Tags:
Node Thumbnail

Facebook เตรียมพัฒนากำไลข้อมือ (wristband) ที่จะอ่านคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ที่ถูกส่งจากสมองไปยังแขน เพื่อนำไปใช้ควบคุม UI หรือฟังก์ชั่นอื่นๆ ในระบบ Augmented Reality ของแว่น AR ที่ยังไม่วางจำหน่าย โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือแค่เพียงความคิดเท่านั้น ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการซื้อกิจการ CTRL-labs ในปี 2019 ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยี wristband อ่านคลื่นสมองมาก่อนหน้านี้

Andrew “Boz” Bosworth รองประธาน Facebook Reality Labs ยืนยันว่ากำไลนี้ไม่สามารถอ่านความคิดในสมองของผู้ใช้แบบละเอียดได้ แต่จะทำงานเหมือนเป็นคีย์บอร์ดที่สั่งการด้วย motor input หรือสัญญาณจากสมองที่สั่งให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหว แล้วแปลงไปเป็นคำสั่ง และจะตัดปัญหาการพิมพ์ผิดออกไปอย่างสิ้นเชิง

Tags:
Node Thumbnail

Facebook ประกาศเข้าซื้อกิจการ CTRL-labs สตาร์ทอัพจากนิวยอร์กที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุปกรณ์สั่งงานด้วยคลื่นสมอง โดยทีมงานทั้งหมดจะเข้าไปร่วมกับทีม Facebook Reality Labs แผนกย่อยที่พัฒนาแว่นตา AR ของ Facebook

มูลค่าดีลนั้นไม่มีการเปิดเผย แต่ CNBC อ้างแหล่งข่าวที่รับทราบข้อมูล เผยว่าดีลอาจสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ แต่ Facebook ไม่แสดงความเห็นต่อข้อมูลดังกล่าว

ผลิตภัณฑ์ของ CTRL-labs ที่เปิดตัวออกมาแล้วคือสายรัดข้อมือที่มีเซ็นเซอร์ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ โดยผู้ใช้เพียงนึกคิดก็จะส่งคลื่นไฟฟ้ามาเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้

Tags:
Node Thumbnail

CTRL-labs สตาร์ทอัพหน้าใหม่ใน New York ได้พัฒนาสายรัดแขนที่ช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถควบคุมใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้เพียงการนึกคิด

ตัวอุปกรณ์สายรัดแขนของ CTRL-labs นี้ยังเป็นเพียงรุ่นต้นแบบ หน้าตาของมันเป็นชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กหลายชิ้นมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกับแถบผ้าที่ใช้เพื่อรัดแขน มันมีขั้วไฟฟ้า 16 ขั้วทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ที่จะตรวจวัดคลื่น EMG (การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ) ซึ่งจะวัดค่าศักย์ไฟฟ้าที่เซลล์กล้ามเนื้อสร้างขึ้น ค่าศักย์ไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อสร้างขึ้นนี้จะเป็นไปตามการกระตุ้นโดยสัญญาณประสาทที่ถูกส่งจากสมองผ่านมาทางเซลล์ประสาท โดยสายรัดแขนของ CTRL-labs จะส่งสัญญาณแบบไร้สายไปยังคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมเพื่อการใช้งานคู่กันเอาไว้

Tags:
Topics: 

โครงการวิจัยของ University of California Berkeley สามารถถอดรหัสสัญญาณประสาทเพื่ออ่านข้อความที่มนุษย์นึกไว้ในใจได้

งานวิจัยนี้จะให้อาสาสมัครทำการอ่านออกเสียงข้อความ เพื่อใช้อุปกรณ์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเก็บบันทึกรูปแบบสัญญาณประสาทเพื่อเป็นฐานข้อมูลใช้สำหรับการถอดรหัส จากนั้นเมื่อให้อาสาสมัครทำการอ่านข้อความแบบไม่ออกเสียง ผู้วิจัยก็สามารถใช้ฐานข้อมูลที่เก็บไว้ร่วมกับอัลกอริธึมการแปลงสัญญาณประสาทจนทำให้ทราบได้ว่าข้อความที่อาสาสมัครกำลังอ่านหรือนึกอยู่ในใจนั้นคืออะไร ทั้งนี้ชุดข้อมูลที่นำมาใช้เพื่อการถอดรหัสสัญญาณประสาทของอาสาสมัครเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย

Tags:
Node Thumbnail

สัปดาห์ที่ผ่านมา Google ได้ประกาศซื้อกลุ่มสตาร์ทอัพจากแคนาดา DNNresearch ซึ่งเป็นทีมนักวิจัยระบบประสาทและการสั่งงานของสมอง ทั้งนี้ Google มิได้เปิดเผยมูลค่าของการซื้อทีมในครั้งนี้

DNNresearch มีสมาชิก 3 คน คือ ศาสตราจารย์ Geoffrey Hinton พร้อมด้วยนักศึกษาจบใหม่ Alex Krizhevsky และ Ilya Sutskever ทำผลงานวิจัยให้แก่คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย University of Toronto โดยเนื้อหางานวิจัยเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย ทั้งระบบการรู้จำคำสั่งพูด, การแปลผลข้อมูลภาพ และการเข้าใจภาษามนุษย์

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เจอร์เจียเทค (Georgia Tech) ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เอ็มเมอรี ( Emory University) ได้เสนอผลงานวิจัย ที่ให้ความหวังในการฟื้นฟูเซลล์ประสาท (Neuron) ที่เสียหาย

โดยปกติ หากเกิดความเสียหายบริเวณสมองหรือไขสันหลัง เราจะไม่สามารถมีวิธีการใดๆ ในการฟื้นฟูเซลล์ประสาทของเดิม เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลาง มีความสามารถต่ำในการสร้างใหม่ หรือรักษาตัวเอง

วิธีการที่นักวิจัยใช้ในการทดลอง ก็คือ ใช้ ไบโอพอลิเมอร์ (Biopolymer) ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งมีหมู่ทางเคมีเลียนแบบตัวส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท โดยสามารถทำการทวนสัญญาณ, ขยายสัญญาณ, มอดูเลทสัญญาณ ที่ส่งระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกันเอง หรือระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ชนิดอื่นๆ ได้