบทความ -ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดี

ถ้าเป็นงานเขียนงานแปล ยินดีช่วยเหลือครับ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 27 November 2006 - 14:13 #13645
Ford AntiTrust's picture

ประมาณเดือนมกราคมปีหน้า ที่ ม.นเรศวร ที่ผมเรียนอยู่จะมีงาน Software Innovation (งานประกวด software และเสวนา) ไม่รู้ว่าปีนี้จะใช้หัวข้ออะไรเป็นหัวข้อหลัก อย่างปีแรกเป็น Open Source โดยพี่ที่พัฒนา Mambo Hub ก็มาเป็นวิทยากร ปีที่สองก็เกี่ยวกับพวก Animation ก็คุณนุ่ย มา ส่วนปีนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นเรื่องอะไร ถ้ามี Open Source ก็น่าจะดี (เอาอีกรอบ) อยากให้คุณ keng และคุณ mk รวมถึงทีมงานคนอื่น ๆ มาด้วยก็น่าจะดี ไม่รู้ว่าว่างกันหรือเปล่าน่ะครับ เดี่ยวยังไงจะถามอาจารย์ก่อนว่าเค้ากำหนดหัวข้อไปหรือยังนะครับ ;)

By: keng
WriteriPhoneAndroidIn Love
on 27 November 2006 - 15:17 #13648
keng's picture

Ford AntiTrust - ผมก็จบ ม. ที่คุณเรียนน่ะแหล่ะ :-P

เรื่องนี้น่าจะต่อได้ ผมก็ได้คุยกับ อ. ที่คณะผมแล้วเหมือนกันว่า แกอยากให้เกิดอะไรแบบนี้ที่ คณะ เหมือนกัน

ไปๆ มาๆ รวมกันเป็นเรื่องเดียวได้ไหมนิ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 27 November 2006 - 19:01 #13666
Ford AntiTrust's picture

keng - น่าจะได้ครับ ถ้าเป็นไปได้ถ้าในวันงานมีการเสวนาเรื่องนี้ ก็น่าจะดีมาก ๆ เลย ;)

By: thep
Writer
on 27 November 2006 - 23:49 #13681

พูดถึงงานแปล ผมกำลังมีโครงการแปลบทความชุด Cathedral-Bazaar ของ ESR นะครับ ตามรายละเอียดใน blog

บทความนี้มีห้าตอน แปลเสร็จเกือบ 2 ตอนแล้ว จะช่วยตรวจทานส่วนที่แปลไปแล้ว หรือจะแปลเพิ่ม ก็เชิญได้ครับ

By: Visanu on 28 November 2006 - 19:24 #13694 Reply to:13681

ถ้าทำเป็น Wiki จะ้ช่วยกันแก้ไขได้ง่ายขึ้นหรือไม่ี

ผมเพิ่งเอาฉบับภาษาอังกฤษมาดู ขอเวลาอ่านทั้งหมดก่อน แล้วจะช่วยดูภาษาไทยให้ครับ

By: thep
Writer
on 28 November 2006 - 22:29 #13695

จุดประสงค์จริงๆ คือแปลในต้นฉบับ XML เพื่อจะได้ generate เป็น format อื่นๆ ได้สะดวกน่ะครับ

ถ้าจะแปลผ่าน wiki ก็คงไปฝากที่ opensource.thai.net ก่อน แล้วค่อยตาม merge เข้า XML source อีกทีหนึ่ง (เหมือนที่ทำกับตอน The Cathedral and the Bazaar มาก่อน)

By: thep
Writer
on 28 November 2006 - 22:31 #13696

ปล. แต่อย่าไปเช็กที่ opensource.thai.net นะครับ ตรงนั้นเก่ามากแล้ว ไม่อัปเดตครับ

By: tee on 28 November 2006 - 23:57 #13704

ช่วยหนุนครับ แต่ผมไม่ชอบการครอบงำ หรือชี้นำ ถึงแม้ว่าจะยังทำอยู่เป็นประจำ 55 แต่ก็พยายามจะน้อยๆ ลง ไม่อยากให้ open source เป็นลัทธิ เหมือนอย่าง เด็กหลายๆ คน จะ anti $ms แล้วก็คลั่ง linux ท่าเดียว ไม่รู้เป็นไร อยากเป็นกบฏตั้งแต่อายุยังน้อย

By: สมเจตน์ on 29 November 2006 - 12:46 #13732

ได้เข้ารับฟังเสวนาครั้งนี้แบบไม่เต็ม คือมาสายและกลับก่อน มาดูคลิปย้อนหลังเอา ก็เป็นอย่างที่คาดไว้ว่าคงจะหาข้อสรุปอะไรได้มากนัก แต่ก็ฟังได้ความรู้ดีเหมือนกัน ไม่รู้เรื่องก็เยอะ ระบบเสียงไม่ค่อยชัดเจนสำหรับผู้อยู่ไกล ...

บางประเด็นก็น่าสนใจครับ เช่นมีหลายท่านพูดถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะ Down > Top หมายถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน (Down) ที่มีผลต่อนโยบายบริหาร (Top) เพราะที่ผ่านมาเราใช้รูปแบบ Top > Down คือให้ภาครัฐเป็นผู้ขับเคลื่อน และก็มีตัวแทนทาง "ซิป้า" และ "เนคเทค" ก็ออกมายอมรับว่าเกี่ยวกับงานโอเพ่นซอร์สคงไม่สามารถผลักดันได้เต็มที่นัก แต่จะเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเรื่องๆไป ผมเห็นด้วยกับทฤษฏี Down > Top ครับ

ประเด็นการบ้านของ อ.ภุชงค์ก็น่าสนใจว่า "แล้วเราจะหาโมเดลธุรกิจแบบใดมาจัดการกิจกรรมสำหรับชุมชนโอเพ่นซอร์ส" ก็ต้องยอมรับว่าเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญเหมือนกัน ...

ถ้าหาโมเดลธุรกิจที่ว่ายังไม่ได้ ผมขอนำเสนอโมเดลตัวนี้ครับ "สหกรณ์" เป็นโมเดลที่เข้ากับกิจกรรมชุมชนอย่างดี เพราะลักษณะดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์จะเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนได้อย่างแท้จริง เพราะแก่นของสหกรณ์ก็คือ "ส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนที่มีเรื่องเดือดร้อนเดียวกัน ให้ช่วยเหลือและแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน" ถ้าคุณเข้าร่วมในกิจกรรม ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้พัฒนา ประชาชนทั่วไป ก็สามารถเข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่จะพึงมีของสหกรณ์ได้ ...

ผมเคยนำเสนอโมเดลนี้ผ่านทางบอร์ด "ไทยลินุกส์คาเฟ่" เป็นกระทู้ที่ค่อนข้างยาวทีเดียว ณ ตอนนั้นก็มีเสียงตอบรับดีมาก แต่มาตายตอนที่จะรวมตัวพูดคุยกัน :P ก็ลองพิจารณาดูครับ น่าจะใช้ได้ท่าไม่มีทางเลือกอื่น ...

http://www.thailinuxhosting.com/yabbse/index.php?board=6;action=display;threadid=6188;start=0

By: สมเจตน์ on 29 November 2006 - 15:29 #13738

ลิงค์ที่ให้ไว้ เมื่อกี้ลองเข้าไปดูแล้วปรากฏว่าเว็บมีปัญหาอ่ะ ท่าทางจะเดี้ยงยาวแน่ แต่ก็สามารถใช้เทคนิคค้นหากระทู้ได้ครับ โดยการเข้าเว็บดังนี้ www.thailinuxcafe.com แล้วกดปุ่มฟังค์ชั่น "ค้นหา" พิมพ์คำว่า สหกรณ์ (ค้นหาสำหรับ:) 1000 (วัน ตั้งแต่การโพสต์ครั้งสุดท้าย:) 100 (หัวข้อในหนึ่งหน้า?) แล้วกดปุ่มค้นหา ส่วนวิธีอ่านให้ดูจากกระทู่ล่างสุดไปหาบนสุด ...