Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลเผยข้อมูลว่า เข้าไปช่วย NASA แยกภาพจากกล้องโทรทรรศน์บนยานอวกาศ Kepler ที่มีภารกิจในการค้นหา "ดาวเคราะห์" ลักษณะเดียวกับโลกในระบบสุริยะจักรวาลอื่น (exoplanet)

ยาน Kepler ถูกส่งออกไปยังอวกาศตั้งแต่ปี 2009 และถ่ายภาพทางช้างเผือกส่งกลับมาทุก 30 นาที มีภาพถ่ายดาวฤกษ์กว่า 200,000 ดวงที่ต้องมาวิเคราะห์ ถือเป็นข้อมูลมหาศาลที่ NASA ต้องทุ่มทรัพยากรมาประมวลผล

ปัญหานี้แก้ได้ด้วย machine learning และทีม AI ของกูเกิลก็เข้าไปช่วยสร้างโมเดล TensorFlow เพื่อแยกแยะดาวเคราะห์ออกจากวัตถุอื่นๆ ด้วยเทคนิค pattern recognition ผลการทดสอบโมเดลของกูเกิลกับข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว พบว่ามีความแม่นยำ 96%

หลังนำไปใช้งานจริง โมเดลของกูเกิลลองตรวจสอบดาวฤกษ์ 670 ดวงที่รู้ว่ามีดาวเคราะห์ exoplanet อย่างน้อย 2 ดวงโคจรอยู่ก่อน ผลคือ AI ค้นพบดาวเคราะห์เพิ่มอีก 2 ดวง (Kepler 80g และ Kepler 90i) โดยดาว Kepler 90i ถือเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะ Kepler 90 และถือเป็นระบบสุริยะอันแรกที่ค้นพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรเกิน 8 ดวงด้วย (นอกเหนือจากระบบสุริยะที่เราอยู่)

No Description

No Description

กูเกิลสรุปปิดท้ายว่างานเพิ่งผ่านไปแค่ 670 ดวง จากทั้งหมด 200,000 ดวง เส้นทางยังอีกยาวไกล

ที่มา - Google, NASA

Get latest news from Blognone

Comments

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 15 December 2017 - 10:13 #1023819
lingjaidee's picture

รอดู Elon Musk จะว่าไง ;)


my blog

By: nrml
ContributorIn Love
on 15 December 2017 - 17:08 #1023941 Reply to:1023819
nrml's picture

Oh! you guys just did it.

By: terdsak.s on 15 December 2017 - 10:51 #1023833

ดาวฤกษ์เขารัศมีมากกว่าของเราอีกนะ จะไม่ร้อนเกินไปหรือ?

By: inkirby
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 15 December 2017 - 11:23 #1023849 Reply to:1023833
inkirby's picture

รัศมีมากกว่าไม่ได้แปลว่าร้อนกว่าไม่ใช่หรือครับ?


Dream high, work hard.

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 15 December 2017 - 14:00 #1023893 Reply to:1023833
TheOrbital's picture

อุณหภูมิพื้นผิวมีปัจจัยหลายอย่างครับ เช่นวิวัฒนาการหรือช่วงชีวิตของดาวฤกษ์ด้วย ไม่ได้เกี่ยวกับขนาดเท่านั้น คงเคยได้ยิน ดาวแคระเหลือง ดาวแคระขาว ดาวยักษ์แดง ใช่ไหมครับ Kepler-90 เป็นดาวแคระเหลืองเหมือนกันกับดวงอาทิตย์ ขนาดและอุณหภูมิจึงใกล้เคียงกัน

อุณหภูมิของ Kepler-90 อยู่ที่ 6080 K ในขณะที่ดวงอาทิตย์ 5778 K
มวลและขนาดก็ใกล้เคียง Kepler-90 มีมวลและขนาดประมาณ 1.20 เท่าของดวงอาทิตย์
แต่เด็กกว่าหน่อย Kepler-90 อายุประมาณ 2 พันล้านปี ส่วนของดวงอาทิตย์ 4 พันล้านปลายๆ

พอเอามารวมๆกันแล้ว Kepler-90i ที่เป็นดาวเคราะห์บริวาณของ Kepler-90 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ มีตำแหน่ง ขนาด และตำแหน่งสัมพันธ์กับดาวดวงอื่นๆในระบบ คล้ายกับโลกจนน่าตื่นเต้นว่าอาจจะมีอะไรคล้ายๆกัน หรืออาจถึงขั้นมีสภาวะที่จะให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตก็ได้

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 15 December 2017 - 11:01 #1023838
btoy's picture

ตื่นเต้นตลอด เวลาได้อ่านข่าวเกี่ยวกับระบบสุริยะอื่นๆ ถึงจะมีคนอาศัยอยู่ แต่นึกไม่ออกว่าจะเดินทางไปเจอกันยังไง


..: เรื่อยไป

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 15 December 2017 - 19:44 #1023954 Reply to:1023838
dangsystem's picture

รูปที่ถ่ายมาก็อาจจะเป็นรูปเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว ป่านนี้ดาว โดนยืดไปแล้วมั่ง ห้าๆ

By: obnetarena
Windows PhoneWindows
on 16 December 2017 - 22:24 #1024067 Reply to:1023954

แต่ดาวฤกษ์อายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์เรามากนะครับ
ถ้านับว่าวิวัฒนาการตั้งแต่เริ่มมีระบบสุริยะไปจนถึงมีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกเกิดขึ้น เทียบกับโลกเราแล้ว ตอนนี้ที่นั่นอาจจะยังไม่มีน้ำเลยมั้งครับ

By: ReddevilboyZ
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 15 December 2017 - 16:38 #1023936

อยากอยู่ถึงยุคที่ต้องออกไปอยู่นอกโลกว่าจะเป็นยังไง จะเหมือนในหนัง ซีรี่ย์ที่เขาสร้างๆกันมาไหม
ชื่อ Elon Musk จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อีกคน