Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

คุณจะคิดอย่างไร ถ้าจะบอกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนเว็บไซต์ที่เราค้น โดยใช้บริการของกูเกิลนั้น มีข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของเรา! ข้อมูลที่น่าตระหนกนี้ เกิดจากการสำรวจโดย "วิเคราะห์เชิงลึก" จากตัวอย่างเว็บไซต์ 4.5 ล้านเว็ป มาดูครับว่าเขาเจออะไรบ้าง - ประมาณ 450,000 เว็บ มีความสามารถที่จะ หรือติดตั้งโปรแกรมที่เป็นอันตราย ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย - ประมาณ 700,000 เว็บที่ประกอบด้วยโค้ดที่ "อาจ" เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ที่เปิดเว็บขึ้นมาดู ส่วนที่เป็นปัญหาเหล่านี้ กูเกิล เองก็เตือนได้แต่เพียงว่า "ขอให้ระมัดระวังในการแยกแยะเว็บที่เป็นอันตราย" อันตรายที่มาจากแขก(โปรแกรม)ที่ไม่ได้รับเชิญ ที่สำคัญคือ มันสามารถขโมยข้อมูลของเราไป ...บางคนอาจเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในเครื่อง เช่น เลขบัตรเครดิตและรหัสผ่าน ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าไปใช้งานด้านการเงินต่างๆ รวมทั้งความลับส่วนตัวอื่นๆ ซึ่งมีข้อมูลที่โปรแกรมเบราว์เซอร์ เช่น IE ได้จดจำเอาไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ก็เหมือนเป็นดาบสองคม การทำงานของโปรแกรมที่อันตราย ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง คงเหมือนเป็นเว็บกับดักที่ล่อให้เราคลิกเปิดเข้าไป โดยมันจะมีการทำงานเป็นอัตโนมัติ ไม่พูดไม่จา ไม่ถามไถ่ใดๆทั้งสิ้น ทำการติดตั้งตัวเองทันที! (ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์ของเราติดตั้งวัคซีนพวกกันไวรัส หรือสปายไว้ ก็อาจจะฟ้องขึ้นมา) การล่อลวงก็ทำได้ง่ายๆ เช่น แสดงภาพวับๆแวมยั่วยุให้กดเข้าไปชมแฟ้มวีดีโอ ซึ่งจุดอ่อนของ IE ก็คือความสามารถในการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมใดๆก็ตามผ่านอินเตอร์เน็ต โดยตัวของมันเอง ในการดาวน์โหลดอาจมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การกำหนดหน้าแรกของเบราว์เซอร์เปลี่ยนไป มีทูลบาร์แปลกๆปรากฏขึ้น มีการโหลดเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการเป็นระยะๆ สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ ที่ร้ายที่สุดคือมีการติดตั้งระบบการจำการกดคีย์บอร์ด นั้นคือเมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ข้อมูลสำคัญลงไป อย่างเช่น ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังแฮกเกอร์พร้อมกันด้วย หนำซ้ำบางตัวที่แสบๆ จะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นลูกข่าย และแฮกเกอร์สามารถเข้ามาควบคุมใช้งานคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงอีกด้วย เว็บไซต์ลักษณะไหนที่ต้องระวัง? ผมขอสรุปลักษณะที่เราต้องตรวจสอบ ให้มากขึ้นก่อนจะคลิกส่วนใดส่วนหนึ่งในเว็บนั้น ***เว็บไซต์ที่มีส่วนที่เชื่อมโยงออกไปภายนอกเว็บ เช่น แบนเนอร์ ประโยคโฆษณาที่ลิงก์ออกข้างนอก แล้วยังพวกตัวนับ ปฏิทิน ที่ใช้บริการจากเว็บภายนอก*** สำหรับในกูเกิลเอง ก็ได้มีการพัฒนาส่วนการเตือนภัย (ที่อาจยังไม่ครอบคลุมทุกเว็บ) โดยก่อนคลิกเข้าไปจะขึ้นข้อความว่า "this site may harm your computer" ซึ่งน่าจะช่วยได้ส่วนหนึ่ง ท้ายที่สุด เราเองก็ต้องระมัดระวังตัวให้มากขึ้นอยู่ดีครับ.

Get latest news from Blognone

Comments

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 13 May 2007 - 17:34 #22733
Kerberos's picture

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่จะให้คนที่กลัวอันตรายย้ายมาใช้ไฟร์ฟ๊อกด่วน...

By: pexza
AndroidUbuntuWindows
on 15 May 2007 - 11:19 #22895
pexza's picture

อาศัย NoScript ของ FF ช่วยชีวิตครับ ถ้าเปิดด้วย IE เครื่องคงพรุน

By: demon69gt on 25 May 2007 - 00:37 #23543

ที่บริษัทผมคนที่ใช้ ie พรุนไปด้วยสแปม แอดแวร์ และไวรัส ตอนหลังบล๊อค ie เกือบทุกเครื่อง ให้มันมาใช้ ff แทน แก้ปัญหาได้เยอะ

By: kkmuni on 29 November 2007 - 12:55 #36485

ช่วยทีครับ เว็บไซต์ผมถูกบล๊อกด้วย กูเกิ้ลครับ ทำไงดีครับ เมื่อค้นหาด้วยคำว่า เทศบาลนครขอนแก่น กูเกิ้ลจะแจ้งว่า "คำเตือน- การเข้าสู่เว็บไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ!" ใครรู้วิธีแก้ไม่ให้กูเกิ้ลแสดง โปรดช่วยทีครับ

เว็บมาสเตอร์
www.kkmuni.go.th