Tags:
Node Thumbnail

D-Wave Systems บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมสัญชาติแคนาดา เปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่น 2000Q โดยมีจำนวนคิวบิตทั้งสิ้น 2,000 ตัว มากกว่ารุ่น 2X ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2015 ถึง 2 เท่าตัว

D-Wave เคลมว่าคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น การทดสอบ benchmark พบว่าประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 2,600 เท่า, กินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 100 เท่า, และมีฟีเจอร์ anneal offsets ช่วยคำนวณการแยกตัวประกอบ (integer factoring) ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 1,000 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

D-Wave หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่กูเกิลเลือกใช้ในงานวิจัยด้าน AI ประกาศเปิดซอร์สโปรแกรมประมวลผลเชิงควอนตัม qbsolv บน Github เพื่อให้นักพัฒนาศึกษาและพัฒนาโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการประมวลผลควอนตัมมากมายนัก

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยของกูเกิลออกมาเผยความคืบหน้าของการใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับงานวิจัยด้าน AI หลังจากในปี 2013 กูเกิลจับมือกับ NASA ซื้อคอมพิวเตอร์ของบริษัท D-Wave ไปใช้งาน

D-Wave เคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ในวงการวิจัยเองกลับมีข้อโต้เถียงกันมากว่า D-Wave ใช้งานได้จริงแค่ไหน (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่า)

ผลการวิจัยของกูเกิลพบว่าในโจทย์บางประเภทที่มีตัวแปรเกือบ 1,000 ค่า ระบบของ D-Wave ทำงานได้เร็วกว่าอัลกอริทึมแบบเดิมๆ ทั้ง simulated annealing และ Quantum Monte Carlo มาก บางครั้งทำงานเร็วกว่ากันถึง 108 เท่าด้วยซ้ำ ซึ่งทางทีม Quantum Artificial Intelligence ของกูเกิลจะเดินหน้าพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์บางรายก็ยังตั้งข้อสังเกตกับผลการวิจัยของกูเกิล รายละเอียดอ่านได้จาก Phys.org

ที่มา - Google Research Blog

Tags:
Node Thumbnail

นับตั้งแต่ D-wave วางจำหน่ายควอนตัมคอมพิวเตอร์ ก็มีข้อถกเถียงกันมากว่า D-wave ทำได้จริงหรือแค่แหกตา ถึงแม้ว่าหน่วยงานชั้นนำอย่าง Lockheed Martin รวมถึง Google กับ NASA จะซื้อไปใช้แล้วก็ตาม

Tags:
Node Thumbnail

แนวคิด ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) เป็นสิ่งที่พูดกันมานานแล้ว แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่วางขายในเชิงพาณิชย์เพิ่งวางขายเป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเข้าใจยากสักหน่อย แบบสั้นๆ คือคอมพิวเตอร์ปกติจะมีหน่วยย่อยที่สุดเป็น "บิต" (bit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 หรือ 0 อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กรณีของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยย่อยที่ต่างออกไปคือ "คิวบิต" (qubit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 และ 0 พร้อมกันได้ (ตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม) ทำให้วิธีการประมวลผลต่างออกไปจากคอมพิวเตอร์ปกติ และแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ปกติต้องใช้เวลานานมากในการประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก