Tags:

ข่าวดีสำหรับคุณผู้หญิง (หรือชายที่มีใจรัก) ครับ

นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (UC--San Diego) ได้ทำการปล่อยซอฟต์แวร์ สำหรับเอาใจคุณผู้หญิงที่มีใจรักในการแต่งหน้าโดยเฉพาะ หมดยุคสำหรับการลองว่าลิปสติกสีไหนเหมาะกับใบหน้า, ต้องทารองพื้นสีอะไรจึงจะดูดี, ไม่ต้องทดลองกันจนหน้าพังอีกต่อไป

ซอฟต์แวร์ดังกล่าวอนุญาติให้ผู้ใช้งาน สามารถอัพโหลดรูปหน้าของผู้ใช้งานที่ต้องการลงบนเว็บ โดยมีเครื่องสำอาง กว่า 4000 ชนิดให้เลือกทดลองเสริมแต่งได้อย่างจุใจ นอกจานี้ยังสามารถเปลี่ยนสีผมและทรงผมได้อย่างง่ายดาย โดยผ่านการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

งานวิจัยชิ้นล่าสุด โดยความร่วมมือของ ศูนย์พัฒนาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU's Center for Developmental Genetics) กับ มหาวิทยาลัย Würzburg ได้ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งกับความเชื่อดั้งเดิม ที่เชื่อกันว่า การรับรู้สีสันและการรับรู้การเคลื่อนไหวของวัตถุ ในระบบการมองเห็นของคนเรา ทำงานสัมพันธ์กัน

นักวิจัยได้ทำการทดสอบความเชื่อดังกล่าว โดยเปรียบเทียบแมลงวันผลไม้ทีมีความบกพร่องในการรับรู้สี กับแมลงวันผลไม้ที่ปกติ แล้วดูความสามารถในการตอบสนองของวัตุที่เคลื่อนไหว ซึ่งจากผลการทดลอง พบว่าแมลงวันทั้งสองชนิด มีความสามารถในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวในระดับเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรับรู้สีสัน ไม่มีผลต่อการตรวจจับการเคลื่อนไหว

Tags:
Topics: 

มหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (Thailand ICT Contest Festival 2008) ที่จัดระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ ได้ประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการแล้วครับ สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละสาขา สามารถดูได้ ตามนี้

การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมแห่งประเทศไทย หรือ NSC ที่นี่

การประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC ที่นี่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Wake Forest ได้รายงานผลการศึกษา การใช้โปรตีน เคราติน (Keratin) มีความสามารถในการเร่ง การสร้างเส้นประสาท และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเส้นประสาทที่เสียหาย เมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

วิธีการปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาเซลล์ประสาทที่เสียหายมีอยู่หลายวิธี เช่น ใช้การผ่าตัดเอาเส้นประสาทจากส่วนอื่นของร่างกายมาตัดต่อ, การเย็บเส้นประสาทสองจุดเข้าด้วยกัน, หรือการใช้ท่อเล็กๆ ในการนำทางให้เส้นประสาททำการเชื่อมต่อกันเอง

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Darmounth ได้ทำการแยกสำรวจ พื้นที่จำนวน 3 แห่ง ของทะเลสาบ Baiyangdian ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของจีน โดยพื้นที่สำรวจทั้ง 3 ห่างจากแหล่งที่เป็นมลภาวะ เช่น โรงงานถ่านหิน, พื้นที่เกษตรกรรม, โรงงานอุตสาหกรรม

ผลจากการสำรวจ พบว่าพื้นที่ทั้ง 3 มีปลาที่มีการปนเปื้อนของสารปรอทและสารหนู ในอัตราที่สูงกว่ามาตรฐาน ซึ่งน่าเป็นห่วงประชากรในบริเวณพื้นที่ทะเลสาบ Baiyangdian เพราะทะเลสาบแห่งนี้ เป็นแหล่งอาหารและน้ำดื่มที่สำคัญในบริเวณนี้

ผมว่าประเทศจีน ให้ความสำคัญระหว่างสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม พอๆ กันเลยนะ

ที่มา - Physorg

สถาบันวิจัยด้านอวกาศของเกาหลีใต้ (Korea Aerospace Research Institute) ได้ยืนยันว่า สถานีภาคพื้นดินที่ใช้ในการติดต่อกับดาวเทียม Arirang 1 ได้ขาดการติดต่อกับตัวดาวเทียม ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2007

ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ไม่สามารถทำการติตต่อกับดาวเทียมไว้สองประเด็น อย่างแรกก็คือ ปัญหาทางด้านกลไกของตัวดาวเทียมเอง และ อย่างที่สองก็คือ ความผิดพลาดในการจัดตำแหน่งของดาวเทียม ซึ่งส่งผลต่อการผลิดพลังงานของโซลาร์เซลล์

เกาหลีใต้ได้เริ่มบุกเบิกทางด้านอวกาศ โดยทำการส่งดาวเทียมเพื่อการพานิชย์จำนวนสามดวง ตั้งแต่ปี 1999 และดาวเทียมดางด้านการทหารในปี 2006 โดยดาวเทียม Arirang 1 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 2 ธันวาคม 1999 มีภารกิจหลักในการถ่ายภาพพื้นผิวโลกความละเอียดสูง

Tags:

สาเหตุที่ทำให้ อัล กอร์ และ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกากาศ หรือ ไอพีซีซี ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพในปีนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการที่ออกมาชี้ใช้ชาวโลกเห็นถึงความสำคัญของภาวะที่โลกร้อนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยที่ อัล กอร์ สามารถสรุปได้ว่าโลกของเราร้อนขึ้น ก็เนื่องมาจากการเก็บข้อมูลและแบบจำลองสภาพภูมิกาอาศที่สามารถทำนายการเกิดภาวะโลกร้อนได้

แต่งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (Virginia University) ร่วมมือกับ UHA ได้ทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ จำนวน 22 แบบจำลอง และรวมถึงแบบจำลองที่ อัล กอร์ ใช้ในการทำนายสภาวะโลกร้อนด้วย พบว่าในแบบจำลองทั้งหลายเหล่านั้น ยังมีความน่าเคลือบแคลงในด้านความถูกต้องแม่นยำในการทำนายอยู่พอสมควร

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เจอร์เจียเทค (Georgia Tech) ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เอ็มเมอรี ( Emory University) ได้เสนอผลงานวิจัย ที่ให้ความหวังในการฟื้นฟูเซลล์ประสาท (Neuron) ที่เสียหาย

โดยปกติ หากเกิดความเสียหายบริเวณสมองหรือไขสันหลัง เราจะไม่สามารถมีวิธีการใดๆ ในการฟื้นฟูเซลล์ประสาทของเดิม เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลาง มีความสามารถต่ำในการสร้างใหม่ หรือรักษาตัวเอง

วิธีการที่นักวิจัยใช้ในการทดลอง ก็คือ ใช้ ไบโอพอลิเมอร์ (Biopolymer) ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งมีหมู่ทางเคมีเลียนแบบตัวส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท โดยสามารถทำการทวนสัญญาณ, ขยายสัญญาณ, มอดูเลทสัญญาณ ที่ส่งระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกันเอง หรือระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ชนิดอื่นๆ ได้

Tags:

องค์กรอนุรักษ์พลังงานระหว่างประเทศ (Conservation International) ได้นำเสนอวิธีใหม่ล่าสุด สำหรับการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

วิธีการที่ทางองค์กรอนุรักษ์ระหว่างประเทศนำมาใช้ ก็คือการลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละคน โดยเปิดให้บริการเครื่องมือคำนวนปริมาณการก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละคน โดยเครื่องมือดังกล่าว สามารถคำนวนได้อย่างครอบคลุมถึงพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เราได้ทำลงไป ไม่ว่าจะเป็น การกิน, การเดินทาง, การใช้น้ำมัน, การท่องเที่ยว ซึงจะคำนวนออกมาเป็นจำนวนตัน ที่เราได้ผลิดออกมาในแต่ละปี และยังคำนวนถึงเงินที่เราควรจะบริจาคเพื่อช่วยอนุรักษ์โลกของเราอีกด้วย

Tags:
Topics: 

ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยศาสตร์อีกครั้ง หลังจากที่ยานได้เข้าสู่ขอบเขตชายแดนของระบบสุริยะ

ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ถูกออกแบบมาให้สำรวจดาวพฤหัส, ดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวาร โดยในตอนแรกตัวยานคาดหมายว่าจะสามารถปฏิบัติภารกิจเพียงแค่ 5 ปี เท่านัน

ปัจจุบัน ถึงแม้จะผ่านมากว่า 30 ปี แต่อุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็ยังสามารถทำงานได้ดี และในตอนนี้ วอยเอเจอร์ได้เข้าถึงส่วนนอกของระบบสุริยะ ที่เรียกว่า Heliosheath ซึ่งในบริเวณนี้ ลมสุริยะระหว่างดวงดาวต่างๆ มีอยู่ในระดับปานกลาง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หากให้นึกถึงวิธีป้องกันการเป็นโรคมะเร็งปอด หลายคนคงนึกถึงการงดสูบบุหรี่ หรือการอยู่ใกล้บุคคลที่สูบบุหรี่ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ล่าสุดจากสหรัฐ อาจจะทำให้เราต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงรสหรือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง อาจมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ด้วย !

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

รายงานการศึกษา เรื่อง "ปรากฏการเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศของไบโอดีเซลในประเทศออสเตเลีย" โดยสถาบัน CSIRO ประเทศออสเตรเลีย ได้ข้อสรุปที่ว่า การใช้ไบโอดีเซลมีส่วนช่วยลดมลภาวะในอากาศในส่วนของอุตสาหกรรมขนส่ง

จากรายงานฉบับนี้ พบว่าการใช้ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (คือไม่ผสมน้ำมันใดๆเลย) มีส่วนช่วยลดมลภาวะกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ และหากใช้ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม สามารถช่วยลดมลภาวะ 80 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากมลภาวะที่ลดลง การใช้ไบโอดีเซล ยังมีส่วนช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งช่วยให้สุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นดีขึ้น

Tags:
Topics: 

ช่วงนี้กระแสพลังงานทางเลือกกำลังมาแรง พลังงานหลายรูปแบบได้ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาให้เราใช้ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานจากไฮโดรเจน, พลังงานแสงอาทิตย์ และที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน นั่นก็คือ พลังงานจากชีวมวล

สองนักเคมี Yutaka Amao และ Yumi Takeuchi จากมหาวิทยาลัย Oita ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงขนิดใหม่ ซึ่งอาศัยพลังงานจากน้ำตาลกลูโคส โดยอาศัยกระบวนการเลียนแบบการสังเคราะห์แสงที่เกิดขึ้นในพืช โดยเมื่อเซลล์เชื้อเพลิงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ น้ำตาลกลูโคสก็จะทำปฏิกิริยาทางเคมี แล้วปล่อยไฮโดรเจนไอออนออกมา ซึ่งในการทดลอง แสดงให้เห็นว่า เซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ สามารถให้ความต่างศักดิ์ของกระแสไฟฟ้าได้หลายร้อยมิลลิโวลต์

อีกหน่อยคงต้องซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่ติดรถซะแล้ว

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต (Toronto University) ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม (Genome) ของยีสต์ กว่า 70,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาเครื่องมือชนิดใหม่ ในการทำความเข้าใจ และทำนาย สภาพของเซลล์

หัวหน้าทีมวิจัย ซึ่งนำโดย Corey Nislow ได้ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม แบบ 3 มิติ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาโปรแกรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ว่า เซลล์จะมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว จะทำงานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อาข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ ก็เช่น การทำนายการเกิดของโรคได้อย่างแม่นยำ

ที่มา - Physorg

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ใครที่เคยได้ลองเล่น Android SDK ก็คงจะพบปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับภาษาไทย นั่นก็คือ Android Emulator ไม่สนับสนุึนการใช้งานร่วมกับภาษาไทย
ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขโดยนักพัฒนาชาวไทย ทำให้ตัว Android Emulator สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทยได้แล้ว ใครสนใจ คลิกได้ ที่นี่
เขียนข่าวครั้งแรกครับ ขอน้อมรับคำติชม
ที่มา - Ubuntuclub

Pages